แท็ก
เกษตรกร
1. ภาคเกษตรกรรม
ในเดือนสิงหาคม 2547 รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงตามปัจจัยด้านราคาพืชผลเป็นสำคัญ รายละเอียดมีดังนี้
ผลผลิตพืชผล ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามผลผลิตยางและปาล์มน้ำมันที่มีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น
ราคาพืชผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 จากปัจจัยหลักดังนี้ 1) การชะลอตัวของราคายางพาราที่อุปสงค์ในตลาดโลกอ่อนตัวลง 2) ราคาผักที่ลดลงเพราะผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น 3) ราคาข้าวหอมมะลิที่ลดลง หลังจากที่สูงขึ้นมากในระยะที่ผ่านมา 4) ราคาข้าวโพดที่ลดลงจากผลผลิตใหม่ออกสู่ตลาดมากขึ้น 5) ราคาหอมแดงและกระเทียมที่ลดลงเนื่องจากการแข่งขันจากประเทศจีน
สำหรับราคาสินค้าเกษตรอื่นๆ ของไทยเพิ่มขึ้นทั้งราคาประมงและปศุสัตว์
ราคาปศุสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 4 ตามการลดลงของราคาไก่เนื้อจากการระบาดของไข้หวัดนกในไก่รอบใหม่และปัญหาการส่งออกไก่แช่แข็ง แม้ว่าราคาสุกรจะปรับสูงขึ้นเล็กน้อยในเดือนนี้
ราคาประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนเนื่องจากอุปทานลดลง ประกอบกับการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้นจากการที่สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด (AD) จากไทยในอัตราที่ต่ำกว่าที่เรียกเก็บจากประเทศอื่น
แนวโน้มราคาสินค้าเกษตร คาดว่าจะขยายตัวใกล้เคียงกับระดับในปัจจุบันไปจนถึงสิ้นปี โดยราคาพืชผลและปศุสัตว์อาจจะชะลอตัวลงอีกเล็กน้อย ในขณะที่ราคาประมงคาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นจากฐานราคาที่ต่ำในช่วงปลายปีก่อนที่มีปริมาณกุ้งออกสู่ตลาดมาก
ราคาสินค้าเกษตร(ที่สำคัญ 12 ชนิด) ในตลาดโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 ตามราคาข้าวสารและยางพาราเป็นสำคัญ โดยราคามีแนวโน้มชะลอลงจากฐานราคาที่สูงในปลายปีก่อน
2. ภาคอุตสาหกรรม
ในเดือนสิงหาคม 2547 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 ชะลอลงค่อนข้างมากจากเดือนสิงหาคม โดยเฉพาะหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งชะลอลงมากตามการส่งออกแผงวงจรรวม และหมวดอาหารที่ลดลงต่อเนื่องหลายเดือนจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ
นอกจากนี้ มีบางอุตสาหกรรมที่การผลิตลดลงและบางอุตสาหกรรมชะลอลง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว อาทิ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนยังมีการปิดซ่อมบำรุงเพื่อปรับปรุงโรงงาน รวมทั้งความต้องการเหล็กแผ่นชุบสังกะสีและท่อเหล็กลดลงชั่วคราวเพื่อรอความชัดเจนจากการทบทวนมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดในเหล็กแผ่นรีดร้อนที่จะสิ้นสุดในเดือนกันยายนนี้ และหมวดวัสดุก่อสร้างชะลอลงมากจากผลของฐานในเดือนเดียวกันปีก่อนที่มีการผลิตมากหลังปิดซ่อมบำรุงในเดือนก่อนหน้า
สำหรับหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งการผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน แม้ว่าผลการปรับโครงสร้างภาษีสรรพาสามิตจะเอื้อให้การผลิตรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้น แต่การผลิตรถยนต์เชิงพาณิชย์ลดลงเนื่องจากมีการปรับสายการผลิตเพื่อรองรับการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ ประกอบกับมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน ส่วนหมวดเครื่องดื่ม การผลิตเร่งขึ้นจากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่
อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 66.7 ลดลงจากเดือนก่อน
3. การท่องเที่ยวและโรงแรม
ในเดือนสิงหาคม 2547 จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเท่ากับ 1,015,000 คน หรือขยายตัวร้อยละ 9.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน
อัตราการเข้าพักโรงแรมเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 63.1 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 59.5 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกภาคของประเทศ
นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศส่วนใหญ่ยังคงมาจากกลุ่มประเทศในทวีปเอเชีย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน เป็นต้น สำหรับนักท่องเที่ยวจากทวีปอื่นที่เดินทางเข้ามาเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ อังกฤษและสหรัฐฯ
การท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือของปี 2547 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง เพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยวประกอบกับรัฐบาลดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และมีการเปิดตัวและขยายเส้นทางบินของสายการบินต้นทุนต่ำซึ่งจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวระยะใกล้ให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น
4. ภาคอสังหาริมทรัพย์
ในเดือนกรกฎาคม 2547 ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยมูลค่าการซื้อขายที่ดินทั้งประเทศขยายตัวร้อยละ 57.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับการขยายตัวของพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างทั้งประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของโครงการที่อยู่อาศัยในทำเลที่ใกล้โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและโครงการทางด่วนใหม่ที่เชื่อมต่อถนนวงแหวนรอบนอกในทางเดียวกันจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียนเพิ่มในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน หรือเท่ากับ 31,305 หน่วย
อย่างไรก็ตาม ด้านอุปสงค์มีแนวโน้มชะลอตัวลงบ้าง ส่วนหนึ่งจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อบ้านที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และจากการสอบถามผู้ประกอบการพบว่าผู้ซื้อใช้เวลานานขึ้นในการตัดสินใจเลือกซื้อบ้าน
สำหรับแรงกดดันด้านราคาที่อยู่อาศัยคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่อยู่ในเกณฑ์สูง รวมทั้งผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน และค่าจ้างแรงงานก่อสร้างที่มีฝีมืออย่างไรก็ตาม การปรับตัวของราคาคาดว่าจะไม่มากนักเนื่องจากตลาดมีการแข่งขันสูง
ต้นทุนในการดำเนินงานที่สูงขึ้นและรายได้ที่ชะลอลงส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาสที่ 2 ลดลงเหลือร้อยละ 24 เทียบกับร้อยละ 33 ในไตรมาสเดียวกันปีก่อน โดยสินค้าที่รอการขาย เช่น โครงการที่อยู่อาศัยที่สร้างเสร็จแล้วหรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างขยายตัวถึงร้อยละ 44 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน
5. ภาคการค้า
ในเดือนสิงหาคม 2547 ภาวะการค้าโดยรวมคาดว่าจะยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีการจัดรายการส่งเสริมการขายช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ตลอดจนมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการส่งเสริมการส่งออกสินค้า OTOP ของภาครัฐที่ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ธุรกิจค้าส่งยังขยายตัวในเกณฑ์ดีทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจค้าปลีกอาจจะได้รับผลกระทบจากมาตรการกำหนดเวลาเปิดปิดห้างสรรพสินค้าทั่วไป เช่น Department Store และ Discount Store เป็นต้น เพื่อประหยัดพลังงาน ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน ศกนี้
6. โทรคมนาคม
ในเดือนกรกฎาคม 2547 การให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานของทั้งประเทศมีจำนวน 6.7 ล้านเลขหมาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการขยายตัวการให้บริการในเขตภูมิภาคเป็นสำคัญ สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่มีจำนวน 25.4 ล้านเลขหมาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน
นอกจากนี้มีการปรับลดอัตราค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศลงประมาณร้อยละ 10 ถึง 80 เนื่องจากมีการแข่งขันจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศของผู้ให้บริการรายใหม่
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชบ/ดพ-
ในเดือนสิงหาคม 2547 รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงตามปัจจัยด้านราคาพืชผลเป็นสำคัญ รายละเอียดมีดังนี้
ผลผลิตพืชผล ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามผลผลิตยางและปาล์มน้ำมันที่มีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น
ราคาพืชผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 จากปัจจัยหลักดังนี้ 1) การชะลอตัวของราคายางพาราที่อุปสงค์ในตลาดโลกอ่อนตัวลง 2) ราคาผักที่ลดลงเพราะผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น 3) ราคาข้าวหอมมะลิที่ลดลง หลังจากที่สูงขึ้นมากในระยะที่ผ่านมา 4) ราคาข้าวโพดที่ลดลงจากผลผลิตใหม่ออกสู่ตลาดมากขึ้น 5) ราคาหอมแดงและกระเทียมที่ลดลงเนื่องจากการแข่งขันจากประเทศจีน
สำหรับราคาสินค้าเกษตรอื่นๆ ของไทยเพิ่มขึ้นทั้งราคาประมงและปศุสัตว์
ราคาปศุสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 4 ตามการลดลงของราคาไก่เนื้อจากการระบาดของไข้หวัดนกในไก่รอบใหม่และปัญหาการส่งออกไก่แช่แข็ง แม้ว่าราคาสุกรจะปรับสูงขึ้นเล็กน้อยในเดือนนี้
ราคาประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนเนื่องจากอุปทานลดลง ประกอบกับการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้นจากการที่สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด (AD) จากไทยในอัตราที่ต่ำกว่าที่เรียกเก็บจากประเทศอื่น
แนวโน้มราคาสินค้าเกษตร คาดว่าจะขยายตัวใกล้เคียงกับระดับในปัจจุบันไปจนถึงสิ้นปี โดยราคาพืชผลและปศุสัตว์อาจจะชะลอตัวลงอีกเล็กน้อย ในขณะที่ราคาประมงคาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นจากฐานราคาที่ต่ำในช่วงปลายปีก่อนที่มีปริมาณกุ้งออกสู่ตลาดมาก
ราคาสินค้าเกษตร(ที่สำคัญ 12 ชนิด) ในตลาดโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 ตามราคาข้าวสารและยางพาราเป็นสำคัญ โดยราคามีแนวโน้มชะลอลงจากฐานราคาที่สูงในปลายปีก่อน
2. ภาคอุตสาหกรรม
ในเดือนสิงหาคม 2547 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 ชะลอลงค่อนข้างมากจากเดือนสิงหาคม โดยเฉพาะหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งชะลอลงมากตามการส่งออกแผงวงจรรวม และหมวดอาหารที่ลดลงต่อเนื่องหลายเดือนจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ
นอกจากนี้ มีบางอุตสาหกรรมที่การผลิตลดลงและบางอุตสาหกรรมชะลอลง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว อาทิ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนยังมีการปิดซ่อมบำรุงเพื่อปรับปรุงโรงงาน รวมทั้งความต้องการเหล็กแผ่นชุบสังกะสีและท่อเหล็กลดลงชั่วคราวเพื่อรอความชัดเจนจากการทบทวนมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดในเหล็กแผ่นรีดร้อนที่จะสิ้นสุดในเดือนกันยายนนี้ และหมวดวัสดุก่อสร้างชะลอลงมากจากผลของฐานในเดือนเดียวกันปีก่อนที่มีการผลิตมากหลังปิดซ่อมบำรุงในเดือนก่อนหน้า
สำหรับหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งการผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน แม้ว่าผลการปรับโครงสร้างภาษีสรรพาสามิตจะเอื้อให้การผลิตรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้น แต่การผลิตรถยนต์เชิงพาณิชย์ลดลงเนื่องจากมีการปรับสายการผลิตเพื่อรองรับการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ ประกอบกับมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน ส่วนหมวดเครื่องดื่ม การผลิตเร่งขึ้นจากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่
อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 66.7 ลดลงจากเดือนก่อน
3. การท่องเที่ยวและโรงแรม
ในเดือนสิงหาคม 2547 จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเท่ากับ 1,015,000 คน หรือขยายตัวร้อยละ 9.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน
อัตราการเข้าพักโรงแรมเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 63.1 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 59.5 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกภาคของประเทศ
นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศส่วนใหญ่ยังคงมาจากกลุ่มประเทศในทวีปเอเชีย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน เป็นต้น สำหรับนักท่องเที่ยวจากทวีปอื่นที่เดินทางเข้ามาเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ อังกฤษและสหรัฐฯ
การท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือของปี 2547 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง เพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยวประกอบกับรัฐบาลดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และมีการเปิดตัวและขยายเส้นทางบินของสายการบินต้นทุนต่ำซึ่งจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวระยะใกล้ให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น
4. ภาคอสังหาริมทรัพย์
ในเดือนกรกฎาคม 2547 ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยมูลค่าการซื้อขายที่ดินทั้งประเทศขยายตัวร้อยละ 57.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับการขยายตัวของพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างทั้งประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของโครงการที่อยู่อาศัยในทำเลที่ใกล้โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและโครงการทางด่วนใหม่ที่เชื่อมต่อถนนวงแหวนรอบนอกในทางเดียวกันจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียนเพิ่มในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน หรือเท่ากับ 31,305 หน่วย
อย่างไรก็ตาม ด้านอุปสงค์มีแนวโน้มชะลอตัวลงบ้าง ส่วนหนึ่งจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อบ้านที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และจากการสอบถามผู้ประกอบการพบว่าผู้ซื้อใช้เวลานานขึ้นในการตัดสินใจเลือกซื้อบ้าน
สำหรับแรงกดดันด้านราคาที่อยู่อาศัยคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่อยู่ในเกณฑ์สูง รวมทั้งผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน และค่าจ้างแรงงานก่อสร้างที่มีฝีมืออย่างไรก็ตาม การปรับตัวของราคาคาดว่าจะไม่มากนักเนื่องจากตลาดมีการแข่งขันสูง
ต้นทุนในการดำเนินงานที่สูงขึ้นและรายได้ที่ชะลอลงส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาสที่ 2 ลดลงเหลือร้อยละ 24 เทียบกับร้อยละ 33 ในไตรมาสเดียวกันปีก่อน โดยสินค้าที่รอการขาย เช่น โครงการที่อยู่อาศัยที่สร้างเสร็จแล้วหรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างขยายตัวถึงร้อยละ 44 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน
5. ภาคการค้า
ในเดือนสิงหาคม 2547 ภาวะการค้าโดยรวมคาดว่าจะยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีการจัดรายการส่งเสริมการขายช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ตลอดจนมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการส่งเสริมการส่งออกสินค้า OTOP ของภาครัฐที่ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ธุรกิจค้าส่งยังขยายตัวในเกณฑ์ดีทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจค้าปลีกอาจจะได้รับผลกระทบจากมาตรการกำหนดเวลาเปิดปิดห้างสรรพสินค้าทั่วไป เช่น Department Store และ Discount Store เป็นต้น เพื่อประหยัดพลังงาน ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน ศกนี้
6. โทรคมนาคม
ในเดือนกรกฎาคม 2547 การให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานของทั้งประเทศมีจำนวน 6.7 ล้านเลขหมาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการขยายตัวการให้บริการในเขตภูมิภาคเป็นสำคัญ สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่มีจำนวน 25.4 ล้านเลขหมาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน
นอกจากนี้มีการปรับลดอัตราค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศลงประมาณร้อยละ 10 ถึง 80 เนื่องจากมีการแข่งขันจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศของผู้ให้บริการรายใหม่
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชบ/ดพ-