บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันจันทร์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๕๐ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาประชุมครบองค์ประชุม นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา
และนายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะรัฐมนตรีได้จัดให้มีการถ่ายทอดการประชุมวุฒิสภาทางสถานีวิทยุโทรทัศน์
ช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา เป็นต้นไป และมีการกระจายเสียง
ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา ความถี่ ๘๗.๕ MHz. ในระบบ F.M. และทางสถานีวิทยุ
กระจายเสียงแห่งประเทศไทย ความถี่ ๘๑๙ KHz. ในระบบ A.M.
๒. ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่
๘ กันยายน ๒๕๔๗ ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ที่คณะกรรมาธิการร่วมกัน
พิจารณาเสร็จแล้ว รวม ๒ ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. …. จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ
ดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๕ (๓) และในการประชุม
ครั้งเดียวกันที่ประชุมได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งวุฒิสภาได้แก้ไขเพิ่มเติม
รวม ๒ ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติ
บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และได้กำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว เป็นจำนวนสภาละ
๑๒ คน ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๕ (๓)
ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่องคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ขอขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษ อีก ๓๐ วัน นับแต่วันที่ ๒๒
และวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๗ ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๔ ให้ที่ประชุมพิจารณา
ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และมีมติให้ขยายเวลาได้ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ร้องขอ
จากนั้น ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ได้ผลัดเปลี่ยนกัน
ทำหน้าที่ประธานของที่ประชุม โดยประธานของที่ประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องด่วน
ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและความประพฤติ
ของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์
แทนตำแหน่งที่ว่าง ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๓๕ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้งดใช้ข้อบังคับฯ
ข้อ ๙๖ และข้อ ๙๗ เป็นการชั่วคราวเฉพาะกรณี และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ
เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติฯ จำนวน ๒๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายทวีป ขวัญบุรี ๒. นายเกษม ชัยสิทธิ์
๓. พลอากาศเอก กานต์ สุระกุล ๔. นายสันติ์ เทพมณี
๕. นายสวัสดิภาพ กันทาธรรม ๖. พลเอก บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์
๗. นายบุญทัน ดอกไธสง ๘. นายวรวิทย์ เชื้อเพ็ชร์
๙. นายสุพร สุภสร ๑๐. พลตำรวจโท ณรงค์ อมาตยกุล
๑๑. นายสมพร คำชื่น ๑๒. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์
๑๓. นายไสว พราหมณี ๑๔. นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา
๑๕. นายพา อักษรเสือ ๑๖. นายบุญยืน ศุภสารสาทร
๑๗. พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ ๑๘. นายชุมพล ศิลปอาชา
๑๙. นายปราโมทย์ ไพชนม์ ๒๐. นายพิเชฐ พัฒนโชติ
๒๑. นายทองใบ ทองเปาด์ ๒๒. นายจรูญ ยังประภากร
๒. ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว พร้อมรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา
ศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ เมื่อนายกรัฐมนตรี
กล่าวชี้แจง และคณะกรรมาธิการฯ แถลงรายงานแล้ว มีสมาชิกฯ อภิปรายจนได้เวลาพอสมควร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตอบชี้แจงแล้ว ประธานของที่ประชุม
ได้สั่งเลื่อนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปพิจารณาในการประชุมวุฒิสภาครั้งต่อไป
เลิกประชุมเวลา ๒๑.๕๐ นาฬิกา
(นายมนตรี รูปสุวรรณ)
เลขาธิการวุฒิสภา
กลุ่มงานรายงานการประชุม
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๒๗
โทรสาร ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๒๔