บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)

ข่าวการเมือง Friday October 1, 2004 14:43 —รัฐสภา

                        บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๑๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันจันทร์ที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๔๕ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาประชุมครบองค์ประชุม นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา
และนายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่อง
คณะกรรมาธิการฯ ขอขยายเวลาการพิจารณาศึกษาเรื่องต่าง ๆ รวม ๔ คณะ คือ
๑. คณะกรรมาธิการสามัญเพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควร
เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ขอขยายเวลาการพิจารณาเรื่องดังกล่าวออกไปอีก ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๗
๒. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาจุดผ่อนปรน จุดผ่านแดนชั่วคราว
และจุดผ่านแดนถาวร ขอขยายเวลาการพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าวออกไปอีก ๑ ปี
นับแต่วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๗
๓. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวนและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต
ขอขยายเวลาการพิจารณาสอบสวนและศึกษาเรื่องดังกล่าวออกไปจนครบอายุของวุฒิสภาชุดนี้
นับแต่วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๗
๔. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษากรณีการหายตัวไปของ
นายสมชาย นีละไพจิตร ขอขยายเวลาการพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าวออกไปอีก ๖๐ วัน
นับแต่วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๔๗
การขอขยายเวลาของคณะกรรมาธิการฯ ทั้ง ๔ คณะดังกล่าว เป็นการขอขยายเวลา
ในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ โดยประธานวุฒิสภาได้อนุญาตให้คณะกรรมาธิการสามัญเพื่อพิจารณา
เสนอรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาศึกษากรณีการหายตัวไปของนายสมชาย นีละไพจิตร ขยายเวลาได้ทั้ง ๒ คณะตามที่ขอมา
ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๙๒ วรรคสอง ในส่วนของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาจุดผ่อนปรน
จุดผ่านแดนชั่วคราวและจุดผ่านแดนถาวร และคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวนและศึกษา
เรื่องเกี่ยวกับการทุจริต ประธานวุฒิสภาได้อนุญาตให้ขยายเวลาออกไปอีก ๖ เดือน ทั้ง ๒ คณะ
ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่อง คณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. ขอขยายเวลาการพิจารณาศึกษา
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวออกไปอีก ๓๐ วัน นับแต่วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๗ ตามรัฐธรรมนูญฯ
มาตรา ๑๗๔ ให้ที่ประชุมพิจารณา ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และมีมติให้ขยายเวลาได้ตามที่
คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ร้องขอ
จากนั้น ประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาและรับทราบร่างพระราชกฤษฎีกา
จัดตั้งสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ พ.ศ. .... ตามมาตรา ๑๘ วรรคสี่
และวรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ หลังจากสมาชิกฯ
อภิปราย และรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้รับทราบ
ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าว
ต่อจากนั้น ประธานวุฒิสภาได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอเลื่อนเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม ลำดับที่ ๑.๒ ถึงลำดับที่ ๑.๗ ออกไปก่อน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ
หลังจากนั้น ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่งได้ผลัดเปลี่ยนกัน
ทำหน้าที่ประธานของที่ประชุม โดยประธานของที่ประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องด่วน
ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรเป็นกรรมการ
ตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ ตามความในมาตรา ๓๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการ
เพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวน ๒๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายพิชัย ขำเพชร ๒. นายสมบูรณ์ ทองบุราณ
๓. นายวีรวร สิทธิธรรม ๔. นายสันติ์ เทพมณี
๕. พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ ๖. นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา
๗. พลเอก วัฒนา สรรพานิช ๘. พลตำรวจตรี วีระ อนันตกูล
๙. นายคำนวณ เหมาะประสิทธิ์ ๑๐. นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ
๑๑. นายอนันต์ ผลอำนวย ๑๒. นายสุนทร จินดาอินทร์
๑๓. นายมนัส รุ่งเรือง ๑๔. นายสุรสิทธิ์ ฉัตรชัยเดช
๑๕. นายชงค์ วงษ์ขันธ์ ๑๖. นายนภินทร ศรีสรรพางค์
๑๗. นายประศักดิ์ ณ กาฬสินธุ์ ๑๘. คุณหญิงจินตนา สุขมาก
๑๙. นายปราโมทย์ ไพชนม์ ๒๐. พลโท ปัญญา อยู่ประเสริฐ
๒๑. นายสัก กอแสงเรือง ๒๒. นายจรูญ ยังประภากร
โดยมีกำหนดการปฏิบัติภารกิจภายใน ๔๕ วัน นับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการฯ ชุดนี้
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ….
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรองนายกรัฐมนตรี
(นายวิษณุ เครืองาม) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติ
ไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายอูมาร์ ตอยิบ ๒. นายโอภาส รองเงิน
๓. นางสาวอุษณีย์ ชิดชอบ ๔. นายพา อักษรเสือ
๕. พันตำรวจเอก ไพจิตร ศรีคงคา ๖. นายฟัครุดดีน บอตอ
๗. พลเอก หาญ ลีนานนท์ ๘. นายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง
๙. นายจิโรจน์ โชติพันธุ์ ๑๐. นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ
๑๑. ร้อยตรี อำนวย ไทยานนท์ ๑๒. นายบุญเลิศ ไพรินทร์
๑๓. นายปราโมทย์ ไม้กลัด ๑๔. นายบุญญา หลีเหลด
๑๕. นายผ่อง เล่งอี้ ๑๖. นายณรงค์ นุ่นทอง
๑๗. นายกมล มั่นภักดี ๑๘. นายอนันต์ ดาโลดม
๑๙. นายเด่น โต๊ะมีนา ๒๐. นางบัวล้อม พูลลาภ
๒๑. นายปริญญา กรวยทอง ๒๒. นายพิชิต ชัยวิรัตนะ
๒๓. นางเพ็ญศักดิ์ จักษุจินดา ๒๔. นายจอน อึ๊งภากรณ์
๒๕. นายสุรพล ทิพย์เสนา
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
ต่อมา ประธานของที่ประชุมได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ได้ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนครศรีธรรมราช แทนตำแหน่งที่ว่าง
ปรากฏว่า นายสวัสดิ์ กฤตรัชตนันต์ เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนครศรีธรรมราช
แทนตำแหน่งที่ว่าง
จากนั้น ประธานของที่ประชุมได้กล่าวนำสมาชิกวุฒิสภาใหม่ (นายสวัสดิ์ กฤตรัชตนันต์)
ปฏิญาณตนในที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๕๐
ต่อจากนั้น ประธานของที่ประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องด่วน ตามลำดับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติ
เห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตอบชี้แจงแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ ๒. นายสุริยน ภูมิรัตนประพิณ
๓. พลตำรวจตรี เสกสันต์ อุ่นสำราญ ๔. นายสมสิทธิ์ ศิริเจริญไชย
๕. นายวิญญู อุฬารกุล ๖. นายแคล้ว นรปติ
๗. นายบุญทัน ดอกไธสง ๘. นายโกเมศ ฑีฆธนานนท์
๙. นายจิโรจน์ โชติพันธุ์ ๑๐. นายสนิท กุลเจริญ
๑๑. นางบัวล้อม พูลลาภ ๑๒. นายบุญเลิศ ไพรินทร์
๑๓. นายวีรวร สิทธิธรรม ๑๔. พันเอก สมคิด ศรีสังคม
๑๕. นายวิทยา มะเสนา ๑๖. นายวิบูลย์ แช่มชื่น
๑๗. นายพา อักษรเสือ ๑๘. นายอมร นิลเปรม
๑๙. นายสวัสดิ์ ทรัพย์เจริญ ๒๐. นางเตือนใจ ดีเทศน์
๒๑. นายคำพันธ์ ป้องปาน ๒๒. นายสมัย ฮมแสน
๒๓. นายธวัชชัย เมืองนาง ๒๔. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
๒๕. นายรังสรรค์ กระจ่างตา
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตอบชี้แจงแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายปราโมทย์ ไพชนม์ ๒. นายณรงค์สิทธิ์ เครือรัตน์
๓. นายเชิดพงษ์ อุทัยสาง ๔. นายสมควร จิตแสง
๕. นายอาคม ตุลาดิลก ๖. นายบุญญา หลีเหลด
๗. นายวีระพล วัชรประทีป ๘. นายปรีดี หิรัญพฤกษ์
๙. นายจิโรจน์ โชติพันธุ์ ๑๐. นางบุษรินทร์ ติยะไพรัช วรพัฒนานันต์
๑๑. นายวิทยา มะเสนา ๑๒. นายสนิท จันทรวงศ์
๑๓. นายสุพร สุภสร ๑๔. นายถาวร เกียรติไชยากร
๑๕. นางวิลาวัณย์ ตันวัฒนะพงษ์ ๑๖. นายชงค์ วงษ์ขันธ์
๑๗. นายคำพันธ์ ป้องปาน ๑๘. นายสม ต๊ะยศ
๑๙. นายสมสิทธิ์ ศิริเจริญไชย ๒๐. นายมนตรี สินทวิชัย
๒๑. นายลำพอง พิลาสมบัติ ๒๒. นายพิเชฐ พัฒนโชติ
๒๓. นายวิบูลย์ แช่มชื่น ๒๔. นางมาลีรัตน์ แก้วก่า
๒๕. นายวราสิทธิ์ กาญจนสูตร
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๓. ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี ๒. นายปราโมทย์ ไม้กลัด
๓. นายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์ ๔. นางจิตรา อยู่ประเสริฐ
๕. นายวิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์ ๖. นายสามารถ รัตนประทีปพร
๗. นายมนู วณิชชานนท์ ๘. นายดำรง พุฒตาล
๙. นายวิชัย ครองยุติ ๑๐. นายทวีป ขวัญบุรี
๑๑. นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ ๑๒. นายอนันตชัย คุณานันทกุล
๑๓. พลเอก มนัส อร่ามศรี ๑๔. นายปรีชา ปิตานนท์
๑๕. พลตำรวจตรี สนาม คงเมือง ๑๖. พันตำรวจเอก ไพจิตร ศรีคงคา
๑๗. นายผ่อง เล่งอี้ ๑๘. นายวิโรจน์ อมตกุลชัย
๑๙. นายวีรพงศ์ สกลกิติวัฒน์ ๒๐. นายโสภณ สุภาพงษ์
๒๑. พลตำรวจตรี เสกสันต์ อุ่นสำราญ ๒๒. นายสราวุธ นิยมทรัพย์
๒๓. นายนิคม เชาว์กิตติโสภณ ๒๔. นายจรูญ ยังประภากร
๒๕. นายดิสทัต โหตระกิตย์
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๔. ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติ
เห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(นายประชา มาลีนนท์) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติ
ไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. พลตรี สาคร กิจวิริยะ ๒. นายจำเจน จิตรธร
๓. นายธวัชชัย เมืองนาง ๔. นายอาคม ตุลาดิลก
๕. นายอนุชาติ บรรจงศุภมิตร ๖. นางมาลีรัตน์ แก้วก่า
๗. นายเกษม ชัยสิทธิ์ ๘. คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช
๙. ร้อยตรี อนุกูล สุภาไชยกิจ ๑๐. นายสงวน นันทชาติ
๑๑. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา ๑๒. นางบุษรินทร์ ติยะไพรัช วรพัฒนานันต์
๑๓. นายพร เพ็ญพาส ๑๔. นายอุบล เอื้อศรี
๑๕. นายวิเชียร เปาอินทร์ ๑๖. พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน
๑๗. นายกมล มั่นภักดี ๑๘. นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล
๑๙. นายชิต เจริญประเสริฐ ๒๐. นางสุนีย์ อินฉัตร
๒๑. นายถวิล ไพรสณฑ์ ๒๒. นางจิตรา อยู่ประเสริฐ
๒๓. นายแก้วสรร อติโพธิ ๒๔. นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ
๒๕. นายปกรณ์ นิลประพันธ์
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
หลังจากนั้น ประธานของที่ประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องอื่น ๆ
ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา จำนวน ๑๒ คน
ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ประกอบด้วย
๑. พลอากาศเอก กานต์ สุระกุล ๒. นายคำพันธ์ ป้องปาน
๓. นายประสิทธิ์ พิทูรกิจจา ๔. นายปราโมทย์ ไพชนม์
๕. พลตำรวจโท ปรีชา ปฏิบัติสรกิจ ๖. นายสมเกียรติ ศรลัมพ์
๗. นางสุนีย์ อินฉัตร ๘. นายสุรใจ ศิรินุพงศ์
๙. พลตำรวจตรี เสกสันต์ อุ่นสำราญ ๑๐. นายไสว พราหมณี
๑๑. นายอูมาร์ ตอยิบ ๑๒. พลโท โอภาส รัตนบุรี
๒. ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา จำนวน ๑๒ คน ประกอบเป็น
คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ประกอบด้วย
๑. นายตรีทศ นิโครธางกูร ๒. นายพิเชฐ พัฒนโชติ
๓. นายมนัส คำภักดี ๔. นายมนัส รุ่งเรือง
๕. นางมาลินี สุขเวชชวรกิจ ๖. พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน
๗. พลตำรวจตรี สนาม คงเมือง ๘. นายสมสิทธิ์ ศิริเจริญไชย
๙. นายสวัสดิภาพ กันทาธรรม ๑๐. นายสุนทร จินดาอินทร์
๑๑. นายสุรใจ ศิรินุพงศ์ ๑๒. พลตำรวจตรี เสกสันต์ อุ่นสำราญ
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๑๕ นาฬิกา
(นางสาววรรณี เกตุนุติ)
รองเลขาธิการวุฒิสภา รักษาราชการแทน
เลขาธิการวุฒิสภา
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา จำนวน ๕ ฉบับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ....
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ....
๔. ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ....
๕. ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
จำนวน ๒ ฉบับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
กลุ่มงานรายงานการประชุม
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๒๗
โทรสาร ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๒๔

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ