1. ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
- ผลประกอบการและสภาพคล่องไตรมาสที่ 2 ปี 2547
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 บริษัทจดทะเบียนฯยังคงมีผลประกอบการที่อยู่ในเกณฑ์ดี อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) และอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ปรับตัวเพิ่มเป็นร้อยละ 25.7 และ 9.2 เทียบกับร้อยละ 20.1 และ 7.7 ในไตรมาสเดียวกันปีก่อนตามลำดับ ผลประกอบการของภาคธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้นมาก ทำให้สามารถจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สภาพคล่องของภาคธุรกิจยังคงอยู่ในระดับสูงอัตราส่วนเงินสดต่อสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.8 เทียบกับร้อยละ 5.8 ในไตรมาสเดียวกันปีก่อน และสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนวิกฤติที่ร้อยละ 2.2
อัตรากำไรสุทธิเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนของกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการผลิตเพิ่มเป็นร้อยละ 8.0 เทียบกับร้อยละ 5.3 กลุ่มพาณิชย์ลดลงเหลือร้อยละ 3.5 เทียบกับร้อยละ 3.9 และกลุ่มรับเหมาก่อสร้างเพิ่มเป็นร้อยละ 6.0 เทียบกับร้อยละ 1.1 ในขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ลดลงเหลือร้อยละ 4.5 เทียบกับร้อยละ 7.3
-โครงสร้างทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้
บริษัทจดทะเบียนฯ มีโครงสร้างทางการเงินที่มีคุณภาพมากขึ้น อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity ratio :D/E) ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ค่า D/E ลดลงเหลือเพียง 1.4 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก่อนวิกฤตที่ 1.7 เท่า และความสามารถในการชำระหนี้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี อัตราส่วนกำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษี (EBIT) ต่อดอกเบี้ยจ่าย (Time Interest Earned:TIE) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 6.7 เท่าเทียบกับค่าเฉลี่ยก่อนวิกฤติที่ 3.2 เท่า เป็นผลจากการลดลงของภาระดอกเบี้ยจ่ายถึงร้อยละ 16 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
-แนวโน้มการลงทุน
สัญญาณการลงทุนของกลุ่มการผลิตยังคงมีความชัดเจน เห็นได้จากการสะสมสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากต้นปี 2546
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชบ/ดพ-
- ผลประกอบการและสภาพคล่องไตรมาสที่ 2 ปี 2547
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 บริษัทจดทะเบียนฯยังคงมีผลประกอบการที่อยู่ในเกณฑ์ดี อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) และอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ปรับตัวเพิ่มเป็นร้อยละ 25.7 และ 9.2 เทียบกับร้อยละ 20.1 และ 7.7 ในไตรมาสเดียวกันปีก่อนตามลำดับ ผลประกอบการของภาคธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้นมาก ทำให้สามารถจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สภาพคล่องของภาคธุรกิจยังคงอยู่ในระดับสูงอัตราส่วนเงินสดต่อสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.8 เทียบกับร้อยละ 5.8 ในไตรมาสเดียวกันปีก่อน และสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนวิกฤติที่ร้อยละ 2.2
อัตรากำไรสุทธิเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนของกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการผลิตเพิ่มเป็นร้อยละ 8.0 เทียบกับร้อยละ 5.3 กลุ่มพาณิชย์ลดลงเหลือร้อยละ 3.5 เทียบกับร้อยละ 3.9 และกลุ่มรับเหมาก่อสร้างเพิ่มเป็นร้อยละ 6.0 เทียบกับร้อยละ 1.1 ในขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ลดลงเหลือร้อยละ 4.5 เทียบกับร้อยละ 7.3
-โครงสร้างทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้
บริษัทจดทะเบียนฯ มีโครงสร้างทางการเงินที่มีคุณภาพมากขึ้น อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity ratio :D/E) ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ค่า D/E ลดลงเหลือเพียง 1.4 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก่อนวิกฤตที่ 1.7 เท่า และความสามารถในการชำระหนี้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี อัตราส่วนกำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษี (EBIT) ต่อดอกเบี้ยจ่าย (Time Interest Earned:TIE) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 6.7 เท่าเทียบกับค่าเฉลี่ยก่อนวิกฤติที่ 3.2 เท่า เป็นผลจากการลดลงของภาระดอกเบี้ยจ่ายถึงร้อยละ 16 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
-แนวโน้มการลงทุน
สัญญาณการลงทุนของกลุ่มการผลิตยังคงมีความชัดเจน เห็นได้จากการสะสมสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากต้นปี 2546
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชบ/ดพ-