ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. คาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยจะปรับตัวดีขึ้นจนถึงสิ้นปี 47 กรรมการผู้จัดการบริษัทหลัก
ทรัพย์ ธนชาติ จำกัด เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ขณะนี้ไปจนถึงสิ้นปี 47 คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะสามารถขึ้นไปแตะ
อยู่ที่ระดับ 700-750 จุดได้ เนื่องจากไตรมาส 4 เป็นช่วงที่มีแรงสนับสนุนในหลายด้าน ได้แก่ การที่บริษัทที่มี
มูลค่าทางการตลาดขนาดใหญ่เข้ามาระดมทุน เช่น ไทยออยล์ เป็นต้น รวมทั้งบริษัทจดทะเบียนต่างทยอยประกาศ
ผลประกอบการในไตรมาส 3 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างดี นอกจากนี้ เชื่อว่าตั้งแต่ไตรมาส 4/47 ไปจนถึงไตร
มาส 1/48 จะมีกำไรที่ดีกว่าไตรมาส 3/47 แต่หลังจากนั้นอาจจะต้องดูตามปัจจัยและสถานการณ์ต่างๆ
ประกอบ (สยามรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
2. การสรรหากรรมการผู้จัดการ ธ.กรุงไทยคาดว่าจะได้ข้อสรุปใน 1-2 สัปดาห์นี้ รมว.คลัง
เปิดเผยถึงการแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการ ธ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอความเห็นของ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งคาดว่าภายใน 1-2 สัปดาห์นี้จะได้ข้อสรุป ซึ่งโดยปกติในการสรรหาผู้
บริหารจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคาร แต่กรณีของ ธ.กรุงไทยมีประเด็นเกี่ยวกับสินเชื่อเข้ามาเกี่ยว
ข้อง จึงต้องให้ ธปท.มีส่วนในการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
3. การดำเนินงานของ ต.ส.ล.ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาประสบความสำเร็จ กรรมการผู้
จัดการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (ต.ส.ล.) เปิดเผยว่า ต.ส.ล.กำลังศึกษาการนำสินค้ามา
ซื้อขายในตลาดเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมันสำปะหลัง น้ำยางข้น หรือข้าวชนิดอื่นๆ โดยคาดว่าจะมีสินค้าตัวใหม่เข้า
มาซื้อขายในตลาดได้ภายในช่วงต้นปี 48 และในวันที่ 8 พ.ย.นี้ ต.ส.ล.จะขยายช่วงเวลาในการซื้อขายรอบ
บ่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาหลังจากการเปิดซื้อขายข้าวและยางพารา มีผลการดำเนินงาน
เป็นที่น่าพอใจ ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันอยู่ที่ 100 สัญญาขึ้นไปต่อวัน นอกจากนี้ ต.ส.
ล.ยังได้ลงนามความร่วมมือกับ Central Japan Commodity Exchange (C-COM) ของญี่ปุ่น เพื่อร่วมมือกัน
ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและพัฒนาการดำเนินงานด้านต่างๆ ของตลาด ซึ่ง C-COM จัดเป็นตลาดสินค้าเกษตรล่วง
หน้าชั้นนำของญี่ปุ่น ซึ่งจะช่วยขยายธุรกรรมด้านการซื้อขายล่วงหน้าไปยังนักลงทุนต่างประเทศ และสร้างเครือ
ข่ายความสัมพันธ์กับตลาดล่วงหน้าทั่วโลก (สยามรัฐ, ข่าวสด)
4. ก.พาณิชย์นำข้อเสนอของห้างสรรพสินค้าและดิสเคาน์สโตร์ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ
ประหยัดพลังงานเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ได้หารือและนำข้อเสนอ
ของห้างสรรพสินค้าและดิสเคาน์สโตร์ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการจำกัดเวลาเปิด-ปิดตามนโยบายประหยัด
พลังงานของรัฐบาล ต่อ รมว.พาณิชย์ เพื่อนำเสนอให้ ครม.พิจารณาในวันนี้ (5 ต.ค.47) โดยข้อมูลที่เตรียม
นำเสนอ ครม.ประกอบด้วย การขอขยายระยะเวลาในการเปิดดำเนินการ รวมทั้งเสนอข้อมูลเกี่ยวกับชั่วโมงทำ
งานที่ลดลงซึ่งส่งผลกระทบต่อยอดขาย โดยปกติหากไม่ปรับเปลี่ยนเวลาการดำเนินการ มีชั่วโมงทำงานสัปดาห์ละ
ประมาณ 100-115 ชั่วโมง แต่ปัจจุบันถูกลดชั่วโมงทำงานเหลือเพียงสัปดาห์ละ 77 ชั่วโมง ทำให้ได้รับผล
กระทบด้านยอดขาย (สยามรัฐ, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจ สรอ. ในช่วง 2 ไตรมาสสุดท้ายปีนี้จะเติบโตร้อยละ 4 รายงานจากกรุง
วอชิงตัน สรอ. เมื่อวันที่ 4 ต.ค.47 John Snow รมว.คลัง สรอ. คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจ สรอ. ใน
ช่วง 2 ไตรมาสสุดท้ายปีนี้จะเติบโตใกล้เคียงกับไตรมาสแรกปี 47 ที่ประมาณร้อยละ 4 ในขณะที่นัก
เศรษฐศาสตร์หลายคนเชื่อว่าเศรษฐกิจของ สรอ. เริ่มชะลอตัวลงในไตรมาส 2 โดยจีดีพีขยายตัวลดลงเหลือ
ร้อยละ 3.3 เทียบต่อปี จากร้อยละ 4.5 ในไตรมาสแรกเทียบต่อปี ส่วนอัตราการจ้างงานนั้น รมว.คลัง
สรอ. มีมุมมองที่ดี แต่นักเศรษฐศาสตร์บางคนเริ่มคาดการณ์ในแง่ไม่ดีนักสำหรับอัตราการเติบโตของการจ้างงาน
ในเดือน ก.ย.47 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนที่สร้างความเสียหายในรัฐฟลอริดาและด้านตะวัน
ออกเฉียงใต้ของ สรอ. (รอยเตอร์)
2. ดัชนี PMI ของจีนในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 4 ต.ค.47 บริษัท Broker CLSA เปิดเผยว่า Purchasing Managers’ Index (PMI) ของจีนซึ่ง
เป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 54.1 ในเดือน ก.ย.47
จากระดับ 53.5 ในเดือนก่อน อันเป็นตัวเลขที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ทั้งนี้ ดัชนีที่สนับสนุน
ให้ PMI (ซึ่งมีดัชนีย่อย 5 ตัว) เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งนั้นคือ การเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่ โดยเพิ่มขึ้น
จากระดับ 55.3 ในเดือน ส.ค.47 เป็น 56.9 ในเดือน ก.ย.47 โดยเฉพาะเป็นคำสั่งซื้อเพื่อการบริโภคใน
ประเทศ ส่วนคำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกอยู่ในทิศทางตรงกันข้ามคือลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่สัมพันธ์กับดัชนีโดยรวม
โดยหัวหน้านักวิเคราะห์เห็นว่าการที่เศรษฐกิจในประเทศของจีนแข็งแกร่งขึ้นทำให้ผู้บริโภคของจีนเริ่มมีการจับ
จ่ายใช้สอยมากขึ้น นอกจากนี้ CLSA ยังเปิดเผยเพิ่มเติมว่าผลการสำรวจดังกล่าวได้จากการสำรวจภาคธุรกิจ
อุตสาหกรรมการผลิต 400 แห่งในช่วง 2 สัปดาห์กลางเดือน ก.ย.โดยดำเนินการสำรวจร่วมกับ British
business research firm NTC ซึ่งการสำรวจดัชนีดังกล่าวเริ่มจัดทำตั้งแต่เดือน เม.ย.47 เป็นต้นมา ทั้ง
นี้ ดัชนีดังกล่าวหากอยู่เหนือกว่าระดับ 50 แสดงถึงการขยายตัว และหากต่ำกว่าระดับ 50 แสดงถึงการหดตัวใน
ภาคอุตสาหกรรมการผลิต (รอยเตอร์)
3 . การส่งออกของมาเลเซียในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 เมื่อเทียบต่อปีชะลอตัวจาก
เดือนก่อน รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 4 ต.ค.47 ยอดส่งออกของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 ใน
เดือน ส.ค.47 เมื่อเทียบกับปีก่อน ชะลอตัวจากเดือน ก.ค.47 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 และต่ำกว่าที่คาดไว้
จากผลสำรวจของรอยเตอร์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 ในขณะที่การนำเข้าซึ่งส่วนใหญ่เพื่อนำมาใช้ในการผลิต
สินค้าเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.1 ในเดือน ส.ค.47 เมื่อเทียบกับปีก่อน ต่ำกว่าที่คาดไว้ร้อยละ 31.6
จากผลสำรวจของรอยเตอร์ แต่สูงกว่าเดือน ก.ค.47 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 โดยยอดเกินดุลการค้าของ
มาเลเซียเพิ่มขึ้นเป็น 8.1 พันล้านริงกิตหรือประมาณ 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้น
จาก 7.6 พันล้านริงกิตในเดือน ส.ค.46 อันเป็นผลจากความต้องการสินค้าเทคโนโลยี่ในตลาดโลกลดลง โดย
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของยอดส่งออกทั้งหมดของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 ใน
เดือน ส.ค.47 เมื่อเทียบต่อปี ลดลงจากร้อยละ 22.7 ในเดือน ก.ค.47 โดยมี สรอ.และจีนเป็นตลาดใหญ่
ประมาณ 1ใน 5 และ 1ใน 10 ของยอดส่งออกทั้งหมดตามลำดับ ยอดส่งออกที่ชะลอตัวลงได้สร้างความกังวลว่า
เศรษฐกิจของมาเลเซียอาจขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 7.6 ในปีนี้ตามที่คาดไว้ หากยอดส่งออกในเดือนที่เหลือของปีนี้
ขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 15 (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือนก.ย.ชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.9 น้อยกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้
รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 47 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ในเดือนก.ย. 47
อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้อยู่ที่ร้อยละ 3.9 เทียบต่อปีลดลงจากร้อยละ 4.8 ในเดือนที่แล้ว ซึ่งเป็นสถิติสูงสุด
นับตั้งแต่เดือนก.ค. 44 แต่ต่ำกว่าผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 11 คนของรอยเตอร์ที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อ
จะอยู่ที่ร้อยละ 4.4 (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล) ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อรายเดือนไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนส.ค.
ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวได้เปิดเผยก่อนที่จะมีการประชุมนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีนี้ ทำให้นักลงทุนพันธบัตรต่าง
คาดกันว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์นี้นับเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้เพื่อกระตุ้นการ
บริโภคภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ธ.กลางเกาหลีใต้ยังคงให้ความสำคัญกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่นับรวม
ราคาอาหาร และพลังงานซึ่งยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนส.ค.ที่ระดับร้อยละ 3.2 ซึ่งเป็นระดับที่สูงเมื่อเทียบ
กับต้นปี สำหรับสาเหตุที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงมาจากการที่สินค้าเกษตรมีราคาถูกลง ในขณะที่สินค้านำ
เข้าโดยเฉพาะน้ำมัน (เกาหลีใต้เป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ในโลก) และวัตถุดิบอื่นๆมีราคาสูงขึ้น
ส่งผลให้สินค้าอุตสาหกรรมมีราคาสูงขึ้น อนึ่ง ธ.กลางเกาหลีใต้มีเป้าหมายในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ พื้นฐาน
ในช่วงปี 47 — 49 ให้ต่ำกว่าระดับร้อยละ 3.5 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 ต.ค. 47 4 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.399 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2186/41.5086 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6250-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 679.13/30.27 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,050/8,150 8,100/8,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.44 38.55 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. คาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยจะปรับตัวดีขึ้นจนถึงสิ้นปี 47 กรรมการผู้จัดการบริษัทหลัก
ทรัพย์ ธนชาติ จำกัด เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ขณะนี้ไปจนถึงสิ้นปี 47 คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะสามารถขึ้นไปแตะ
อยู่ที่ระดับ 700-750 จุดได้ เนื่องจากไตรมาส 4 เป็นช่วงที่มีแรงสนับสนุนในหลายด้าน ได้แก่ การที่บริษัทที่มี
มูลค่าทางการตลาดขนาดใหญ่เข้ามาระดมทุน เช่น ไทยออยล์ เป็นต้น รวมทั้งบริษัทจดทะเบียนต่างทยอยประกาศ
ผลประกอบการในไตรมาส 3 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างดี นอกจากนี้ เชื่อว่าตั้งแต่ไตรมาส 4/47 ไปจนถึงไตร
มาส 1/48 จะมีกำไรที่ดีกว่าไตรมาส 3/47 แต่หลังจากนั้นอาจจะต้องดูตามปัจจัยและสถานการณ์ต่างๆ
ประกอบ (สยามรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
2. การสรรหากรรมการผู้จัดการ ธ.กรุงไทยคาดว่าจะได้ข้อสรุปใน 1-2 สัปดาห์นี้ รมว.คลัง
เปิดเผยถึงการแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการ ธ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอความเห็นของ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งคาดว่าภายใน 1-2 สัปดาห์นี้จะได้ข้อสรุป ซึ่งโดยปกติในการสรรหาผู้
บริหารจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคาร แต่กรณีของ ธ.กรุงไทยมีประเด็นเกี่ยวกับสินเชื่อเข้ามาเกี่ยว
ข้อง จึงต้องให้ ธปท.มีส่วนในการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
3. การดำเนินงานของ ต.ส.ล.ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาประสบความสำเร็จ กรรมการผู้
จัดการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (ต.ส.ล.) เปิดเผยว่า ต.ส.ล.กำลังศึกษาการนำสินค้ามา
ซื้อขายในตลาดเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมันสำปะหลัง น้ำยางข้น หรือข้าวชนิดอื่นๆ โดยคาดว่าจะมีสินค้าตัวใหม่เข้า
มาซื้อขายในตลาดได้ภายในช่วงต้นปี 48 และในวันที่ 8 พ.ย.นี้ ต.ส.ล.จะขยายช่วงเวลาในการซื้อขายรอบ
บ่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาหลังจากการเปิดซื้อขายข้าวและยางพารา มีผลการดำเนินงาน
เป็นที่น่าพอใจ ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันอยู่ที่ 100 สัญญาขึ้นไปต่อวัน นอกจากนี้ ต.ส.
ล.ยังได้ลงนามความร่วมมือกับ Central Japan Commodity Exchange (C-COM) ของญี่ปุ่น เพื่อร่วมมือกัน
ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและพัฒนาการดำเนินงานด้านต่างๆ ของตลาด ซึ่ง C-COM จัดเป็นตลาดสินค้าเกษตรล่วง
หน้าชั้นนำของญี่ปุ่น ซึ่งจะช่วยขยายธุรกรรมด้านการซื้อขายล่วงหน้าไปยังนักลงทุนต่างประเทศ และสร้างเครือ
ข่ายความสัมพันธ์กับตลาดล่วงหน้าทั่วโลก (สยามรัฐ, ข่าวสด)
4. ก.พาณิชย์นำข้อเสนอของห้างสรรพสินค้าและดิสเคาน์สโตร์ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ
ประหยัดพลังงานเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ได้หารือและนำข้อเสนอ
ของห้างสรรพสินค้าและดิสเคาน์สโตร์ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการจำกัดเวลาเปิด-ปิดตามนโยบายประหยัด
พลังงานของรัฐบาล ต่อ รมว.พาณิชย์ เพื่อนำเสนอให้ ครม.พิจารณาในวันนี้ (5 ต.ค.47) โดยข้อมูลที่เตรียม
นำเสนอ ครม.ประกอบด้วย การขอขยายระยะเวลาในการเปิดดำเนินการ รวมทั้งเสนอข้อมูลเกี่ยวกับชั่วโมงทำ
งานที่ลดลงซึ่งส่งผลกระทบต่อยอดขาย โดยปกติหากไม่ปรับเปลี่ยนเวลาการดำเนินการ มีชั่วโมงทำงานสัปดาห์ละ
ประมาณ 100-115 ชั่วโมง แต่ปัจจุบันถูกลดชั่วโมงทำงานเหลือเพียงสัปดาห์ละ 77 ชั่วโมง ทำให้ได้รับผล
กระทบด้านยอดขาย (สยามรัฐ, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจ สรอ. ในช่วง 2 ไตรมาสสุดท้ายปีนี้จะเติบโตร้อยละ 4 รายงานจากกรุง
วอชิงตัน สรอ. เมื่อวันที่ 4 ต.ค.47 John Snow รมว.คลัง สรอ. คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจ สรอ. ใน
ช่วง 2 ไตรมาสสุดท้ายปีนี้จะเติบโตใกล้เคียงกับไตรมาสแรกปี 47 ที่ประมาณร้อยละ 4 ในขณะที่นัก
เศรษฐศาสตร์หลายคนเชื่อว่าเศรษฐกิจของ สรอ. เริ่มชะลอตัวลงในไตรมาส 2 โดยจีดีพีขยายตัวลดลงเหลือ
ร้อยละ 3.3 เทียบต่อปี จากร้อยละ 4.5 ในไตรมาสแรกเทียบต่อปี ส่วนอัตราการจ้างงานนั้น รมว.คลัง
สรอ. มีมุมมองที่ดี แต่นักเศรษฐศาสตร์บางคนเริ่มคาดการณ์ในแง่ไม่ดีนักสำหรับอัตราการเติบโตของการจ้างงาน
ในเดือน ก.ย.47 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนที่สร้างความเสียหายในรัฐฟลอริดาและด้านตะวัน
ออกเฉียงใต้ของ สรอ. (รอยเตอร์)
2. ดัชนี PMI ของจีนในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 4 ต.ค.47 บริษัท Broker CLSA เปิดเผยว่า Purchasing Managers’ Index (PMI) ของจีนซึ่ง
เป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 54.1 ในเดือน ก.ย.47
จากระดับ 53.5 ในเดือนก่อน อันเป็นตัวเลขที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ทั้งนี้ ดัชนีที่สนับสนุน
ให้ PMI (ซึ่งมีดัชนีย่อย 5 ตัว) เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งนั้นคือ การเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่ โดยเพิ่มขึ้น
จากระดับ 55.3 ในเดือน ส.ค.47 เป็น 56.9 ในเดือน ก.ย.47 โดยเฉพาะเป็นคำสั่งซื้อเพื่อการบริโภคใน
ประเทศ ส่วนคำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกอยู่ในทิศทางตรงกันข้ามคือลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่สัมพันธ์กับดัชนีโดยรวม
โดยหัวหน้านักวิเคราะห์เห็นว่าการที่เศรษฐกิจในประเทศของจีนแข็งแกร่งขึ้นทำให้ผู้บริโภคของจีนเริ่มมีการจับ
จ่ายใช้สอยมากขึ้น นอกจากนี้ CLSA ยังเปิดเผยเพิ่มเติมว่าผลการสำรวจดังกล่าวได้จากการสำรวจภาคธุรกิจ
อุตสาหกรรมการผลิต 400 แห่งในช่วง 2 สัปดาห์กลางเดือน ก.ย.โดยดำเนินการสำรวจร่วมกับ British
business research firm NTC ซึ่งการสำรวจดัชนีดังกล่าวเริ่มจัดทำตั้งแต่เดือน เม.ย.47 เป็นต้นมา ทั้ง
นี้ ดัชนีดังกล่าวหากอยู่เหนือกว่าระดับ 50 แสดงถึงการขยายตัว และหากต่ำกว่าระดับ 50 แสดงถึงการหดตัวใน
ภาคอุตสาหกรรมการผลิต (รอยเตอร์)
3 . การส่งออกของมาเลเซียในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 เมื่อเทียบต่อปีชะลอตัวจาก
เดือนก่อน รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 4 ต.ค.47 ยอดส่งออกของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 ใน
เดือน ส.ค.47 เมื่อเทียบกับปีก่อน ชะลอตัวจากเดือน ก.ค.47 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 และต่ำกว่าที่คาดไว้
จากผลสำรวจของรอยเตอร์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 ในขณะที่การนำเข้าซึ่งส่วนใหญ่เพื่อนำมาใช้ในการผลิต
สินค้าเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.1 ในเดือน ส.ค.47 เมื่อเทียบกับปีก่อน ต่ำกว่าที่คาดไว้ร้อยละ 31.6
จากผลสำรวจของรอยเตอร์ แต่สูงกว่าเดือน ก.ค.47 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 โดยยอดเกินดุลการค้าของ
มาเลเซียเพิ่มขึ้นเป็น 8.1 พันล้านริงกิตหรือประมาณ 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้น
จาก 7.6 พันล้านริงกิตในเดือน ส.ค.46 อันเป็นผลจากความต้องการสินค้าเทคโนโลยี่ในตลาดโลกลดลง โดย
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของยอดส่งออกทั้งหมดของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 ใน
เดือน ส.ค.47 เมื่อเทียบต่อปี ลดลงจากร้อยละ 22.7 ในเดือน ก.ค.47 โดยมี สรอ.และจีนเป็นตลาดใหญ่
ประมาณ 1ใน 5 และ 1ใน 10 ของยอดส่งออกทั้งหมดตามลำดับ ยอดส่งออกที่ชะลอตัวลงได้สร้างความกังวลว่า
เศรษฐกิจของมาเลเซียอาจขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 7.6 ในปีนี้ตามที่คาดไว้ หากยอดส่งออกในเดือนที่เหลือของปีนี้
ขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 15 (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือนก.ย.ชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.9 น้อยกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้
รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 47 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ในเดือนก.ย. 47
อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้อยู่ที่ร้อยละ 3.9 เทียบต่อปีลดลงจากร้อยละ 4.8 ในเดือนที่แล้ว ซึ่งเป็นสถิติสูงสุด
นับตั้งแต่เดือนก.ค. 44 แต่ต่ำกว่าผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 11 คนของรอยเตอร์ที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อ
จะอยู่ที่ร้อยละ 4.4 (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล) ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อรายเดือนไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนส.ค.
ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวได้เปิดเผยก่อนที่จะมีการประชุมนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีนี้ ทำให้นักลงทุนพันธบัตรต่าง
คาดกันว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์นี้นับเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้เพื่อกระตุ้นการ
บริโภคภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ธ.กลางเกาหลีใต้ยังคงให้ความสำคัญกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่นับรวม
ราคาอาหาร และพลังงานซึ่งยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนส.ค.ที่ระดับร้อยละ 3.2 ซึ่งเป็นระดับที่สูงเมื่อเทียบ
กับต้นปี สำหรับสาเหตุที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงมาจากการที่สินค้าเกษตรมีราคาถูกลง ในขณะที่สินค้านำ
เข้าโดยเฉพาะน้ำมัน (เกาหลีใต้เป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ในโลก) และวัตถุดิบอื่นๆมีราคาสูงขึ้น
ส่งผลให้สินค้าอุตสาหกรรมมีราคาสูงขึ้น อนึ่ง ธ.กลางเกาหลีใต้มีเป้าหมายในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ พื้นฐาน
ในช่วงปี 47 — 49 ให้ต่ำกว่าระดับร้อยละ 3.5 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 ต.ค. 47 4 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.399 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2186/41.5086 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6250-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 679.13/30.27 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,050/8,150 8,100/8,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.44 38.55 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-