ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. เศรษฐกิจอาเซียนปี 47 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง เปิด
เผยว่า เศรษฐกิจของอาเซียนในปี 47 จะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6 ถือว่าเป็นภูมิภาคที่มีการขยายตัวสูงสุดเมื่อ
เทียบกับภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวม และหากสามารถคงแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจเช่นนี้ต่อไปจนถึงปี
53 จีดีพีของอาเซียนจะมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ถือได้ว่าเป็นภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน
การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ กลุ่มอาเซียนได้ร่วมมือกันผลักดันให้เกิดเป็นประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียนขึ้น โดยจะรวมตัวกันทั้งทางด้านสินค้า บริการ และเงินทุนในปี 63 อีกทั้งยังชี้ให้นักลงทุนเห็นโอกาสใน
การลงทุนในตลาดทุนในอาเซียน รวมทั้งตลาดตราสารหนี้และตลาดหลักทรัพย์ โดย ณ สิ้นปี 46 มูลค่าของตลาด
ตราสารหนี้ในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 5 คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย มีมากกว่า
370 ล้านดอลลาร์ สรอ. มีบริษัทเข้ารับการจดทะเบียนมากกว่า 2,300 บริษัท มูลค่าตลาดประมาณ 600 พัน
ล้านดอลลาร์ สรอ. (โลกวันนี้)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี นางนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการ
สายตลาดการเงิน ธปท. เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน ส.ค.47 ว่า การใช้จ่ายภาคเอกชนและการผลิต
ภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวต่อเนื่อง รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ต่ำสุดในรอบ
3 ปี และยังเป็นเดือนที่กลับมาขาดดุลการค้าอีกครั้ง ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพียง 215 ล้านดอลลาร์
สรอ. อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของการนำเข้าที่สูงมากเป็นตัวชี้ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจะกลับ
มาขยายตัวอย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบเพิ่มขึ้น คาดว่าจะทำให้การลงทุน
และการผลิตในเดือนต่อ ๆ ไปขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากช่วย
เดียวกันของปีก่อน ด้านการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3 มูลค่า 8,209 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่การนำเข้าเพิ่ม
ขึ้นในอัตราสูงกว่าที่ระดับร้อยละ 37.1 มูลค่า 8,491 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้ขาดดุลการค้า 282 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลบริการในเดือนนี้เกินดุล 497 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้เกินดุลบัญชีเดินสะพัด 215
ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลชำระเงินเกินดุล 29 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งการดูแลเศรษฐกิจต่อไปจะต้องสร้าง
ความสมดุลระหว่างการขยายตัวและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วยการเร่งการส่งออก รวมทั้งต้องประหยัดและ
เพิ่มการออมให้มากขึ้น (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, มติชน, เดลินิวส์)
3. ธปท. ประกาศใช้บาร์โค้ดในการชำระเงินตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.48 นายสายัณห์ ปริวัตร ผอ.
อาวุโส สายระบบการชำระเงิน ธปท. ชี้แจงถึงความร่วมมือของ ธปท. และคณะอนุกรรมการความร่วมมือเพื่อ
การชำระเงินแห่งชาติ ในการกำหนดรหัสแท่งมาตรฐานสำหรับการชำระเงิน (บาร์โค้ด) เพื่อให้หน่วยงานที่ให้
บริการรับชำระเงินใช้บาร์โค้ดที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะกำหนดให้หน่วยงานที่รับชำระเงินต่าง ๆ ใช้บาร์
โค้ดมาตรฐานตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.48 เนื่องจากปัจจุบันบาร์โค้ดที่ใช้อยู่มีหลายรูปแบบไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำ
ให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการพิมพ์เอกสารการชำระเงิน ซึ่งการใช้บาร์โค้ดมาตรฐานเดียวกันทำให้ลดค่าใช้จ่าย
และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการกระบวนการชำระเงิน ตั้งแต่การรับชำระเงินจากลูกค้าจนถึงการส่งข้อมูลการ
ชำระเงินให้ผู้ออกเอกสารการชำระเงินเพื่องานต่อไป รวมถึงการรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระ
เงินทางอิเล็กทรอนิกส์และเป็นการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในระดับภูมิภาคได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็น
ประโยชน์ในการเก็บข้อมูลและการออกใบรับรองภาษีด้วย (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์)
4. ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนช่วงปี งปม.47 มีมูลค่าสูงกว่า 4.5 แสนล้านบาท นายสาธิต
ศิริรังคมานนท์ รองเลขาธิการ บีโอไอ เปิดเผยว่าในช่วงปี งปม.47 (ต.ค.46-ก.ย.47) มีโครงการยื่นขอรับ
ส่งเสริมการลงทุน 1,259 โครงการ มูลค่า 450,413 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายเดิมร้อยละ 12.5 จากที่ตั้ง
ไว้ 4 แสนล้านบาท โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 47 มีโครงการยื่นขอส่งเสริมการลงทุน 974 โครงการ
มูลค่าเงินลงทุน 389,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีมูลค่าการลงทุน
เพียง 243,900 ล้านบาท และคาดว่าจะเกิดการจ้างแรงงานไทยกว่า 176,930 คน โดยโครงการที่ยื่นขอรับ
ส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด ได้แก่ กิจการในหมวดอุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค 176 โครงการ มูลค่า
การลงทุน 129,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 223 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีการลงทุน 39,900 ล้านบาท
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น อันดับสอง คือ กิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
มูลค่าเงินลงทุน 75,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 61 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการลงทุนโดยตรง
จากต่างประเทศที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย.47 มีมูลค่ารวม 3 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. ถือเป็นมูลค่าการลงทุนสูงสุดในอาเซียน จากเดิมที่เคยอยู่ในอันดับ 3 รองจากมาเลเซียและ
อินโดนีเซียในช่วงปี 38-46 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
อุตสาหกรรมโลหะและยานยนต์ เคมี กระดาษ และพลาสติก (บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาบ้านของอังกฤษปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ย.47 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 30 ก.ย.47 Nationwide Building Society เปิดเผยว่า ราคาบ้านของอังกฤษในเดือน ก.ย.47
ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
แสดงให้เห็นถึงการค่อยๆ ชะลอตัวลงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ และถึงแม้ว่าราคาบ้านในเดือน ก.ย.นี้จะปรับตัว
เพิ่มขึ้นพอประมาณตามมาตรฐานของตลาดอสังหาริมทรัพย์ แต่ก็เป็นการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
0.1 ในเดือนก่อนหน้าเท่านั้น ทั้งนี้ สมาชิกจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินได้กล่าวว่า ข้อมูลเกี่ยวกับ
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในขณะนี้ ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าบ่งชี้ถึงภาวะชะลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็
ตาม Nationwide เปิดเผยว่า การขยายตัวของราคาบ้านหากเทียบเป็นรายไตรมาส จะเห็นได้ว่าไตรมาสที่
3 ลดลงเพียงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับที่ลดลงถึงร้อยละ 28 ในช่วงไตรมาสที่ 2ของปี ซึ่งเชื่อว่าสถานการณ์
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของอังกฤษจะไม่ประสบภาวะซบเซา และราคาบ้านของอังกฤษจะสามารถเติบโตได้ในระยะ
ต่อไป อนึ่ง การที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นที่จับตามองอย่างใกล้ชิดเนื่องจากถือเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของ
อังกฤษ เนื่องจาก 2 ใน 3 ของครัวเรือนอังกฤษมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 รายงานจา
กบรัสเซลล์ เมื่อ 30 ก.ย.47 สำนักงานสถิติเขตเศรษฐกิจยุโรป เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของเขต
เศรษฐกิจยุโรปในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบจากปีก่อน เนื่องจากระดับราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น
อย่างมาก หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเดือนก่อน ซึ่งสอดคล้องกับที่นักเศรษฐศาสตร์ประมาณการไว้ อย่าง
ไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปก็ยังคงอยู่สูงกว่าเป้าหมายของ ธ.กลางยุโรปที่กำหนดไว้ คือ
ร้อยละ 2.0 ตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา สำหรับตัวเลขด้านภาคครัวเรือนก็ยังไม่แจ่มใสเท่าใดนัก โดยดัชนี
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ -13 ในเดือน ก.ย.47 หลังจากที่อยู่ที่ระดับ -14 เมื่อเดือน
ก่อน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นที่ระดับ -3 จากระดับ -4 ในเดือน ส.ค.47 อย่างไรก็ตาม นัก
เศรษฐศาสตร์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงความคาดหวังว่า ธ.กลางยุโรปยังคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิม
อีกระยะหนึ่ง เนื่องจากดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมมีแนวโน้มดีขึ้นในเดือน ก.ย.47 (รอยเตอร์)
3. เยอรมนีปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณยอดการขายปลีกเป็นครั้งแรกในเดือน ส.ค.47 รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อ 30 ก.ย.47 สำนักงานสถิติเยอรมนี เปิดเผยว่า การคำนวณยอดการขายปลีกของเยอรมนีใน
เดือน ส.ค.47 จะปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณเป็นครั้งแรกโดยใช้วิธีของ ธ.กลางเยอรมนี ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะมี
การปรับปัจจัยทางฤดูกาลตามที่ ธ.กลางใช้ ซึ่งเท่าที่ผ่านมาจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันมาก ตัวอย่างเช่น ยอดการ
ขายปลีกเมื่อเดือน ก.ค.47 หากไม่นับรวมยอดขายรถยนต์และยอดขายจากสถานีน้ำมันเมื่อปรับปัจจัยทางด้านเงิน
เฟ้อแล้วสำนักงานสถิติประกาศว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เทียบต่อเดือน แต่หลังจากทบทวนตัวเลขภายหลังพบว่าเพิ่ม
ขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ในขณะที่ ภายใต้วิธีการคำนวณของธ.กลางยอดการขายปลีกที่ไม่นับรวมยอดขายรถยนต์และ
ยอดขายจากสถานีน้ำมันจะลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบต่อเดือน อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจของรอยเตอร์เมื่อวัน
ศุกร์ที่ผ่านมาคาดว่ายอดการขายปลีกของเยอรมนีในเดือน ส.ค.47 จะลดลงร้อยละ 0.7 เทียบต่อเดือน แต่เมื่อ
เทียบต่อปีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 (รอยเตอร์)
4. หนี้ต่างประเทศของจีน ณ สิ้นสุดเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้นถึงระดับ 220.98 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 47 รัฐบาลจีนเปิดเผยว่า ณ สิ้นสุดเดือนมิ.ย. หนี้ต่างประเทศของจีน
สูงขึ้นถึงระดับ 220.98 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเมื่อสิ้นสุดปี 46 ถึงร้อยละ 14 เนื่องจากการควบคุม
สินเชื่อและคาดการณ์การปรับค่าเงินหยวนกระตุ้นอุปสงค์สำหรับเงินทุนต่างประเทศ โดยหนี้ระยะสั้นซึ่งเป็นสัดส่วน
ถึงร้อยละ 44.78 ของหนี้สินทั้งหมด พุ่งขึ้นถึง 98.96 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 21.92 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. จากเมื่อปลายปี 46 สำหรับหนี้ต่างประเทศระยะกลางและระยะยาวสูงเกือบถึงระดับ 122.02 พัน ล.
ดอลลาร์สรอ.เพิ่มขึ้น 5.43 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.จาก ณ สิ้นสุดปี 46 ทั้งนี้จีนได้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ
มหภาคมาตั้งแต่ปลายปี 46 และนโยบายดังกล่าวค่อยๆส่งผลดังจะเห็นได้จากบางบริษัทต้องเสาะหาเงินทุนจาก
ต่างประเทศเนื่องจากเงินทุนในประเทศยังคงตึงตัว นอกจากนั้นการคาดการณ์กันว่าจะมีการปรับค่าเงินหยวนและ
การขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของหนี้ต่างประเทศด้วย อย่างไรก็ตามการที่สรอ.ปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายเมื่อเร็วๆนี้อาจจะมีส่วนช่วยให้เงินทุนไหลเข้าจีนชะลอลง ปัจจุบันหนี้ใหม่ของจีนที่ไม่นับรวมสิน
เชื่อทางการค้าในช่วงครึ่งแรกปี 47 มีประมาณ 83.44 พัน ล. สรอ. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 97.8 จากช่วงเดียว
กันปีก่อน โดยประเทศจีนได้ชำระหนี้ที่ครบกำหนดอายุไปแล้ว 59.48 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. พร้อมกับดอกเบี้ย
1.19 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. อนึ่งทางการจีนมีข้อจำกัดสำหรับ ธ.ต่างประเทศในการกู้ยืมเงินระยะสั้นจากต่าง
ประเทศภายในเดือนมิ.ย. เพื่อช่วยสกัดเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินหยวนทั้งๆที่นโยบายดังกล่าวถูกวิพากษ์
วิจารณ์ว่า อาจส่งผลให้ธ.ต่างชาติไม่อาจแข่งขันกับธ.จีนได้ อย่างไรก็ตามจีนเป็นอันดับ 2 ในโลกรองจากญี่ปุ่นที่
มีทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นสุดเดือนมิ.ย. สูงถึง 470.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งหมายถึงความ
สามารถในการชำระคืนหนี้ต่างประเทศได้ในระดับสูง(รอยเตอร์)
5. รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 5.0 แม้ว่าจะได้รับผลกระทบ
จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รายงานจากโซล เมื่อ 30 ก.ย.47 จนท.อาวุโสของ ก.คลังเกาหลีใต้ให้สัมภาษณ์ว่า
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 5.0 และขยายตัวในอัตราเดียวกันในปีหน้า แม้ว่าจะได้รับกระทบ
จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นถึง 50.47 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาจากความต้องการใช้น้ำมันใน
ตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นเร็วสุดในรอบ 24 ปี โดยเกาหลีใต้ต้องพึ่งพาน้ำมันและพลังงานในรูปอื่น ๆ จากต่างประเทศ
ทั้งหมดเพื่อป้อนให้อุตสาหกรรมส่งออกซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญเพียงหนึ่งเดียวที่ช่วยให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวใน
ขณะนี้ ในขณะที่ความต้องการในประเทศยังอยู่ในภาวะซบเซาโดย IMF ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปีนี้ลงเกือบร้อยละ 1.0 จากร้อยละ 5.5 เหลือร้อยละ 4.6 จากความต้องการใน
ประเทศที่อยู่ในภาวะซบเซา แม้ว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะได้พยายามกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนด้วยการลด
อัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 เมื่อเดือน ส.ค.47 ที่ผ่านมาทำให้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่ำ
สุดเป็นประวัติการณ์ก็ตาม โดย ธ.กลางเกาหลีใต้จะทบทวนนโยบายอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในวันที่ 7 ต.ค.47 นี้
จนท.ก.คลังไม่ได้เปิดเผยถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพียงแต่กล่าวว่ารัฐบาลจะใช้มาตรการ
ทุกอย่างที่เป็นไปได้เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปีหน้าขยายตัวในอัตราเดียวกับปีนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1 ต.ค. 47 30 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.5 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2992/41.5942 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6250-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 644.67/15.28 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,100/8,200 8,000/8,100 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 37.8 37.89 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. เศรษฐกิจอาเซียนปี 47 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง เปิด
เผยว่า เศรษฐกิจของอาเซียนในปี 47 จะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6 ถือว่าเป็นภูมิภาคที่มีการขยายตัวสูงสุดเมื่อ
เทียบกับภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวม และหากสามารถคงแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจเช่นนี้ต่อไปจนถึงปี
53 จีดีพีของอาเซียนจะมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ถือได้ว่าเป็นภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน
การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ กลุ่มอาเซียนได้ร่วมมือกันผลักดันให้เกิดเป็นประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียนขึ้น โดยจะรวมตัวกันทั้งทางด้านสินค้า บริการ และเงินทุนในปี 63 อีกทั้งยังชี้ให้นักลงทุนเห็นโอกาสใน
การลงทุนในตลาดทุนในอาเซียน รวมทั้งตลาดตราสารหนี้และตลาดหลักทรัพย์ โดย ณ สิ้นปี 46 มูลค่าของตลาด
ตราสารหนี้ในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 5 คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย มีมากกว่า
370 ล้านดอลลาร์ สรอ. มีบริษัทเข้ารับการจดทะเบียนมากกว่า 2,300 บริษัท มูลค่าตลาดประมาณ 600 พัน
ล้านดอลลาร์ สรอ. (โลกวันนี้)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี นางนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการ
สายตลาดการเงิน ธปท. เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน ส.ค.47 ว่า การใช้จ่ายภาคเอกชนและการผลิต
ภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวต่อเนื่อง รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ต่ำสุดในรอบ
3 ปี และยังเป็นเดือนที่กลับมาขาดดุลการค้าอีกครั้ง ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพียง 215 ล้านดอลลาร์
สรอ. อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของการนำเข้าที่สูงมากเป็นตัวชี้ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจะกลับ
มาขยายตัวอย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบเพิ่มขึ้น คาดว่าจะทำให้การลงทุน
และการผลิตในเดือนต่อ ๆ ไปขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากช่วย
เดียวกันของปีก่อน ด้านการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3 มูลค่า 8,209 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่การนำเข้าเพิ่ม
ขึ้นในอัตราสูงกว่าที่ระดับร้อยละ 37.1 มูลค่า 8,491 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้ขาดดุลการค้า 282 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลบริการในเดือนนี้เกินดุล 497 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้เกินดุลบัญชีเดินสะพัด 215
ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลชำระเงินเกินดุล 29 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งการดูแลเศรษฐกิจต่อไปจะต้องสร้าง
ความสมดุลระหว่างการขยายตัวและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วยการเร่งการส่งออก รวมทั้งต้องประหยัดและ
เพิ่มการออมให้มากขึ้น (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, มติชน, เดลินิวส์)
3. ธปท. ประกาศใช้บาร์โค้ดในการชำระเงินตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.48 นายสายัณห์ ปริวัตร ผอ.
อาวุโส สายระบบการชำระเงิน ธปท. ชี้แจงถึงความร่วมมือของ ธปท. และคณะอนุกรรมการความร่วมมือเพื่อ
การชำระเงินแห่งชาติ ในการกำหนดรหัสแท่งมาตรฐานสำหรับการชำระเงิน (บาร์โค้ด) เพื่อให้หน่วยงานที่ให้
บริการรับชำระเงินใช้บาร์โค้ดที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะกำหนดให้หน่วยงานที่รับชำระเงินต่าง ๆ ใช้บาร์
โค้ดมาตรฐานตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.48 เนื่องจากปัจจุบันบาร์โค้ดที่ใช้อยู่มีหลายรูปแบบไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำ
ให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการพิมพ์เอกสารการชำระเงิน ซึ่งการใช้บาร์โค้ดมาตรฐานเดียวกันทำให้ลดค่าใช้จ่าย
และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการกระบวนการชำระเงิน ตั้งแต่การรับชำระเงินจากลูกค้าจนถึงการส่งข้อมูลการ
ชำระเงินให้ผู้ออกเอกสารการชำระเงินเพื่องานต่อไป รวมถึงการรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระ
เงินทางอิเล็กทรอนิกส์และเป็นการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในระดับภูมิภาคได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็น
ประโยชน์ในการเก็บข้อมูลและการออกใบรับรองภาษีด้วย (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์)
4. ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนช่วงปี งปม.47 มีมูลค่าสูงกว่า 4.5 แสนล้านบาท นายสาธิต
ศิริรังคมานนท์ รองเลขาธิการ บีโอไอ เปิดเผยว่าในช่วงปี งปม.47 (ต.ค.46-ก.ย.47) มีโครงการยื่นขอรับ
ส่งเสริมการลงทุน 1,259 โครงการ มูลค่า 450,413 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายเดิมร้อยละ 12.5 จากที่ตั้ง
ไว้ 4 แสนล้านบาท โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 47 มีโครงการยื่นขอส่งเสริมการลงทุน 974 โครงการ
มูลค่าเงินลงทุน 389,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีมูลค่าการลงทุน
เพียง 243,900 ล้านบาท และคาดว่าจะเกิดการจ้างแรงงานไทยกว่า 176,930 คน โดยโครงการที่ยื่นขอรับ
ส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด ได้แก่ กิจการในหมวดอุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค 176 โครงการ มูลค่า
การลงทุน 129,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 223 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีการลงทุน 39,900 ล้านบาท
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น อันดับสอง คือ กิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
มูลค่าเงินลงทุน 75,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 61 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการลงทุนโดยตรง
จากต่างประเทศที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย.47 มีมูลค่ารวม 3 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. ถือเป็นมูลค่าการลงทุนสูงสุดในอาเซียน จากเดิมที่เคยอยู่ในอันดับ 3 รองจากมาเลเซียและ
อินโดนีเซียในช่วงปี 38-46 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
อุตสาหกรรมโลหะและยานยนต์ เคมี กระดาษ และพลาสติก (บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาบ้านของอังกฤษปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ย.47 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 30 ก.ย.47 Nationwide Building Society เปิดเผยว่า ราคาบ้านของอังกฤษในเดือน ก.ย.47
ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
แสดงให้เห็นถึงการค่อยๆ ชะลอตัวลงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ และถึงแม้ว่าราคาบ้านในเดือน ก.ย.นี้จะปรับตัว
เพิ่มขึ้นพอประมาณตามมาตรฐานของตลาดอสังหาริมทรัพย์ แต่ก็เป็นการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
0.1 ในเดือนก่อนหน้าเท่านั้น ทั้งนี้ สมาชิกจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินได้กล่าวว่า ข้อมูลเกี่ยวกับ
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในขณะนี้ ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าบ่งชี้ถึงภาวะชะลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็
ตาม Nationwide เปิดเผยว่า การขยายตัวของราคาบ้านหากเทียบเป็นรายไตรมาส จะเห็นได้ว่าไตรมาสที่
3 ลดลงเพียงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับที่ลดลงถึงร้อยละ 28 ในช่วงไตรมาสที่ 2ของปี ซึ่งเชื่อว่าสถานการณ์
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของอังกฤษจะไม่ประสบภาวะซบเซา และราคาบ้านของอังกฤษจะสามารถเติบโตได้ในระยะ
ต่อไป อนึ่ง การที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นที่จับตามองอย่างใกล้ชิดเนื่องจากถือเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของ
อังกฤษ เนื่องจาก 2 ใน 3 ของครัวเรือนอังกฤษมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 รายงานจา
กบรัสเซลล์ เมื่อ 30 ก.ย.47 สำนักงานสถิติเขตเศรษฐกิจยุโรป เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของเขต
เศรษฐกิจยุโรปในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบจากปีก่อน เนื่องจากระดับราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น
อย่างมาก หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเดือนก่อน ซึ่งสอดคล้องกับที่นักเศรษฐศาสตร์ประมาณการไว้ อย่าง
ไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปก็ยังคงอยู่สูงกว่าเป้าหมายของ ธ.กลางยุโรปที่กำหนดไว้ คือ
ร้อยละ 2.0 ตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา สำหรับตัวเลขด้านภาคครัวเรือนก็ยังไม่แจ่มใสเท่าใดนัก โดยดัชนี
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ -13 ในเดือน ก.ย.47 หลังจากที่อยู่ที่ระดับ -14 เมื่อเดือน
ก่อน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นที่ระดับ -3 จากระดับ -4 ในเดือน ส.ค.47 อย่างไรก็ตาม นัก
เศรษฐศาสตร์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงความคาดหวังว่า ธ.กลางยุโรปยังคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิม
อีกระยะหนึ่ง เนื่องจากดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมมีแนวโน้มดีขึ้นในเดือน ก.ย.47 (รอยเตอร์)
3. เยอรมนีปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณยอดการขายปลีกเป็นครั้งแรกในเดือน ส.ค.47 รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อ 30 ก.ย.47 สำนักงานสถิติเยอรมนี เปิดเผยว่า การคำนวณยอดการขายปลีกของเยอรมนีใน
เดือน ส.ค.47 จะปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณเป็นครั้งแรกโดยใช้วิธีของ ธ.กลางเยอรมนี ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะมี
การปรับปัจจัยทางฤดูกาลตามที่ ธ.กลางใช้ ซึ่งเท่าที่ผ่านมาจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันมาก ตัวอย่างเช่น ยอดการ
ขายปลีกเมื่อเดือน ก.ค.47 หากไม่นับรวมยอดขายรถยนต์และยอดขายจากสถานีน้ำมันเมื่อปรับปัจจัยทางด้านเงิน
เฟ้อแล้วสำนักงานสถิติประกาศว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เทียบต่อเดือน แต่หลังจากทบทวนตัวเลขภายหลังพบว่าเพิ่ม
ขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ในขณะที่ ภายใต้วิธีการคำนวณของธ.กลางยอดการขายปลีกที่ไม่นับรวมยอดขายรถยนต์และ
ยอดขายจากสถานีน้ำมันจะลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบต่อเดือน อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจของรอยเตอร์เมื่อวัน
ศุกร์ที่ผ่านมาคาดว่ายอดการขายปลีกของเยอรมนีในเดือน ส.ค.47 จะลดลงร้อยละ 0.7 เทียบต่อเดือน แต่เมื่อ
เทียบต่อปีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 (รอยเตอร์)
4. หนี้ต่างประเทศของจีน ณ สิ้นสุดเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้นถึงระดับ 220.98 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 47 รัฐบาลจีนเปิดเผยว่า ณ สิ้นสุดเดือนมิ.ย. หนี้ต่างประเทศของจีน
สูงขึ้นถึงระดับ 220.98 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเมื่อสิ้นสุดปี 46 ถึงร้อยละ 14 เนื่องจากการควบคุม
สินเชื่อและคาดการณ์การปรับค่าเงินหยวนกระตุ้นอุปสงค์สำหรับเงินทุนต่างประเทศ โดยหนี้ระยะสั้นซึ่งเป็นสัดส่วน
ถึงร้อยละ 44.78 ของหนี้สินทั้งหมด พุ่งขึ้นถึง 98.96 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 21.92 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. จากเมื่อปลายปี 46 สำหรับหนี้ต่างประเทศระยะกลางและระยะยาวสูงเกือบถึงระดับ 122.02 พัน ล.
ดอลลาร์สรอ.เพิ่มขึ้น 5.43 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.จาก ณ สิ้นสุดปี 46 ทั้งนี้จีนได้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ
มหภาคมาตั้งแต่ปลายปี 46 และนโยบายดังกล่าวค่อยๆส่งผลดังจะเห็นได้จากบางบริษัทต้องเสาะหาเงินทุนจาก
ต่างประเทศเนื่องจากเงินทุนในประเทศยังคงตึงตัว นอกจากนั้นการคาดการณ์กันว่าจะมีการปรับค่าเงินหยวนและ
การขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของหนี้ต่างประเทศด้วย อย่างไรก็ตามการที่สรอ.ปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายเมื่อเร็วๆนี้อาจจะมีส่วนช่วยให้เงินทุนไหลเข้าจีนชะลอลง ปัจจุบันหนี้ใหม่ของจีนที่ไม่นับรวมสิน
เชื่อทางการค้าในช่วงครึ่งแรกปี 47 มีประมาณ 83.44 พัน ล. สรอ. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 97.8 จากช่วงเดียว
กันปีก่อน โดยประเทศจีนได้ชำระหนี้ที่ครบกำหนดอายุไปแล้ว 59.48 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. พร้อมกับดอกเบี้ย
1.19 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. อนึ่งทางการจีนมีข้อจำกัดสำหรับ ธ.ต่างประเทศในการกู้ยืมเงินระยะสั้นจากต่าง
ประเทศภายในเดือนมิ.ย. เพื่อช่วยสกัดเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินหยวนทั้งๆที่นโยบายดังกล่าวถูกวิพากษ์
วิจารณ์ว่า อาจส่งผลให้ธ.ต่างชาติไม่อาจแข่งขันกับธ.จีนได้ อย่างไรก็ตามจีนเป็นอันดับ 2 ในโลกรองจากญี่ปุ่นที่
มีทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นสุดเดือนมิ.ย. สูงถึง 470.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งหมายถึงความ
สามารถในการชำระคืนหนี้ต่างประเทศได้ในระดับสูง(รอยเตอร์)
5. รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 5.0 แม้ว่าจะได้รับผลกระทบ
จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รายงานจากโซล เมื่อ 30 ก.ย.47 จนท.อาวุโสของ ก.คลังเกาหลีใต้ให้สัมภาษณ์ว่า
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 5.0 และขยายตัวในอัตราเดียวกันในปีหน้า แม้ว่าจะได้รับกระทบ
จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นถึง 50.47 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาจากความต้องการใช้น้ำมันใน
ตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นเร็วสุดในรอบ 24 ปี โดยเกาหลีใต้ต้องพึ่งพาน้ำมันและพลังงานในรูปอื่น ๆ จากต่างประเทศ
ทั้งหมดเพื่อป้อนให้อุตสาหกรรมส่งออกซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญเพียงหนึ่งเดียวที่ช่วยให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวใน
ขณะนี้ ในขณะที่ความต้องการในประเทศยังอยู่ในภาวะซบเซาโดย IMF ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปีนี้ลงเกือบร้อยละ 1.0 จากร้อยละ 5.5 เหลือร้อยละ 4.6 จากความต้องการใน
ประเทศที่อยู่ในภาวะซบเซา แม้ว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะได้พยายามกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนด้วยการลด
อัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 เมื่อเดือน ส.ค.47 ที่ผ่านมาทำให้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่ำ
สุดเป็นประวัติการณ์ก็ตาม โดย ธ.กลางเกาหลีใต้จะทบทวนนโยบายอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในวันที่ 7 ต.ค.47 นี้
จนท.ก.คลังไม่ได้เปิดเผยถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพียงแต่กล่าวว่ารัฐบาลจะใช้มาตรการ
ทุกอย่างที่เป็นไปได้เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปีหน้าขยายตัวในอัตราเดียวกับปีนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1 ต.ค. 47 30 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.5 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2992/41.5942 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6250-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 644.67/15.28 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,100/8,200 8,000/8,100 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 37.8 37.89 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-