1.ฐานเงินและปริมาณเงิน
- ฐานเงินและปริมาณเงินขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 690.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 7.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 12.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของฐานเงินจากเดือนก่อนหน้า ได้แก่ (1) สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของทางการเพิ่มขึ้น (2) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่รัฐบาลลดลงส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากภาครัฐที่ ธปท.และ (3) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่สถาบันการเงินเพิ่มขึ้นเนื่องจากสถาบันการเงินลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรลดลง
ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ในเดือนสิงหาคม 2547 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 6.8 7.6 และ 6.2 ตามลำคับ ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนส่วนหนึ่งเนื่องจากเงินฝากชะลอลงตามการถอนเงินของประชาชนเพื่อซื้อพันธบัตรออมทรัพย์
2. อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
- เงินบาทอ่อนค่าลงจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้นำเข้า และการขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ
- อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดการเงินปรับเพิ่มตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นและระยะกลางปรับเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.ในเดือนสิงหาคม
อัตราแลกเปลี่ยน ในเดือนสิงหาคม 2547 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 41.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเดือนกรกฎาคม ที่ 40.94 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.เนื่องจากปัจจัยสำคัญ คือ 1) บริษัทน้ำมันในประเทศมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ค่อนข้างมากเนื่องจากราคาน้ำมันโลกปรับเพิ่มขึ้น และ 2) นักลงทุนต่างชาติทยอยขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไทยส่วนหนึ่งเป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ดี แม้ว่าเงินบาทได้รับปัจจัยบวกภายหลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม จากร้อยละ 1.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 1.50 ต่อปีกอปรกับการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศของไทย จากสถาบัน S&P แต่ค่าเงินบาทก็มิได้แข็งขึ้นมากนัก เนื่องจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ.ยังมีอยู่สูง
สำหรับในช่วงวันที่ 1-24 กันยายน 2547 ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเล็กน้อยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 41.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในช่วงต้นเดือนเงินบาทอ่อนค่าลงจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ.ของบริษัทน้ำมันในประเทศที่มีต่อเนื่อง กอปรกับได้รับปัจจัยลบจากการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทปรับแข็งขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนจากการที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยต่อเนื่อง และเป็นการปรับตัวแข็งขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาค
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนสิงหาคม 2547 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันปรับเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคม โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.13 ต่อปีเท่ากัน เนื่องจาก ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม โดยสภาพคล่องค่อนข้างตึงตัวในช่วงก่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนและช่วงสิ้นปักษ์อย่างไรก็ดี ภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน สภาพคล่องมีค่อนข้างมาก จากการที่ธนาคารพาณิชย์นำเงินหลังชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์มาลงทุน
สำหรับในช่วงวันที่ 1-24 กันยายน 2547 อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน ปรับขึ้นจากเดือนสิงหาคมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.43 และ 1.45 ต่อปี ตามลำดับ โดยสภาพคล่องในระบบตึงตัวขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต้องเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปีและการชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในเดือนสิงหาคม 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นและระยะกลางปรับเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์ที่ ธปท.และ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนสิงหาคม ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวลดลงเล็กน้อย และเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ สะท้อนการคาดการณ์ของนักลงทุนถึงอัตราเงินเฟ้อที่อาจปรับลดจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ยังเป็นการเคลื่อนไหวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ
ในช่วงวันที่ 1-24 กันยายน 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากนักลงทุนยังคงรอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของ Fed ในวันที่ 21 กันยายน ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางและระยะยาวปรับลดลงตาม 1) ผลการประมูลพันธบัตรในตลาดแรกที่นักลงทุนให้ความสนใจค่อนข้างมาก 2) ผลจากความต้องการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือน และ 3) การคาดการณ์ว่า Fed จะปรับเพิ่มดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงที่เหลือของปีนี้
3. เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
- สินเชื่อขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น ขณะที่เงินฝากขยายตัวในอัตราที่ทรงตัว
- อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ไม่เปลี่ยนแปลง
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนสิงหาคม 2547 ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากระยะเดียวกันปีก่อนทรงตัวจากเดือนกรกฎาคม โดยเงินฝากของประชาชนทั่วไปลดลงค่อนข้างมากจากการถอนเพื่อนำไปซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ขณะที่เงินฝากที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของภาครัฐที่ได้จากการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี รวมทั้งเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากภาคธุรกิจที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่
สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 7.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนกรกฎาคม โดยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ให้แก่ทั้งประชาชนทั่วไปและภาคธุรกิจ กอปรกับธนาคารพาณิชย์มีการถือครองหลักทรัพย์ภาคเอกชนเพิ่มขึ้น
สำหรับสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งในเดือนสิงหาคมและในช่วงวันที่ 1-24 กันยายน 2547 คงอยู่ระดับเดิมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.00 และ 5.69 ต่อปีตามลำดับ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในเดือนสิงหาคม 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นและระยะกลางปรับเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์ที่ ธปท.และ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนสิงหาคม ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวลดลงเล็กน้อย และเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ สะท้อนการคาดการณ์ของนักลงทุนถึงอัตราเงินเฟ้อที่อาจปรับลดจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ยังเป็นการเคลื่อนไหวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ
ในช่วงวันที่ 1-24 กันยายน 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากนักลงทุนยังคงรอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของ Fed ในวันที่ 21 กันยายน ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางและระยะยาวปรับลดลงตาม 1) ผลการประมูลพันธบัตรในตลาดแรกที่นักลงทุนให้ความสนใจค่อนข้างมาก 2) ผลจากความต้องการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือน และ 3) การคาดการณ์ว่า Fed จะปรับเพิ่มดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงที่เหลือของปีนี้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชบ/ดพ-
- ฐานเงินและปริมาณเงินขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 690.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 7.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 12.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของฐานเงินจากเดือนก่อนหน้า ได้แก่ (1) สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของทางการเพิ่มขึ้น (2) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่รัฐบาลลดลงส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากภาครัฐที่ ธปท.และ (3) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่สถาบันการเงินเพิ่มขึ้นเนื่องจากสถาบันการเงินลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรลดลง
ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ในเดือนสิงหาคม 2547 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 6.8 7.6 และ 6.2 ตามลำคับ ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนส่วนหนึ่งเนื่องจากเงินฝากชะลอลงตามการถอนเงินของประชาชนเพื่อซื้อพันธบัตรออมทรัพย์
2. อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
- เงินบาทอ่อนค่าลงจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้นำเข้า และการขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ
- อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดการเงินปรับเพิ่มตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นและระยะกลางปรับเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.ในเดือนสิงหาคม
อัตราแลกเปลี่ยน ในเดือนสิงหาคม 2547 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 41.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเดือนกรกฎาคม ที่ 40.94 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.เนื่องจากปัจจัยสำคัญ คือ 1) บริษัทน้ำมันในประเทศมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ค่อนข้างมากเนื่องจากราคาน้ำมันโลกปรับเพิ่มขึ้น และ 2) นักลงทุนต่างชาติทยอยขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไทยส่วนหนึ่งเป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ดี แม้ว่าเงินบาทได้รับปัจจัยบวกภายหลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม จากร้อยละ 1.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 1.50 ต่อปีกอปรกับการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศของไทย จากสถาบัน S&P แต่ค่าเงินบาทก็มิได้แข็งขึ้นมากนัก เนื่องจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ.ยังมีอยู่สูง
สำหรับในช่วงวันที่ 1-24 กันยายน 2547 ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเล็กน้อยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 41.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในช่วงต้นเดือนเงินบาทอ่อนค่าลงจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ.ของบริษัทน้ำมันในประเทศที่มีต่อเนื่อง กอปรกับได้รับปัจจัยลบจากการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทปรับแข็งขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนจากการที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยต่อเนื่อง และเป็นการปรับตัวแข็งขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาค
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนสิงหาคม 2547 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันปรับเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคม โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.13 ต่อปีเท่ากัน เนื่องจาก ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม โดยสภาพคล่องค่อนข้างตึงตัวในช่วงก่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนและช่วงสิ้นปักษ์อย่างไรก็ดี ภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน สภาพคล่องมีค่อนข้างมาก จากการที่ธนาคารพาณิชย์นำเงินหลังชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์มาลงทุน
สำหรับในช่วงวันที่ 1-24 กันยายน 2547 อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน ปรับขึ้นจากเดือนสิงหาคมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.43 และ 1.45 ต่อปี ตามลำดับ โดยสภาพคล่องในระบบตึงตัวขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต้องเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปีและการชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในเดือนสิงหาคม 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นและระยะกลางปรับเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์ที่ ธปท.และ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนสิงหาคม ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวลดลงเล็กน้อย และเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ สะท้อนการคาดการณ์ของนักลงทุนถึงอัตราเงินเฟ้อที่อาจปรับลดจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ยังเป็นการเคลื่อนไหวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ
ในช่วงวันที่ 1-24 กันยายน 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากนักลงทุนยังคงรอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของ Fed ในวันที่ 21 กันยายน ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางและระยะยาวปรับลดลงตาม 1) ผลการประมูลพันธบัตรในตลาดแรกที่นักลงทุนให้ความสนใจค่อนข้างมาก 2) ผลจากความต้องการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือน และ 3) การคาดการณ์ว่า Fed จะปรับเพิ่มดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงที่เหลือของปีนี้
3. เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
- สินเชื่อขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น ขณะที่เงินฝากขยายตัวในอัตราที่ทรงตัว
- อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ไม่เปลี่ยนแปลง
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนสิงหาคม 2547 ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากระยะเดียวกันปีก่อนทรงตัวจากเดือนกรกฎาคม โดยเงินฝากของประชาชนทั่วไปลดลงค่อนข้างมากจากการถอนเพื่อนำไปซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ขณะที่เงินฝากที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของภาครัฐที่ได้จากการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี รวมทั้งเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากภาคธุรกิจที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่
สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 7.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนกรกฎาคม โดยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ให้แก่ทั้งประชาชนทั่วไปและภาคธุรกิจ กอปรกับธนาคารพาณิชย์มีการถือครองหลักทรัพย์ภาคเอกชนเพิ่มขึ้น
สำหรับสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งในเดือนสิงหาคมและในช่วงวันที่ 1-24 กันยายน 2547 คงอยู่ระดับเดิมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.00 และ 5.69 ต่อปีตามลำดับ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในเดือนสิงหาคม 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นและระยะกลางปรับเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์ที่ ธปท.และ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนสิงหาคม ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวลดลงเล็กน้อย และเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ สะท้อนการคาดการณ์ของนักลงทุนถึงอัตราเงินเฟ้อที่อาจปรับลดจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ยังเป็นการเคลื่อนไหวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ
ในช่วงวันที่ 1-24 กันยายน 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากนักลงทุนยังคงรอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของ Fed ในวันที่ 21 กันยายน ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางและระยะยาวปรับลดลงตาม 1) ผลการประมูลพันธบัตรในตลาดแรกที่นักลงทุนให้ความสนใจค่อนข้างมาก 2) ผลจากความต้องการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือน และ 3) การคาดการณ์ว่า Fed จะปรับเพิ่มดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงที่เหลือของปีนี้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชบ/ดพ-