แท็ก
การนำเข้า
1.ภาคต่างประเทศและดุลการชำระเงิน
ในเดือนสิงหาคม 2547 ดุลการค้า ขาดดุล 282 ล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงจากที่เกินดุล 95 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน โดยการนำเข้ามีมูลค่า 8,491 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 37.1 ทั้งนี้ น้ำมันยังเป็นสินค้านำเข้าสำคัญที่มีอัตราการขยายตัวสูงจากราคาเป็นสำคัญ ส่วนสินค้าหมวดอื่นๆ ที่การนำเข้าขยายตัวสูง ได้แก่ วัตถุดิบประเภทเคมีภัณฑ์ โลหะสามัญ เครื่องจักรและชิ้นส่วน และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกมีมูลค่า 8,209 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 28.3 โดยสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์โลหะสามัญ ยานพาหนะและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ข้าวและยางพารา
ดุลบริการ รายได้ และโอนเงิน เกินดุล 497 ล้านดอลลาร์ สรอ.ใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่เกินดุล 515 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยรายรับจากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14 ซึ่งเป็นผลจากทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวและค่าใช้จ่ายต่อคนต่อวันในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่รายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุนเพิ่มขึ้นจากการส่งกลับกำไรและเงินปันผลที่สูงขึ้นมาก
ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 215 ล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงจากที่เกินดุล 610 ล้านดอลลาร์ในเดือนก่อน จากการขาดดุลการค้า ส่วนดุลการชำระเงิน เกินดุล 29 ล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงจากที่เกินดุล 409 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน
เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ ในเดือนกรกฎาคม 2547 เกินดุล 194 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากการเกินดุลในภาคธนาคารและการนำเข้าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เป็นสำคัญโดยรายละเอียดที่สำคัญมีดังนี้
ภาคเอกชน เกินดุล 467 ล้านดอลลาร์ สรอ.โดยภาคธนาคาร เกินดุล 443 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากการนำเข้าเงินกู้ระยะสั้นของกิจการวิเทศธนกิจ และการลดสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของธนาคารพาณิชย์ ส่วนภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร เกินดุลเล็กน้อยแม้ว่าจะมีการนำเข้าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นของธุรกิจผลิตชิ้นส่วนและประกอบยานยนต์ และเงินกู้นอกเครือแต่มีเงินไหลออกจากเงินลงทุนในหลักทรัพย์และเงินทุนอื่นๆ
ภาคทางการ ขาดดุล 273 ล้านดอลลาร์ สรอ.โดยเป็นการขาดดุลของทั้งภาครัฐบาลและธปท. ในส่วนของภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจขาดดุลจากการเพิ่มสินทรัพย์ต่างประเทศของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)และการชำระคืนเงินกู้ของทั้งรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ เป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชบ/ดพ-
ในเดือนสิงหาคม 2547 ดุลการค้า ขาดดุล 282 ล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงจากที่เกินดุล 95 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน โดยการนำเข้ามีมูลค่า 8,491 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 37.1 ทั้งนี้ น้ำมันยังเป็นสินค้านำเข้าสำคัญที่มีอัตราการขยายตัวสูงจากราคาเป็นสำคัญ ส่วนสินค้าหมวดอื่นๆ ที่การนำเข้าขยายตัวสูง ได้แก่ วัตถุดิบประเภทเคมีภัณฑ์ โลหะสามัญ เครื่องจักรและชิ้นส่วน และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกมีมูลค่า 8,209 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 28.3 โดยสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์โลหะสามัญ ยานพาหนะและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ข้าวและยางพารา
ดุลบริการ รายได้ และโอนเงิน เกินดุล 497 ล้านดอลลาร์ สรอ.ใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่เกินดุล 515 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยรายรับจากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14 ซึ่งเป็นผลจากทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวและค่าใช้จ่ายต่อคนต่อวันในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่รายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุนเพิ่มขึ้นจากการส่งกลับกำไรและเงินปันผลที่สูงขึ้นมาก
ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 215 ล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงจากที่เกินดุล 610 ล้านดอลลาร์ในเดือนก่อน จากการขาดดุลการค้า ส่วนดุลการชำระเงิน เกินดุล 29 ล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงจากที่เกินดุล 409 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน
เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ ในเดือนกรกฎาคม 2547 เกินดุล 194 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากการเกินดุลในภาคธนาคารและการนำเข้าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เป็นสำคัญโดยรายละเอียดที่สำคัญมีดังนี้
ภาคเอกชน เกินดุล 467 ล้านดอลลาร์ สรอ.โดยภาคธนาคาร เกินดุล 443 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากการนำเข้าเงินกู้ระยะสั้นของกิจการวิเทศธนกิจ และการลดสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของธนาคารพาณิชย์ ส่วนภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร เกินดุลเล็กน้อยแม้ว่าจะมีการนำเข้าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นของธุรกิจผลิตชิ้นส่วนและประกอบยานยนต์ และเงินกู้นอกเครือแต่มีเงินไหลออกจากเงินลงทุนในหลักทรัพย์และเงินทุนอื่นๆ
ภาคทางการ ขาดดุล 273 ล้านดอลลาร์ สรอ.โดยเป็นการขาดดุลของทั้งภาครัฐบาลและธปท. ในส่วนของภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจขาดดุลจากการเพิ่มสินทรัพย์ต่างประเทศของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)และการชำระคืนเงินกู้ของทั้งรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ เป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชบ/ดพ-