นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยส่งออกไปอาเซียน 9
ประเทศ มีมูลค่า 10,017.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยใช้สิทธิส่งออกภายใต้ CEPT มีมูลค่า 1,880.81
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 18.77 ของมูลค่าส่งออกไปอาเซียนทั้งหมด โดยการใช้สิทธิฯ ในปี
2547 เพิ่มขึ้นจากในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่า 1,162.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น
ร้อยละ 61.82 ตลาดส่งออกของไทยที่มีการใช้สิทธิสูง ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
และเวียดนาม
มีมูลค่ารวม 1,798.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 95.62 ของการใช้สิทธิฯทั้งหมด
ในจำนวนประเทศที่มีมูลค่าการใช้สิทธิสูงดังกล่าว ประเทศที่มีสัดส่วนการใช้สิทธิเพิ่มขึ้นมากเป็นอันดับแรก
ได้แก่ อินโดนีเซีย รองลงมาได้แก่ เวียดนาม และมาเลเซีย ตามลำดับ
การใช้สิทธิฯ ของสินค้าเกษตรเปรียบเทียบกับสินค้าอุตสาหกรรม มีสัดส่วน 1 : 7.84
- สินค้าเกษตรมีมูลค่าการใช้สิทธิ 213 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 11 ของมูลค่า
การใช้สิทธิทั้งหมด โดยสินค้าที่ใช้สิทธิสูงได้แก่ อาหารปรุงแต่ง และสิ่งสกัดจากมอลต์ ซึ่งมีอัตราภาษีนำ
เข้าร้อยละ 2-15 และ 5 —10 ตามลำดับ
- สินค้าอุตสาหกรรมมีมูลค่าการใช้สิทธิ 1,668.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 89
ของมูลค่าการใช้สิทธิทั้งหมด โดยสินค้าที่ใช้สิทธิสูงได้แก่ รถยนต์ และส่วนประกอบยานยนต์ ซึ่ง
มีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 5-40 ก๊อก วาล์ว และ แชมพู มีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 5-10 มีประเทศ
สมาชิกอาเซียนประสบปัญหาในการขอใช้สิทธิอยู่บ้านเนื่องจากกรณีพิกัดอัตราศุลกากร
ไม่ตรงกัน ในการประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญด้านศุลกากร ( ECCM : Expert Committee on
Custom Matters) ครั้งที่ 13 จึงได้ตกลงจัดทำหนังสือพิกัดศุลกากรสำหรับอาเซียนใหม่ ( ANHarmonized
Tariff Nomenclature : AHTN) ที่มีพิกัดฯ เหมือนกันทุกประเทศซึ่งปัจจุบันประเทศที่พร้อมจะใช้พิกัดอัตรา
ศุลกากรดังกล่าว ได้แก่ บรูไน กัมพูชา ลาว และพม่า ส่วนประเทศอื่น ๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งคาด
ว่าหากทุกประเทศสามารถใช้พิกัดอัตราศุลกากรเดียวกันแล้ว ปัญหาในการใช้สิทธิภายใต้ CEPT ในกรณีนี้ก็คง
หมดไป ผู้ส่งออกควรติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิดเพื่อประโยชน์ในการส่งออกต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศโทร. 0 2457
4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : tpdft.moc.go.th
--กรมการค้าต่างประเทศ กันยายน 2547--
-สส-
ประเทศ มีมูลค่า 10,017.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยใช้สิทธิส่งออกภายใต้ CEPT มีมูลค่า 1,880.81
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 18.77 ของมูลค่าส่งออกไปอาเซียนทั้งหมด โดยการใช้สิทธิฯ ในปี
2547 เพิ่มขึ้นจากในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่า 1,162.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น
ร้อยละ 61.82 ตลาดส่งออกของไทยที่มีการใช้สิทธิสูง ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
และเวียดนาม
มีมูลค่ารวม 1,798.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 95.62 ของการใช้สิทธิฯทั้งหมด
ในจำนวนประเทศที่มีมูลค่าการใช้สิทธิสูงดังกล่าว ประเทศที่มีสัดส่วนการใช้สิทธิเพิ่มขึ้นมากเป็นอันดับแรก
ได้แก่ อินโดนีเซีย รองลงมาได้แก่ เวียดนาม และมาเลเซีย ตามลำดับ
การใช้สิทธิฯ ของสินค้าเกษตรเปรียบเทียบกับสินค้าอุตสาหกรรม มีสัดส่วน 1 : 7.84
- สินค้าเกษตรมีมูลค่าการใช้สิทธิ 213 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 11 ของมูลค่า
การใช้สิทธิทั้งหมด โดยสินค้าที่ใช้สิทธิสูงได้แก่ อาหารปรุงแต่ง และสิ่งสกัดจากมอลต์ ซึ่งมีอัตราภาษีนำ
เข้าร้อยละ 2-15 และ 5 —10 ตามลำดับ
- สินค้าอุตสาหกรรมมีมูลค่าการใช้สิทธิ 1,668.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 89
ของมูลค่าการใช้สิทธิทั้งหมด โดยสินค้าที่ใช้สิทธิสูงได้แก่ รถยนต์ และส่วนประกอบยานยนต์ ซึ่ง
มีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 5-40 ก๊อก วาล์ว และ แชมพู มีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 5-10 มีประเทศ
สมาชิกอาเซียนประสบปัญหาในการขอใช้สิทธิอยู่บ้านเนื่องจากกรณีพิกัดอัตราศุลกากร
ไม่ตรงกัน ในการประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญด้านศุลกากร ( ECCM : Expert Committee on
Custom Matters) ครั้งที่ 13 จึงได้ตกลงจัดทำหนังสือพิกัดศุลกากรสำหรับอาเซียนใหม่ ( ANHarmonized
Tariff Nomenclature : AHTN) ที่มีพิกัดฯ เหมือนกันทุกประเทศซึ่งปัจจุบันประเทศที่พร้อมจะใช้พิกัดอัตรา
ศุลกากรดังกล่าว ได้แก่ บรูไน กัมพูชา ลาว และพม่า ส่วนประเทศอื่น ๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งคาด
ว่าหากทุกประเทศสามารถใช้พิกัดอัตราศุลกากรเดียวกันแล้ว ปัญหาในการใช้สิทธิภายใต้ CEPT ในกรณีนี้ก็คง
หมดไป ผู้ส่งออกควรติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิดเพื่อประโยชน์ในการส่งออกต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศโทร. 0 2457
4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : tpdft.moc.go.th
--กรมการค้าต่างประเทศ กันยายน 2547--
-สส-