ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. นรม. ขอให้ ธปท. ปรับระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับ GFMIS พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
นรม. แสดงปาฐกถาในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงการบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐบาลด้วยระบบ
อิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ระหว่าง สนง.กำกับและบริหารโครงการเปลี่ยนระบบบริหารการเงินการคลังฯ กับ
หน่วยงานราชการและหน่วยงานอิสระ 162 แห่ง ว่า ระบบ GFMIS เป็นเครื่องมือที่ดีที่จะช่วยให้การเบิกจ่าย
งปม. โปร่งใส และจะเปิดใช้งานได้ในวันที่ 1 ต.ค.นี้ โดยจะใช้การทำงานระบบเก่าควบคู่ไปกับระบบ
GFMIS อีกไม่เกิน 6 เดือน หลังจากนั้นระบบนี้จะสามารถเปลี่ยนแปลงการบริหารให้ดีขึ้น ทำให้มองเห็นตัวเลขที่
สามารถนำมาพยากรณ์งานทางการบริหารได้และลดต้นทุนให้แก่ประชาชน พร้อมกันนี้ ได้ขอความร่วมมือให้
ธปท. แก้ไขระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยด่วน ซึ่งจะเป็นความโปร่งใสของระบบ โดยข้อมูลจะถูกนำมาปรับให้รู้ว่าค่า
ใช้จ่ายเป็นอย่างไร และตัวเลขเหล่านี้ยังสามารถนำมาวิเคราะห์และนำไปสู่การลดต้นทุน ทำให้มั่นใจว่าระบบทั้ง
หมดจะสมบูรณ์ภายใน 2 ปีนี้ (ผู้จัดการรายวัน)
2. สำนักวิจัยไทยธนาคารคาดเศรษฐกิจปี 48 ขยายตัวร้อยละ 6 นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ผอ.
สำนักวิจัย ธ.ไทยธนาคาร คาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 48 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ
6.0 — 6.6 โดยอัตราการขยายตัวของการบริโภคยังมีเสถียรภาพและอาจมีการชะลอตัวลงเล็กน้อยหลังจาก
ปล่อยให้มีการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล ส่วนอัตราการเติบโตภาคเอกชนอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ในขณะที่การลงทุนภาค
เอกชนจะขยายตัวร้อยละ 20 — 23 ซึ่งจะส่งผลให้การขยายตัวของสินเชื่อขยายตัวได้ร้อยละ 10 — 15 ด้าน
อัตราดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 — 2 ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ส่วนค่าเงิน
บาทจะอ่อนค่าลงอยู่ที่ระดับ 41.50 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. สำหรับอัตราเงินเฟ้อจะปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ
7 ปี โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงร้อยละ 4 — 5 เทียบกับปี 47 สะท้อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและแรง
กดดันด้านราคาที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันแพง ผลกระทบจากโรคระบาด และความแปรปรวนของภูมิอากาศและ
ภัยธรรมชาติ ดังนั้น การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจจึงต้องรักษาสมดุลระหว่างการกระตุ้นการเติบโตทาง
เศรษฐกิจกับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ด้านการส่งออกจะเติบโตร้อยละ 10 — 15 เป็นการขยายตัว
ในอัตราลดลงจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกและฐานการเติบโตที่สูงมากในปี 47 ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์)
3. ทีดีอาร์ไอคาดว่าหากเศรษฐกิจชะลอตัวหรือดอกเบี้ยปรับขึ้นจะกระทบคนมีรายได้ต่ำ นายสม
ชัย จิตสุชน ผอ.การวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยว่า ขณะนี้
คนไทยมีหนี้ประมาณร้อยละ 50 ต่อรายได้ทั้งปี ถือว่าอยู่ในระดับที่รับได้ไม่มีปัญหา แต่หากขึ้นไปถึงระดับร้อยละ
70 — 80 ก็น่าเป็นห่วง ซึ่งหากเศรษฐกิจไทยเติบโตอยู่ในระดับร้อยละ 6 เช่นนี้ต่อไป เชื่อว่าจะรับภาระหนี้สิน
ได้ แต่หากเศรษฐกิจชะลอตัวหรือดอกเบี้ยขึ้นสูงมากใน 3 ปีนี้ จะสร้างปัญหาตามมาแน่นอน โดยผลจากการ
สำรวจผู้กู้เงินซื้อบ้านร่วมกับการเคหะแห่งชาติพบว่า ผู้ซื้อบ้านที่มีรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อเดือน อาจจะมี
ปัญหาในการผ่อนชำระในอนาคต เพราะก่อหนี้เกินกว่าความจริง ทำให้รายได้ที่ปลอดภาระหนี้ (ฟรีมันนี่) ต่ำ
มาก ส่วนปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยยังประเมินไม่ได้ว่าจะสร้างปัญหาให้เศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน เพราะที่ผ่าน
มาไม่เคยมีหนี้สินภาคครัวเรือนที่สูงมากขนาดนี้มาก่อน โดยล่าสุดหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 103,940 บาท เทียบกับปี
45 ซึ่งอยู่ที่ 8.3 หมื่นบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น แคนาดา ออสเตรเลีย ที่มีหนี้
ครัวเรือนสูงเกินระดับ 100% ทำให้หนี้ของไทยดูไม่สูงนัก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของจีดีพี แต่หากไทยมีหนี้
ครัวเรือนเกิน 100% เศรษฐกิจรับไม่ไหวแน่นอน (โพสต์ทูเดย์)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค.47 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นายสันติ วิลาส
ศักดานนท์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมเดือน ส.ค.47 ว่า ดัชนีโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 101 จาก 98.9 ในเดือน ก.
ค.47 เนื่องจากรัฐบาลประกาศตรึงราคาน้ำมันดีเซลจนถึงต้นปีหน้า รวมถึงมาตรการจูงใจลดใช้พลังงานในภาค
อุตสาหกรรม ประกอบกับผู้ประกอบการเริ่มซึมซับปัจจัยลบที่มากระทบแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังกังวล
เรื่องต้นทุนสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นและขาดแคลน ภาคอุตสาหกรรมจึงต้องการให้รัฐบาลเร่ง
ดูแลเรื่องปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ และทบทวนภาษีนำเข้าวัตถุดิบให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ส่วนแนวโน้มดัชนี
ความเชื่อมั่นของเดือน ก.ย. อาจจะปรับตัวลดลงจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงถึง 50 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลและ
ปัจจัยเรื่องไข้หวัดนกที่กลับมาอีกครั้ง (มติชน, บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. งบประมาณปี 47 ของสหภาพยุโรปขาดดุล 4 พัน ล.ยูโร รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่
29 ก.ย. 47 คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปอาจจะร้องขอให้สมาชิกสหภาพยุโรปเพิ่มงบประมาณปี 47 อีก
ประมาณ 4 พัน ล. ยูโร เนื่องจากการใช้จ่ายในภูมิภาคสูงกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ทั้งนี้ในขั้นตอนการดำเนินงาน
เป็นไปได้ดีกว่าที่คาดไว้ ซึ่งคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปจะมีการอภิปรายในเรื่องดัวกล่าว แต่ยังเป็นการเร็ว
เกินไปที่จะกล่าวถึงแผนการใช้จ่ายในระยะต่อไป ทั้งนี้โฆษกคณะกรรมาธิการงบประมาณปฎิเสธที่จะกล่าวถึง
จำนวนเงินที่จะต้องใช้เพิ่มเติมในปีงปม.นี้ แต่สมาชิกบางส่วนเห็นว่าอาจจะประมาณ 4.0 พัน ล.ยูโร ซึ่งสหภาพ
ยุโรปกล่าวว่าผู้บริหารระดับสูงจะสอบถามสมาชิกสหภาพยุโรป 25 ประเทศในเรื่องการปฎิบัติตามแผนงปม.ที่วาง
ไว้ เพื่อที่จะเป็นเครื่องยืนยันว่าจำเป็นต้องใช้งปม.ขาดดุลหรือไม่ รวมทั้งต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาสหภาพ
ยุโรป นับเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่สหภาพยุโรปใช้จ่ายเกินกว่างบประมาณประจำปี อันเป็นผลจากเมื่อเดือนพ.
ค. ที่ผ่านมา สหภาพยุโรปมีการรับสมาชิกใหม่ 10 ประเทศที่ยากจนที่สุดจากยุโรปตะวันออกซึ่งสมาชิกดังกล่าวได้
รับเงินช่วยเหลือในหลายกรณีมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ อนึ่งงบประมาณปี 47 ของสหภาพยุโรปจำนวน 111.3
พัน ล.ยูโร ใช้ในหลายนโยบายอาทิ การสนับสนุนสินค้าเกษตรและช่วยเหลือท้องถิ่นที่ยากจนซึ่งเพิ่งจะมีการใช้
จ่ายจริงเพียง 99.7 พัน ล.ยูโรเท่านั้น (รอยเตอร์)
2. การค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ก.ย.47 อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปีครึ่ง รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 29 ก.ย.47 ผลสำรวจความเห็นของผู้ค้าปลีกโดย Confederation of British
Industry หรือ CBI ปรากฎว่าร้อยละ 38 รายงานยอดค้าปลีกลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ร้อยละ 29
รายงานยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น โดยมีผลต่างเท่ากับร้อยละ —9 นับเป็นครั้งแรกที่ผลต่างเป็นลบนับตั้งแต่เดือน มี.
ค.46 เทียบกับร้อยละ +2 ในเดือนก่อน ในขณะที่นักวิเคราะห์พากันประหลาดใจกับยอดที่ลดลงอย่างรวดเร็ว
เพราะคาดไว้ว่าจะมีผลต่างเป็นร้อยละ +15 เช่นเดียวกับดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคซึ่งสำรวจโดย
GfK Martin Hamblin ที่รายงานในวันเดียวกันที่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ —7 ในเดือน ก.ย.47 จากระดับ —5 ใน
เดือน ส.ค.47 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.46 ซึ่งอยู่ที่ระดับ —10 นักวิเคราะห์คาดว่าสาเหตุที่ยอดค้าปลีกและ
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงมาจากรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคจากดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อบ้าน ราคาน้ำมันและ
ค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับทิศทางของราคาบ้านในอนาคต CBI จึงเรียกร้องให้ ธ.กลางอังกฤษ
คงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับปัจจุบันอีกระยะหนึ่งหลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว 5 ครั้งนับตั้งแต่เดือน พ.ย.46
(รอยเตอร์)
3.ผลผลิตอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรก
ตั้งแต่เดือน พ.ค.47 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 30 ก.ย.47 ก.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น
เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน ขณะที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เนื่องจากผู้ประกอบการ
ภาคอุตสาหกรรมหลีกเลี่ยงการสะสมผลผลิตในคลังสินค้าจากการส่งออกที่ชะลอตัว สาเหตุจากการปรับตัวของ
ความต้องการสินค้าที่แข็งแกร่งของ สรอ. และยังคาดการณ์ต่อไปว่าตัวเลขดังกล่าวของไตรมาสที่ 3 จะลดลง
จากไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานั้นไม่มีทิศทางที่แน่
นอน ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 47 ขยายตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ คือร้อยละ
1.3 รวมถึงตัวเลขการส่งออกและคำสั่งซื้อเครื่องจักรที่ชะลอตัวซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับภาครัฐอย่างมาก แต่
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อว่าญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และจะไม่วกกลับสู่
ภาวะถดถอยอีก รวมทั้งจะสามารถบรรลุเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราร้อยละ 3.5 ในปีงบ
ประมาณที่จะสิ้นสุดในเดือน มี.ค.48 ได้ นอกจากนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับเพิ่ม
ประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปีนี้ที่ร้อยละ 4.4 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มร้อยละ 1.0 จากที่ประมาณ
การไว้เมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือนก.ย. จะชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 10 เดือน รายงาน
จาก โซล เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 47 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 7 คนคาดว่าการ
ส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือนก.ย. จะขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.0 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ต่ำที่
สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 46 ที่ขยายตัวร้อยละ 20.0 เนื่องจากอุปสงค์ต่างประเทศลดลงประกอบกับความเชื่อมั่นผู้
บริโภคที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี ทั้งนี้การคาดการณ์ดังกล่าวดำเนินการก่อนที่ธ.กลางจะประชุมนโยบายการเงิน
รายเดือนเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยซึ่งนักลงทุนพันธบัตรต่างก็คาดการณ์กันว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
เป็นครั้งที่ 2 ในรอบปีนี้ ซึ่งก.พาณิชย์มีกำหนดที่จะประกาศตัวเลขการส่งออกอย่างเป็นทางการในวันศุกร์นี้เวลา
11.00 น. นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์จาก Citigroup มีความเห็นว่าการส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือนก.ย.
จะขยายตัวที่ระดับ 21 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. แต่เมื่อเทียบต่อปีการขยายตัวของการส่งออกดังกล่าวยังคงชะลอ
ตัวอย่างต่อเนื่อง จากการลดลงของภาคการส่งออกสินค้า IT ไปยังตลาดที่สำคัญอาทิ จีน ฮ่องกง และสรอ.
(มากกว่าร้อยละ 40 ของการส่งออกทั้งหมด) นอกจากนั้นยังมีความเห็นว่าการส่งออกจะขยายตัวหากสินค้า IT
จะกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้น ที่ผ่านมาอุปสงค์ที่ร้อนแรงในสินค้าดังกล่าวจากจีนส่งผลให้การส่งออกของเกาหลีใต้เพิ่ม
ขึ้นมากกว่าร้อยละ 30 นับตั้งแต่ช่วงธ.ค. 46 — ก.ค. 47 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 ก.ย. 47 29 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.549 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.3724/41.6694 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6250-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 636.57/12.23 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,000/8,100 8,000/8,100 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 37.89 38.38 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. นรม. ขอให้ ธปท. ปรับระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับ GFMIS พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
นรม. แสดงปาฐกถาในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงการบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐบาลด้วยระบบ
อิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ระหว่าง สนง.กำกับและบริหารโครงการเปลี่ยนระบบบริหารการเงินการคลังฯ กับ
หน่วยงานราชการและหน่วยงานอิสระ 162 แห่ง ว่า ระบบ GFMIS เป็นเครื่องมือที่ดีที่จะช่วยให้การเบิกจ่าย
งปม. โปร่งใส และจะเปิดใช้งานได้ในวันที่ 1 ต.ค.นี้ โดยจะใช้การทำงานระบบเก่าควบคู่ไปกับระบบ
GFMIS อีกไม่เกิน 6 เดือน หลังจากนั้นระบบนี้จะสามารถเปลี่ยนแปลงการบริหารให้ดีขึ้น ทำให้มองเห็นตัวเลขที่
สามารถนำมาพยากรณ์งานทางการบริหารได้และลดต้นทุนให้แก่ประชาชน พร้อมกันนี้ ได้ขอความร่วมมือให้
ธปท. แก้ไขระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยด่วน ซึ่งจะเป็นความโปร่งใสของระบบ โดยข้อมูลจะถูกนำมาปรับให้รู้ว่าค่า
ใช้จ่ายเป็นอย่างไร และตัวเลขเหล่านี้ยังสามารถนำมาวิเคราะห์และนำไปสู่การลดต้นทุน ทำให้มั่นใจว่าระบบทั้ง
หมดจะสมบูรณ์ภายใน 2 ปีนี้ (ผู้จัดการรายวัน)
2. สำนักวิจัยไทยธนาคารคาดเศรษฐกิจปี 48 ขยายตัวร้อยละ 6 นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ผอ.
สำนักวิจัย ธ.ไทยธนาคาร คาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 48 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ
6.0 — 6.6 โดยอัตราการขยายตัวของการบริโภคยังมีเสถียรภาพและอาจมีการชะลอตัวลงเล็กน้อยหลังจาก
ปล่อยให้มีการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล ส่วนอัตราการเติบโตภาคเอกชนอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ในขณะที่การลงทุนภาค
เอกชนจะขยายตัวร้อยละ 20 — 23 ซึ่งจะส่งผลให้การขยายตัวของสินเชื่อขยายตัวได้ร้อยละ 10 — 15 ด้าน
อัตราดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 — 2 ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ส่วนค่าเงิน
บาทจะอ่อนค่าลงอยู่ที่ระดับ 41.50 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. สำหรับอัตราเงินเฟ้อจะปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ
7 ปี โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงร้อยละ 4 — 5 เทียบกับปี 47 สะท้อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและแรง
กดดันด้านราคาที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันแพง ผลกระทบจากโรคระบาด และความแปรปรวนของภูมิอากาศและ
ภัยธรรมชาติ ดังนั้น การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจจึงต้องรักษาสมดุลระหว่างการกระตุ้นการเติบโตทาง
เศรษฐกิจกับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ด้านการส่งออกจะเติบโตร้อยละ 10 — 15 เป็นการขยายตัว
ในอัตราลดลงจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกและฐานการเติบโตที่สูงมากในปี 47 ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์)
3. ทีดีอาร์ไอคาดว่าหากเศรษฐกิจชะลอตัวหรือดอกเบี้ยปรับขึ้นจะกระทบคนมีรายได้ต่ำ นายสม
ชัย จิตสุชน ผอ.การวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยว่า ขณะนี้
คนไทยมีหนี้ประมาณร้อยละ 50 ต่อรายได้ทั้งปี ถือว่าอยู่ในระดับที่รับได้ไม่มีปัญหา แต่หากขึ้นไปถึงระดับร้อยละ
70 — 80 ก็น่าเป็นห่วง ซึ่งหากเศรษฐกิจไทยเติบโตอยู่ในระดับร้อยละ 6 เช่นนี้ต่อไป เชื่อว่าจะรับภาระหนี้สิน
ได้ แต่หากเศรษฐกิจชะลอตัวหรือดอกเบี้ยขึ้นสูงมากใน 3 ปีนี้ จะสร้างปัญหาตามมาแน่นอน โดยผลจากการ
สำรวจผู้กู้เงินซื้อบ้านร่วมกับการเคหะแห่งชาติพบว่า ผู้ซื้อบ้านที่มีรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อเดือน อาจจะมี
ปัญหาในการผ่อนชำระในอนาคต เพราะก่อหนี้เกินกว่าความจริง ทำให้รายได้ที่ปลอดภาระหนี้ (ฟรีมันนี่) ต่ำ
มาก ส่วนปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยยังประเมินไม่ได้ว่าจะสร้างปัญหาให้เศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน เพราะที่ผ่าน
มาไม่เคยมีหนี้สินภาคครัวเรือนที่สูงมากขนาดนี้มาก่อน โดยล่าสุดหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 103,940 บาท เทียบกับปี
45 ซึ่งอยู่ที่ 8.3 หมื่นบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น แคนาดา ออสเตรเลีย ที่มีหนี้
ครัวเรือนสูงเกินระดับ 100% ทำให้หนี้ของไทยดูไม่สูงนัก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของจีดีพี แต่หากไทยมีหนี้
ครัวเรือนเกิน 100% เศรษฐกิจรับไม่ไหวแน่นอน (โพสต์ทูเดย์)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค.47 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นายสันติ วิลาส
ศักดานนท์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมเดือน ส.ค.47 ว่า ดัชนีโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 101 จาก 98.9 ในเดือน ก.
ค.47 เนื่องจากรัฐบาลประกาศตรึงราคาน้ำมันดีเซลจนถึงต้นปีหน้า รวมถึงมาตรการจูงใจลดใช้พลังงานในภาค
อุตสาหกรรม ประกอบกับผู้ประกอบการเริ่มซึมซับปัจจัยลบที่มากระทบแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังกังวล
เรื่องต้นทุนสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นและขาดแคลน ภาคอุตสาหกรรมจึงต้องการให้รัฐบาลเร่ง
ดูแลเรื่องปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ และทบทวนภาษีนำเข้าวัตถุดิบให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ส่วนแนวโน้มดัชนี
ความเชื่อมั่นของเดือน ก.ย. อาจจะปรับตัวลดลงจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงถึง 50 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลและ
ปัจจัยเรื่องไข้หวัดนกที่กลับมาอีกครั้ง (มติชน, บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. งบประมาณปี 47 ของสหภาพยุโรปขาดดุล 4 พัน ล.ยูโร รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่
29 ก.ย. 47 คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปอาจจะร้องขอให้สมาชิกสหภาพยุโรปเพิ่มงบประมาณปี 47 อีก
ประมาณ 4 พัน ล. ยูโร เนื่องจากการใช้จ่ายในภูมิภาคสูงกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ทั้งนี้ในขั้นตอนการดำเนินงาน
เป็นไปได้ดีกว่าที่คาดไว้ ซึ่งคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปจะมีการอภิปรายในเรื่องดัวกล่าว แต่ยังเป็นการเร็ว
เกินไปที่จะกล่าวถึงแผนการใช้จ่ายในระยะต่อไป ทั้งนี้โฆษกคณะกรรมาธิการงบประมาณปฎิเสธที่จะกล่าวถึง
จำนวนเงินที่จะต้องใช้เพิ่มเติมในปีงปม.นี้ แต่สมาชิกบางส่วนเห็นว่าอาจจะประมาณ 4.0 พัน ล.ยูโร ซึ่งสหภาพ
ยุโรปกล่าวว่าผู้บริหารระดับสูงจะสอบถามสมาชิกสหภาพยุโรป 25 ประเทศในเรื่องการปฎิบัติตามแผนงปม.ที่วาง
ไว้ เพื่อที่จะเป็นเครื่องยืนยันว่าจำเป็นต้องใช้งปม.ขาดดุลหรือไม่ รวมทั้งต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาสหภาพ
ยุโรป นับเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่สหภาพยุโรปใช้จ่ายเกินกว่างบประมาณประจำปี อันเป็นผลจากเมื่อเดือนพ.
ค. ที่ผ่านมา สหภาพยุโรปมีการรับสมาชิกใหม่ 10 ประเทศที่ยากจนที่สุดจากยุโรปตะวันออกซึ่งสมาชิกดังกล่าวได้
รับเงินช่วยเหลือในหลายกรณีมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ อนึ่งงบประมาณปี 47 ของสหภาพยุโรปจำนวน 111.3
พัน ล.ยูโร ใช้ในหลายนโยบายอาทิ การสนับสนุนสินค้าเกษตรและช่วยเหลือท้องถิ่นที่ยากจนซึ่งเพิ่งจะมีการใช้
จ่ายจริงเพียง 99.7 พัน ล.ยูโรเท่านั้น (รอยเตอร์)
2. การค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ก.ย.47 อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปีครึ่ง รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 29 ก.ย.47 ผลสำรวจความเห็นของผู้ค้าปลีกโดย Confederation of British
Industry หรือ CBI ปรากฎว่าร้อยละ 38 รายงานยอดค้าปลีกลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ร้อยละ 29
รายงานยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น โดยมีผลต่างเท่ากับร้อยละ —9 นับเป็นครั้งแรกที่ผลต่างเป็นลบนับตั้งแต่เดือน มี.
ค.46 เทียบกับร้อยละ +2 ในเดือนก่อน ในขณะที่นักวิเคราะห์พากันประหลาดใจกับยอดที่ลดลงอย่างรวดเร็ว
เพราะคาดไว้ว่าจะมีผลต่างเป็นร้อยละ +15 เช่นเดียวกับดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคซึ่งสำรวจโดย
GfK Martin Hamblin ที่รายงานในวันเดียวกันที่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ —7 ในเดือน ก.ย.47 จากระดับ —5 ใน
เดือน ส.ค.47 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.46 ซึ่งอยู่ที่ระดับ —10 นักวิเคราะห์คาดว่าสาเหตุที่ยอดค้าปลีกและ
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงมาจากรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคจากดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อบ้าน ราคาน้ำมันและ
ค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับทิศทางของราคาบ้านในอนาคต CBI จึงเรียกร้องให้ ธ.กลางอังกฤษ
คงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับปัจจุบันอีกระยะหนึ่งหลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว 5 ครั้งนับตั้งแต่เดือน พ.ย.46
(รอยเตอร์)
3.ผลผลิตอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรก
ตั้งแต่เดือน พ.ค.47 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 30 ก.ย.47 ก.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น
เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน ขณะที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เนื่องจากผู้ประกอบการ
ภาคอุตสาหกรรมหลีกเลี่ยงการสะสมผลผลิตในคลังสินค้าจากการส่งออกที่ชะลอตัว สาเหตุจากการปรับตัวของ
ความต้องการสินค้าที่แข็งแกร่งของ สรอ. และยังคาดการณ์ต่อไปว่าตัวเลขดังกล่าวของไตรมาสที่ 3 จะลดลง
จากไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานั้นไม่มีทิศทางที่แน่
นอน ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 47 ขยายตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ คือร้อยละ
1.3 รวมถึงตัวเลขการส่งออกและคำสั่งซื้อเครื่องจักรที่ชะลอตัวซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับภาครัฐอย่างมาก แต่
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อว่าญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และจะไม่วกกลับสู่
ภาวะถดถอยอีก รวมทั้งจะสามารถบรรลุเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราร้อยละ 3.5 ในปีงบ
ประมาณที่จะสิ้นสุดในเดือน มี.ค.48 ได้ นอกจากนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับเพิ่ม
ประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปีนี้ที่ร้อยละ 4.4 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มร้อยละ 1.0 จากที่ประมาณ
การไว้เมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือนก.ย. จะชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 10 เดือน รายงาน
จาก โซล เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 47 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 7 คนคาดว่าการ
ส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือนก.ย. จะขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.0 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ต่ำที่
สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 46 ที่ขยายตัวร้อยละ 20.0 เนื่องจากอุปสงค์ต่างประเทศลดลงประกอบกับความเชื่อมั่นผู้
บริโภคที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี ทั้งนี้การคาดการณ์ดังกล่าวดำเนินการก่อนที่ธ.กลางจะประชุมนโยบายการเงิน
รายเดือนเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยซึ่งนักลงทุนพันธบัตรต่างก็คาดการณ์กันว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
เป็นครั้งที่ 2 ในรอบปีนี้ ซึ่งก.พาณิชย์มีกำหนดที่จะประกาศตัวเลขการส่งออกอย่างเป็นทางการในวันศุกร์นี้เวลา
11.00 น. นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์จาก Citigroup มีความเห็นว่าการส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือนก.ย.
จะขยายตัวที่ระดับ 21 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. แต่เมื่อเทียบต่อปีการขยายตัวของการส่งออกดังกล่าวยังคงชะลอ
ตัวอย่างต่อเนื่อง จากการลดลงของภาคการส่งออกสินค้า IT ไปยังตลาดที่สำคัญอาทิ จีน ฮ่องกง และสรอ.
(มากกว่าร้อยละ 40 ของการส่งออกทั้งหมด) นอกจากนั้นยังมีความเห็นว่าการส่งออกจะขยายตัวหากสินค้า IT
จะกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้น ที่ผ่านมาอุปสงค์ที่ร้อนแรงในสินค้าดังกล่าวจากจีนส่งผลให้การส่งออกของเกาหลีใต้เพิ่ม
ขึ้นมากกว่าร้อยละ 30 นับตั้งแต่ช่วงธ.ค. 46 — ก.ค. 47 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 ก.ย. 47 29 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.549 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.3724/41.6694 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6250-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 636.57/12.23 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,000/8,100 8,000/8,100 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 37.89 38.38 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-