1. เสถียรภาพในประเทศ
เครื่องชึ้เสถียรภาพในประเทศโดยรวมมีระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยมีรายละเอียดดังนี้
-อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนสิงหาคม 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เป็นผลจากราคาในหมวดผักและผลไม้ และหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมที่ยังสูงขึ้นจากปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดยังคงขาดแคลนโดยเฉพาะผลไม้ สำหรับราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินครั้งละ 60 สตางค์ต่อลิตรรวม 4 ครั้ง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 0.7 ในเดือนก่อนเป็นผลจากมาตรการของรัฐบาลได้แก่ การปรับลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งและการปรับลดค่าเบี้ยประกันภันรถยนต์
-อัตราการว่างงาน
ในเดือนกรกฎาคม 2547 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.4 ไม่เปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ การจ้างงานในภาคเกษตรยังหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.8 เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งกว่าปกติ ขณะที่การจ้างงานในภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 8.7 โดยสาขาที่ขยายตัวดีได้แก่ การก่อสร้าง การผลิต และโรงแรม และภัตตาคารในอัตราร้อยละ 16.5 6.6 และ 4.6 ตามลำดับ
-หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 หนี้สาธารณะมีจำนวน 2,932.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 13.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินกู้รัฐวิสาหกิจที่มิใช่สถาบันการเงินได้แก่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการเคหะแห่งชาติ ประกอบกับหนี้สินกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากประมาณร้อยละ 45.1 ในเดือนพฤษภาคมมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 45.3 ในเดือนนี้
2. เสถียรภาพต่างประเทศ
-หนี้ต่างประเทศ
ในเดือนนี้มีการปรับตัวเลขหนี้ต่างประเทศย้อนหลังถึงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ตามผลสำรวจหนี้ของธุรกิจที่มิใช่ธนาคารประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2547 การปรับตัวเลขหนี้ภาคธนาคารตามรายงานข้อมูลของธนาคารพาณิชย์ และการปรับข้อมูลภาครัฐบาลเพื่อให้สอดคล้องกับกระทรวงการคลัง ทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นสุทธิ 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.และ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ลดลงสุทธิ 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.มาอยู่ที่ 51.5 และ 49.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ตามลำดับ
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2547 มีจำนวน 49.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยแม้ว่าในเดือนนี้ ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐจะมีการนำเข้าเงินกู้สุทธิ 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เมื่อรวมกับผลของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง ทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศเมื่อตีราคาเป็นสกุลดอลลาร์ สรอ.อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.1 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22.7 ในเดือนก่อนจากการนำเข้าเงินกู้ระยะสั้นของกิจการวิเทศธนกิจ
หนี้ภาคเอกชน มีจำนวน 34.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากการนำเข้าเงินกู้สุทธิของภาคธนาคารเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี เมื่อรวมกับผลของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง ทำให้ยอดคงค้างหนี้ภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเพียง 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
หนี้ภาคทางการ เพิ่มขึ้น 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการเกินดุลในตราสารหนี้ระยะยาว แต่ผลของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง จึงทำให้ยอดคงค้างหนี้ภาครัฐลดลง 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เหลือ 15.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 เท่ากับ 43.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 4.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศ
เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีโดยสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นและสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อการนำเข้ายังอยู่ในเกณฑ์สูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชบ-
เครื่องชึ้เสถียรภาพในประเทศโดยรวมมีระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยมีรายละเอียดดังนี้
-อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนสิงหาคม 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เป็นผลจากราคาในหมวดผักและผลไม้ และหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมที่ยังสูงขึ้นจากปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดยังคงขาดแคลนโดยเฉพาะผลไม้ สำหรับราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินครั้งละ 60 สตางค์ต่อลิตรรวม 4 ครั้ง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 0.7 ในเดือนก่อนเป็นผลจากมาตรการของรัฐบาลได้แก่ การปรับลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งและการปรับลดค่าเบี้ยประกันภันรถยนต์
-อัตราการว่างงาน
ในเดือนกรกฎาคม 2547 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.4 ไม่เปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ การจ้างงานในภาคเกษตรยังหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.8 เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งกว่าปกติ ขณะที่การจ้างงานในภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 8.7 โดยสาขาที่ขยายตัวดีได้แก่ การก่อสร้าง การผลิต และโรงแรม และภัตตาคารในอัตราร้อยละ 16.5 6.6 และ 4.6 ตามลำดับ
-หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 หนี้สาธารณะมีจำนวน 2,932.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 13.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินกู้รัฐวิสาหกิจที่มิใช่สถาบันการเงินได้แก่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการเคหะแห่งชาติ ประกอบกับหนี้สินกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากประมาณร้อยละ 45.1 ในเดือนพฤษภาคมมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 45.3 ในเดือนนี้
2. เสถียรภาพต่างประเทศ
-หนี้ต่างประเทศ
ในเดือนนี้มีการปรับตัวเลขหนี้ต่างประเทศย้อนหลังถึงไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ตามผลสำรวจหนี้ของธุรกิจที่มิใช่ธนาคารประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2547 การปรับตัวเลขหนี้ภาคธนาคารตามรายงานข้อมูลของธนาคารพาณิชย์ และการปรับข้อมูลภาครัฐบาลเพื่อให้สอดคล้องกับกระทรวงการคลัง ทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นสุทธิ 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.และ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ลดลงสุทธิ 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.มาอยู่ที่ 51.5 และ 49.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ตามลำดับ
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2547 มีจำนวน 49.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยแม้ว่าในเดือนนี้ ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐจะมีการนำเข้าเงินกู้สุทธิ 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เมื่อรวมกับผลของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง ทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศเมื่อตีราคาเป็นสกุลดอลลาร์ สรอ.อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.1 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22.7 ในเดือนก่อนจากการนำเข้าเงินกู้ระยะสั้นของกิจการวิเทศธนกิจ
หนี้ภาคเอกชน มีจำนวน 34.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากการนำเข้าเงินกู้สุทธิของภาคธนาคารเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี เมื่อรวมกับผลของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง ทำให้ยอดคงค้างหนี้ภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเพียง 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
หนี้ภาคทางการ เพิ่มขึ้น 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการเกินดุลในตราสารหนี้ระยะยาว แต่ผลของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง จึงทำให้ยอดคงค้างหนี้ภาครัฐลดลง 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เหลือ 15.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 เท่ากับ 43.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 4.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศ
เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีโดยสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นและสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อการนำเข้ายังอยู่ในเกณฑ์สูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชบ-