ในเดือนสิงหาคมนี้ เศรษฐกิจภาคใต้ ขยายตัวต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน เนื่อง
จากราคาน้ำมันและดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง ส่งผลให้การใช้จ่ายเพื่อ
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราชะลอลงจากเดือนก่อนค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันการใช้จ่ายภาค
รัฐก็ชะลอลงเช่นกัน ส่วนการส่งออกยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่การลงทุนภาคเอกชนลดลง โดยเฉพาะการก่อสร้าง
ทางด้านภาคการผลิต รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักเพิ่มขึ้นจากปัจจัยทั้งทางด้านผลผลิตและ
ราคา แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนตามราคายาง ส่วนอุตสาหกรรมขยายตัวขึ้นตามวัตถุดิบและความต้องการของ
ตลาด ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวขยายตัวดี
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวสูงขึ้น ตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มจากการเพิ่มขึ้น
ของราคาเนื้อสัตว์
ภาคเกษตร
ในเดือนสิงหาคมนี้รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลที่สำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 จากระยะเดียว
กันปีก่อน แต่เป็นอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 28.9 ในเดือนกรกฎาคม สอดคล้องกับราคาพืชผลที่เพิ่มขึ้นในอัตรา
ที่ชะลอลงเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 เทียบกับเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 เป็นผลจากราคายางลดลง
ขณะที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกับเดือนก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นของผลผลิตยางและปาล์มน้ำมัน
ทางด้านประมงทะเล ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้น และการเข้มงวดน่านน้ำของประเทศ
เพื่อนบ้าน ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้น ณ ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาในภาคใต้ลดลงร้อยละ
26.1 และมูลค่าลดลงร้อยละ 6.6 สำหรับกุ้งกุลาดำ ผลผลิตและราคายังคงลดลง อย่างไรก็ตามคาดว่า
ราคากุ้งจะปรับตัวดีขึ้น จากการที่อัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งที่นำเข้าจากประเทศไทยต่ำสุดในกลุ่มที่ถูกตอบ
โต้
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวขึ้น โดยผลผลิตของอุตสาหกรรมยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง
รวมทั้งน้ำมันปาล์มขยายตัวจากการที่ปริมาณวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันอุตสาหกรรม ไม้ยางพาราแปรรูป
และเฟอร์นิเจอร์ขยายตัวตามความต้องการของตลาด ส่วนการผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารทะเล
กระป๋องยังคงลดลงต่อเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบ
ภาคบริการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวของภาคใต้ยังคงขยายตัว จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคน
เข้าเมืองในภาคใต้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9 ตามนักท่องเที่ยวทางภาคใต้ ฝั่งตะวันตก
ขณะที่การท่องเที่ยวของภาคใต้ตอนล่างเริ่มมีนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น สำหรับอัตราการเข้าพักโรงแรมของ
ภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 59.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อน ซึ่งมีอัตราการเข้าพักร้อยละ 54.6
และร้อยละ 56.3 ตามลำดับ
การใช้จ่ายภาคเอกชน
การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวขยยตขยายตัว ในอัตราที่ชะลอลงมาก โดยการขยายตัวของ
เครื่องชี้ในหมวดยานยนต์ ชะลอลงจากเดือนก่อนทั้งรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
10.8 และร้อยละ 9.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันและรอดูสินค้ารุ่นใหม่ ส่วน
รายได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเพิ่มขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนลดลงจากเดือนกรกฎาคม โดยเฉพาะการก่อสร้าง พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ทำ
การก่อสร้างลดลงร้อยละ 37.7 ปัจจัยลบที่สำคัญได้แก่ ราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยมีแนว
โน้มสูงขึ้นและธนาคารมีความเข้มงวดสินเชื่อ ขณะเดียวการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ลดลงร้อยละ 35.5
การจ้างงาน
ในเดือนสิงหาคมนี้การจ้างงานในภาคใต้ยังคงเพิ่มขึ้น ตามความต้องการของอุตสาหกรรม
โรงแรมและการค้า นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการจัดงานนับพบแรงงานขึ้น สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน
กรกฎาคมอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 ลดลงจากร้อยละ 2.2 ในเดือนมิถุนายน
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ในเดือนสิงหาคมนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน โดย
ราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 5.8 เป็นผลจากราคาเนื้อสัตว์และไข่ไก่ สำหรับราคาใน
หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสูงขึ้นในหมวดยานพาหนะ
และหมวดบันเทิง
การค้าต่างประเทศ
ในเดือนสิงหาคมนี้การส่งออกมีมูลค่า 567.9 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 18.0จาก
การเพิ่มขึ้นของการส่งออกยางพารา ไม้ยางพาราแปรรูปและถุงมือยาง ขณะที่การนำเข้าสินค้ามี มูลค่า
190.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 4.9 เป็นการลดลงของการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ ทำให้
ดุลการค้าในเดือนนี้เกินดุล 377.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.2
ส่วนการค้าผ่านด่านชายแดนไทย | มาเลเซีย ยังขยายตัวดี มีมูลค่าส่งออก 346.3 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 20.9 และมูลค่าการนำเข้า 142.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ
24.2 จากการนำเข้า เครื่องจักร เครื่องประมวลผลข้อมูล เหล็ก-เหล็กกล้า น้ำยางสังเคราะห์และไม้แปร
รูป
การคลัง
รายได้จากการจัดเก็บภาษียังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 36.9 ผลจากจัดเก็บภาษีเงิน
ได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.1 เนื่องจากเป็นเดือนสุดท้ายของการชำระภาษี รอบครึ่งปีบัญชี 2547 ส่วนการ
ใช้จ่ายของภาครัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ชะลอลงจากเดือนก่อน
ภาคการเงิน
การรับ-จ่ายเงินสดในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.4 ขณะเดียวกันการ
โอนเงินระหว่างสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้กับสำนักงานใหญ่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6 ทางด้านเงินฝาก
ธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 11.6 เร่งตัวขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมีพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่น 3 ปี(ปีงบ
ประมาณ 244) ครบกำหนดชำระในเดือนนี้ ขณะที่สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 13.9 ชะลอลงจากการที่ธนาคาร
พาณิชย์มีการพิจารณาสินเชื่อเข้มงวดขึ้น
เครื่องชี้ ส.ค.46 ก.ค.47 ส.ค.47 ส.ค. 47/46
(%)
1. การเกษตร
ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 39.28 47.4 46.28 17.8
ปาล์มทั้งทะลาย 2.46 3.35 4.1 66.7
ประมง
สัตว์น้ำ ปริมาณ (เมตริกตัน) 51,676 43,328 38,176 -26.1
มูลค่า (ล้านบาท) 1,076.00 1,149.80 1,005.30 -6.6
กุ้งกุลาดำขนาด 40 ตัว/กก.(บาท/กก.) 235 216 223 -5.1
2. การอุตสาหกรรม (เมตริกตัน)
ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 71,903.80 74,501.80 80,687.40 12.2
ยางแท่ง 86,125.60 69,332.70 60,810.00 -29.4
3. การท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมือง (คน) 237,911 224,650 247,149 3.9
4. การค้า
การจดทะเบียนรถใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 1,359 1,877 1,506 10.8
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 2,725 3,970 2,971 9
รถจักรยานยนต์ 26,587 33,886 29,201 9.8
5. การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 20,036.20 26,534.70 23,540.70 17.5
ยาง 6,610.70 9,773.50 9,688.40 46.6
ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ 496.6 869.6 820.5 65.2
ถุงมือยาง 1,020.30 1,364.60 1,377.90 35
สัตว์น้ำแช่แข็ง 1,638.50 1,848.30 1,435.30 -12.4
อาหารกระป๋อง 827.6 1,223.50 1,068.10 29.1
ดีบุก 212.8 476.5 433.4 103.7
แร่อื่น ๆ 247.5 176 244.5 -1.2
ก๊าซธรรมชาติ 75.6 79.1 18.5 -75.6
น้ำมันดิบ 1,100.30 587.8 688.9 -37.4
มูลค่าการนำเข้า 8,334.70 11,219.20 7,895.90 -5.3
เครื่องจักรอุปกรณ์ 5,042.50 3,831.10 3,251.90 -35.5
น้ำมันเชื้อเพลิง - 16 - -
อุปกรณ์ก่อสร้าง 123 150.6 137.1 11.4
สัตว์น้ำแช่แข็ง 701.9 1,459.70 829.3 18.2
6. ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคใต้ (ปีฐาน 2541) 106.1 110 110.4 4.1
7. การลงทุน
กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 3 11 1 -66.7
เงินลงทุน (ล้านบาท) 543.1 2,644.00 160 -70.5
การจ้างงาน (คน) 142 2,173 38 -73.2
การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 329 443 383 16.4
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 855.7 1,464.20 753.3 -12
พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร)
พื้นที่รวม 266,286 181,623 165,792 -37.7
8. ค่าจ้างและการจัดหางาน
การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 5,209 8,324 9,717 86.5
ผู้สมัครงาน (คน) 2,746 4,014 5,585 103.4
การบรรจุงาน (คน) 1,338 2,342 3,142 134.8
9. การคลัง (ล้านบาท)
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 7,568.60 9,271.40 8,388.30 10.8
การจัดเก็บภาษีอากร 1,655.50 1,562.00 2,265.80 36.9
สรรพากร 1,424.90 1,342.20 2,043.10 43.4
สรรพสามิต 116.3 102.2 120 3.2
ศุลกากร 114.3 117.6 102.7 -10.1
10. การเงิน
การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท.(ล้านบาท)
เงินสดรับ 16,443.90 18,050.10 18,429.20 12.1
เงินสดจ่าย 19,111.40 22,460.00 19,768.90 3.1
การโอนเงินระหว่าง ธพ.ในภาคใต้กับ สนญ. 29,486.10 40,785.00 36,145.10 22.6
(ล้านบาท)
โอนเงินออก 7,684.50 12,961.30 11,912.20 55
โอนเงินเข้า 21,801.60 27,823.70 24,232.90 11.2
การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 412,669 371,235 384,609 -6.8
มูลค่า (ล้านบาท) 40,420.10 44,197.10 44,412.00 9.9
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 1 1 0.8
ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 418 432 432E 3.3 E
เงินฝาก (ล้านบาท) 275,060.60 303,115 307,000 E 11.6 E
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 171,408.60 193,887 195,200 E 13.9 E
ธนาคารออมสิน
เงินฝาก (ล้านบาท) 49,615.30 53,295.10 53,809.60 8.5
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 20,418.60 27,536.30 27,906.80 36.7
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 1,366.20 1,452.00 1,647.70 20.6
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 43,294.60 45,058.10 45,159.10 4.3
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 302.2 161.4 302.8 0.2
ยอดเงินกู้คงค้าง (ล้านบาท) 13,788.20 13,333.30 13,480.30 -2.2
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 1,623.60 2,403.70 2,274.20 40.1
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
จากราคาน้ำมันและดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง ส่งผลให้การใช้จ่ายเพื่อ
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราชะลอลงจากเดือนก่อนค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันการใช้จ่ายภาค
รัฐก็ชะลอลงเช่นกัน ส่วนการส่งออกยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่การลงทุนภาคเอกชนลดลง โดยเฉพาะการก่อสร้าง
ทางด้านภาคการผลิต รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักเพิ่มขึ้นจากปัจจัยทั้งทางด้านผลผลิตและ
ราคา แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนตามราคายาง ส่วนอุตสาหกรรมขยายตัวขึ้นตามวัตถุดิบและความต้องการของ
ตลาด ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวขยายตัวดี
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวสูงขึ้น ตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มจากการเพิ่มขึ้น
ของราคาเนื้อสัตว์
ภาคเกษตร
ในเดือนสิงหาคมนี้รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลที่สำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 จากระยะเดียว
กันปีก่อน แต่เป็นอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 28.9 ในเดือนกรกฎาคม สอดคล้องกับราคาพืชผลที่เพิ่มขึ้นในอัตรา
ที่ชะลอลงเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 เทียบกับเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 เป็นผลจากราคายางลดลง
ขณะที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกับเดือนก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นของผลผลิตยางและปาล์มน้ำมัน
ทางด้านประมงทะเล ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้น และการเข้มงวดน่านน้ำของประเทศ
เพื่อนบ้าน ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้น ณ ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาในภาคใต้ลดลงร้อยละ
26.1 และมูลค่าลดลงร้อยละ 6.6 สำหรับกุ้งกุลาดำ ผลผลิตและราคายังคงลดลง อย่างไรก็ตามคาดว่า
ราคากุ้งจะปรับตัวดีขึ้น จากการที่อัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งที่นำเข้าจากประเทศไทยต่ำสุดในกลุ่มที่ถูกตอบ
โต้
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวขึ้น โดยผลผลิตของอุตสาหกรรมยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง
รวมทั้งน้ำมันปาล์มขยายตัวจากการที่ปริมาณวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันอุตสาหกรรม ไม้ยางพาราแปรรูป
และเฟอร์นิเจอร์ขยายตัวตามความต้องการของตลาด ส่วนการผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารทะเล
กระป๋องยังคงลดลงต่อเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบ
ภาคบริการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวของภาคใต้ยังคงขยายตัว จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคน
เข้าเมืองในภาคใต้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9 ตามนักท่องเที่ยวทางภาคใต้ ฝั่งตะวันตก
ขณะที่การท่องเที่ยวของภาคใต้ตอนล่างเริ่มมีนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น สำหรับอัตราการเข้าพักโรงแรมของ
ภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 59.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อน ซึ่งมีอัตราการเข้าพักร้อยละ 54.6
และร้อยละ 56.3 ตามลำดับ
การใช้จ่ายภาคเอกชน
การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวขยยตขยายตัว ในอัตราที่ชะลอลงมาก โดยการขยายตัวของ
เครื่องชี้ในหมวดยานยนต์ ชะลอลงจากเดือนก่อนทั้งรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
10.8 และร้อยละ 9.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันและรอดูสินค้ารุ่นใหม่ ส่วน
รายได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเพิ่มขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนลดลงจากเดือนกรกฎาคม โดยเฉพาะการก่อสร้าง พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ทำ
การก่อสร้างลดลงร้อยละ 37.7 ปัจจัยลบที่สำคัญได้แก่ ราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยมีแนว
โน้มสูงขึ้นและธนาคารมีความเข้มงวดสินเชื่อ ขณะเดียวการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ลดลงร้อยละ 35.5
การจ้างงาน
ในเดือนสิงหาคมนี้การจ้างงานในภาคใต้ยังคงเพิ่มขึ้น ตามความต้องการของอุตสาหกรรม
โรงแรมและการค้า นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการจัดงานนับพบแรงงานขึ้น สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน
กรกฎาคมอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 ลดลงจากร้อยละ 2.2 ในเดือนมิถุนายน
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ในเดือนสิงหาคมนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน โดย
ราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 5.8 เป็นผลจากราคาเนื้อสัตว์และไข่ไก่ สำหรับราคาใน
หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสูงขึ้นในหมวดยานพาหนะ
และหมวดบันเทิง
การค้าต่างประเทศ
ในเดือนสิงหาคมนี้การส่งออกมีมูลค่า 567.9 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 18.0จาก
การเพิ่มขึ้นของการส่งออกยางพารา ไม้ยางพาราแปรรูปและถุงมือยาง ขณะที่การนำเข้าสินค้ามี มูลค่า
190.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 4.9 เป็นการลดลงของการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ ทำให้
ดุลการค้าในเดือนนี้เกินดุล 377.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.2
ส่วนการค้าผ่านด่านชายแดนไทย | มาเลเซีย ยังขยายตัวดี มีมูลค่าส่งออก 346.3 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 20.9 และมูลค่าการนำเข้า 142.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ
24.2 จากการนำเข้า เครื่องจักร เครื่องประมวลผลข้อมูล เหล็ก-เหล็กกล้า น้ำยางสังเคราะห์และไม้แปร
รูป
การคลัง
รายได้จากการจัดเก็บภาษียังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 36.9 ผลจากจัดเก็บภาษีเงิน
ได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.1 เนื่องจากเป็นเดือนสุดท้ายของการชำระภาษี รอบครึ่งปีบัญชี 2547 ส่วนการ
ใช้จ่ายของภาครัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ชะลอลงจากเดือนก่อน
ภาคการเงิน
การรับ-จ่ายเงินสดในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.4 ขณะเดียวกันการ
โอนเงินระหว่างสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้กับสำนักงานใหญ่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6 ทางด้านเงินฝาก
ธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 11.6 เร่งตัวขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมีพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่น 3 ปี(ปีงบ
ประมาณ 244) ครบกำหนดชำระในเดือนนี้ ขณะที่สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 13.9 ชะลอลงจากการที่ธนาคาร
พาณิชย์มีการพิจารณาสินเชื่อเข้มงวดขึ้น
เครื่องชี้ ส.ค.46 ก.ค.47 ส.ค.47 ส.ค. 47/46
(%)
1. การเกษตร
ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 39.28 47.4 46.28 17.8
ปาล์มทั้งทะลาย 2.46 3.35 4.1 66.7
ประมง
สัตว์น้ำ ปริมาณ (เมตริกตัน) 51,676 43,328 38,176 -26.1
มูลค่า (ล้านบาท) 1,076.00 1,149.80 1,005.30 -6.6
กุ้งกุลาดำขนาด 40 ตัว/กก.(บาท/กก.) 235 216 223 -5.1
2. การอุตสาหกรรม (เมตริกตัน)
ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 71,903.80 74,501.80 80,687.40 12.2
ยางแท่ง 86,125.60 69,332.70 60,810.00 -29.4
3. การท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมือง (คน) 237,911 224,650 247,149 3.9
4. การค้า
การจดทะเบียนรถใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 1,359 1,877 1,506 10.8
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 2,725 3,970 2,971 9
รถจักรยานยนต์ 26,587 33,886 29,201 9.8
5. การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 20,036.20 26,534.70 23,540.70 17.5
ยาง 6,610.70 9,773.50 9,688.40 46.6
ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ 496.6 869.6 820.5 65.2
ถุงมือยาง 1,020.30 1,364.60 1,377.90 35
สัตว์น้ำแช่แข็ง 1,638.50 1,848.30 1,435.30 -12.4
อาหารกระป๋อง 827.6 1,223.50 1,068.10 29.1
ดีบุก 212.8 476.5 433.4 103.7
แร่อื่น ๆ 247.5 176 244.5 -1.2
ก๊าซธรรมชาติ 75.6 79.1 18.5 -75.6
น้ำมันดิบ 1,100.30 587.8 688.9 -37.4
มูลค่าการนำเข้า 8,334.70 11,219.20 7,895.90 -5.3
เครื่องจักรอุปกรณ์ 5,042.50 3,831.10 3,251.90 -35.5
น้ำมันเชื้อเพลิง - 16 - -
อุปกรณ์ก่อสร้าง 123 150.6 137.1 11.4
สัตว์น้ำแช่แข็ง 701.9 1,459.70 829.3 18.2
6. ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคใต้ (ปีฐาน 2541) 106.1 110 110.4 4.1
7. การลงทุน
กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 3 11 1 -66.7
เงินลงทุน (ล้านบาท) 543.1 2,644.00 160 -70.5
การจ้างงาน (คน) 142 2,173 38 -73.2
การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 329 443 383 16.4
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 855.7 1,464.20 753.3 -12
พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร)
พื้นที่รวม 266,286 181,623 165,792 -37.7
8. ค่าจ้างและการจัดหางาน
การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 5,209 8,324 9,717 86.5
ผู้สมัครงาน (คน) 2,746 4,014 5,585 103.4
การบรรจุงาน (คน) 1,338 2,342 3,142 134.8
9. การคลัง (ล้านบาท)
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 7,568.60 9,271.40 8,388.30 10.8
การจัดเก็บภาษีอากร 1,655.50 1,562.00 2,265.80 36.9
สรรพากร 1,424.90 1,342.20 2,043.10 43.4
สรรพสามิต 116.3 102.2 120 3.2
ศุลกากร 114.3 117.6 102.7 -10.1
10. การเงิน
การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท.(ล้านบาท)
เงินสดรับ 16,443.90 18,050.10 18,429.20 12.1
เงินสดจ่าย 19,111.40 22,460.00 19,768.90 3.1
การโอนเงินระหว่าง ธพ.ในภาคใต้กับ สนญ. 29,486.10 40,785.00 36,145.10 22.6
(ล้านบาท)
โอนเงินออก 7,684.50 12,961.30 11,912.20 55
โอนเงินเข้า 21,801.60 27,823.70 24,232.90 11.2
การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 412,669 371,235 384,609 -6.8
มูลค่า (ล้านบาท) 40,420.10 44,197.10 44,412.00 9.9
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 1 1 0.8
ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 418 432 432E 3.3 E
เงินฝาก (ล้านบาท) 275,060.60 303,115 307,000 E 11.6 E
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 171,408.60 193,887 195,200 E 13.9 E
ธนาคารออมสิน
เงินฝาก (ล้านบาท) 49,615.30 53,295.10 53,809.60 8.5
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 20,418.60 27,536.30 27,906.80 36.7
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 1,366.20 1,452.00 1,647.70 20.6
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 43,294.60 45,058.10 45,159.10 4.3
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 302.2 161.4 302.8 0.2
ยอดเงินกู้คงค้าง (ล้านบาท) 13,788.20 13,333.30 13,480.30 -2.2
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 1,623.60 2,403.70 2,274.20 40.1
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-