เศรษฐกิจภาคเหนือเดือนสิงหาคม 2547 ขยายตัวต่อเนื่องแต่ในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาน้ำมัน การชะลอการซื้อยานยนต์เพื่อรอรับประโยชน์จากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ประกอบกับทั้งกิจกรรมการลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐชะลอลง ตลอดจนมูลค่าส่งออกที่แม้ว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดีสนองตอบอุปสงค์จากต่างประเทศแต่ชะลอลงจากเดือนก่อนส่งผลให้การผลิตของอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกชะลอลงด้วย อย่างไรก็ดี รายได้เกษตรกรจากผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นจากปัจจัยทั้งด้านผลผลิตและราคา ภาคบริการขยายตัวเพราะได้รับประโยชน์จากการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการและการจัดประชุมสัมมนาของภาครัฐและภาคเอกชน สำหรับอัตราเงินเฟ้อชะลอลงขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับต่ำ สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวต่อเนื่องสนับสนุนธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร การส่งออก การค้าส่ง-ค้าปลีก และการบริการ
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจในเดือนสิงหาคม 2547 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.9 ตามผลผลิตของลำไย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าว ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.0 ร้อยละ 3.7 และร้อยละ 0.4 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายเนื้อที่เพาะปลูกเมื่อ 4-5 ปีที่แล้วและสภาพอากาศที่เหมาะสมในช่วงติดดอกทำให้ลำไยติดผลมาก ประกอบกับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปีก่อนอยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูก เช่นเดียวกับราคาข้าวที่อยู่ในเกณฑ์สูงจูงใจให้ชาวนาดูแลรักษาเพื่อเพิ่มผลผลิต ด้านราคาพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.1 แม้ว่าราคาลำไยลดลงร้อยละ 27.1 แต่ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวเหนียวนาปี ถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเหลือง สูงขึ้นร้อยละ 8.1 ร้อยละ 11.5 ร้อยละ 17.8 และร้อยละ 6.2 ตามลำดับ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวตามการผลิตเพื่อส่งออก แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนเนื่องจากคำสั่งซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีเก่าเริ่มลดลง อย่างไรก็ดี ความต้องการสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ยังมีต่อเนื่องโดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ในทีวีจอพลาสมาและที่ใช้ในรถยนต์ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา ทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์
3. ภาคบริการ ยังคงขยายตัว จากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว (Low Season) ของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ประกอบกับการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการของส่วนราชการและเอกชน ส่งผลให้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 49.7 ระยะเดียวกันปีก่อน เป็นร้อยละ 54.6 และราคาห้องพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 770.28 บาทต่อห้องในปีก่อน เป็นราคา 794.49 บาทต่อห้องในปีนี้ โดยมีผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.0 จากเดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) แข่งขันกันให้บริการ ประกอบกับมีเส้นทางการบินเปิดใหม่จากต่างประเทศมายังภาคเหนือโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่เพิ่มขึ้นหลายเส้นทาง
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ชะลอตัว ยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.2 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.1 เดือนก่อน เนื่องจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อเพื่อรอรับประโยชน์ทางภาษี ส่งผลให้ยอดจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ชะลอลงทั้งในภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง สำหรับยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เดือนก่อนโดยขยายตัวในภาคเหนือตอนล่างที่รายได้เกษตรกรอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ในภาคเหนือตอนบนลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทการขายส่ง/ขายปลีกในเดือนกรกฎาคม 2547 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.8 ชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองตามการชะลอตัวในภาคเหนือตอนบนเป็นสำคัญ
5. การลงทุนภาคเอกชน ชะลอตัวตามการลงทุนก่อสร้างเป็นสำคัญ กิจกรรมสำคัญ เช่น ค่าธรรมเนียมขายที่ดินเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.7 เดือนก่อน โดยชะลอตัวลงทั้งภาค ขณะที่พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 4.8 ตามการลดลงของพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างฯ ประเภทพาณิชยกรรมในภาคเหนือตอนบนเป็นสำคัญ ขณะที่พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้าง ฯ ทุกประเภทในภาคเหนือตอนล่างยังขยายตัวดี ด้านการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ ปรากฏว่า มูลค่านำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.0 เดือนก่อน ขณะที่เงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่ลดลงร้อยละ 37.2 โดยมีเพียงการลงทุนผลิตในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร
6. การคลัง การเบิกจ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือรวม 11,034.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7 เทียบกับร้อยละ 11.4 ปีก่อน โดยหมวดรายจ่ายประจำขยายตัวมากในประเภทค่าตอบแทนและประเภทครุภัณฑ์ และเพิ่มขึ้นที่จังหวัดนครสวรรค์และพิษณุโลก ทางด้านการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลจัดเก็บได้ 1,035.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เทียบกับร้อยละ 7.7 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ พิษณุโลก และ ลำพูน ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลในงบประมาณขาดดุล 9,999.1 ล้านบาท เทียบกับ 11,380.4 ล้านบาท เดือนก่อนและ 9,556.4 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.1 เป็น 186.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเฉพาะการส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมฯ ภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 เป็น 131.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวลงจากที่เร่งตัวในช่วงก่อนหน้าเนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีเก่าเริ่มลดลง อย่างไรก็ตามยังมีความต้องการสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีใหม่อย่างต่อเนื่อง เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในทีวีพลาสมา อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา ทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ โดยตลาดสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้นคือ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และจีน ขณะที่การส่งออกไป สหรัฐอเมริกา และอิสราเอล ลดลง ส่วนการส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 14.1 เหลือ 11.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.5 เป็น 42.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 33.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้น 6 เท่าตัว เป็น 5.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากการส่งออกผลไม้เพิ่มขึ้น แต่เป็นสินค้าส่งผ่านต่อไปยังประเทศจีน ขณะที่การส่งออกลำไยไปจีนตอนใต้ลดลงมาก เนื่องจากพ่อค้าหันไปส่งออกลำไยทางทะเลมากขึ้น
มูลค่านำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.7 เป็น 108.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าผ่านด่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 เป็น 100.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ ส่วนการนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 เป็น 5.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าอาหารทะเลประเภทปูและปลาเป็นสำคัญ ส่วนการนำเข้าจากจีนลดลงเช่นกันเนื่องจากการเปลี่ยนเส้นทางขนส่งผลไม้โดยนำเข้าผ่านท่าเรือกรุงเทพฯ ซึ่งสะดวกและอยู่ใกล้ตลาดค้าส่ง
ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเดือนสิงหาคม 2547 เกินดุล 78.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 70.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 ชะลอลงจากเดือนก่อน เป็นผลจากภาวะการค้าข้าวสารเจ้าหอมมะลิชะลอลง ผลไม้และผักสดมีปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เดือนก่อน สำหรับราคาอาหารหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเร่งตัวจากเดือนก่อนเล็กน้อยโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนจากการปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและค่าไฟฟ้าต่อหน่วย ด้านดัชนีราคา ผู้บริโภคพื้นฐานยังคงอยู่ในเกณฑ์ต่ำและไม่เปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนกรกฎาคม 2547 พบว่าภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.8 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.5 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 98.3 เดือนเดียวกันปีก่อน โดยผู้ใช้กำลังแรงงานในภาคเกษตรลดลงร้อยละ 0.7 เนื่องจากย้ายไปรับจ้างทำงานนอกภาคเกษตร ขณะที่นอกภาคเกษตรมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.1 โดยสาขาการก่อสร้าง การค้าส่ง-ค้าปลีก โรงแรมและภัตตาคาร และการศึกษา มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 ร้อยละ 19.0 ร้อยละ 7.8 และร้อยละ 60.8 ตามลำดับ ส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 1.4 ปีก่อนเหลือเพียงร้อยละ 1.1
10. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2547 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.8 เป็น 293,608 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ และตาก ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากเงินฝากของส่วนราชการ เช่น มหาวิทยาลัย สหกรณ์ออมทรัพย์ครู และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ส่วนเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 207,533 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน สินเชื่อขยายตัวบริเวณภาคเหนือตอนล่างที่จังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร และพิษณุโลก จากความต้องการใช้เงินของโรงสีข้าว และสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ส่วนในภาคเหนือตอนบนโดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่เพิ่มขึ้นจากการใช้สินเชื่อของธุรกิจส่งออกประเภทพืชผักแปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ ธุรกิจค้าส่ง-ปลีก และเพื่อการรับซื้อลำไย นอกจากนี้ยังเพิ่มขึ้นจากธุรกิจประเภทบริการ ประเภทสนามกอล์ฟและรีสอร์ทเพื่อการสร้างอาคาร และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของโครงการกลุ่มลูกค้าระดับบน สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 70.7 สูงกว่าร้อยละ 67.7 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจในเดือนสิงหาคม 2547 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.9 ตามผลผลิตของลำไย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าว ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.0 ร้อยละ 3.7 และร้อยละ 0.4 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายเนื้อที่เพาะปลูกเมื่อ 4-5 ปีที่แล้วและสภาพอากาศที่เหมาะสมในช่วงติดดอกทำให้ลำไยติดผลมาก ประกอบกับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปีก่อนอยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูก เช่นเดียวกับราคาข้าวที่อยู่ในเกณฑ์สูงจูงใจให้ชาวนาดูแลรักษาเพื่อเพิ่มผลผลิต ด้านราคาพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.1 แม้ว่าราคาลำไยลดลงร้อยละ 27.1 แต่ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวเหนียวนาปี ถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเหลือง สูงขึ้นร้อยละ 8.1 ร้อยละ 11.5 ร้อยละ 17.8 และร้อยละ 6.2 ตามลำดับ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวตามการผลิตเพื่อส่งออก แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนเนื่องจากคำสั่งซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีเก่าเริ่มลดลง อย่างไรก็ดี ความต้องการสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ยังมีต่อเนื่องโดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ในทีวีจอพลาสมาและที่ใช้ในรถยนต์ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา ทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์
3. ภาคบริการ ยังคงขยายตัว จากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว (Low Season) ของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ประกอบกับการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการของส่วนราชการและเอกชน ส่งผลให้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 49.7 ระยะเดียวกันปีก่อน เป็นร้อยละ 54.6 และราคาห้องพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 770.28 บาทต่อห้องในปีก่อน เป็นราคา 794.49 บาทต่อห้องในปีนี้ โดยมีผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.0 จากเดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) แข่งขันกันให้บริการ ประกอบกับมีเส้นทางการบินเปิดใหม่จากต่างประเทศมายังภาคเหนือโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่เพิ่มขึ้นหลายเส้นทาง
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ชะลอตัว ยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.2 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.1 เดือนก่อน เนื่องจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อเพื่อรอรับประโยชน์ทางภาษี ส่งผลให้ยอดจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ชะลอลงทั้งในภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง สำหรับยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เดือนก่อนโดยขยายตัวในภาคเหนือตอนล่างที่รายได้เกษตรกรอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ในภาคเหนือตอนบนลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทการขายส่ง/ขายปลีกในเดือนกรกฎาคม 2547 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.8 ชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองตามการชะลอตัวในภาคเหนือตอนบนเป็นสำคัญ
5. การลงทุนภาคเอกชน ชะลอตัวตามการลงทุนก่อสร้างเป็นสำคัญ กิจกรรมสำคัญ เช่น ค่าธรรมเนียมขายที่ดินเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.7 เดือนก่อน โดยชะลอตัวลงทั้งภาค ขณะที่พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 4.8 ตามการลดลงของพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างฯ ประเภทพาณิชยกรรมในภาคเหนือตอนบนเป็นสำคัญ ขณะที่พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้าง ฯ ทุกประเภทในภาคเหนือตอนล่างยังขยายตัวดี ด้านการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ ปรากฏว่า มูลค่านำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.0 เดือนก่อน ขณะที่เงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่ลดลงร้อยละ 37.2 โดยมีเพียงการลงทุนผลิตในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร
6. การคลัง การเบิกจ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือรวม 11,034.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7 เทียบกับร้อยละ 11.4 ปีก่อน โดยหมวดรายจ่ายประจำขยายตัวมากในประเภทค่าตอบแทนและประเภทครุภัณฑ์ และเพิ่มขึ้นที่จังหวัดนครสวรรค์และพิษณุโลก ทางด้านการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลจัดเก็บได้ 1,035.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เทียบกับร้อยละ 7.7 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ พิษณุโลก และ ลำพูน ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลในงบประมาณขาดดุล 9,999.1 ล้านบาท เทียบกับ 11,380.4 ล้านบาท เดือนก่อนและ 9,556.4 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.1 เป็น 186.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเฉพาะการส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมฯ ภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 เป็น 131.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวลงจากที่เร่งตัวในช่วงก่อนหน้าเนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีเก่าเริ่มลดลง อย่างไรก็ตามยังมีความต้องการสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีใหม่อย่างต่อเนื่อง เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในทีวีพลาสมา อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา ทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ โดยตลาดสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้นคือ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และจีน ขณะที่การส่งออกไป สหรัฐอเมริกา และอิสราเอล ลดลง ส่วนการส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 14.1 เหลือ 11.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.5 เป็น 42.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 33.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้น 6 เท่าตัว เป็น 5.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากการส่งออกผลไม้เพิ่มขึ้น แต่เป็นสินค้าส่งผ่านต่อไปยังประเทศจีน ขณะที่การส่งออกลำไยไปจีนตอนใต้ลดลงมาก เนื่องจากพ่อค้าหันไปส่งออกลำไยทางทะเลมากขึ้น
มูลค่านำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.7 เป็น 108.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าผ่านด่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 เป็น 100.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ ส่วนการนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 เป็น 5.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าอาหารทะเลประเภทปูและปลาเป็นสำคัญ ส่วนการนำเข้าจากจีนลดลงเช่นกันเนื่องจากการเปลี่ยนเส้นทางขนส่งผลไม้โดยนำเข้าผ่านท่าเรือกรุงเทพฯ ซึ่งสะดวกและอยู่ใกล้ตลาดค้าส่ง
ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเดือนสิงหาคม 2547 เกินดุล 78.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 70.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 ชะลอลงจากเดือนก่อน เป็นผลจากภาวะการค้าข้าวสารเจ้าหอมมะลิชะลอลง ผลไม้และผักสดมีปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เดือนก่อน สำหรับราคาอาหารหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเร่งตัวจากเดือนก่อนเล็กน้อยโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนจากการปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและค่าไฟฟ้าต่อหน่วย ด้านดัชนีราคา ผู้บริโภคพื้นฐานยังคงอยู่ในเกณฑ์ต่ำและไม่เปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนกรกฎาคม 2547 พบว่าภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.8 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.5 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 98.3 เดือนเดียวกันปีก่อน โดยผู้ใช้กำลังแรงงานในภาคเกษตรลดลงร้อยละ 0.7 เนื่องจากย้ายไปรับจ้างทำงานนอกภาคเกษตร ขณะที่นอกภาคเกษตรมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.1 โดยสาขาการก่อสร้าง การค้าส่ง-ค้าปลีก โรงแรมและภัตตาคาร และการศึกษา มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 ร้อยละ 19.0 ร้อยละ 7.8 และร้อยละ 60.8 ตามลำดับ ส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 1.4 ปีก่อนเหลือเพียงร้อยละ 1.1
10. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2547 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.8 เป็น 293,608 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ และตาก ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากเงินฝากของส่วนราชการ เช่น มหาวิทยาลัย สหกรณ์ออมทรัพย์ครู และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ส่วนเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 207,533 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน สินเชื่อขยายตัวบริเวณภาคเหนือตอนล่างที่จังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร และพิษณุโลก จากความต้องการใช้เงินของโรงสีข้าว และสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ส่วนในภาคเหนือตอนบนโดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่เพิ่มขึ้นจากการใช้สินเชื่อของธุรกิจส่งออกประเภทพืชผักแปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ ธุรกิจค้าส่ง-ปลีก และเพื่อการรับซื้อลำไย นอกจากนี้ยังเพิ่มขึ้นจากธุรกิจประเภทบริการ ประเภทสนามกอล์ฟและรีสอร์ทเพื่อการสร้างอาคาร และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของโครงการกลุ่มลูกค้าระดับบน สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 70.7 สูงกว่าร้อยละ 67.7 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-