สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๐.๐๕ นาฬิกา โดยนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธาน
การประชุมได้ดำเนินการพิจารณาตามระเบียบวาระ คือ ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มี
และระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ดังนี้
- รับทราบผลการดำเนินงานตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ได้ตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลไม่ได้ปฏิบัติตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยอภิปรายถึงการใช้
งบกลาง ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาแผนงาน โครงการต่าง ๆ จากเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ (สศช.) แต่ในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม จำนวน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท นั้น
มีโครงการที่ไม่ได้ผ่านการพิจารณาของ สศช. แต่อนุมัติโดยนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี จำนวน ๒๐
โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๗๒ ของงบประมาณทั้งหมด นอกจากนี้ในงบประมาณอุดหนุนเพื่อการพัฒนาองค์กร
ส่วนท้องถิ่นก็ยังคงกระจุกตัว ไม่ได้กระจายไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึงตามที่คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตไว้
ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้รายงานถึงผลการดำเนินการตามข้อสังเกตแต่อย่างใด
จากนั้น นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้อภิปรายชี้แจงว่า
รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับข้อสังเกตต่าง ๆ และพยายามจะดำเนินการตามข้อสังเกตนั้น ๆ ซึ่ง
บางเรื่องก็ยังไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากติดขัดในเรื่องกฎระเบียบ และบางเรื่องต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตาม
ทางรัฐบาลก็ได้พิจารณาเพื่อหาแนวทางแก้ไขแล้ว สำหรับในกรณีของการอนุมัติใช้งบกลางใน
๒๐ โครงการดังกล่าวนั้น เป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ทุกประการ โดยคณะกรรมการจะเป็นผู้รับเรื่องของหน่วยงาน
ที่เสนอขอ ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดก่อน ทั้งนี้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดจะเสนอเรื่องไปยัง
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อพิจารณาว่า โครงการใดสามารถ
เสนอตรงต่อรัฐมนตรีได้เลย หรือโครงการใดต้องเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา
โดยนายกรัฐมนตรีสามารถอนุมัติได้โดยตรง และรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ซึ่งก็ได้อนุมัติไปเพียง ๗๒๙ ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ ๗ เท่านั้น ทั้งนี้ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีทุกคนก็อนุมัติในรูปแบบนี้
ในส่วนข้อสังเกตของการกระจายงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
รัฐบาลได้นำข้อสังเกตดังกล่าวไปประชุมร่วมกัน เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขแล้ว ซึ่งก็ได้หลักเกณฑ์
ในการกระจายงบประมาณว่า ทุกจังหวัดจะต้องได้รับงบประมาณในส่วนนี้ โดยพิจารณาตามสัดส่วนของ
จำนวนประชากรเป็นหลัก สำหรับการตรวจสอบงบดุลบัญชีของรัฐวิสาหกิจนั้นจะมีการตรวจสอบโดยสำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในการใช้ งบประมาณ
พักการประชุมเวลา ๑๓.๑๕ นาฬิกา
ต่อจากนั้นในเวลา ๑๓.๕๕ นาฬิกา ได้มีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายตรีพล เจาะจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการคอรัปชั่นและแนวทางการแก้ไขของรัฐบาล
ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ได้ตอบกระทู้ว่า
๓ ปี ๙ เดือนที่ผ่านมานั้น รัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นมาโดยตลอด ตั้งแต่เริ่มรัฐบาล
และนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้รัฐมนตรีทุกคนดูแลเรื่องการซื้อขายตำแหน่ง และได้มีการแต่งตั้ง
คณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น ซึ่งได้แก้ไขไปได้หลายโครงการแล้ว เช่น
โครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านและเรือขุด เป็นต้น ส่วนกลไกในการปราบปรามการทุจริตนั้น
ขณะนี้เรื่องอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ซึ่งเป็นหน่วยงาน
ที่ต้องรับภาระมาก ดังนั้นรัฐบาลจึงได้จัดตั้งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบใน
วงราชการ (ปปป.) ขึ้นมา เพื่อรับผิดชอบคดีที่เกี่ยวกับข้าราชการ ทำให้เหลือเพียง
คดีใหญ่ และ ปปช. สามารถเลือกคดีมาดำเนินการได้ และรัฐบาลได้นำกฎหมายของสำนักงาน
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มาร่วมในการพิจารณาการปราบปรามการทุจริตด้วย
๒. กระทู้ถามสดของนายวิรัตน์ กัลยาศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง กรณีการยิงข้าราชการระดับสูงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร) ได้ตอบกระทู้ว่า
จากการที่สื่อมวลชนต่างประเทศได้รายงานว่า ผู้ใหญ่ในกองทัพไทยได้เพิ่มกำลังทหารอีก ๖ กองพัน นั้น
ในเรื่องดังกล่าวนี้ขอชี้แจงว่า ไม่เคยมีการเพิ่มกองกำลังทหารลงไปในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งขณะนี้มีกำลัง
ไม่ถึง ๕,๐๐๐ นาย และใช้กำลังทุกนายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการสลับปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทุกคน
ได้พักผ่อน เนื่องจากเห็นว่าสถานการณ์ต้องยืดเยื้อ จึงต้องใช้กำลังอย่างประณีตที่สุด เพราะการใช้
กองกำลังมากต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมาก ส่วนเรื่องความปลอดภัยของประชาชนและ
ข้าราชการ ได้จัดส่งหน่วยลาดตระเวนให้ความคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ประชาชนมาโดยตลอด
นอกจากนี้การปฏิบัติในพื้นที่อันตรายจะให้ใช้รถฮัมวีทำการลาดตระเวน เพราะมีความปลอดภัยสูง
และมีโอกาสที่จะทำลายกองทัพฝ่ายตรงข้ามได้มาก และสถานการณ์ภาคใต้ขณะนี้ดีขึ้นมากแล้ว
แม้จะมีเหตุการณ์รายวันก็ตาม และขอยืนยันว่าในทางปฏิบัติรัฐบาลจะยึดหลักสันติวิธีเป็นหลัก และสิ่งที่
ทำได้ในขณะนี้คือ ต้องเปลี่ยนแนวคิด อุดมการณ์เรื่องการแบ่งแยกดินแดน เพราะเรื่องนี้ถือเป็น
อุปสรรคใหญ่ และมั่นใจว่าถ้าสามารถเปลี่ยนแนวความคิดและล้างแนวความคิดเดิมได้ จะสามารถ
แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ จึงต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแนวความคิดและเปลี่ยนคนที่เชื่อในเรื่องคำสอน
๓. กระทู้ถามสดของนางสาวอรุณี ชำนาญยา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถามรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประชา มาลีนนท์)
ได้ตอบกระทู้ว่า ในอดีตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการทุจริตกันเป็นอย่างมาก และกระทรวงมหาดไทย
ได้มีการจับกุมผู้กระทำความผิดไปหลายรายแล้วเช่นกัน ส่วนกรณีการทุจริตคอรัปชั่นนั้น กระทรวงมหาดไทย โดย
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการวางมาตรการในการป้องกันการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสมยอมราคา ได้มีการกำหนดมาตรการไว้
- กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดสถานที่ที่เป็นกลางในการยื่นซองประกวดราคา และให้สถานที่นั้น
เป็นศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารในการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ
- กำหนดมาตรการให้มีการตรวจสอบเอกสารประกวดราคาว่า เป็นไปตามระเบียบ ที่กำหนดไว้หรือไม่
และข้อกำหนดใดที่มีลักษณะส่อไปในทางทุจริตหรือกีดกัน การแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ในกรณีที่ไม่ถูกต้อง
ให้จังหวัดแจ้งองค์กรปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ ดำเนินการแก้ไข หรือกรณีที่ทุจริตคอรัปชั่นอย่างชัดเจนสามารถ
ยกเลิกการประกวดราคาได้
- กำหนดมาตรการให้มีการเผยแพร่เอกสารในเว็บไซต์ของจังหวัด เพื่อให้มีการ
แข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ซึ่งขณะนี้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริม
การปกครองส่วนท้องถิ่น กำลังจะออกกฎระเบียบ เพื่อกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ
จัดซื้อจัดจ้าง โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยวางมาตรการ กำหนดราคากลางของวัสดุก่อสร้างตาม
ราคาที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด ราคา ครุภัณฑ์ตามบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ สำนักงบประมาณ
ในส่วนของการร้องเรียนเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นหรือทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างนั้น สามารถร้องเรียนเรื่อง
ดังกล่าวมายังจังหวัดได้ และได้กำหนดมาตรการและแนวทางในการปฏิบัติ
โดยให้จังหวัดพิจารณาดำเนินการสอบสวน และใช้เวลาพิจารณากำหนดภายใน ๓๐ วัน
สำหรับประเด็นที่เกี่ยวกับการปฏิบัติก่อนการเลือกตั้ง การจัดเลี้ยง การจัดสัมมนา
ต่าง ๆ นั้น ควรพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป เพราะถ้าเป็นการดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นเรื่องอันควร ถ้าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
จะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าสามารถกระทำได้หรือไม่
รวมทั้งได้มีการสั่งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งให้ประพฤติและวางตัวเป็นกลางอย่างเคร่งครัด
และมิให้กระทำการใดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย สำหรับการเลือกตั้งที่ จะมีขึ้นในครั้งต่อไป
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๘ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรค
ไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การใช้พื้นที่ฝึกของศูนย์ฝึกทางยุทธวิธี กองทัพบก ถามนายกรัฐมนตรี
เนื่องจากรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย ติดภารกิจ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุม
สภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๓
๒. กระทู้ถามของนายบุญเติม จันทะวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง โครงการแท็กซี่เอื้ออาทร ถามนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจาก
ผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ติดใจที่จะถาม ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
๓. กระทู้ถามของนายวินัย เสนเนียม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา พรรค
ประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การแก้ปัญหาผู้เลี้ยงกุ้งร่วมกับบริษัทแอควาสตาร์ จำกัด
ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) ได้ตอบกระทู้ว่า
รัฐบาลได้ใช้กลไกของการฟื้นฟูเพื่อขอผ่อนผันและหาช่องทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ให้แก่เกษตรกร
โดยเจรจากับสถาบันการเงินเพื่อขอขยายเวลาการชำระหนี้ออกไป และในส่วนของธนาคาร
เอเซียนั้น ในเบื้องต้นยินดีลดหนี้ให้กับเกษตรกร ๔๐% โดยคิดมูลค่าคงเหลือ ๖๐% และขยายเวลาการ
บังคับหนี้ขายทอดตลาดออกไปจนกว่าจะได้ข้อยุติในเรื่องเกณฑ์การชำระหนี้
สำหรับเรื่องการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรที่เกลี้ยงกุ้งนั้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ผลผลิตหรือราคาตลาด
เพราะรัฐบาลได้ประกันราคารับซื้อกุ้งไว้ แต่ปัญหาอยู่ที่การจะดำเนินการเพื่อฟื้นฟูและ
ช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อให้กลับมามีอาชีพ มีรายได้ และมีเงินเพียงพอต่อการชำระหนี้ให้กับสถาบัน
การเงิน และเพื่อต้องการให้สถาบันการเงินเกิดความเชื่อถือ ดังนั้นปัญหาหลักจึงอยู่ที่วินัยของเกษตรกร
ที่จะเลี้ยงกุ้ง เพราะถ้าเลี้ยงกุ้งตามสุขอนามัย ถูกวิธี ที่กรมประมงหรือส่วนราชการแนะนำ จะทำให้เกษตรกร
มีรายได้สามารถผ่อนชำระหนี้ได้
๔. กระทู้ถามของนายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
พรรคชาติพัฒนา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การนำสถาบันพระพุทธศาสนาเข้าแก้ปัญหายาเสพติด
ที่ระบาดในกลุ่มเยาวชนของชาติทั่วประเทศ ถามนายกรัฐมนตรี
๕. กระทู้ถามของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง เด็กนักเรียนทะเลาะวิวาทและตีกัน ถามนายกรัฐมนตรี
๖. กระทู้ถามของนายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชี
รายชื่อ พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งกระทู้ถามทั่วไปทั้ง ๓ ฉบับนี้ เนื่องจากรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย ติดภารกิจ
จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๓
๗. กระทู้ถามของพันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดนครราชสีมา พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการอนุญาตให้เปิดสถานบริการโบว์ลิ่ง
ถามนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ติดใจที่จะถาม ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
๘. กระทู้ถามของนายเชน เทือกสุบรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาของอาคารสูงที่ก่อสร้างไม่เสร็จถูกทิ้งร้าง ถาม
นายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ติดใจที่จะถาม ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป ตาม
ข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
ปิดประชุมเวลา ๑๕.๔๐ นาฬิกา
------------------------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน
สำนักประชาสัมพันธ์
วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๐.๐๕ นาฬิกา โดยนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธาน
การประชุมได้ดำเนินการพิจารณาตามระเบียบวาระ คือ ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มี
และระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ดังนี้
- รับทราบผลการดำเนินงานตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ได้ตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลไม่ได้ปฏิบัติตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยอภิปรายถึงการใช้
งบกลาง ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาแผนงาน โครงการต่าง ๆ จากเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ (สศช.) แต่ในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม จำนวน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท นั้น
มีโครงการที่ไม่ได้ผ่านการพิจารณาของ สศช. แต่อนุมัติโดยนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี จำนวน ๒๐
โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๗๒ ของงบประมาณทั้งหมด นอกจากนี้ในงบประมาณอุดหนุนเพื่อการพัฒนาองค์กร
ส่วนท้องถิ่นก็ยังคงกระจุกตัว ไม่ได้กระจายไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึงตามที่คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตไว้
ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้รายงานถึงผลการดำเนินการตามข้อสังเกตแต่อย่างใด
จากนั้น นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้อภิปรายชี้แจงว่า
รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับข้อสังเกตต่าง ๆ และพยายามจะดำเนินการตามข้อสังเกตนั้น ๆ ซึ่ง
บางเรื่องก็ยังไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากติดขัดในเรื่องกฎระเบียบ และบางเรื่องต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตาม
ทางรัฐบาลก็ได้พิจารณาเพื่อหาแนวทางแก้ไขแล้ว สำหรับในกรณีของการอนุมัติใช้งบกลางใน
๒๐ โครงการดังกล่าวนั้น เป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ทุกประการ โดยคณะกรรมการจะเป็นผู้รับเรื่องของหน่วยงาน
ที่เสนอขอ ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดก่อน ทั้งนี้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดจะเสนอเรื่องไปยัง
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อพิจารณาว่า โครงการใดสามารถ
เสนอตรงต่อรัฐมนตรีได้เลย หรือโครงการใดต้องเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา
โดยนายกรัฐมนตรีสามารถอนุมัติได้โดยตรง และรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ซึ่งก็ได้อนุมัติไปเพียง ๗๒๙ ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ ๗ เท่านั้น ทั้งนี้ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีทุกคนก็อนุมัติในรูปแบบนี้
ในส่วนข้อสังเกตของการกระจายงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
รัฐบาลได้นำข้อสังเกตดังกล่าวไปประชุมร่วมกัน เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขแล้ว ซึ่งก็ได้หลักเกณฑ์
ในการกระจายงบประมาณว่า ทุกจังหวัดจะต้องได้รับงบประมาณในส่วนนี้ โดยพิจารณาตามสัดส่วนของ
จำนวนประชากรเป็นหลัก สำหรับการตรวจสอบงบดุลบัญชีของรัฐวิสาหกิจนั้นจะมีการตรวจสอบโดยสำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในการใช้ งบประมาณ
พักการประชุมเวลา ๑๓.๑๕ นาฬิกา
ต่อจากนั้นในเวลา ๑๓.๕๕ นาฬิกา ได้มีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายตรีพล เจาะจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการคอรัปชั่นและแนวทางการแก้ไขของรัฐบาล
ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ได้ตอบกระทู้ว่า
๓ ปี ๙ เดือนที่ผ่านมานั้น รัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นมาโดยตลอด ตั้งแต่เริ่มรัฐบาล
และนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้รัฐมนตรีทุกคนดูแลเรื่องการซื้อขายตำแหน่ง และได้มีการแต่งตั้ง
คณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น ซึ่งได้แก้ไขไปได้หลายโครงการแล้ว เช่น
โครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านและเรือขุด เป็นต้น ส่วนกลไกในการปราบปรามการทุจริตนั้น
ขณะนี้เรื่องอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ซึ่งเป็นหน่วยงาน
ที่ต้องรับภาระมาก ดังนั้นรัฐบาลจึงได้จัดตั้งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบใน
วงราชการ (ปปป.) ขึ้นมา เพื่อรับผิดชอบคดีที่เกี่ยวกับข้าราชการ ทำให้เหลือเพียง
คดีใหญ่ และ ปปช. สามารถเลือกคดีมาดำเนินการได้ และรัฐบาลได้นำกฎหมายของสำนักงาน
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มาร่วมในการพิจารณาการปราบปรามการทุจริตด้วย
๒. กระทู้ถามสดของนายวิรัตน์ กัลยาศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง กรณีการยิงข้าราชการระดับสูงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร) ได้ตอบกระทู้ว่า
จากการที่สื่อมวลชนต่างประเทศได้รายงานว่า ผู้ใหญ่ในกองทัพไทยได้เพิ่มกำลังทหารอีก ๖ กองพัน นั้น
ในเรื่องดังกล่าวนี้ขอชี้แจงว่า ไม่เคยมีการเพิ่มกองกำลังทหารลงไปในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งขณะนี้มีกำลัง
ไม่ถึง ๕,๐๐๐ นาย และใช้กำลังทุกนายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการสลับปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทุกคน
ได้พักผ่อน เนื่องจากเห็นว่าสถานการณ์ต้องยืดเยื้อ จึงต้องใช้กำลังอย่างประณีตที่สุด เพราะการใช้
กองกำลังมากต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมาก ส่วนเรื่องความปลอดภัยของประชาชนและ
ข้าราชการ ได้จัดส่งหน่วยลาดตระเวนให้ความคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ประชาชนมาโดยตลอด
นอกจากนี้การปฏิบัติในพื้นที่อันตรายจะให้ใช้รถฮัมวีทำการลาดตระเวน เพราะมีความปลอดภัยสูง
และมีโอกาสที่จะทำลายกองทัพฝ่ายตรงข้ามได้มาก และสถานการณ์ภาคใต้ขณะนี้ดีขึ้นมากแล้ว
แม้จะมีเหตุการณ์รายวันก็ตาม และขอยืนยันว่าในทางปฏิบัติรัฐบาลจะยึดหลักสันติวิธีเป็นหลัก และสิ่งที่
ทำได้ในขณะนี้คือ ต้องเปลี่ยนแนวคิด อุดมการณ์เรื่องการแบ่งแยกดินแดน เพราะเรื่องนี้ถือเป็น
อุปสรรคใหญ่ และมั่นใจว่าถ้าสามารถเปลี่ยนแนวความคิดและล้างแนวความคิดเดิมได้ จะสามารถ
แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ จึงต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแนวความคิดและเปลี่ยนคนที่เชื่อในเรื่องคำสอน
๓. กระทู้ถามสดของนางสาวอรุณี ชำนาญยา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถามรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประชา มาลีนนท์)
ได้ตอบกระทู้ว่า ในอดีตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการทุจริตกันเป็นอย่างมาก และกระทรวงมหาดไทย
ได้มีการจับกุมผู้กระทำความผิดไปหลายรายแล้วเช่นกัน ส่วนกรณีการทุจริตคอรัปชั่นนั้น กระทรวงมหาดไทย โดย
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการวางมาตรการในการป้องกันการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสมยอมราคา ได้มีการกำหนดมาตรการไว้
- กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดสถานที่ที่เป็นกลางในการยื่นซองประกวดราคา และให้สถานที่นั้น
เป็นศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารในการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ
- กำหนดมาตรการให้มีการตรวจสอบเอกสารประกวดราคาว่า เป็นไปตามระเบียบ ที่กำหนดไว้หรือไม่
และข้อกำหนดใดที่มีลักษณะส่อไปในทางทุจริตหรือกีดกัน การแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ในกรณีที่ไม่ถูกต้อง
ให้จังหวัดแจ้งองค์กรปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ ดำเนินการแก้ไข หรือกรณีที่ทุจริตคอรัปชั่นอย่างชัดเจนสามารถ
ยกเลิกการประกวดราคาได้
- กำหนดมาตรการให้มีการเผยแพร่เอกสารในเว็บไซต์ของจังหวัด เพื่อให้มีการ
แข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ซึ่งขณะนี้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริม
การปกครองส่วนท้องถิ่น กำลังจะออกกฎระเบียบ เพื่อกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ
จัดซื้อจัดจ้าง โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยวางมาตรการ กำหนดราคากลางของวัสดุก่อสร้างตาม
ราคาที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด ราคา ครุภัณฑ์ตามบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ สำนักงบประมาณ
ในส่วนของการร้องเรียนเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นหรือทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างนั้น สามารถร้องเรียนเรื่อง
ดังกล่าวมายังจังหวัดได้ และได้กำหนดมาตรการและแนวทางในการปฏิบัติ
โดยให้จังหวัดพิจารณาดำเนินการสอบสวน และใช้เวลาพิจารณากำหนดภายใน ๓๐ วัน
สำหรับประเด็นที่เกี่ยวกับการปฏิบัติก่อนการเลือกตั้ง การจัดเลี้ยง การจัดสัมมนา
ต่าง ๆ นั้น ควรพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป เพราะถ้าเป็นการดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นเรื่องอันควร ถ้าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
จะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าสามารถกระทำได้หรือไม่
รวมทั้งได้มีการสั่งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งให้ประพฤติและวางตัวเป็นกลางอย่างเคร่งครัด
และมิให้กระทำการใดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย สำหรับการเลือกตั้งที่ จะมีขึ้นในครั้งต่อไป
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๘ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรค
ไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การใช้พื้นที่ฝึกของศูนย์ฝึกทางยุทธวิธี กองทัพบก ถามนายกรัฐมนตรี
เนื่องจากรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย ติดภารกิจ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุม
สภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๓
๒. กระทู้ถามของนายบุญเติม จันทะวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง โครงการแท็กซี่เอื้ออาทร ถามนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจาก
ผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ติดใจที่จะถาม ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
๓. กระทู้ถามของนายวินัย เสนเนียม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา พรรค
ประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การแก้ปัญหาผู้เลี้ยงกุ้งร่วมกับบริษัทแอควาสตาร์ จำกัด
ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) ได้ตอบกระทู้ว่า
รัฐบาลได้ใช้กลไกของการฟื้นฟูเพื่อขอผ่อนผันและหาช่องทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ให้แก่เกษตรกร
โดยเจรจากับสถาบันการเงินเพื่อขอขยายเวลาการชำระหนี้ออกไป และในส่วนของธนาคาร
เอเซียนั้น ในเบื้องต้นยินดีลดหนี้ให้กับเกษตรกร ๔๐% โดยคิดมูลค่าคงเหลือ ๖๐% และขยายเวลาการ
บังคับหนี้ขายทอดตลาดออกไปจนกว่าจะได้ข้อยุติในเรื่องเกณฑ์การชำระหนี้
สำหรับเรื่องการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรที่เกลี้ยงกุ้งนั้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ผลผลิตหรือราคาตลาด
เพราะรัฐบาลได้ประกันราคารับซื้อกุ้งไว้ แต่ปัญหาอยู่ที่การจะดำเนินการเพื่อฟื้นฟูและ
ช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อให้กลับมามีอาชีพ มีรายได้ และมีเงินเพียงพอต่อการชำระหนี้ให้กับสถาบัน
การเงิน และเพื่อต้องการให้สถาบันการเงินเกิดความเชื่อถือ ดังนั้นปัญหาหลักจึงอยู่ที่วินัยของเกษตรกร
ที่จะเลี้ยงกุ้ง เพราะถ้าเลี้ยงกุ้งตามสุขอนามัย ถูกวิธี ที่กรมประมงหรือส่วนราชการแนะนำ จะทำให้เกษตรกร
มีรายได้สามารถผ่อนชำระหนี้ได้
๔. กระทู้ถามของนายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
พรรคชาติพัฒนา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การนำสถาบันพระพุทธศาสนาเข้าแก้ปัญหายาเสพติด
ที่ระบาดในกลุ่มเยาวชนของชาติทั่วประเทศ ถามนายกรัฐมนตรี
๕. กระทู้ถามของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง เด็กนักเรียนทะเลาะวิวาทและตีกัน ถามนายกรัฐมนตรี
๖. กระทู้ถามของนายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชี
รายชื่อ พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งกระทู้ถามทั่วไปทั้ง ๓ ฉบับนี้ เนื่องจากรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย ติดภารกิจ
จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๓
๗. กระทู้ถามของพันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดนครราชสีมา พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการอนุญาตให้เปิดสถานบริการโบว์ลิ่ง
ถามนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ติดใจที่จะถาม ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
๘. กระทู้ถามของนายเชน เทือกสุบรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาของอาคารสูงที่ก่อสร้างไม่เสร็จถูกทิ้งร้าง ถาม
นายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ติดใจที่จะถาม ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป ตาม
ข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
ปิดประชุมเวลา ๑๕.๔๐ นาฬิกา
------------------------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน
สำนักประชาสัมพันธ์