เศรษฐกิจในเดือนสิงหาคมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นการชะลอตัวของรายได้เกษตรกรและผลผลิตภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดีดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอตัวลงมากในเดือนก่อนกลับเร่งตัวขึ้นอีกครั้งเนื่องจากภาษีสรรพสามิตรถยนต์ที่ลดลงเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมส่งผลให้ผู้บริโภคซื้อรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นมากในเดือนนี้ สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชนชะลอลงเล็กน้อยตามภาคการก่อสร้าง ประกอบกับการรอรถยนต์เชิงพาณิชย์รุ่นใหม่ ในขณะที่รายจ่ายรัฐบาลยังคงขยายตัวดี ส่วนภาคการส่งออกยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่อง
ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงตามปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอลงค่อนข้างมากจากเดือนก่อน เนื่องจากการปิดซ่อมโรงงานหลายแห่งและการส่งออกที่ชะลอลงในบางหมวด ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราค่อนข้างสูง
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล และเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ขณะที่หนี้ต่างประเทศทรงตัว
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนสิงหาคม มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 ชะลอลงจากเดือนก่อนค่อนข้างมาก โดยเป็นผลจากหลายปัจจัย ได้แก่ การปิดซ่อมโรงงานในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดปิโตรเลียม นอกจากนี้ การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชะลอลงมากตามการส่งออก รวมทั้งการผลิตในหมวดอาหารยังลดลงต่อเนื่องจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบติดต่อกันมาหลายเดือน การชะลอตัวของการผลิตมีผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิต
ลดลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 66.7
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นมากเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 เพราะยอดจำหน่ายรถยนต์และการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ระดับของดัชนีต่ำกว่าเดือนก่อนซึ่งสอดคล้องกับดัชนีวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
โดยรวมที่ยังคงลดลง
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 10.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยการก่อสร้างภาคเอกชนชะลอลงจากราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้น ประกอบกับปัจจัยชั่วคราวจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ลดลงเพราะอยู่ระหว่างการรอสินค้ารุ่นใหม่
อย่างไรก็ตาม มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังคงลดลงต่อเนื่อง
3. ภาคการคลัง รายได้รัฐบาลขยายตัวร้อยละ 7.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 โดยเฉพาะภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 35.5 จากการลดลงของรายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจ สำหรับรายจ่ายรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 10.2 หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 6.7 ทำให้ดุลเงินในงบประมาณขาดดุล 0.6 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล 0.5 พันล้านบาท รวมแล้วรัฐบาลจึงขาดดุลเงินสด 0.1 พันล้านบาท
4. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 ตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เป็นผลจากราคาในหมวดผักและผลไม้ และหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมที่ยังสูงขึ้นร้อยละ 12.9 และ 12.1 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ตามผลผลิตที่ออกสู่ตลาดไม่เพียงพอกับความต้องการ ส่วนราคาหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินขายปลีกครั้งละ 60 สตางค์ต่อลิตรรวม 4 ครั้งในเดือนนี้ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.5 ชะลอลงจากร้อยละ 0.7 ในเดือนก่อน เป็นผลจากการลดลงของราคารถยนต์นั่งซึ่งภาษีสรรพสามิตต่ำลง และการปรับลดค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาในทุกหมวด ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง หมวดผลผลิตเกษตรกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 11.1 และ 7.1 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ การส่งออกมีมูลค่า 8,209 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 28.3 โดยสินค้าสำคัญที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์โลหะสามัญ ข้าวและยางพาราที่เพิ่มขึ้นทั้งราคาและปริมาณ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 8,491 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 37.1 จากการเพิ่มขึ้นในอัตราสูงของการนำเข้าวัตถุดิบ เครื่องจักรและชิ้นส่วน นอกจากนี้มูลค่าการนำเข้าน้ำมันยังคงขยายตัวสูงเนื่องจากราคาเพิ่มขึ้นมาก ดุลการค้าในเดือนนี้จึงขาดดุล 282 ล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ดี เนื่องจากดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 497 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลจากรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวและค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อคนต่อวันที่เพิ่มขึ้น ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 215 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 29 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 เพิ่มขึ้นเป็น 43.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 4.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.8 7.6 และ 6.2 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากการที่ประชาชนถอนเงินฝากเพื่อนำไปซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.4 โดยเงินฝากของประชาชนทั่วไปชะลอลงจากการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ดังกล่าว ในขณะที่เงินฝากที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของภาคธุรกิจและเงินฝากของภาครัฐที่ได้จากการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี สำหรับ สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ให้แก่ทั้งประชาชนทั่วไปและภาคธุรกิจ
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินในเดือนสิงหาคมปรับเพิ่มขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน และอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ1 วัน เฉลี่ยเท่ากันอยู่ที่ร้อยละ 1.13 ต่อปี เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม จากร้อยละ 1.25 ต่อปีเป็นร้อยละ 1.50 ต่อปี โดยในช่วงก่อนการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สภาพคล่องค่อนข้างตึงตัวโดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนและช่วงสิ้นปักษ์
7. เงินบาท ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 41.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากเดือนก่อนจากปัจจัยสำคัญ คือ 1) บริษัทน้ำมันมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ค่อนข้างมาก และ 2) นักลงทุนต่างชาติทยอยขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไทย จากความกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ แม้เงินบาทได้รับผลดีจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ก็มิได้แข็งขึ้นมากนัก
ในช่วงวันที่ 1-24 กันยายน 2547 เงินบาทเฉลี่ยแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 41.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยในช่วงต้นเดือน ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของบริษัทน้ำมันที่มีอยู่สูง แต่ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ค่าเงินบาทปรับแข็งขึ้นจากการที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นการปรับแข็งขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาค
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงตามปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอลงค่อนข้างมากจากเดือนก่อน เนื่องจากการปิดซ่อมโรงงานหลายแห่งและการส่งออกที่ชะลอลงในบางหมวด ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราค่อนข้างสูง
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล และเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ขณะที่หนี้ต่างประเทศทรงตัว
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนสิงหาคม มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 ชะลอลงจากเดือนก่อนค่อนข้างมาก โดยเป็นผลจากหลายปัจจัย ได้แก่ การปิดซ่อมโรงงานในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดปิโตรเลียม นอกจากนี้ การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชะลอลงมากตามการส่งออก รวมทั้งการผลิตในหมวดอาหารยังลดลงต่อเนื่องจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบติดต่อกันมาหลายเดือน การชะลอตัวของการผลิตมีผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิต
ลดลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 66.7
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นมากเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 เพราะยอดจำหน่ายรถยนต์และการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ระดับของดัชนีต่ำกว่าเดือนก่อนซึ่งสอดคล้องกับดัชนีวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
โดยรวมที่ยังคงลดลง
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 10.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยการก่อสร้างภาคเอกชนชะลอลงจากราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้น ประกอบกับปัจจัยชั่วคราวจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ลดลงเพราะอยู่ระหว่างการรอสินค้ารุ่นใหม่
อย่างไรก็ตาม มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังคงลดลงต่อเนื่อง
3. ภาคการคลัง รายได้รัฐบาลขยายตัวร้อยละ 7.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 โดยเฉพาะภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 35.5 จากการลดลงของรายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจ สำหรับรายจ่ายรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 10.2 หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 6.7 ทำให้ดุลเงินในงบประมาณขาดดุล 0.6 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล 0.5 พันล้านบาท รวมแล้วรัฐบาลจึงขาดดุลเงินสด 0.1 พันล้านบาท
4. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 ตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เป็นผลจากราคาในหมวดผักและผลไม้ และหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมที่ยังสูงขึ้นร้อยละ 12.9 และ 12.1 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ตามผลผลิตที่ออกสู่ตลาดไม่เพียงพอกับความต้องการ ส่วนราคาหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินขายปลีกครั้งละ 60 สตางค์ต่อลิตรรวม 4 ครั้งในเดือนนี้ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.5 ชะลอลงจากร้อยละ 0.7 ในเดือนก่อน เป็นผลจากการลดลงของราคารถยนต์นั่งซึ่งภาษีสรรพสามิตต่ำลง และการปรับลดค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาในทุกหมวด ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง หมวดผลผลิตเกษตรกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 11.1 และ 7.1 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ การส่งออกมีมูลค่า 8,209 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 28.3 โดยสินค้าสำคัญที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์โลหะสามัญ ข้าวและยางพาราที่เพิ่มขึ้นทั้งราคาและปริมาณ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 8,491 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 37.1 จากการเพิ่มขึ้นในอัตราสูงของการนำเข้าวัตถุดิบ เครื่องจักรและชิ้นส่วน นอกจากนี้มูลค่าการนำเข้าน้ำมันยังคงขยายตัวสูงเนื่องจากราคาเพิ่มขึ้นมาก ดุลการค้าในเดือนนี้จึงขาดดุล 282 ล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ดี เนื่องจากดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 497 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลจากรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวและค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อคนต่อวันที่เพิ่มขึ้น ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 215 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 29 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 เพิ่มขึ้นเป็น 43.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 4.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.8 7.6 และ 6.2 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากการที่ประชาชนถอนเงินฝากเพื่อนำไปซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.4 โดยเงินฝากของประชาชนทั่วไปชะลอลงจากการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ดังกล่าว ในขณะที่เงินฝากที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของภาคธุรกิจและเงินฝากของภาครัฐที่ได้จากการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี สำหรับ สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ให้แก่ทั้งประชาชนทั่วไปและภาคธุรกิจ
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินในเดือนสิงหาคมปรับเพิ่มขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน และอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ1 วัน เฉลี่ยเท่ากันอยู่ที่ร้อยละ 1.13 ต่อปี เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม จากร้อยละ 1.25 ต่อปีเป็นร้อยละ 1.50 ต่อปี โดยในช่วงก่อนการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สภาพคล่องค่อนข้างตึงตัวโดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนและช่วงสิ้นปักษ์
7. เงินบาท ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 41.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากเดือนก่อนจากปัจจัยสำคัญ คือ 1) บริษัทน้ำมันมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ค่อนข้างมาก และ 2) นักลงทุนต่างชาติทยอยขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไทย จากความกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ แม้เงินบาทได้รับผลดีจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ก็มิได้แข็งขึ้นมากนัก
ในช่วงวันที่ 1-24 กันยายน 2547 เงินบาทเฉลี่ยแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 41.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยในช่วงต้นเดือน ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของบริษัทน้ำมันที่มีอยู่สูง แต่ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ค่าเงินบาทปรับแข็งขึ้นจากการที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นการปรับแข็งขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาค
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-