1. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
ในเดือนสิงหาคม 2547 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นเล็กน้อยเทียบกับเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 เพราะยอดจำหน่ายรถยนต์ และมูลค่านำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ระดับของดัชนีที่ลดลงจากเดือนก่อน สอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมที่ลดลงต่อเนื่อง
เครื่องชี้ในกลุ่มยานพาหนะ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 44.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่หดตัวร้อยละ 2.6 ในเดือนก่อน เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพามิตรถยนต์ที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ทำให้ราคาจำหน่ายหลังการปรับโครงสร้างภาษีฯ ลดลงจูงใจให้มีการซื้อรถยนต์มากขึ้น ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ชะลอลงโดยขยายตัวร้อยละ 5.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามอุปสงค์ที่ชะลอตัว
เครื่องชี้ในกลุ่มที่ไม่ใช่ยานพาหนะ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าอุปโภคบริโภค (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 22.9 จากระยะเดียวกันปีก่อนสะท้อนกิจกรรมการอุปโภคบริโภคสินค้าและบริการโดยรวมที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับมูลค่านำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาปี 2538 ขยายตัวร้อยละ 17.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนตามการขยายตัวของทั้งสินค้าคงทนและไม่คงทนปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัย ชะลอลงโดยขยายตัวร้อยละ 2.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากการรณงค์ให้ประหยัดการใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง ในขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนโดยขยายตัวร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน
2. การลงทุนภาคเอกชน
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ในเดือนสิงหาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 64.9 ขยายตัวร้อยละ 10.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 12.0 ในเดือนก่อน ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม การชะลอตัวของดัชนีฯ ในเดือนนี้ส่วนหนึ่งเป็นปัจจัยชั่วคราวจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ลดลงเพราะอยู่ระหว่างการรอสินค้ารุ่นใหม่
สำหรับการลงทุนในหมวดเครื่องมือ เครื่องจักร มูลค่าสินค้าทุนนำเข้า ณ ราคาคงที่ขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 16.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการขยายตัวดีของการนำเข้าเครื่องจักรกลและเครื่องจักรไฟฟ้า ในขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวร้อยละ 16.6 เนื่องจากอยู่ระหว่างการรอรถรุ่นใหม่ที่จะเริ่มออกจำหน่ายในเดือนกันยายน
ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้างชะลอลงส่วนหนึ่งเป็นผลจากความเสี่ยงด้านราคาวัสดุก่อสร้างที่เร่งตัวต่อเนื่อง ในขณะที่ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 13.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 11.9 ในเดือนก่อน
เมื่อพิจารณาเครื่องชี้อื่น ๆ ของการลงทุนภาคเอกชน ได้แก่ เงินทุนธุรกิจจดทะเบียนตั้งใหม่จำนวนและมูลค่าการลงทุนของโครงการที่รับบัตรส่งเสริมการลงทุน ผลกำไรของธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการขยายตัวของสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไปยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ต่อเนื่อง
3. ภาคการคลัง
รายได้รัฐบาล เดือนสิงหาคมรัฐบาลมีรายได้นำส่ง 78.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.2 จากรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ขณะที่รายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 35.5
รายได้จากภาษีที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี มาจากภาษีจากฐานรายได้ (ร้อยละ 22.1) และภาษีจากฐานการบริโภค (ร้อยละ 16.0)เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 25.3 ขณะที่ภาษีสรรพสามิตนำส่งกลับมาขยายตัวดีร้อยละ 5.4 สำหรับภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5
รายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงตามรายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจที่ลดลงร้อยละ 59.3 เนื่องจากช่วงเดียวกันปีก่อนมีการนำส่งรายได้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ขณะที่ในปีนี้มีเพียงรายได้นำส่งจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 0.7 พันล้านบาท
อนึ่ง การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในเดือนนี้ ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิรอบครึ่งปีบัญชี 2547 ปรากฎว่ามีผู้มายื่นเสียภาษีสูงกว่าที่คาดไว้มาก ทำให้จัดเก็บภาษีได้ 79.4 พันล้านบาท สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 71.6 แต่ส่วนใหญ่จะนำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินในเดือนกันยายน
รายจ่ายของรัฐบาล ในเดือนสิงหาคมมีจำนวน 79.3 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.2 อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 6.7 โดยมีรายจ่ายในงบประมาณของส่วนกลางที่สำคัญ คือ รายจ่ายบำเหน็จบำนาญ 5.4 พันล้านบาท สำหรับรายจ่ายเงินนอกงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ การโอนเงินภาษี และค่าธรรมเนียมให้ท้องถิ่น รวม 3.9 พันล้านบาท
ดุลเงินสด ขาดดุล 0.1 พันล้านบาท เป็นผลจากการขาดดุลเงินในงบประมาณ 0.6 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล 0.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลกู้เงินในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุล 23.2 พันล้านบาท (เป็นการเพิ่มวงเงินตั๋วเงินคลัง และยอดเงินฝากของ ธปท.ที่คลังจังหวัด 24.5 และ 5.6 พันล้านบาท ตามลำดับ และไถ่ถอนพันธบัตร 6.7 พันล้านบาท) แต่ชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิ 0.2 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 22.8 พันล้านบาท เป็น 99.6 พันล้านบาท
ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลขาดดุลเงินสด 0.2 พันล้านบาท โดยรายได้ขยายตัวร้อยละ 15.2 ส่วนรายจ่ายขยายตัวร้อยละ 17.8 และ มีอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 80.3 ใกล้เคียงกับร้อยละ 80.4 ช่วงเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชบ/ดพ-
ในเดือนสิงหาคม 2547 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นเล็กน้อยเทียบกับเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 เพราะยอดจำหน่ายรถยนต์ และมูลค่านำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ระดับของดัชนีที่ลดลงจากเดือนก่อน สอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมที่ลดลงต่อเนื่อง
เครื่องชี้ในกลุ่มยานพาหนะ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 44.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่หดตัวร้อยละ 2.6 ในเดือนก่อน เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพามิตรถยนต์ที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ทำให้ราคาจำหน่ายหลังการปรับโครงสร้างภาษีฯ ลดลงจูงใจให้มีการซื้อรถยนต์มากขึ้น ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ชะลอลงโดยขยายตัวร้อยละ 5.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามอุปสงค์ที่ชะลอตัว
เครื่องชี้ในกลุ่มที่ไม่ใช่ยานพาหนะ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าอุปโภคบริโภค (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 22.9 จากระยะเดียวกันปีก่อนสะท้อนกิจกรรมการอุปโภคบริโภคสินค้าและบริการโดยรวมที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับมูลค่านำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาปี 2538 ขยายตัวร้อยละ 17.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนตามการขยายตัวของทั้งสินค้าคงทนและไม่คงทนปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัย ชะลอลงโดยขยายตัวร้อยละ 2.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากการรณงค์ให้ประหยัดการใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง ในขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนโดยขยายตัวร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน
2. การลงทุนภาคเอกชน
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ในเดือนสิงหาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 64.9 ขยายตัวร้อยละ 10.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 12.0 ในเดือนก่อน ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม การชะลอตัวของดัชนีฯ ในเดือนนี้ส่วนหนึ่งเป็นปัจจัยชั่วคราวจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ลดลงเพราะอยู่ระหว่างการรอสินค้ารุ่นใหม่
สำหรับการลงทุนในหมวดเครื่องมือ เครื่องจักร มูลค่าสินค้าทุนนำเข้า ณ ราคาคงที่ขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 16.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการขยายตัวดีของการนำเข้าเครื่องจักรกลและเครื่องจักรไฟฟ้า ในขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวร้อยละ 16.6 เนื่องจากอยู่ระหว่างการรอรถรุ่นใหม่ที่จะเริ่มออกจำหน่ายในเดือนกันยายน
ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้างชะลอลงส่วนหนึ่งเป็นผลจากความเสี่ยงด้านราคาวัสดุก่อสร้างที่เร่งตัวต่อเนื่อง ในขณะที่ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 13.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 11.9 ในเดือนก่อน
เมื่อพิจารณาเครื่องชี้อื่น ๆ ของการลงทุนภาคเอกชน ได้แก่ เงินทุนธุรกิจจดทะเบียนตั้งใหม่จำนวนและมูลค่าการลงทุนของโครงการที่รับบัตรส่งเสริมการลงทุน ผลกำไรของธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการขยายตัวของสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไปยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ต่อเนื่อง
3. ภาคการคลัง
รายได้รัฐบาล เดือนสิงหาคมรัฐบาลมีรายได้นำส่ง 78.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.2 จากรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ขณะที่รายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 35.5
รายได้จากภาษีที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี มาจากภาษีจากฐานรายได้ (ร้อยละ 22.1) และภาษีจากฐานการบริโภค (ร้อยละ 16.0)เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 25.3 ขณะที่ภาษีสรรพสามิตนำส่งกลับมาขยายตัวดีร้อยละ 5.4 สำหรับภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5
รายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงตามรายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจที่ลดลงร้อยละ 59.3 เนื่องจากช่วงเดียวกันปีก่อนมีการนำส่งรายได้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ขณะที่ในปีนี้มีเพียงรายได้นำส่งจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 0.7 พันล้านบาท
อนึ่ง การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในเดือนนี้ ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิรอบครึ่งปีบัญชี 2547 ปรากฎว่ามีผู้มายื่นเสียภาษีสูงกว่าที่คาดไว้มาก ทำให้จัดเก็บภาษีได้ 79.4 พันล้านบาท สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 71.6 แต่ส่วนใหญ่จะนำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินในเดือนกันยายน
รายจ่ายของรัฐบาล ในเดือนสิงหาคมมีจำนวน 79.3 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.2 อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 6.7 โดยมีรายจ่ายในงบประมาณของส่วนกลางที่สำคัญ คือ รายจ่ายบำเหน็จบำนาญ 5.4 พันล้านบาท สำหรับรายจ่ายเงินนอกงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ การโอนเงินภาษี และค่าธรรมเนียมให้ท้องถิ่น รวม 3.9 พันล้านบาท
ดุลเงินสด ขาดดุล 0.1 พันล้านบาท เป็นผลจากการขาดดุลเงินในงบประมาณ 0.6 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล 0.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลกู้เงินในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุล 23.2 พันล้านบาท (เป็นการเพิ่มวงเงินตั๋วเงินคลัง และยอดเงินฝากของ ธปท.ที่คลังจังหวัด 24.5 และ 5.6 พันล้านบาท ตามลำดับ และไถ่ถอนพันธบัตร 6.7 พันล้านบาท) แต่ชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิ 0.2 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 22.8 พันล้านบาท เป็น 99.6 พันล้านบาท
ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลขาดดุลเงินสด 0.2 พันล้านบาท โดยรายได้ขยายตัวร้อยละ 15.2 ส่วนรายจ่ายขยายตัวร้อยละ 17.8 และ มีอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 80.3 ใกล้เคียงกับร้อยละ 80.4 ช่วงเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชบ/ดพ-