1. ประเด็นเศรษฐกิจต่างประเทศ (27 สิงหาคม 2547-24 กันยายน 2547)
สหรัฐอเมริกา
-เศรษฐกิจสหรัฐฯในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 (revise) ขยายตัวร้อยละ 2.8 (qoq,annualized) หรือร้อยละ 4.7 (yoy) ลดลงเล็กน้อยจากที่เคยประกาศออกมาก่อนหน้านี้เป็นผลจากการขาดดุลการค้าในเดือนมิถุนายนที่เพิ่มสูงขึ้นและการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน
อนึ่ง ดัชนีเศรษฐกิจที่ประกาศในช่วงที่ผ่านมายังคงให้ภาพเศรษฐกิจที่ไม่ชัดเจนนัก โดยตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวชะลอลงและต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ในขณะที่ธนาคารกลางมองว่าเป็นการชะลอลงชั่วคราวและมีภาวะเริ่มฟื้นตัวอีกครั้งโดยยอดการค้าปลีกในเดือนสิงหาคมลดลงร้อยละ 0.3 (mom) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพายุเฮอร์ริเคนที่พัดเข้าสหรัฐฯ ในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ยอดขายบ้านก็ชะลอลงเช่นกัน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะการจ้างงานที่ยังคงซบเซา สำหรับ University of Michigan Confidence (ตัวเลขเบื้องต้น) ในเดือนกันยายนปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยอยู่ที่ระดับ 95.9 เนื่องจากภาวะการจ้างงานที่ยังไม่ฟื้นตัว กอปรกับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาก นอกจากนี้ ตัวเลขการผลิตในภาคอุตสาหกรรม(Industrial production) ในเดือนสิงหาคมก็เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ โดยขยายตัวร้อยละ 5.2 (yoy) เนื่องจากการลดลงของการผลิตอุปกรณ์สำนักงานและการทำเหมืองแร่ ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตทรงตัวในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 77.3
อัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 (mom) หรือร้อยละ 2.7 (yoy) สะท้อนให้เห็นว่าผู้ผลิตยังไม่สามารถผลักภาระต้นทุนน้ำมันและราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นไปยังผู้บริโภคโดยการปรับเพิ่มราคาสินค้าได้ส่งผลให้ผู้ผลิตต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเอง และทำให้กำไรภาคธุรกิจปรับลดลง
อนึ่ง ในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2547 Fed ได้มีมติเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds และ Discount Rate อีกร้อยละ 0.25 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ณ ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 1.75 และร้อยละ 2.75 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และนับเป็นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มากที่สุดอีกด้วยโดยคณะกรรมการๆ ให้ความเห็นว่า แม้จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ stance ของการดำเนินนโยบายการเงินยังคงเป็นแบบผ่อนคลาย (accommodative) เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจต่อไป และเห็นว่าในขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นอีกครั้ง ประกอบกับมีการเพิ่มขึ้นใน productivity ขณะที่ภาวะการจ้างงานก็เริ่มปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่า ความเสี่ยงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อในช่วง 2-3 ไตรมาสข้างหน้าถือว่า "roughly equal" และให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มดอกเบี้ยในอนาคตไว้เช่นเดิม คือ "policy accommodation can be removed at a pace that is likely to be measured."
กลุ่มประเทศยูโร
-เศรษฐกิจยูโรโซนในช่วงที่ผ่านมายังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยภาคการส่งออกยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ขณะที่การลงทุนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 2.0 (yoy) หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 (yoy) ในไตรมาสก่อนหน้า โดย Net export และการใช้จ่ายภาครัฐยังคงขยายตัวดี ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนชะลอลงจากผลกระทบของราคาน้ำมัน
อนึ่ง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในระยะที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในกลุ่มยูโรโซนเช่นเดียวกันแต่ ECB เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าวเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น โดยอัตราเงินเฟ้อล่าสุดของกลุ่มประเทศยูโรโซนในเดือนสิงหาคม 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 (yoy) เท่ากับเดือนก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนว่าแรงกดดันเงินเฟ้อยังไม่มีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูงต่อไป อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนน่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าที่ร้อยละ 2.0 ต่อไปจนถึงต้นปีหน้าก่อนจะปรับลดลงในระยะต่อไป สำหรับดัชนี Industrial Production ล่าสุดในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 (mom) หรือร้อยละ 2.4(yoy) ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนส่วนหนึ่งเป็นผลจากการผลิตในภาคพลังงาน และ Nondurable consumer goods ที่ชะลอลง
สำหรับดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมล่าสุดในเดือนสิงหาคมลดลงมาอยู่ที่ 53.9 จากเดือนก่อนหน้าที่ 54.7 ซึ่งนับว่าเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2547 เป็นผลจากความไม่มั่นใจในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งภายในกลุ่มยูโรโซนเองและเศรษฐกิจโลก แต่อย่างไรก็ดีดัชนีดังกล่าวยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนี PMI ภาคบริการปรับลดลงเช่นเดียวกัน โดยอยู่ที่ระดับ 54.5 จาก 55.3 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดย PMI ภาคบริการของทุกประเทศในกลุ่มล้วนชะลอลง ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับ PMI ภาคอุตสาหกรรม ทำให้ PMI composite ในเดือนสิงหาคมลดลงมาอยู่ที่ระดับ 55.0 จากเดือนก่อนหน้าที่ ระดับ 56.0
ญี่ปุ่น
-การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มมีสัญญาณชะลอตัว โดยเมื่อวันที่ 10 กันยายน ทางการญี่ปุ่นได้ปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ลงจากร้อยละ 1.7 (qoq) เป็นร้อยละ 1.3 (qoq) โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการปรับลดลงของการใช้จ่ายภาครัฐ
ทั้งนี้ แม้ว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคมขยายตัวร้อยละ 5.9 (yoy)หรือร้อยละ 0 (mom) แต่การส่งออกในเดือนสิงหาคมยังคงขยายตัวดีที่ร้อยละ 10.4 (yoy)
การส่งออกที่ยังไม่มีแนวโน้มชะลอลง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นเห็นว่า เศรษฐกิจยังอยู่ในกรบวนการฟื้นตัวซึ่งจะกลับไปสู่การขยายตัวอย่างยั่งยืนอย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงในเรื่องการสะสมสินค้าคงคลัง (inventory) โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโลยี ซึ่งหากมี inventory correction ก็จะทำให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้
ทั้งนี้ ภาวะการจ้างงานปรับตัวดีขึ้นภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย โดยอัตราการว่างงานปรับลดลงต่อเนื่อง ล่าสุดในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 4.8 ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ 49.2 ในเดือนสิงหาคมซึ่งนับเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2534 ซึ่งนอกจากเสถียรภาพในการจ้างงานแล้ว ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีเป็นผลมาจาก wealth effects จากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาหลักทรัพย์ในญี่ปุ่น
กลุ่มเอเชียตะวันออก
-เศรษฐกิจจีนโดยรวมอยู่ในภาวะแข็งแกร่งผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การค้าต่างประเทศและการบริโภคภายในประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตามยังคงมีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 15.9 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 15.5 เนื่องจากการส่งออกที่เร่งตัวขึ้น สำหรับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่รัฐบาลควบคุมยังมีภาวะไม่ชัดเจน โดยการผลิตซีเมนต์ และอะลูมิเนียมชะลอตัวลงในขณะที่การผลิตเหล็กขยายตัวเร่งขึ้น
การค้าของจีนยังคงขยายตัวอยู่ในระดับสูงในช่วง 8 เดือนแรกของปี การส่งออกในเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 37.5 เร่งขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 33.8 ในเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ สำหรับการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 35.6 และเกินดุลการค้า 4.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.นับเป็นการเกินดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 อย่างไรก็ตาม ในช่วง 8 เดือนแรกจีนยังคงขาดดุลการค้า 950 ล้านดอลลาร์สรอ.
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 5.3 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี โดยราคาอาหารสูงขึ้นร้อยละ 13.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย สำหรับราคาสินค้าผู้ผลิตเดือนสิงหาคมสูงขึ้นร้อยละ 6.8 เทียบกับร้อยละ 6.4 ในเดือนก่อนหน้าเนื่องจากราคาน้ำมันและเหล็กปรับตัวสูงขึ้น
คณะกรรมการกำกับธนาคารจีน (China Banking Regulatory Commission) อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสามารถให้บริการเกี่ยวกับธุรกรรมเงินหยวนได้เพิ่มขึ้นอีก 3 เมือง คือ ปักกิ่ง คุนหมิง และเซียะเหมินและจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้ ทำให้จำนวนเมืองที่ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสามารถทำธุรกรรมเงินหยวนได้เพิ่มขึ้นเป็น 16 เมือง
-เศรษฐกิจไต้หวันได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นโดยการส่งออกในเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 20.0 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 26.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการหยุดทำงานของภาคการผลิตในช่วงเกิดพายุเป็นเวลา 2 วัน และฐานสูงในปีก่อนหลังการระบาดของโรค SARS สิ้นสุดลง โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารมีการส่งออกลดลงชัดเจน อนึ่ง การส่งออกอาจชะลอลงได้อีกเนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ลดลง สำหรับการนำเข้าในเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 33.7 เทียบกับเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 32.9 ซึ่งการนำเข้าสินค้าทุนกลับมาขยายตัวดีอีกครั้ง
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนสิงหาคมลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 หลังจากที่สูงถึงร้อยละ 3.3 ในเดือนกรกฎาคม แต่ราคาค้าส่งกลับสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 10.3 โดยมีปัจจัยจากราคาน้ำมันในตลาดโลกและวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น
-ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 เศรษฐกิจฮ่องกงขยายตัวร้อยละ 12.1 (yoy)เทียบกับร้อยละ 6.8 ในไตรมาสแรกของปี ซึ่งนับเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงที่สุด นับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2543 ทั้งนี้ การฟื้นตัวกระจายตัวในทุกภาค (broad based) กล่าวคือ เป็นผลมาจากทั้งการส่งออก การบริโภคในประเทศ และการลงทุนในสินค้าทุนและเครื่องจักร อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัว ดังกล่าวนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานการคำนวณ(base effect) ของปีก่อน ซึ่งในไตรมาส 2 ปี 2547 เศรษฐกิจฮ่องกงหดตัวร้อยละ 0.5 (yoy)
ทั้งนี้ ทางการได้ปรับเพิ่มการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้เป็นร้อยละ 7.5 (yoy) จากที่เดิมเคยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.0 (yoy) โดยคาดว่าการส่งออกและการท่องเที่ยวกับจีนที่ขยายตัวดี การบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นตามภาวะการจ้างงานและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค กอปรกับการปรับตัวดีขึ้นของภาวะเงินฝืดและตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มมีเสถียรภาพ โดยล่าสุดอัตราการว่างงานของเดือนสิงหาคมปรับลดลงอยู่ที่ร้อยละ 6.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 30 เดือน
-เศรษฐกิจเกาหลีใต้ไตรมาสที่ 3 ปีนี้ มีแนวโน้มชะลอลงจากไตรมาส 2 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 (yoy)หรือร้อยละ 0.6 (qoq,sa) เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศยังอ่อนแอ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ระดับ 87 ลดลงจาก 89.6 ในเดือนกรกฎาคม และยอดขายของห้างสรรพสินค้าใหญ่ที่สุดสามแห่งในเดือนสิงหาคมลดลงร้อยละ 2.3 (yoy) นอกจากนี้ การส่งออกมีแนวโน้มที่จะชะลอลงจากแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯและจีนที่อาจชะลอตัวลง รวมทั้งราคาน้ำมันที่สูง ทั้งนี้ทางการเกาหลีใต้ได้พยายามดำเนินนโยบายทั้งทางด้านการเงิน และการคลังเพื่อกระตุ้นระะบบเศรษฐกิจ โดยภายหลังจากที่ธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้ลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 3.5 และทางกระทรวงการคลังได้ลดภาษีรายได้ และภาษีดอกเบี้ยและเงินปันผลลงอย่างละร้อยละ 1 ซึ่งผลจากมาตรการต่าง ๆ เริ่มแสดงผลบ้าง โดยดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและ Bok's Index of Manufacturer's Expectation เพิ่มขึ้นจาก 86.4 และ 73 ในเดือนกรกฎาคม เป็น 95.5 และ 79 ในเดือนสิงหาคม 2547 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.3 และ 7 ในเดือนกรกฎาคมเป็นร้อยละ 4.8 และ 7.5 ตามลำคับ
กลุ่มอาเซียน
-เศรษฐกิจสิงคโปร์มีแนวโน้มขยายตัวดีจากอุปสงค์ต่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเวชภัณฑ์ ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศค่อย ๆ ฟื้นตัว โดยการส่งออกสินค้า Non-oil Domestic Exports ในเดือนสิงหาคม ขยายตัวร้อยละ 31.9 (yoy)เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 20.5 โดยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวละ 27 และสินค้าที่ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 37.4
ทั้งนี้ แรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อเริ่มชะลอลง โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 1.6 (yoy) เท่ากับเดือนกรกฎาคม และปรับลดลงจากเดือนมิถุนายน ซึ่งอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 2.3 ทำให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 8 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 1.6 โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าธนาคารกลางสิงคโปร์จะยังคงแถลงการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดในการประชุมของอัตราเงินเฟ้อต่อไป โดยการปล่อยให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ ค่อยๆ แข็งค่าขึ้นทีละน้อยเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า
-เศรษฐกิจอินโดนีเซียค่อนข้างทรงตัว ขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่ยังรอดูผลการเลือกตั้งประธานธิบดีรอบที่ 2 ซึ่งได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปด้วยความราบรื่น แม้ว่าในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนหน้าจะมีเหตุวางระเบิดของกลุ่มผู้ก่อการร้ายขึ้นใกล้สถานทูตออสเตรเลียในกรุงจาการ์ตา ค่าเงินรูเปียห์ไม่ได้อ่อนค่าลงไปมาก แต่กลับแข็งค่าขึ้นในเวลาต่อมา โดยในช่วงกลางเดือนกันยายนอยู่ที่ประมาณ 9,110 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ. เทียบกับปลายเดือนสิงหาคมซึ่งอยู่ที่ 9,370 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียคาดว่าค่าเงินรูเปียห์จะแข็งค่าขึ้นไปที่ระดับ 8,800 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ. ได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปีนี้เนื่องจากคาดว่าจะเริ่มมีเงินลงทุนจากต่างประเทศไทยเข้าภายหลังการเลือกตั้งประธานธิบดีเสร็จสิ้น อย่างไรก็ดี แรงกดดันด้านภาวะเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจากด้านราคาสินค้าในกลุ่มอาหารและน้ำมัน โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 6.7 (yoy) เทียบกับอัตราเงินเฟ้อ เมื่อต้นปีซึ่งอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4-5 และธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสิ้นปีนี้จากร้อยละ 4.5-6.5 เป็นร้อยละ 7-7.5
-เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาสที่ 3 มีแนวโน้มดีต่อเนื่องจาการขยายตัวของ GDP ในไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 8.0 (yoy)ทางการมาเลเซียได้ปรับเป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้จากร้อยละ 6-6.5 เป็นร้อยละ 7 โดยแนวโน้มรายได้การส่งออกยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้จะมีสัญญาณแสดงถึงการชะลอตัวลงบ้างตาม Industrial Production Index ที่เริ่มชะลอลงโดยขยายตัวร้อยละ 9.9 (yoy)ในเดือนกรกฎาคมเทียบกับร้อยละ 12.9 (yoy)ในเดือนก่อนหน้า ส่วนการนำเข้าขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากร้อยละ 38.8 (yoy)ในเดือนมิถุนายนเป็นร้อยละ 27.6 (yoy) ในเดือนกรกฎาคม อุปสงค์ภายในประเทศยังมีแนวโน้มดี โดยยอดขายรถยนต์ในเดือนสิงหาคมได้เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 12.8 (yoy) ขณะที่แรงกดดันด้างเงินเฟ้อได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.4 ในเดือนสิงหาคม
ในเรื่องความกังวลของการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐนั้น นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้กล่าวว่า งบประมาณของรัฐบาลจะไม่สามารถเข้าสู่สมดุลได้ตามกำหนดในปี 2549 แต่จะค่อยๆลดลงในอัตราเร่ง เพื่อหลีกเลี่ยงผลต่อการหดตัวของเศรษฐกิจ โดยจะลดลงเหลือร้อยละ 3.8 ของ GDPในปี 2548 จาก ร้อยละ 4.5 ในปีนี้
-เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 0.7 (qoq,sa) หรือร้อยละ 6.2 (yoy)ชะลอลงจากไตรมาสแรกเล็กน้อย แต่ยังคงสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 6.3 (yoy) ทั้งนี้ ปัจจับหลักมาจากการส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก กอปรกับการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งช่วยชดเชยภาวะซบเซาในภาคเกษตรกรรม อย่างไรก็ดีทางการฟิลิปปินส์คาดว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปีจากผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และการเข้มงวดการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อรักษาฐานะการคลังให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ยังคงเร่งตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2547 อยู่ที่ร้อยละ 6.3 (yoy)และนับเป็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงสุดในรอบกว่า 3 ปีอีกด้วย ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และการปรับขึ้นค่าโดยสารในประเทศแต่อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ยังคงยืนยันว่าธนาคารยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้เพื่อชะลอลงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ เนื่องจากเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลมาจากด้านอุปทาน กอปรกับอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังคงอ่อนแออยู่
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชบ-
สหรัฐอเมริกา
-เศรษฐกิจสหรัฐฯในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 (revise) ขยายตัวร้อยละ 2.8 (qoq,annualized) หรือร้อยละ 4.7 (yoy) ลดลงเล็กน้อยจากที่เคยประกาศออกมาก่อนหน้านี้เป็นผลจากการขาดดุลการค้าในเดือนมิถุนายนที่เพิ่มสูงขึ้นและการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน
อนึ่ง ดัชนีเศรษฐกิจที่ประกาศในช่วงที่ผ่านมายังคงให้ภาพเศรษฐกิจที่ไม่ชัดเจนนัก โดยตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวชะลอลงและต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ในขณะที่ธนาคารกลางมองว่าเป็นการชะลอลงชั่วคราวและมีภาวะเริ่มฟื้นตัวอีกครั้งโดยยอดการค้าปลีกในเดือนสิงหาคมลดลงร้อยละ 0.3 (mom) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพายุเฮอร์ริเคนที่พัดเข้าสหรัฐฯ ในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ยอดขายบ้านก็ชะลอลงเช่นกัน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะการจ้างงานที่ยังคงซบเซา สำหรับ University of Michigan Confidence (ตัวเลขเบื้องต้น) ในเดือนกันยายนปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยอยู่ที่ระดับ 95.9 เนื่องจากภาวะการจ้างงานที่ยังไม่ฟื้นตัว กอปรกับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาก นอกจากนี้ ตัวเลขการผลิตในภาคอุตสาหกรรม(Industrial production) ในเดือนสิงหาคมก็เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ โดยขยายตัวร้อยละ 5.2 (yoy) เนื่องจากการลดลงของการผลิตอุปกรณ์สำนักงานและการทำเหมืองแร่ ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตทรงตัวในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 77.3
อัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 (mom) หรือร้อยละ 2.7 (yoy) สะท้อนให้เห็นว่าผู้ผลิตยังไม่สามารถผลักภาระต้นทุนน้ำมันและราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นไปยังผู้บริโภคโดยการปรับเพิ่มราคาสินค้าได้ส่งผลให้ผู้ผลิตต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเอง และทำให้กำไรภาคธุรกิจปรับลดลง
อนึ่ง ในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2547 Fed ได้มีมติเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds และ Discount Rate อีกร้อยละ 0.25 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ณ ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 1.75 และร้อยละ 2.75 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และนับเป็นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มากที่สุดอีกด้วยโดยคณะกรรมการๆ ให้ความเห็นว่า แม้จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ stance ของการดำเนินนโยบายการเงินยังคงเป็นแบบผ่อนคลาย (accommodative) เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจต่อไป และเห็นว่าในขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นอีกครั้ง ประกอบกับมีการเพิ่มขึ้นใน productivity ขณะที่ภาวะการจ้างงานก็เริ่มปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่า ความเสี่ยงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อในช่วง 2-3 ไตรมาสข้างหน้าถือว่า "roughly equal" และให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มดอกเบี้ยในอนาคตไว้เช่นเดิม คือ "policy accommodation can be removed at a pace that is likely to be measured."
กลุ่มประเทศยูโร
-เศรษฐกิจยูโรโซนในช่วงที่ผ่านมายังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยภาคการส่งออกยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ขณะที่การลงทุนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 2.0 (yoy) หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 (yoy) ในไตรมาสก่อนหน้า โดย Net export และการใช้จ่ายภาครัฐยังคงขยายตัวดี ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนชะลอลงจากผลกระทบของราคาน้ำมัน
อนึ่ง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในระยะที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในกลุ่มยูโรโซนเช่นเดียวกันแต่ ECB เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าวเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น โดยอัตราเงินเฟ้อล่าสุดของกลุ่มประเทศยูโรโซนในเดือนสิงหาคม 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 (yoy) เท่ากับเดือนก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนว่าแรงกดดันเงินเฟ้อยังไม่มีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูงต่อไป อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนน่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าที่ร้อยละ 2.0 ต่อไปจนถึงต้นปีหน้าก่อนจะปรับลดลงในระยะต่อไป สำหรับดัชนี Industrial Production ล่าสุดในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 (mom) หรือร้อยละ 2.4(yoy) ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนส่วนหนึ่งเป็นผลจากการผลิตในภาคพลังงาน และ Nondurable consumer goods ที่ชะลอลง
สำหรับดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมล่าสุดในเดือนสิงหาคมลดลงมาอยู่ที่ 53.9 จากเดือนก่อนหน้าที่ 54.7 ซึ่งนับว่าเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2547 เป็นผลจากความไม่มั่นใจในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งภายในกลุ่มยูโรโซนเองและเศรษฐกิจโลก แต่อย่างไรก็ดีดัชนีดังกล่าวยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนี PMI ภาคบริการปรับลดลงเช่นเดียวกัน โดยอยู่ที่ระดับ 54.5 จาก 55.3 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดย PMI ภาคบริการของทุกประเทศในกลุ่มล้วนชะลอลง ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับ PMI ภาคอุตสาหกรรม ทำให้ PMI composite ในเดือนสิงหาคมลดลงมาอยู่ที่ระดับ 55.0 จากเดือนก่อนหน้าที่ ระดับ 56.0
ญี่ปุ่น
-การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มมีสัญญาณชะลอตัว โดยเมื่อวันที่ 10 กันยายน ทางการญี่ปุ่นได้ปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ลงจากร้อยละ 1.7 (qoq) เป็นร้อยละ 1.3 (qoq) โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการปรับลดลงของการใช้จ่ายภาครัฐ
ทั้งนี้ แม้ว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคมขยายตัวร้อยละ 5.9 (yoy)หรือร้อยละ 0 (mom) แต่การส่งออกในเดือนสิงหาคมยังคงขยายตัวดีที่ร้อยละ 10.4 (yoy)
การส่งออกที่ยังไม่มีแนวโน้มชะลอลง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นเห็นว่า เศรษฐกิจยังอยู่ในกรบวนการฟื้นตัวซึ่งจะกลับไปสู่การขยายตัวอย่างยั่งยืนอย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงในเรื่องการสะสมสินค้าคงคลัง (inventory) โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโลยี ซึ่งหากมี inventory correction ก็จะทำให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้
ทั้งนี้ ภาวะการจ้างงานปรับตัวดีขึ้นภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย โดยอัตราการว่างงานปรับลดลงต่อเนื่อง ล่าสุดในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 4.8 ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ 49.2 ในเดือนสิงหาคมซึ่งนับเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2534 ซึ่งนอกจากเสถียรภาพในการจ้างงานแล้ว ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีเป็นผลมาจาก wealth effects จากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาหลักทรัพย์ในญี่ปุ่น
กลุ่มเอเชียตะวันออก
-เศรษฐกิจจีนโดยรวมอยู่ในภาวะแข็งแกร่งผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การค้าต่างประเทศและการบริโภคภายในประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตามยังคงมีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 15.9 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 15.5 เนื่องจากการส่งออกที่เร่งตัวขึ้น สำหรับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่รัฐบาลควบคุมยังมีภาวะไม่ชัดเจน โดยการผลิตซีเมนต์ และอะลูมิเนียมชะลอตัวลงในขณะที่การผลิตเหล็กขยายตัวเร่งขึ้น
การค้าของจีนยังคงขยายตัวอยู่ในระดับสูงในช่วง 8 เดือนแรกของปี การส่งออกในเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 37.5 เร่งขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 33.8 ในเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ สำหรับการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 35.6 และเกินดุลการค้า 4.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.นับเป็นการเกินดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 อย่างไรก็ตาม ในช่วง 8 เดือนแรกจีนยังคงขาดดุลการค้า 950 ล้านดอลลาร์สรอ.
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 5.3 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี โดยราคาอาหารสูงขึ้นร้อยละ 13.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย สำหรับราคาสินค้าผู้ผลิตเดือนสิงหาคมสูงขึ้นร้อยละ 6.8 เทียบกับร้อยละ 6.4 ในเดือนก่อนหน้าเนื่องจากราคาน้ำมันและเหล็กปรับตัวสูงขึ้น
คณะกรรมการกำกับธนาคารจีน (China Banking Regulatory Commission) อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสามารถให้บริการเกี่ยวกับธุรกรรมเงินหยวนได้เพิ่มขึ้นอีก 3 เมือง คือ ปักกิ่ง คุนหมิง และเซียะเหมินและจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้ ทำให้จำนวนเมืองที่ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสามารถทำธุรกรรมเงินหยวนได้เพิ่มขึ้นเป็น 16 เมือง
-เศรษฐกิจไต้หวันได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นโดยการส่งออกในเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 20.0 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 26.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการหยุดทำงานของภาคการผลิตในช่วงเกิดพายุเป็นเวลา 2 วัน และฐานสูงในปีก่อนหลังการระบาดของโรค SARS สิ้นสุดลง โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารมีการส่งออกลดลงชัดเจน อนึ่ง การส่งออกอาจชะลอลงได้อีกเนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ลดลง สำหรับการนำเข้าในเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 33.7 เทียบกับเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 32.9 ซึ่งการนำเข้าสินค้าทุนกลับมาขยายตัวดีอีกครั้ง
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนสิงหาคมลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 หลังจากที่สูงถึงร้อยละ 3.3 ในเดือนกรกฎาคม แต่ราคาค้าส่งกลับสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 10.3 โดยมีปัจจัยจากราคาน้ำมันในตลาดโลกและวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น
-ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 เศรษฐกิจฮ่องกงขยายตัวร้อยละ 12.1 (yoy)เทียบกับร้อยละ 6.8 ในไตรมาสแรกของปี ซึ่งนับเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงที่สุด นับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2543 ทั้งนี้ การฟื้นตัวกระจายตัวในทุกภาค (broad based) กล่าวคือ เป็นผลมาจากทั้งการส่งออก การบริโภคในประเทศ และการลงทุนในสินค้าทุนและเครื่องจักร อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัว ดังกล่าวนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานการคำนวณ(base effect) ของปีก่อน ซึ่งในไตรมาส 2 ปี 2547 เศรษฐกิจฮ่องกงหดตัวร้อยละ 0.5 (yoy)
ทั้งนี้ ทางการได้ปรับเพิ่มการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้เป็นร้อยละ 7.5 (yoy) จากที่เดิมเคยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.0 (yoy) โดยคาดว่าการส่งออกและการท่องเที่ยวกับจีนที่ขยายตัวดี การบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นตามภาวะการจ้างงานและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค กอปรกับการปรับตัวดีขึ้นของภาวะเงินฝืดและตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มมีเสถียรภาพ โดยล่าสุดอัตราการว่างงานของเดือนสิงหาคมปรับลดลงอยู่ที่ร้อยละ 6.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 30 เดือน
-เศรษฐกิจเกาหลีใต้ไตรมาสที่ 3 ปีนี้ มีแนวโน้มชะลอลงจากไตรมาส 2 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 (yoy)หรือร้อยละ 0.6 (qoq,sa) เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศยังอ่อนแอ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ระดับ 87 ลดลงจาก 89.6 ในเดือนกรกฎาคม และยอดขายของห้างสรรพสินค้าใหญ่ที่สุดสามแห่งในเดือนสิงหาคมลดลงร้อยละ 2.3 (yoy) นอกจากนี้ การส่งออกมีแนวโน้มที่จะชะลอลงจากแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯและจีนที่อาจชะลอตัวลง รวมทั้งราคาน้ำมันที่สูง ทั้งนี้ทางการเกาหลีใต้ได้พยายามดำเนินนโยบายทั้งทางด้านการเงิน และการคลังเพื่อกระตุ้นระะบบเศรษฐกิจ โดยภายหลังจากที่ธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้ลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 3.5 และทางกระทรวงการคลังได้ลดภาษีรายได้ และภาษีดอกเบี้ยและเงินปันผลลงอย่างละร้อยละ 1 ซึ่งผลจากมาตรการต่าง ๆ เริ่มแสดงผลบ้าง โดยดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและ Bok's Index of Manufacturer's Expectation เพิ่มขึ้นจาก 86.4 และ 73 ในเดือนกรกฎาคม เป็น 95.5 และ 79 ในเดือนสิงหาคม 2547 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.3 และ 7 ในเดือนกรกฎาคมเป็นร้อยละ 4.8 และ 7.5 ตามลำคับ
กลุ่มอาเซียน
-เศรษฐกิจสิงคโปร์มีแนวโน้มขยายตัวดีจากอุปสงค์ต่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเวชภัณฑ์ ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศค่อย ๆ ฟื้นตัว โดยการส่งออกสินค้า Non-oil Domestic Exports ในเดือนสิงหาคม ขยายตัวร้อยละ 31.9 (yoy)เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 20.5 โดยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวละ 27 และสินค้าที่ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 37.4
ทั้งนี้ แรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อเริ่มชะลอลง โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 1.6 (yoy) เท่ากับเดือนกรกฎาคม และปรับลดลงจากเดือนมิถุนายน ซึ่งอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 2.3 ทำให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 8 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 1.6 โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าธนาคารกลางสิงคโปร์จะยังคงแถลงการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดในการประชุมของอัตราเงินเฟ้อต่อไป โดยการปล่อยให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ ค่อยๆ แข็งค่าขึ้นทีละน้อยเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า
-เศรษฐกิจอินโดนีเซียค่อนข้างทรงตัว ขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่ยังรอดูผลการเลือกตั้งประธานธิบดีรอบที่ 2 ซึ่งได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปด้วยความราบรื่น แม้ว่าในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนหน้าจะมีเหตุวางระเบิดของกลุ่มผู้ก่อการร้ายขึ้นใกล้สถานทูตออสเตรเลียในกรุงจาการ์ตา ค่าเงินรูเปียห์ไม่ได้อ่อนค่าลงไปมาก แต่กลับแข็งค่าขึ้นในเวลาต่อมา โดยในช่วงกลางเดือนกันยายนอยู่ที่ประมาณ 9,110 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ. เทียบกับปลายเดือนสิงหาคมซึ่งอยู่ที่ 9,370 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียคาดว่าค่าเงินรูเปียห์จะแข็งค่าขึ้นไปที่ระดับ 8,800 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ. ได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปีนี้เนื่องจากคาดว่าจะเริ่มมีเงินลงทุนจากต่างประเทศไทยเข้าภายหลังการเลือกตั้งประธานธิบดีเสร็จสิ้น อย่างไรก็ดี แรงกดดันด้านภาวะเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจากด้านราคาสินค้าในกลุ่มอาหารและน้ำมัน โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 6.7 (yoy) เทียบกับอัตราเงินเฟ้อ เมื่อต้นปีซึ่งอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4-5 และธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสิ้นปีนี้จากร้อยละ 4.5-6.5 เป็นร้อยละ 7-7.5
-เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาสที่ 3 มีแนวโน้มดีต่อเนื่องจาการขยายตัวของ GDP ในไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 8.0 (yoy)ทางการมาเลเซียได้ปรับเป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้จากร้อยละ 6-6.5 เป็นร้อยละ 7 โดยแนวโน้มรายได้การส่งออกยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้จะมีสัญญาณแสดงถึงการชะลอตัวลงบ้างตาม Industrial Production Index ที่เริ่มชะลอลงโดยขยายตัวร้อยละ 9.9 (yoy)ในเดือนกรกฎาคมเทียบกับร้อยละ 12.9 (yoy)ในเดือนก่อนหน้า ส่วนการนำเข้าขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากร้อยละ 38.8 (yoy)ในเดือนมิถุนายนเป็นร้อยละ 27.6 (yoy) ในเดือนกรกฎาคม อุปสงค์ภายในประเทศยังมีแนวโน้มดี โดยยอดขายรถยนต์ในเดือนสิงหาคมได้เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 12.8 (yoy) ขณะที่แรงกดดันด้างเงินเฟ้อได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.4 ในเดือนสิงหาคม
ในเรื่องความกังวลของการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐนั้น นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้กล่าวว่า งบประมาณของรัฐบาลจะไม่สามารถเข้าสู่สมดุลได้ตามกำหนดในปี 2549 แต่จะค่อยๆลดลงในอัตราเร่ง เพื่อหลีกเลี่ยงผลต่อการหดตัวของเศรษฐกิจ โดยจะลดลงเหลือร้อยละ 3.8 ของ GDPในปี 2548 จาก ร้อยละ 4.5 ในปีนี้
-เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 0.7 (qoq,sa) หรือร้อยละ 6.2 (yoy)ชะลอลงจากไตรมาสแรกเล็กน้อย แต่ยังคงสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 6.3 (yoy) ทั้งนี้ ปัจจับหลักมาจากการส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก กอปรกับการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งช่วยชดเชยภาวะซบเซาในภาคเกษตรกรรม อย่างไรก็ดีทางการฟิลิปปินส์คาดว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปีจากผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และการเข้มงวดการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อรักษาฐานะการคลังให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ยังคงเร่งตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2547 อยู่ที่ร้อยละ 6.3 (yoy)และนับเป็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงสุดในรอบกว่า 3 ปีอีกด้วย ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และการปรับขึ้นค่าโดยสารในประเทศแต่อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ยังคงยืนยันว่าธนาคารยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้เพื่อชะลอลงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ เนื่องจากเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลมาจากด้านอุปทาน กอปรกับอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังคงอ่อนแออยู่
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชบ-