เดือนสิงหาคม 2547 ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงขยายตัว การผลิตภาคเกษตร มีฝนตกกระจายเกือบทั่วทั้งภาค แต่เบาบางกว่าเดือนก่อน โดยรวมเป็นผลดีต่อการเพาะปลูก โดยเฉพาะพื้นที่ข้าวนาดอนและพืชไร่ ราคาข้าวเปลือกปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน ราคามันสำปะหลังทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาลดลง การผลิตนอกภาคเกษตรการใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้น พิจารณาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัย การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ยังมีทิศทางที่ดีต่อเนื่อง ภาคการก่อสร้างขยายตัวขึ้น การผลิต ภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรม ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรมแหอวน อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์การผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังลดลง ความต้องการแรงงานและการสมัครงานเพิ่มขึ้น ภาคการคลังรัฐบาล การจัดเก็บรายได้และ การเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 4.0 การค้าชายแดนไทย-ลาว และไทย-กัมพูชา ปรับตัวดีขึ้น
1. ภาคการเกษตร
ข้าว ในเดือนสิงหาคมการทำนาฤดูการผลิตปี 2547/48 ต้นข้าวอยู่ระหว่างเจริญเติบโตและแตกกอ ในเดือนนี้มีฝนตกกระจายเกือบทั่วทั้งภาคฯ แต่เบาบางกว่าเดือนก่อน โดยรวมแล้วเป็นผลดีต่อการทำนา โดยเฉพาะพื้นที่นาดอน ซึ่งเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก เพิ่มขึ้นจากปีก่อนค่อนข้างมากจากราคาจูงใจ พื้นที่นาที่ถูกน้ำท่วม ระดับน้ำลดลง น่าจะเสียหายไม่มากนัก
ราคาเฉลี่ยข้าวเปลือก 5% เกวียนละ 7,628 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.5 และเมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกัน ของปีก่อนลดลงร้อยละ 11.6 ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เกวียนละ 6,028 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 4.2 และเมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 9.6
มันสำปะหลัง ในเดือนนี้มีฝนตกกระจายเกือบทั่วทั้งภาคฯ ประกอบกับเป็นช่วงต้นฤดูทำนา ส่งผลให้เกษตรกรชะลอการขุดหัวมันออกขาย ผลผลิตที่ได้อยู่ในเกณฑ์ไม่ดีนัก เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสำปะหลังกิโลกรัมละ 0.93 บาท ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนซึ่งราคากิโลกรัมละ 0.90 บาท สูงขึ้นร้อยละ 3.3 ราคาขายส่งเฉลี่ย มันเส้นกิโลกรัมละ 2.88 บาท สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 21.5 และสูงขึ้นเมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.2
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กสิกรเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวโพดรุ่น 1 ผลผลิตที่ได้ในช่วงนี้จะมีความชื้นสูง ในขณะเดียวกันความต้องการของโรงงานผลิตอาหารสัตว์ลดลงจากปัญหาไข้หวัดนก ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงตามไปด้วย ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กิโลกรัมละ 4.12 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 31.1 และเมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 8.4
2. การใช้จ่ายภาคเอกชน เดือนนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยพิจารณาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้า เพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากอุตสาหกรรม ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ ผลิตแป้งมันสำปะหลัง และกิจการค้าส่ง-ค้าปลีกในจังหวัดนครราชสีมา เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ด้านรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เนื่องจากการแข่งขันของตลาดรถยนต์ที่ยังรุนแรงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ชะลอตัวค่อนข้างมาก ผลจากยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วงที่ผ่านมาขยายตัวสูงมาก ประกอบกับผู้ซื้อชะลอการตัดสินใจซื้อ เพื่อรอผลการปรับโครงสร้าง ภาษีรถยนต์ใหม่ รวมทั้งบริษัทรถยนต์รายใหญ่จะนำรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดในเดือนกันยายนนี้ ส่วนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ผลจากการแข่งขันที่ยังรุนแรงอย่างต่อเนื่อง แต่ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใหม่ชะลอตัวค่อนข้างมากจาก ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในช่วงที่ผ่านมาขยายตัวสูงมาก
3. การลงทุนภาคเอกชน เดือนนี้การลงทุนเริ่มชะลอตัว โดยการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมยังขยายตัวดี การใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมยังเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่การจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่ลดลง ทั้งจำนวนรายและ เงินลงทุน
กิจการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในเดือนนี้ มีจำนวน 11 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน กว่าเท่าตัว (ร้อยละ 120.0) แต่ใช้เงินลงทุน 1,453.0 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 39.8 การลงทุนส่วนใหญ่ จะเป็นโครงการในหมวดอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร 9 โครงการ ได้แก่ โรงสีข้าวคุณภาพดีเพื่อการส่งออก โรงงานผลิตอาหารสัตว์ โรงงานผลิตไก่ปรุงสุก โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพและพลังงานไฟฟ้า และหมวดอุตสาหกรรมอื่น ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรมประกอบรถแทรคเตอร์ และอุตสาหกรรมฟื้นฟูสภาพถ่านกัมมันต์เพื่อใช้ใหม่
การใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.4 การจดทะเบียนธุรกิจ ตั้งใหม่ในภาคลดลง เนื่องจากในช่วงปลายปีภาคธุรกิจจะไม่นิยมจดทะเบียนตั้งใหม่ จำแนกเป็นบริษัทจำกัด เงินทุน 114.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 65.5 และห้างหุ้นส่วนจำกัดเงินทุน 325.8 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 ประเภทของธุรกิจตั้งใหม่ในเดือนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกิจการรับเหมาก่อสร้าง กิจการค้าวัสดุก่อสร้าง
4. ภาคการก่อสร้าง พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯ เดือนนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่ก็ยังคง เป็นการขออนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยตามสวัสดิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่ยังค้างอยู่ และตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2547 ธอส.จะร่วมมือกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดตัวโครงการรีไฟแนนซ์เงินกู้ที่อยู่อาศัย สำหรับสมาชิก กบข. โดยลักษณะของโครงการนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1.รีไฟแนนซ์สมาชิกกบข.ที่เป็นลูกค้าของธอส.เดิมและ 2.รีไฟแนนซ์ลูกค้าใหม่ ที่ย้ายมาจากสถาบันการเงินอื่น โดยปีแรกอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 2.9 % ปีที่ 2 อยู่ที่ 3.5% และในปีที่ 3 อยู่ที่ 4.25% และหลังจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่ากับ MRR — 1.75% โดยมีระยะเวลาในการผ่อนชำระ สูงสุดนานถึง 30 ปี
ทั้งนี้ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯ เดือนนี้จำนวน 206,078 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 จากระยะเดียวกันของปีก่อน จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีการขอรับอนุญาตฯ มากที่สุดในเดือนนี้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.1 โดยการขอรับอนุญาตในภาคฯ แบ่งเป็นวัตถุประสงค์เพื่อที่อยู่อาศัยสัดส่วนร้อยละ 67.0 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดอุดรธานี พื้นที่เพื่อการพาณิชย์สัดส่วนร้อยละ 21.8 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดมหาสารคามเป็นการขออนุญาตต่อเติมห้างสรรพสินค้าเสริมไทย เพื่อการบริการสัดส่วนร้อยละ7.0 ส่วนใหญ่เป็นการขออนุญาตสร้างโรงแรมตักสิลาและสร้างหอพักในจังหวัดมหาสารคาม
5. การผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญของภาคเพิ่มขึ้นหลายประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตแหอวน อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูป มันสำปะหลังยังชะลอตัว
อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงฤดูการผลิตที่ต้องส่งสินค้าไป ต่างประเทศในช่วงปลายปี
อุตสาหกรรมแหอวน เนื่องจากสภาพฝนเอื้ออำนวย ทำให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชีย
อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ยังขยายตัวดีตามอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร
อุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง ยังชะลอตัว เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับเป็นฤดูฝน ทำให้ส่วนใหญ่เป็นการผลิตในส่วนของโรงงานแป้งมัน ในส่วนลานมันเส้นและโรงงานมันอัดเม็ดมีการผลิตน้อย
6. ภาคการจ้างงาน
a. แรงงานในประเทศ การจัดหางานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนนี้เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีตำแหน่งงานว่างจำนวน 17,659 อัตรา เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว (ร้อยละ 127.8) ผู้สมัครงานจำนวน 5,681 คนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงานจำนวน 1,858 คน ลดลงร้อยละ 5.0 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการบรรจุเข้าทำงานร้อยละ10.5 ของตำแหน่งงานว่าง
b. แรงงานที่ขออนุมัติเดินทางไปทำงานต่างประเทศสำหรับแรงงานในภาคฯ ที่ขออนุมัติเดินทางไปทำงานต่างประเทศของเดือนนี้จำนวน 9,430 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 จากระยะเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65.8 ของแรงงานทั้งประเทศที่ขออนุมัติในเดือนนี้ อุดรธานีเป็นจังหวัดมีแรงงานขออนุมัติมากที่สุดในภาคฯจำนวน 1,891 คน รองลงมานครราชสีมา 1,625 คน ขอนแก่น 885 คน บุรีรัมย์ 753 คน หนองคาย 662 คน และชัยภูมิ 646 คน ตามลำดับ ประเทศที่แรงงานในภาคฯ ขออนุมัติไปทำงานมากที่สุด 6 อันดับแรก คือ ไต้หวัน จำนวน 4,797 คน รองลงมาอิสราเอล 1,868 คน เกาหลีใต้ 698 คน สิงคโปร์ 560 คน ฮ่องกง 274 คน และญี่ปุ่น 138 คน รวม 6 ประเทศ จำนวน 8,335 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 88.4 ของแรงงานทั้งภาคฯ ที่ขออนุมัติเดือนนี้
7. การค้าชายแดน ขยายตัวทั้งด้านไทย-ลาว และไทย-กัมพูชา
7.1 การค้าชายแดนไทย-ลาว
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาวเดือนนี้มูลค่า 1,751.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.0 แยกออกเป็น
การส่งออก 1,363.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค 199.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ยานพาหนะและอุปกรณ์ 85.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 113.9 เครื่องใช้ไฟฟ้า 84.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.6 ผ้าผืน 31.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 วัสดุก่อสร้าง 139.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง 188.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0
การนำเข้า 387.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ สินแร่ 23.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 95.7 พืชไร่ 16.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ยานพาหนะและอุปกรณ์ใช้แล้ว 28.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ทั้งนี้ สินค้านำเข้าส่วนใหญ่ยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ โดยเดือนนี้นำเข้าลดลงร้อยละ 3.6
การค้าผ่านแดนไทย-ลาว
มูลค่าการค้าผ่านแดน 1,738.2 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมูลค่าการค้า 1,138.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.7
สินค้าผ่านแดนไทยไปลาว 639.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.0 สินค้าที่ลดลง ได้แก่ เมล็ดกาแฟดิบ 23.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 37.9 เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย 554.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.4
สินค้าขาออกจากลาว 1,098.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว สินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและ อุปกรณ์ 123.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าตัว ผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บ 94.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.2 สุรา 176.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าสี่เท่าตัว
7.2 การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา
การค้าชายแดนไทย-กัมพูชาผ่านด่านศุลกากร เดือนสิงหาคมมูลค่าการค้า 1,860.8 ล้านบาท เทียบกับระยะ เดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าการค้า 1,493.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6
การส่งออก 1,785.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และ ส่วนประกอบ 144.5 ล้านบาท เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 44.9 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกปุ๋ยเคมี พลาสติกและผลิตภัณฑ์ 38.7 ล้านบาท และเครื่องจักรและอุปกรณ์ 4.5 ล้านบาท ส่วนใหญ่ เป็นการส่งออกกรองน้ำมันและเครื่องยนต์ทั่วไป
การนำเข้า การนำเข้า 75.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.2 สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าเก่า 11.8 ล้านบาท และเมล็ดข้าวโพด 8.5 ล้านบาท
8. ภาคการเงิน
จากข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มีเงินฝากคงค้าง 280,963 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า ในด้านสินเชื่อ มียอดคงค้าง 225,014 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 1.5เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อการค้าส่งและค้าปลีก รองลงมา ได้แก่ สินเชื่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพืช สินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อการสาธารณูปโภค และสินเชื่ออุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์ เป็นต้น ในด้านอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน จากอัตราส่วนร้อยละ 74.3 มาอยู่ที่ ร้อยละ 80.1 ในเดือนนี้
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ เดือนนี้มีการปรับเพิ่มขึ้นบางอัตรา โดยในด้านเงินฝาก มีธนาคารพาณิชย์บางแห่งปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภท 12 เดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 ต่อปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นระหว่างร้อยละ 1.00-1.50 ต่อปี จากเดือนก่อนอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 1.00-1.25 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยประเภทอื่น ๆ ยังทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน โดยที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ยังคงอยู่ระหว่างร้อยละ 0.50-1.00 ต่อปี ในด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.50 -6.70 ต่อปี MRR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.75-7.75 ต่อปี และ MOR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.75-7.00 ต่อปี เท่ากับเดือนก่อนทั้งสามอัตรา
ปริมาณการใช้เช็ค
เดือนนี้ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคฯ 283,966 ฉบับ ลดลงร้อยละ 16.8 จากระยะเดียวกันของปีก่อน แต่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คทั้งสิ้น 33,778.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3
สำหรับปริมาณเช็คคืนมีทั้งสิ้น 6,481 ฉบับ ลดลงร้อยละ 31.3 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และจำนวนเงินที่สั่งจ่าย 679.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.8 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ทำให้อัตราส่วนของมูลค่าเช็คคืนทั้งสิ้นต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 2.5มาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ในเดือนนี้
ในจำนวนเช็คคืนทั้งหมด แยกเป็นการคืนเพราะไม่มีเงินมีทั้งสิ้น 3,906 ฉบับ ลดลงร้อยละ 32.5 ในขณะที่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คดังกล่าวมีทั้งสิ้น 271.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.0 จากปีก่อน ทำให้อัตราส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็ค เรียกเก็บเดือนนี้ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 1.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ในเดือนนี้
9. ภาคการคลังรัฐบาล เดือนนี้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในภาคฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.1 เนื่องจากภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 104.0 ตามผลการประกอบการที่ดีขึ้นของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตสุรา ผลิตอุปกรณ์และอะไหล่รถยนต์ ผลิตวิกผม กิจการค้าส่ง-ค้าปลีก และตัวแทนจำหน่ายรถยนต์
ด้านการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เนื่องจากรายจ่ายประจำเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 ส่วน รายจ่ายลงทุนลดลงร้อยละ 11.7 จากการเบิกจ่ายเงินหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้างลดลงร้อยละ 15.7 ผลจากขั้นตอน การจัดซื้อจัดจ้างมีความยุ่งยาก ขณะที่การเบิกจ่ายเงินหมวดอุดหนุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.2
สำหรับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2547 ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 91.5 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติซึ่งมีอัตราส่วนการเบิกจ่ายสูงกว่าระยะเดียวกันของปีก่อน (อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 90.3) เป็นการเบิกจ่ายงบประจำร้อยละ 96.5 ของวงเงินประจำงวดฯ (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 96.9) และงบลงทุน เบิกจ่ายร้อยละ 79.7 (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 74.0)
10. ระดับราคา
พิจารณาจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯ สูงขึ้นร้อยละ 4.0 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 6.7 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ เป็ด ไก่ ไข่ และผลิตภัณฑ์นม ผลผลิต ที่เข้าสู่ตลาดมีไม่มาก ขณะที่ความต้องการบริโภคยังมีอย่างต่อเนื่อง ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ซึ่งมีราคาจำหน่ายสูงขึ้นตามราคาข้าวเปลือก ข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียวที่มีราคาขายสูงขึ้น ราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ (ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม) สูงขึ้นร้อยละ 2.5 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นเป็น สินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เบนซิน) ที่ได้ปรับราคาขายปลีกสูงขึ้น สินค้าในหมวดเคหสถาน โดยเฉพาะราคาก๊าชหุงต้ม มีราคาสูงขึ้นตามการปรับราคาจำหน่าย ณ คลังก๊าซ ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2547 ส่งผลให้ราคาจำหน่ายปลีก รวมภาษี มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นกิโลกรัมละ 1.00 บาท และเป็นผลให้ราคาก๊าซหุงต้มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
1. ภาคการเกษตร
ข้าว ในเดือนสิงหาคมการทำนาฤดูการผลิตปี 2547/48 ต้นข้าวอยู่ระหว่างเจริญเติบโตและแตกกอ ในเดือนนี้มีฝนตกกระจายเกือบทั่วทั้งภาคฯ แต่เบาบางกว่าเดือนก่อน โดยรวมแล้วเป็นผลดีต่อการทำนา โดยเฉพาะพื้นที่นาดอน ซึ่งเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก เพิ่มขึ้นจากปีก่อนค่อนข้างมากจากราคาจูงใจ พื้นที่นาที่ถูกน้ำท่วม ระดับน้ำลดลง น่าจะเสียหายไม่มากนัก
ราคาเฉลี่ยข้าวเปลือก 5% เกวียนละ 7,628 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.5 และเมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกัน ของปีก่อนลดลงร้อยละ 11.6 ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เกวียนละ 6,028 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 4.2 และเมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 9.6
มันสำปะหลัง ในเดือนนี้มีฝนตกกระจายเกือบทั่วทั้งภาคฯ ประกอบกับเป็นช่วงต้นฤดูทำนา ส่งผลให้เกษตรกรชะลอการขุดหัวมันออกขาย ผลผลิตที่ได้อยู่ในเกณฑ์ไม่ดีนัก เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสำปะหลังกิโลกรัมละ 0.93 บาท ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนซึ่งราคากิโลกรัมละ 0.90 บาท สูงขึ้นร้อยละ 3.3 ราคาขายส่งเฉลี่ย มันเส้นกิโลกรัมละ 2.88 บาท สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 21.5 และสูงขึ้นเมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.2
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กสิกรเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวโพดรุ่น 1 ผลผลิตที่ได้ในช่วงนี้จะมีความชื้นสูง ในขณะเดียวกันความต้องการของโรงงานผลิตอาหารสัตว์ลดลงจากปัญหาไข้หวัดนก ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงตามไปด้วย ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กิโลกรัมละ 4.12 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 31.1 และเมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 8.4
2. การใช้จ่ายภาคเอกชน เดือนนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยพิจารณาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้า เพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากอุตสาหกรรม ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ ผลิตแป้งมันสำปะหลัง และกิจการค้าส่ง-ค้าปลีกในจังหวัดนครราชสีมา เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ด้านรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เนื่องจากการแข่งขันของตลาดรถยนต์ที่ยังรุนแรงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ชะลอตัวค่อนข้างมาก ผลจากยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วงที่ผ่านมาขยายตัวสูงมาก ประกอบกับผู้ซื้อชะลอการตัดสินใจซื้อ เพื่อรอผลการปรับโครงสร้าง ภาษีรถยนต์ใหม่ รวมทั้งบริษัทรถยนต์รายใหญ่จะนำรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดในเดือนกันยายนนี้ ส่วนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ผลจากการแข่งขันที่ยังรุนแรงอย่างต่อเนื่อง แต่ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใหม่ชะลอตัวค่อนข้างมากจาก ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในช่วงที่ผ่านมาขยายตัวสูงมาก
3. การลงทุนภาคเอกชน เดือนนี้การลงทุนเริ่มชะลอตัว โดยการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมยังขยายตัวดี การใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมยังเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่การจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่ลดลง ทั้งจำนวนรายและ เงินลงทุน
กิจการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในเดือนนี้ มีจำนวน 11 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน กว่าเท่าตัว (ร้อยละ 120.0) แต่ใช้เงินลงทุน 1,453.0 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 39.8 การลงทุนส่วนใหญ่ จะเป็นโครงการในหมวดอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร 9 โครงการ ได้แก่ โรงสีข้าวคุณภาพดีเพื่อการส่งออก โรงงานผลิตอาหารสัตว์ โรงงานผลิตไก่ปรุงสุก โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพและพลังงานไฟฟ้า และหมวดอุตสาหกรรมอื่น ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรมประกอบรถแทรคเตอร์ และอุตสาหกรรมฟื้นฟูสภาพถ่านกัมมันต์เพื่อใช้ใหม่
การใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.4 การจดทะเบียนธุรกิจ ตั้งใหม่ในภาคลดลง เนื่องจากในช่วงปลายปีภาคธุรกิจจะไม่นิยมจดทะเบียนตั้งใหม่ จำแนกเป็นบริษัทจำกัด เงินทุน 114.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 65.5 และห้างหุ้นส่วนจำกัดเงินทุน 325.8 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 ประเภทของธุรกิจตั้งใหม่ในเดือนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกิจการรับเหมาก่อสร้าง กิจการค้าวัสดุก่อสร้าง
4. ภาคการก่อสร้าง พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯ เดือนนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่ก็ยังคง เป็นการขออนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยตามสวัสดิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่ยังค้างอยู่ และตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2547 ธอส.จะร่วมมือกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดตัวโครงการรีไฟแนนซ์เงินกู้ที่อยู่อาศัย สำหรับสมาชิก กบข. โดยลักษณะของโครงการนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1.รีไฟแนนซ์สมาชิกกบข.ที่เป็นลูกค้าของธอส.เดิมและ 2.รีไฟแนนซ์ลูกค้าใหม่ ที่ย้ายมาจากสถาบันการเงินอื่น โดยปีแรกอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 2.9 % ปีที่ 2 อยู่ที่ 3.5% และในปีที่ 3 อยู่ที่ 4.25% และหลังจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่ากับ MRR — 1.75% โดยมีระยะเวลาในการผ่อนชำระ สูงสุดนานถึง 30 ปี
ทั้งนี้ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯ เดือนนี้จำนวน 206,078 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 จากระยะเดียวกันของปีก่อน จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีการขอรับอนุญาตฯ มากที่สุดในเดือนนี้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.1 โดยการขอรับอนุญาตในภาคฯ แบ่งเป็นวัตถุประสงค์เพื่อที่อยู่อาศัยสัดส่วนร้อยละ 67.0 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดอุดรธานี พื้นที่เพื่อการพาณิชย์สัดส่วนร้อยละ 21.8 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดมหาสารคามเป็นการขออนุญาตต่อเติมห้างสรรพสินค้าเสริมไทย เพื่อการบริการสัดส่วนร้อยละ7.0 ส่วนใหญ่เป็นการขออนุญาตสร้างโรงแรมตักสิลาและสร้างหอพักในจังหวัดมหาสารคาม
5. การผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญของภาคเพิ่มขึ้นหลายประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตแหอวน อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูป มันสำปะหลังยังชะลอตัว
อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงฤดูการผลิตที่ต้องส่งสินค้าไป ต่างประเทศในช่วงปลายปี
อุตสาหกรรมแหอวน เนื่องจากสภาพฝนเอื้ออำนวย ทำให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชีย
อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ยังขยายตัวดีตามอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร
อุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง ยังชะลอตัว เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับเป็นฤดูฝน ทำให้ส่วนใหญ่เป็นการผลิตในส่วนของโรงงานแป้งมัน ในส่วนลานมันเส้นและโรงงานมันอัดเม็ดมีการผลิตน้อย
6. ภาคการจ้างงาน
a. แรงงานในประเทศ การจัดหางานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนนี้เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีตำแหน่งงานว่างจำนวน 17,659 อัตรา เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว (ร้อยละ 127.8) ผู้สมัครงานจำนวน 5,681 คนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงานจำนวน 1,858 คน ลดลงร้อยละ 5.0 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการบรรจุเข้าทำงานร้อยละ10.5 ของตำแหน่งงานว่าง
b. แรงงานที่ขออนุมัติเดินทางไปทำงานต่างประเทศสำหรับแรงงานในภาคฯ ที่ขออนุมัติเดินทางไปทำงานต่างประเทศของเดือนนี้จำนวน 9,430 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 จากระยะเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65.8 ของแรงงานทั้งประเทศที่ขออนุมัติในเดือนนี้ อุดรธานีเป็นจังหวัดมีแรงงานขออนุมัติมากที่สุดในภาคฯจำนวน 1,891 คน รองลงมานครราชสีมา 1,625 คน ขอนแก่น 885 คน บุรีรัมย์ 753 คน หนองคาย 662 คน และชัยภูมิ 646 คน ตามลำดับ ประเทศที่แรงงานในภาคฯ ขออนุมัติไปทำงานมากที่สุด 6 อันดับแรก คือ ไต้หวัน จำนวน 4,797 คน รองลงมาอิสราเอล 1,868 คน เกาหลีใต้ 698 คน สิงคโปร์ 560 คน ฮ่องกง 274 คน และญี่ปุ่น 138 คน รวม 6 ประเทศ จำนวน 8,335 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 88.4 ของแรงงานทั้งภาคฯ ที่ขออนุมัติเดือนนี้
7. การค้าชายแดน ขยายตัวทั้งด้านไทย-ลาว และไทย-กัมพูชา
7.1 การค้าชายแดนไทย-ลาว
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาวเดือนนี้มูลค่า 1,751.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.0 แยกออกเป็น
การส่งออก 1,363.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค 199.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ยานพาหนะและอุปกรณ์ 85.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 113.9 เครื่องใช้ไฟฟ้า 84.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.6 ผ้าผืน 31.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 วัสดุก่อสร้าง 139.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง 188.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0
การนำเข้า 387.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ สินแร่ 23.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 95.7 พืชไร่ 16.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ยานพาหนะและอุปกรณ์ใช้แล้ว 28.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ทั้งนี้ สินค้านำเข้าส่วนใหญ่ยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ โดยเดือนนี้นำเข้าลดลงร้อยละ 3.6
การค้าผ่านแดนไทย-ลาว
มูลค่าการค้าผ่านแดน 1,738.2 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมูลค่าการค้า 1,138.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.7
สินค้าผ่านแดนไทยไปลาว 639.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.0 สินค้าที่ลดลง ได้แก่ เมล็ดกาแฟดิบ 23.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 37.9 เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย 554.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.4
สินค้าขาออกจากลาว 1,098.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว สินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและ อุปกรณ์ 123.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าตัว ผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บ 94.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.2 สุรา 176.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าสี่เท่าตัว
7.2 การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา
การค้าชายแดนไทย-กัมพูชาผ่านด่านศุลกากร เดือนสิงหาคมมูลค่าการค้า 1,860.8 ล้านบาท เทียบกับระยะ เดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าการค้า 1,493.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6
การส่งออก 1,785.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และ ส่วนประกอบ 144.5 ล้านบาท เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 44.9 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกปุ๋ยเคมี พลาสติกและผลิตภัณฑ์ 38.7 ล้านบาท และเครื่องจักรและอุปกรณ์ 4.5 ล้านบาท ส่วนใหญ่ เป็นการส่งออกกรองน้ำมันและเครื่องยนต์ทั่วไป
การนำเข้า การนำเข้า 75.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.2 สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าเก่า 11.8 ล้านบาท และเมล็ดข้าวโพด 8.5 ล้านบาท
8. ภาคการเงิน
จากข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มีเงินฝากคงค้าง 280,963 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า ในด้านสินเชื่อ มียอดคงค้าง 225,014 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 1.5เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อการค้าส่งและค้าปลีก รองลงมา ได้แก่ สินเชื่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพืช สินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อการสาธารณูปโภค และสินเชื่ออุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์ เป็นต้น ในด้านอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน จากอัตราส่วนร้อยละ 74.3 มาอยู่ที่ ร้อยละ 80.1 ในเดือนนี้
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ เดือนนี้มีการปรับเพิ่มขึ้นบางอัตรา โดยในด้านเงินฝาก มีธนาคารพาณิชย์บางแห่งปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภท 12 เดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 ต่อปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นระหว่างร้อยละ 1.00-1.50 ต่อปี จากเดือนก่อนอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 1.00-1.25 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยประเภทอื่น ๆ ยังทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน โดยที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ยังคงอยู่ระหว่างร้อยละ 0.50-1.00 ต่อปี ในด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.50 -6.70 ต่อปี MRR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.75-7.75 ต่อปี และ MOR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.75-7.00 ต่อปี เท่ากับเดือนก่อนทั้งสามอัตรา
ปริมาณการใช้เช็ค
เดือนนี้ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคฯ 283,966 ฉบับ ลดลงร้อยละ 16.8 จากระยะเดียวกันของปีก่อน แต่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คทั้งสิ้น 33,778.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3
สำหรับปริมาณเช็คคืนมีทั้งสิ้น 6,481 ฉบับ ลดลงร้อยละ 31.3 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และจำนวนเงินที่สั่งจ่าย 679.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.8 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ทำให้อัตราส่วนของมูลค่าเช็คคืนทั้งสิ้นต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 2.5มาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ในเดือนนี้
ในจำนวนเช็คคืนทั้งหมด แยกเป็นการคืนเพราะไม่มีเงินมีทั้งสิ้น 3,906 ฉบับ ลดลงร้อยละ 32.5 ในขณะที่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คดังกล่าวมีทั้งสิ้น 271.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.0 จากปีก่อน ทำให้อัตราส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็ค เรียกเก็บเดือนนี้ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 1.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ในเดือนนี้
9. ภาคการคลังรัฐบาล เดือนนี้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในภาคฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.1 เนื่องจากภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 104.0 ตามผลการประกอบการที่ดีขึ้นของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตสุรา ผลิตอุปกรณ์และอะไหล่รถยนต์ ผลิตวิกผม กิจการค้าส่ง-ค้าปลีก และตัวแทนจำหน่ายรถยนต์
ด้านการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เนื่องจากรายจ่ายประจำเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 ส่วน รายจ่ายลงทุนลดลงร้อยละ 11.7 จากการเบิกจ่ายเงินหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้างลดลงร้อยละ 15.7 ผลจากขั้นตอน การจัดซื้อจัดจ้างมีความยุ่งยาก ขณะที่การเบิกจ่ายเงินหมวดอุดหนุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.2
สำหรับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2547 ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 91.5 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติซึ่งมีอัตราส่วนการเบิกจ่ายสูงกว่าระยะเดียวกันของปีก่อน (อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 90.3) เป็นการเบิกจ่ายงบประจำร้อยละ 96.5 ของวงเงินประจำงวดฯ (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 96.9) และงบลงทุน เบิกจ่ายร้อยละ 79.7 (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 74.0)
10. ระดับราคา
พิจารณาจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯ สูงขึ้นร้อยละ 4.0 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 6.7 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ เป็ด ไก่ ไข่ และผลิตภัณฑ์นม ผลผลิต ที่เข้าสู่ตลาดมีไม่มาก ขณะที่ความต้องการบริโภคยังมีอย่างต่อเนื่อง ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ซึ่งมีราคาจำหน่ายสูงขึ้นตามราคาข้าวเปลือก ข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียวที่มีราคาขายสูงขึ้น ราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ (ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม) สูงขึ้นร้อยละ 2.5 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นเป็น สินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เบนซิน) ที่ได้ปรับราคาขายปลีกสูงขึ้น สินค้าในหมวดเคหสถาน โดยเฉพาะราคาก๊าชหุงต้ม มีราคาสูงขึ้นตามการปรับราคาจำหน่าย ณ คลังก๊าซ ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2547 ส่งผลให้ราคาจำหน่ายปลีก รวมภาษี มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นกิโลกรัมละ 1.00 บาท และเป็นผลให้ราคาก๊าซหุงต้มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-