ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.คาดว่าอาจมี ธพ.ต้องกันสำรองเพิ่มในงวดสิ้นปีบัญชี 2547 ผู้อำนวยการอาวุโส สาย
นโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การที่ ธปท.ออกประกาศเมื่อวันที่ 26
ส.ค.47 เรื่องเกณฑ์การจัดการสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือ
เรียกคืนไม่ได้ เนื่องจากต้องการให้ ธพ.เร่งจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ให้เร็วขึ้น ทั้งนี้ เพื่อ
ช่วยให้หนี้เอ็นพีแอลในระบบลดลงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้เหลือ 2% ภายในปี 49 ซึ่งคาดว่าอาจจะมี ธพ.
บางแห่งต้องกันสำรองเพิ่มในงวดสิ้นปีบัญชี 2547 แม้ว่าจะกันสำรองเกินเกณฑ์ตามที่ ธปท.กำหนดแล้วก็ตาม
สำหรับตัวเลขกันสำรองเกินเกณฑ์ของระบบสถาบันการเงินในขณะนี้ โดยเฉลี่ยมีประมาณ 40% เนื่องจากเกือบทุก
แห่งกันสำรองเกินเกณฑ์อยู่ที่ระดับ 135-140% ซึ่งสถาบันการเงินสามารถนำเงินสำรองส่วนเกินมาใช้กันสำรอง
หนี้ที่เหลือคงค้างและจัดการได้ไม่เสร็จทันสิ้นปีนี้ได้ ทั้งนี้ เกณฑ์ดังกล่าวได้มีการปรับปรุงการกันเงินสำรองสำหรับ
สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ กรณีที่ยังไม่ได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย
ด้วยการให้กันเงินสำรองเพิ่มสำหรับยอดคงค้างหลังหักเงินสำรองที่ ธพ.กันไว้แล้ว ซึ่งอัตราส่วนขึ้นอยู่กับระยะ
เวลาการค้างชำระหนี้ และยกเลิกเกณฑ์การประเมินสินทรัพย์ที่ตีราคาเกินกว่า 12 เดือน จากเดิมที่อนุญาตให้นำ
มาหักจากยอดคงค้างก่อนกันเงินสำรองได้ไม่เกิน 50% ของราคาประเมิน รวมทั้งห้ามโอนเงินสำรองพึงกันที่เกิด
จากงวดบัญชีหลังของปี 2544 ไปเป็นรายได้ (ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด)
2. ธปท.ศึกษาเรื่องการกำหนดค่าธรรมเนียมการชำระเงินทั้งระบบของ ธพ. ผู้สื่อข่าวรายงาน
ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยสายระบบการชำระเงิน และสมาคมธนาคารไทย ได้ว่าจ้างสถาบัน
เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดเก็บข้อมูลและการศึกษาเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการชำระเงินทั้งระบบ
ของ ธพ.หรือสถาบันผู้ให้บริการการชำระเงินที่เรียกเก็บกับผู้ใช้บริการหรือลูกค้า เพื่อนำมาพิจารณากำหนดอัตรา
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการชำระเงินให้เป็นมาตรฐานต่อไป เนื่องจากปัจจุบัน ธปท.ไม่ได้มีการกำหนดอัตราค่า
ธรรมเนียมการใช้บริการชำระเงินแต่อย่างใด ส่งผลให้ ธพ.มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแตกต่างกัน ทั้งนี้ จาก
การประเมินเบื้องต้นคาดว่า อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับการใช้บริการชำระเงินจะปรับลดลงจากปัจจุบัน โดย
เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากต้นทุนต่างๆ ลดลง แต่มีค่าธรรมเนียมบางประเภทที่
เกี่ยวข้องกับเอกสารกระดาษ เช่น เช็ค อาจจะปรับขึ้น เนื่องจากต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม อย่างไรก็ตาม ยังไม่
สามารถสรุปได้ว่าจะส่งผลกระทบต่อ ธพ.มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ คาดว่าการสรุปผลโครงการศึกษาดังกล่าวจะ
เสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 47 หรือต้นปี 48 (โลกวันนี้, ข่าวสด)
3. ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในเดือน ก.ค.47 รายงานเศรษฐกิจและการ
เงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือน ส.ค.47 ชี้ให้เห็นถึงการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ใน
เดือน ก.ค. ว่ายังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการซื้อขายที่ดินทั้งประเทศขยายตัว 57.7%
จากระยะเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่าการซื้อขายจำนวน 47,799 ล.บาท สอดคล้องกับการขยายตัวของ
พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างทั้งประเทศที่มีการขยายตัวถึง 56.1% จากระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เป็นผลมาจาก
การขยายตัวของโครงการที่อยู่อาศัยในทำเลที่ใกล้โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและโครงการทาง
ด่วนใหม่ที่เชื่อมต่อถนนวงแหวนรอบนอก นอกจากนี้ จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียนเพิ่มใน
เขตกรุงเทพฯและปริมณฑลในช่วง 7 เดือนแรกของปี 47 เพิ่มขึ้น 38.1% จากระยะเดียวกันของปีก่อน หรือเท่า
กับ 31,305 หน่วย สำหรับเดือน ก.ค.จำนวนที่อยู่อาศัยจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 47.5% หรือ 5,231 หน่วยเมื่อ
เทียบกับปีก่อน ด้านอุปสงค์ของภาคอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มชะลอตัวลงบ้าง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ย
เงินกู้เพื่อซื้อบ้านที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่วนแรงกดดันด้านราคาที่อยู่อาศัยคาดว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามต้นทุน
วัสดุก่อสร้างที่อยู่ในเกณฑ์สูง รวมถึงผลกระทบจากราคาน้ำมันและค่าจ้างแรงงานก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่มากนัก
เนื่องจากตลาดมีการแข่งขันสูง (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์, ข่าวสด)
4. ดัชนีอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค.47 ลดลง 4% จากเดือนก่อน ผู้อำนวยการสำนักงาน
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค.47 จากการสำรวจ
2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 126.84 ลดลง
จากเดือนก่อน 4% สำหรับดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 132.28 ลดลงจากเดือนก่อน 4.26% ทั้งนี้
สาเหตุหลักที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับตัวลดลง เนื่องจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกรอบ 2 ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมผลิต
เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ชะลอการผลิตเพื่อลดความเสี่ยง ประกอบกับการส่งออกที่ต้องหยุดการส่งออกไก่
สด ปรับเปลี่ยนมาเป็นไก่ปรุงสุกและปรุงสำเร็จแทน ซึ่งคาดว่าการผลิตและจำหน่ายไก่สดจะลดลงอย่างต่อเนื่อง
จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางอียูเชื่อมั่นว่าอัตราเงินเฟ้อปี 48 ของอียูจะต่ำกว่าร้อยละ 2 รายงานจากกรุง
วอชิงตัน สรอ. เมื่อวันที่ 2 ต.ค.47 Jean-Claude Trichet ประธาน ธ.กลางสหภาพยุโรป เชื่อมั่นว่า
อัตราเงินเฟ้อในปี 48 ของเขตยูโรจะลดลงต่ำกว่าหรือไม่เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้คือร้อยละ 2 ส่วนอัตราการ
เติบโตของเศรษฐกิจในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 48
ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงมีความสมดุลย์ค่อนข้างดีทั้งในแง่บวกและแง่ลบ โดยราคาน้ำมันดิบที่ปัจจุบันปรับตัวสูงขึ้นเหนือ
ระดับ 50 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อและการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และ
อาจส่งผลให้ตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวที่คาดการณ์ไว้เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งในที่ประชุมประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ
G7 เห็นพ้องต้องกันว่าเศรษฐกิจโลกในปี 48 จะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แม้ว่าอาจจะได้รับผลกระทบบ้าง
จากราคาน้ำมัน ทั้งนี้ IMF คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 47 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5
อนึ่ง อัตราเงินเฟ้อของ 12 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรในเดือน ก.ย.47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.2 ลดลงเล็กน้อย
จากร้อยละ 2.3 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าเพดานที่ ธ.กลางอียูกำหนดไว้ที่ร้อยละ 2 ท่ามกลางการฟื้น
ตัวทางเศรษฐกิจและต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นลดลงจากประสิทธิภาพการผลิตที่สูงขึ้น รายงานจากวอชิงตัน ผู้ว่า
การ ธ.กลางญี่ปุ่นให้สัมภาษณ์ระหว่างเข้าร่วมประชุม ธ.โลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่วอชิงตันว่า
เขาเห็นแนวโน้มว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นจะลดลงเล็กน้อยแม้ว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวแล้วก็ตาม โดยดัชนี
ราคาผู้บริโภคหลักของญี่ปุ่นซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ส.ค.47 จากช่วงเวลาเดียวกัน
ปีก่อน จากประสิทธิภาพการผลิตที่สูงขึ้นและการลดค่าใช้จ่ายของภาคธุรกิจ โดยไม่ได้เป็นผลจากภาวะเงินฝืด ผู้
ว่าการ ธ.กลางญี่ปุ่นย้ำว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะยังคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายโดยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดการ
เงินมากกว่าความต้องการเพื่อคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำใกล้ร้อยละ 0 ต่อไปเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจนกว่า
อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นจะสูงกว่าร้อยละ 0 อย่างมีเสถียรภาพ ผลสำรวจความเห็นของตลาดเมื่อเร็ว ๆ นี้คาด
ว่าจะต้องใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้ก่อนที่อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นแม้ว่าแรงกดดันด้านเงินฝืดจะเริ่มลดลงก็
ตามจากการที่ภาคธุรกิจพยายามตัดลดค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัว รัฐบาลและ ธ.กลางญี่ปุ่นตั้งเป้าที่จะขจัด
ภาวะเงินฝืดให้หมดสิ้นไปภายในปีงบประมาณ 48 และ 49 โดยปีงบประมาณของญี่ปุ่นเริ่มในเดือน เม.ย.ของทุก
ปี (รอยเตอร์)
3. ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 รายงาน
จากโซล เมื่อ 4 ต.ค.47 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ใน
เดือน ก.ย.47 อยู่ที่จำนวน 174.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จากจำนวน 170.5 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของทุนสำรองฯ เนื่องจากรัฐบาลออกพันธบัตรอายุ 10 ปี
จำนวน 1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เมื่อเดือน ก.ย.47 ซึ่งเป็นการออกพันธบัตรรัฐบาลครั้งที่ 2 ในรอบหลายปีที่
ผ่านมา โดยเมื่อเดือน พ.ค.46 รัฐบาลจำหน่ายพันธบัตรอายุ 10 ปีจำนวน 1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. อันเป็น
ครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 41 เป็นต้นมา นอกจากนี้ การที่ค่าเงินสกุลดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลง สนับสนุนให้มูลค่าของ
สินทรัพย์ที่อยู่ในรูปเงินสกุลอื่น เช่น เงินยูโร เมื่อเทียบเป็นดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่าสูงขึ้น รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของ
เงินฝากของสถาบันการเงินที่ธ.กลาง และกำไรจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศก็ล้วนส่งผลให้ทุนสำรองฯ
เพิ่มขึ้นในเดือน ก.ย.อีกด้วย (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจมาเลเซียไม่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 3 ต.
ค.47 Nor Mohamed Yakcop รอง รมต.คลังของมาเลเซียให้สัมภาษณ์ระหว่างเข้าร่วมประชุม ธ.โลกและ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศที่วอชิงตันว่ามาเลเซียอยู่ในฐานะผู้ส่งออกน้ำมันและการค้าของมาเลเซียก็หลาก
หลายนอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยก็อยู่ในระดับต่ำ เศรษฐกิจมาเลเซียจึงไม่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นใน
ขณะนี้ โดยมาเลเซียจะใช้รายได้ส่วนเกินจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ
ประเทศ และเมื่อถูกถามถึงการที่จีนจะเปลี่ยนไปใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว รอง รมต.คลัง
มาเลเซียกล่าวว่าเขาไม่เห็นสัญญาณใด ๆ ที่บ่งชี้ว่าจีนจะเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกับมาเลเซียที่
เห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินริงกิตที่กำหนดไว้ที่ 3.80 ริงกิตต่อดอลลาร์ สรอ.เหมาะสมแล้วและไม่มีแรงกดดันให้
เปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแม้ว่าจีนจะเปลี่ยนไปใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวก็ตาม (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 ต.ค. 47 1 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.404 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2146/41.5010 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6250-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 661.23/23.89 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,100/8,200 8,100/8,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.55 37.8 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.คาดว่าอาจมี ธพ.ต้องกันสำรองเพิ่มในงวดสิ้นปีบัญชี 2547 ผู้อำนวยการอาวุโส สาย
นโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การที่ ธปท.ออกประกาศเมื่อวันที่ 26
ส.ค.47 เรื่องเกณฑ์การจัดการสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือ
เรียกคืนไม่ได้ เนื่องจากต้องการให้ ธพ.เร่งจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ให้เร็วขึ้น ทั้งนี้ เพื่อ
ช่วยให้หนี้เอ็นพีแอลในระบบลดลงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้เหลือ 2% ภายในปี 49 ซึ่งคาดว่าอาจจะมี ธพ.
บางแห่งต้องกันสำรองเพิ่มในงวดสิ้นปีบัญชี 2547 แม้ว่าจะกันสำรองเกินเกณฑ์ตามที่ ธปท.กำหนดแล้วก็ตาม
สำหรับตัวเลขกันสำรองเกินเกณฑ์ของระบบสถาบันการเงินในขณะนี้ โดยเฉลี่ยมีประมาณ 40% เนื่องจากเกือบทุก
แห่งกันสำรองเกินเกณฑ์อยู่ที่ระดับ 135-140% ซึ่งสถาบันการเงินสามารถนำเงินสำรองส่วนเกินมาใช้กันสำรอง
หนี้ที่เหลือคงค้างและจัดการได้ไม่เสร็จทันสิ้นปีนี้ได้ ทั้งนี้ เกณฑ์ดังกล่าวได้มีการปรับปรุงการกันเงินสำรองสำหรับ
สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ กรณีที่ยังไม่ได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย
ด้วยการให้กันเงินสำรองเพิ่มสำหรับยอดคงค้างหลังหักเงินสำรองที่ ธพ.กันไว้แล้ว ซึ่งอัตราส่วนขึ้นอยู่กับระยะ
เวลาการค้างชำระหนี้ และยกเลิกเกณฑ์การประเมินสินทรัพย์ที่ตีราคาเกินกว่า 12 เดือน จากเดิมที่อนุญาตให้นำ
มาหักจากยอดคงค้างก่อนกันเงินสำรองได้ไม่เกิน 50% ของราคาประเมิน รวมทั้งห้ามโอนเงินสำรองพึงกันที่เกิด
จากงวดบัญชีหลังของปี 2544 ไปเป็นรายได้ (ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด)
2. ธปท.ศึกษาเรื่องการกำหนดค่าธรรมเนียมการชำระเงินทั้งระบบของ ธพ. ผู้สื่อข่าวรายงาน
ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยสายระบบการชำระเงิน และสมาคมธนาคารไทย ได้ว่าจ้างสถาบัน
เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดเก็บข้อมูลและการศึกษาเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการชำระเงินทั้งระบบ
ของ ธพ.หรือสถาบันผู้ให้บริการการชำระเงินที่เรียกเก็บกับผู้ใช้บริการหรือลูกค้า เพื่อนำมาพิจารณากำหนดอัตรา
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการชำระเงินให้เป็นมาตรฐานต่อไป เนื่องจากปัจจุบัน ธปท.ไม่ได้มีการกำหนดอัตราค่า
ธรรมเนียมการใช้บริการชำระเงินแต่อย่างใด ส่งผลให้ ธพ.มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแตกต่างกัน ทั้งนี้ จาก
การประเมินเบื้องต้นคาดว่า อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับการใช้บริการชำระเงินจะปรับลดลงจากปัจจุบัน โดย
เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากต้นทุนต่างๆ ลดลง แต่มีค่าธรรมเนียมบางประเภทที่
เกี่ยวข้องกับเอกสารกระดาษ เช่น เช็ค อาจจะปรับขึ้น เนื่องจากต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม อย่างไรก็ตาม ยังไม่
สามารถสรุปได้ว่าจะส่งผลกระทบต่อ ธพ.มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ คาดว่าการสรุปผลโครงการศึกษาดังกล่าวจะ
เสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 47 หรือต้นปี 48 (โลกวันนี้, ข่าวสด)
3. ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในเดือน ก.ค.47 รายงานเศรษฐกิจและการ
เงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือน ส.ค.47 ชี้ให้เห็นถึงการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ใน
เดือน ก.ค. ว่ายังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการซื้อขายที่ดินทั้งประเทศขยายตัว 57.7%
จากระยะเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่าการซื้อขายจำนวน 47,799 ล.บาท สอดคล้องกับการขยายตัวของ
พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างทั้งประเทศที่มีการขยายตัวถึง 56.1% จากระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เป็นผลมาจาก
การขยายตัวของโครงการที่อยู่อาศัยในทำเลที่ใกล้โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและโครงการทาง
ด่วนใหม่ที่เชื่อมต่อถนนวงแหวนรอบนอก นอกจากนี้ จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียนเพิ่มใน
เขตกรุงเทพฯและปริมณฑลในช่วง 7 เดือนแรกของปี 47 เพิ่มขึ้น 38.1% จากระยะเดียวกันของปีก่อน หรือเท่า
กับ 31,305 หน่วย สำหรับเดือน ก.ค.จำนวนที่อยู่อาศัยจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 47.5% หรือ 5,231 หน่วยเมื่อ
เทียบกับปีก่อน ด้านอุปสงค์ของภาคอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มชะลอตัวลงบ้าง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ย
เงินกู้เพื่อซื้อบ้านที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่วนแรงกดดันด้านราคาที่อยู่อาศัยคาดว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามต้นทุน
วัสดุก่อสร้างที่อยู่ในเกณฑ์สูง รวมถึงผลกระทบจากราคาน้ำมันและค่าจ้างแรงงานก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่มากนัก
เนื่องจากตลาดมีการแข่งขันสูง (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์, ข่าวสด)
4. ดัชนีอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค.47 ลดลง 4% จากเดือนก่อน ผู้อำนวยการสำนักงาน
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค.47 จากการสำรวจ
2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 126.84 ลดลง
จากเดือนก่อน 4% สำหรับดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 132.28 ลดลงจากเดือนก่อน 4.26% ทั้งนี้
สาเหตุหลักที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับตัวลดลง เนื่องจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกรอบ 2 ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมผลิต
เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ชะลอการผลิตเพื่อลดความเสี่ยง ประกอบกับการส่งออกที่ต้องหยุดการส่งออกไก่
สด ปรับเปลี่ยนมาเป็นไก่ปรุงสุกและปรุงสำเร็จแทน ซึ่งคาดว่าการผลิตและจำหน่ายไก่สดจะลดลงอย่างต่อเนื่อง
จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางอียูเชื่อมั่นว่าอัตราเงินเฟ้อปี 48 ของอียูจะต่ำกว่าร้อยละ 2 รายงานจากกรุง
วอชิงตัน สรอ. เมื่อวันที่ 2 ต.ค.47 Jean-Claude Trichet ประธาน ธ.กลางสหภาพยุโรป เชื่อมั่นว่า
อัตราเงินเฟ้อในปี 48 ของเขตยูโรจะลดลงต่ำกว่าหรือไม่เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้คือร้อยละ 2 ส่วนอัตราการ
เติบโตของเศรษฐกิจในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 48
ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงมีความสมดุลย์ค่อนข้างดีทั้งในแง่บวกและแง่ลบ โดยราคาน้ำมันดิบที่ปัจจุบันปรับตัวสูงขึ้นเหนือ
ระดับ 50 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อและการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และ
อาจส่งผลให้ตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวที่คาดการณ์ไว้เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งในที่ประชุมประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ
G7 เห็นพ้องต้องกันว่าเศรษฐกิจโลกในปี 48 จะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แม้ว่าอาจจะได้รับผลกระทบบ้าง
จากราคาน้ำมัน ทั้งนี้ IMF คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 47 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5
อนึ่ง อัตราเงินเฟ้อของ 12 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรในเดือน ก.ย.47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.2 ลดลงเล็กน้อย
จากร้อยละ 2.3 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าเพดานที่ ธ.กลางอียูกำหนดไว้ที่ร้อยละ 2 ท่ามกลางการฟื้น
ตัวทางเศรษฐกิจและต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นลดลงจากประสิทธิภาพการผลิตที่สูงขึ้น รายงานจากวอชิงตัน ผู้ว่า
การ ธ.กลางญี่ปุ่นให้สัมภาษณ์ระหว่างเข้าร่วมประชุม ธ.โลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่วอชิงตันว่า
เขาเห็นแนวโน้มว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นจะลดลงเล็กน้อยแม้ว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวแล้วก็ตาม โดยดัชนี
ราคาผู้บริโภคหลักของญี่ปุ่นซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ส.ค.47 จากช่วงเวลาเดียวกัน
ปีก่อน จากประสิทธิภาพการผลิตที่สูงขึ้นและการลดค่าใช้จ่ายของภาคธุรกิจ โดยไม่ได้เป็นผลจากภาวะเงินฝืด ผู้
ว่าการ ธ.กลางญี่ปุ่นย้ำว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะยังคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายโดยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดการ
เงินมากกว่าความต้องการเพื่อคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำใกล้ร้อยละ 0 ต่อไปเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจนกว่า
อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นจะสูงกว่าร้อยละ 0 อย่างมีเสถียรภาพ ผลสำรวจความเห็นของตลาดเมื่อเร็ว ๆ นี้คาด
ว่าจะต้องใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้ก่อนที่อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นแม้ว่าแรงกดดันด้านเงินฝืดจะเริ่มลดลงก็
ตามจากการที่ภาคธุรกิจพยายามตัดลดค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัว รัฐบาลและ ธ.กลางญี่ปุ่นตั้งเป้าที่จะขจัด
ภาวะเงินฝืดให้หมดสิ้นไปภายในปีงบประมาณ 48 และ 49 โดยปีงบประมาณของญี่ปุ่นเริ่มในเดือน เม.ย.ของทุก
ปี (รอยเตอร์)
3. ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 รายงาน
จากโซล เมื่อ 4 ต.ค.47 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ใน
เดือน ก.ย.47 อยู่ที่จำนวน 174.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จากจำนวน 170.5 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของทุนสำรองฯ เนื่องจากรัฐบาลออกพันธบัตรอายุ 10 ปี
จำนวน 1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เมื่อเดือน ก.ย.47 ซึ่งเป็นการออกพันธบัตรรัฐบาลครั้งที่ 2 ในรอบหลายปีที่
ผ่านมา โดยเมื่อเดือน พ.ค.46 รัฐบาลจำหน่ายพันธบัตรอายุ 10 ปีจำนวน 1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. อันเป็น
ครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 41 เป็นต้นมา นอกจากนี้ การที่ค่าเงินสกุลดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลง สนับสนุนให้มูลค่าของ
สินทรัพย์ที่อยู่ในรูปเงินสกุลอื่น เช่น เงินยูโร เมื่อเทียบเป็นดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่าสูงขึ้น รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของ
เงินฝากของสถาบันการเงินที่ธ.กลาง และกำไรจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศก็ล้วนส่งผลให้ทุนสำรองฯ
เพิ่มขึ้นในเดือน ก.ย.อีกด้วย (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจมาเลเซียไม่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 3 ต.
ค.47 Nor Mohamed Yakcop รอง รมต.คลังของมาเลเซียให้สัมภาษณ์ระหว่างเข้าร่วมประชุม ธ.โลกและ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศที่วอชิงตันว่ามาเลเซียอยู่ในฐานะผู้ส่งออกน้ำมันและการค้าของมาเลเซียก็หลาก
หลายนอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยก็อยู่ในระดับต่ำ เศรษฐกิจมาเลเซียจึงไม่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นใน
ขณะนี้ โดยมาเลเซียจะใช้รายได้ส่วนเกินจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ
ประเทศ และเมื่อถูกถามถึงการที่จีนจะเปลี่ยนไปใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว รอง รมต.คลัง
มาเลเซียกล่าวว่าเขาไม่เห็นสัญญาณใด ๆ ที่บ่งชี้ว่าจีนจะเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกับมาเลเซียที่
เห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินริงกิตที่กำหนดไว้ที่ 3.80 ริงกิตต่อดอลลาร์ สรอ.เหมาะสมแล้วและไม่มีแรงกดดันให้
เปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแม้ว่าจีนจะเปลี่ยนไปใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวก็ตาม (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 ต.ค. 47 1 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.404 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2146/41.5010 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6250-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 661.23/23.89 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,100/8,200 8,100/8,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.55 37.8 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-