ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. การคัดสรรกรรมการผู้จัดการ ธ.กรุงไทยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้ นางธาริษา
วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีการคัดสรรกรรมการผู้จัดการ
ธ.กรุงไทย ว่า จะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้อย่างแน่นอน หลังจากผู้ว่าการ ธปท.กลับจากการประชุมกองทุนการ
เงินระหว่างประเทศในวันนี้ (6 ต.ค.47) ซึ่ง ธปท.จะหารือกับ ธ.กรุงไทยโดยตรง โดยเมื่อได้ข้อสรุปที่
ชัดเจนแล้วจะแจ้งให้ทราบต่อไป (โลกวันนี้, แนวหน้า, ไทยโพสต์)
2. สภาพคล่องในระบบ ธพ.ที่ลดลงส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางที่สูงขึ้น นายบัณฑิต นิจ
ถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
วันที่ 20 ต.ค.นี้ ธปท.จะนำข้อมูลเศรษฐกิจในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา และข้อมูลของอัตราการเร่งตัวของเงิน
เฟ้อที่สูงขึ้น มาพิจารณาประกอบการตัดสินใจเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินต่อไป โดยจะเน้น
เสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจมากขึ้น เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อ สำหรับสถานการณ์
สภาพคล่องในระบบ ธพ.ไทยในขณะนี้เริ่มปรับตัวลดลงแล้ว โดยข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุด ณ สิ้นเดือน ส.ค.ที่ผ่าน
มา สินเชื่อขยายตัว 9.5% ส่วนเงินฝากขยายตัว 4.4% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการลง
ทุนที่มีมากขึ้น ทำให้สภาพคล่องในระบบลดลง ซึ่งจะมีผลต่อแรงกดดันของอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในทิศทางขาขึ้น
(โลกวันนี้, ข่าวสด)
3. คาดว่าสถานการณ์การแข่งขันของธุรกิจ ธพ.จะรุนแรงมากขึ้นในปี 48 นางธาริษา วัฒน
เกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ธปท.ประกาศใช้แผนพัฒนาระบบ
สถาบันการเงิน (มาสเตอร์แพลน) จะทำให้ ธพ.มีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้นในปี 48 เนื่องจากบริษัทเงินทุน
(บง.) มีการปรับฐานะเป็น ธพ. หรือ ธพ.มีการควบรวมกิจการเพื่อเพิ่มศักยภาพ ซึ่งจะทำให้ธนาคารมีคู่แข่งขัน
ทางธุรกิจมากขึ้น ทั้งนี้ ธปท.คาดว่าการดำเนินธุรกิจของ ธพ.จะมีความเสี่ยงในระยะยาวมากกว่าในระยะสั้น
โดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปีนี้จะยังไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากธนาคารยังมีความสามารถในการปล่อยสินเชื่อ
ได้จากการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ยังดีอยู่ สำหรับเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)
นั้น ปัจจุบันเอ็นพีแอลได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหนี้ที่มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้วย้อนกลับมาเป็นหนี้เสีย
ใหม่ (Re-entry) ได้ลดลงอย่างมาก โดยล่าสุดเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 19,000-20,000 ล.บาทต่อไตรมาส จาก
ก่อนหน้านี้เฉลี่ย 50,000-60,000 ล.บาท ประกอบกับมาตรการของ ธปท.ที่ออกมาควบคุมให้ ธพ.เร่งปรับ
โครงสร้างหนี้ ส่งผลให้จำนวนเอ็นพีแอลลดลง (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
4. ธปท.เข้าตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อของ ธ.ไทยพาณิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่
ธ.ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธปท.ได้เข้าตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร โดยจะนำเกณฑ์
สำรองหนี้จัดชั้นแบบเข้มงวดมาใช้ คาดว่าจะใช้เวลาตรวจสอบ 6 สัปดาห์ หรือทราบผลต้นเดือน ธ.ค. ซึ่งอาจ
ทำให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของธนาคารเพิ่มขึ้นบ้าง เนื่องจาก ธปท.เข้มงวดในการจัดชั้นหนี้สงสัย
จะสูญมากขึ้น แต่เชื่อว่าหากเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจะไม่กระทบต่อการตั้งสำรอง เนื่องจากธนาคารมีการตั้งสำรองค่า
เผื่อหนี้สงสัยจะสูญ รวมถึงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่มากกว่ามาตรฐานกำหนดอยู่แล้ว (โลกวันนี้, ไทยโพสต์)
5. ต.ล.ท.เลื่อนเวลาเปิดซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 5 ต.ค.47 เนื่องจากซอฟท์แวร์ขัดข้อง
รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ต.ล.ท.) ได้มี
การเลื่อนเวลาเปิดซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 5 ต.ค.47 ซึ่งปกติจะเปิดทำการซื้อขายในเวลา 10.00 น. เป็น
เวลา 11.00 น. และได้มีการเลื่อนการเปิดซื้อขายอย่างไม่มีกำหนดอีกครั้ง ก่อนจะสามารถเปิดซื้อขายได้ใน
รอบบ่ายเวลา 14.30 น. โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยเมื่อเปิดซื้อขายปรับตัวลดลง และปิดที่ 673.88 จุด ลดลง
5.25 จุด หรือ 0.77% มูลค่าการซื้อขาย 18,353.62 ล.บาท ซึ่งกรรมการและผู้จัดการ ต.ล.ท. เปิดเผย
ว่า การที่ ต.ล.ท.หยุดการซื้อขายในช่วงเช้าวันที่ 5 ต.ค. เนื่องจากได้รับผลกระทบจากระบบซอฟท์แวร์ของผู้
ให้บริการระบบ ซึ่งขณะนี้มี 2 ราย ปรากฎว่ามี 1 รายประสบปัญหาเกี่ยวกับระบบการซื้อขายส่งผลให้โบรกเกอร์
ที่ใช้บริการของผู้ให้บริการระบบดังกล่าวซึ่งมี 19 รายไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายมายัง ต.ล.ท. จากปัจจุบันที่มี
โบรกเกอร์ทั้งหมด 34 ราย ซึ่งตามข้อบังคับของ ต.ล.ท. หากโบรกเกอร์มากกว่า 1 ใน 3 หรือตั้งแต่ 12
รายขึ้นไปไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ ส่งผลให้ต้องหยุดพักการซื้อขายเป็นการชั่วคราว (ผู้จัดการรายวัน,
กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ภาคบริการของสรอ. ในเดือนก.ย. 47 ชะลอตัว รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 47
The Institute for Supply Management — ISM เปิดเผยว่าในเดือนก.ย. 47 ภาคบริการของสรอ.
ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 80 ของเศรษฐกิจ สรอ. ขยายตัวที่ระดับ 56.7 ลดลงจากระดับ 58.2 ในเดือน ส.ค.
น้อยกว่าที่วอลสตรีทคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะขยายตัวในระดับ 59.0 และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน
พ.ค. 46 ทั้งนี้ระดับที่สูงกว่า 50 แสดงถึงการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจดังกล่าวขณะที่ระดับต่ำกว่า 50
แสดงถึงการหดตัว อย่างไรก็ตามแม้ว่าดัชนีที่มิใช่ภาคอุตสาหกรรมจะชะลอตัวลงรวมทั้งต่ำกว่าการคาดการณ์ แต่
ส่วนประกอบที่สำคัญยังคงมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจ้างงานที่ในเดือนก.ย. ขยายตัวที่ระดับ 54.6
เพิ่มขึ้นจากระดับ 52.5 ในเดือนส.ค. นอกจากนั้นนักเศรษฐศาสตร์ยังคงให้ความสนใจเรื่องต้นทุนพลังงานที่สูง
ขึ้นที่จะกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสรอ. (รอยเตอร์)
2. อัตราการว่างงานในเขตยูโรเดือน ส.ค.47 ทรงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.0 รายงานจาก
กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 5 ต.ค.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติของสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า
อัตราการว่างงานของ 12 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรในเดือน ส.ค.47 ยังทรงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.0 เป็น
เดือนที่ 5 เทียบกับร้อยละ 8.9 ในเดือน ส.ค.46 แสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงไม่สามารถ
กระตุ้นให้เกิดการจ้างงานใหม่ได้ โดย ณ เดือน ส.ค.47 จำนวนคนว่างงานในเขตยูโรมีประมาณ 12.8 ล้าน
คน เป็นไปตามที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ ในขณะที่อัตราการว่างงานของสหภาพยุโรปทั้ง 25 ประเทศ
ในเดือน ส.ค.47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 9.0 เช่นกัน จำนวนคนว่างงานมีประมาณ 19.3 ล้านคน โดยประเทศที่มี
อัตราคนว่างงานต่ำสุดในเขตยูโรในเดือน ส.ค.47 ได้แก่ ลักเซมเบอร์ก อยู่ที่ร้อยละ 4.3 และ ไอร์แลนด์
ร้อยละ 4.4 ส่วนสูงสุด ได้แก่ สเปน ร้อยละ 11.0 ในขณะที่ 2 ประเทศสมาชิกใหม่ของอียู ได้แก่
โปแลนด์ และ สโลวาเกีย มีอัตราการว่างงานสูงสุดที่ระดับร้อยละ 18.7 และ 15.7 ตามลำดับ อนึ่ง อัตรา
การว่างงานของสหภาพยุโรปค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับอัตราการว่างงานของ สรอ. ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 5.4 และ
ร้อยละ 4.8 ในญี่ปุ่น (รอยเตอร์)
3. คนว่างงานในเยอรมนีในเดือน ก.ย.47 มีจำนวน 4.445 ล้านคนสูงสุดในรอบกว่า 6 ปี
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 5 ต.ค.47 กรมแรงงานของเยอรมนีรายงานตัวเลขคนว่างงานในเดือน ก.ย.47 มี
จำนวน 4.445 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10.7 เพิ่มขึ้น 27,000 คนจากเดือนก่อน มากกว่า 2 เท่าของจำนวน
10,000 คนที่คาดไว้จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ และมีจำนวนสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 41 ที่มีคนว่างงาน
จำนวน 4.447 ล้านคน แม้ว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีจะขยายตัวเร็วสุดในรอบ 3 ปีก็ตาม แต่ยังไม่เร็วพอที่จะลด
จำนวนคนว่างงานลง นอกจากนี้การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มผลกำไรและการย้ายฐานการผลิตไปประเทศ
อื่นที่มีค่าแรงถูกกว่าของธุรกิจในเยอรมนีก็ส่งผลให้มีปรับลดพนักงานอย่างต่อเนื่อง กรมแรงงานยังคาดว่าจำนวน
คนว่างงานจะเพิ่มขึ้นสูงกว่า 5 ล้านคนจากปรับโครงสร้างระบบสวัสดิการสังคมซึ่งจะทำให้มีคนอย่างน้อย
300,000 คนที่จะถูกจัดเป็นคนว่างงานและต้องหางานทำ ผลสำรวจความเชื่อมั่นของชาวเยอรมนีพบว่าร้อยละ
76 ไม่เชื่อว่าการปรับโครงสร้างระบบสวัสดิการสังคมของรัฐบาลจะช่วยลดจำนวนคนว่างงานลงแต่กลับจะเพิ่มขึ้น
ในอีก 12 เดือนข้างหน้าและจะไม่ช่วยให้ยอดค้าปลีกและการใช้จ่ายในประเทศที่ยังอยู่ในภาวะซบเซาดีขึ้นได้
(รอยเตอร์)
4. Global PMI ในเดือน ก.ย.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 57.2 รายงาน จากลอนดอน เมื่อ
5 ต.ค.47 ผลสำรวจของ JP Morgan พบว่า The global all-industry index ซึ่งเป็นตัวชี้วัดผลผลิตทั้งใน
ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ โดยอ้างอิงจากดัชนี PMI ที่รวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อ 10,000 คน
ใน 20 ประเทศ ในเดือน ก.ย.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 57.2 จากระดับ 57.4 ในเดือนก่อน แต่ก็ยังอยู่เหนือ
ระดับ 50 ที่เป็นเส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัวของภาวะเศรษฐกิจ ส่วน The global
services index , The service sector new business index และ The global
manufacturing index ในเดือนเดียวกันลดลงอยู่ที่ระดับ 57.3 56.7 และ 54.9 จากระดับ 57.6
57.2 และ 55.8 ในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ ดัชนีชี้วัดภาคอุตสาหกรรมและบริการของประเทศในยุโรปและ
สรอ.ก็ชะลอตัวลงเช่นกัน โดย The Institute for Supply Management (ISM) เปิดเผยถึงดัชนีนอก
ภาคอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน ก.ย.47 ว่าลดลงอยู่ที่ระดับ 56.7 จากระดับ 58.2 ในเดือน ส.ค.47
และต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 59.0 ขณะที่ดัชนีภาคบริการของเขตเศรษฐกิจยุโรปอยู่ใน
ระดับต่ำต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ซึ่ง The companion survey on manufacturing รายงานว่าเป็นตัวเลข
ที่ต่ำที่สุดในรอบ 7 เดือน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ต.ค. 47 5 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.385 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.1793/41.4625 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6250-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 673.88/18.35 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,100/8,200 8,100/8,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.68 38.44 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. การคัดสรรกรรมการผู้จัดการ ธ.กรุงไทยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้ นางธาริษา
วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีการคัดสรรกรรมการผู้จัดการ
ธ.กรุงไทย ว่า จะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้อย่างแน่นอน หลังจากผู้ว่าการ ธปท.กลับจากการประชุมกองทุนการ
เงินระหว่างประเทศในวันนี้ (6 ต.ค.47) ซึ่ง ธปท.จะหารือกับ ธ.กรุงไทยโดยตรง โดยเมื่อได้ข้อสรุปที่
ชัดเจนแล้วจะแจ้งให้ทราบต่อไป (โลกวันนี้, แนวหน้า, ไทยโพสต์)
2. สภาพคล่องในระบบ ธพ.ที่ลดลงส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางที่สูงขึ้น นายบัณฑิต นิจ
ถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
วันที่ 20 ต.ค.นี้ ธปท.จะนำข้อมูลเศรษฐกิจในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา และข้อมูลของอัตราการเร่งตัวของเงิน
เฟ้อที่สูงขึ้น มาพิจารณาประกอบการตัดสินใจเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินต่อไป โดยจะเน้น
เสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจมากขึ้น เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อ สำหรับสถานการณ์
สภาพคล่องในระบบ ธพ.ไทยในขณะนี้เริ่มปรับตัวลดลงแล้ว โดยข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุด ณ สิ้นเดือน ส.ค.ที่ผ่าน
มา สินเชื่อขยายตัว 9.5% ส่วนเงินฝากขยายตัว 4.4% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการลง
ทุนที่มีมากขึ้น ทำให้สภาพคล่องในระบบลดลง ซึ่งจะมีผลต่อแรงกดดันของอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในทิศทางขาขึ้น
(โลกวันนี้, ข่าวสด)
3. คาดว่าสถานการณ์การแข่งขันของธุรกิจ ธพ.จะรุนแรงมากขึ้นในปี 48 นางธาริษา วัฒน
เกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ธปท.ประกาศใช้แผนพัฒนาระบบ
สถาบันการเงิน (มาสเตอร์แพลน) จะทำให้ ธพ.มีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้นในปี 48 เนื่องจากบริษัทเงินทุน
(บง.) มีการปรับฐานะเป็น ธพ. หรือ ธพ.มีการควบรวมกิจการเพื่อเพิ่มศักยภาพ ซึ่งจะทำให้ธนาคารมีคู่แข่งขัน
ทางธุรกิจมากขึ้น ทั้งนี้ ธปท.คาดว่าการดำเนินธุรกิจของ ธพ.จะมีความเสี่ยงในระยะยาวมากกว่าในระยะสั้น
โดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปีนี้จะยังไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากธนาคารยังมีความสามารถในการปล่อยสินเชื่อ
ได้จากการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ยังดีอยู่ สำหรับเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)
นั้น ปัจจุบันเอ็นพีแอลได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหนี้ที่มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้วย้อนกลับมาเป็นหนี้เสีย
ใหม่ (Re-entry) ได้ลดลงอย่างมาก โดยล่าสุดเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 19,000-20,000 ล.บาทต่อไตรมาส จาก
ก่อนหน้านี้เฉลี่ย 50,000-60,000 ล.บาท ประกอบกับมาตรการของ ธปท.ที่ออกมาควบคุมให้ ธพ.เร่งปรับ
โครงสร้างหนี้ ส่งผลให้จำนวนเอ็นพีแอลลดลง (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
4. ธปท.เข้าตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อของ ธ.ไทยพาณิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่
ธ.ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธปท.ได้เข้าตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร โดยจะนำเกณฑ์
สำรองหนี้จัดชั้นแบบเข้มงวดมาใช้ คาดว่าจะใช้เวลาตรวจสอบ 6 สัปดาห์ หรือทราบผลต้นเดือน ธ.ค. ซึ่งอาจ
ทำให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของธนาคารเพิ่มขึ้นบ้าง เนื่องจาก ธปท.เข้มงวดในการจัดชั้นหนี้สงสัย
จะสูญมากขึ้น แต่เชื่อว่าหากเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจะไม่กระทบต่อการตั้งสำรอง เนื่องจากธนาคารมีการตั้งสำรองค่า
เผื่อหนี้สงสัยจะสูญ รวมถึงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่มากกว่ามาตรฐานกำหนดอยู่แล้ว (โลกวันนี้, ไทยโพสต์)
5. ต.ล.ท.เลื่อนเวลาเปิดซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 5 ต.ค.47 เนื่องจากซอฟท์แวร์ขัดข้อง
รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ต.ล.ท.) ได้มี
การเลื่อนเวลาเปิดซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 5 ต.ค.47 ซึ่งปกติจะเปิดทำการซื้อขายในเวลา 10.00 น. เป็น
เวลา 11.00 น. และได้มีการเลื่อนการเปิดซื้อขายอย่างไม่มีกำหนดอีกครั้ง ก่อนจะสามารถเปิดซื้อขายได้ใน
รอบบ่ายเวลา 14.30 น. โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยเมื่อเปิดซื้อขายปรับตัวลดลง และปิดที่ 673.88 จุด ลดลง
5.25 จุด หรือ 0.77% มูลค่าการซื้อขาย 18,353.62 ล.บาท ซึ่งกรรมการและผู้จัดการ ต.ล.ท. เปิดเผย
ว่า การที่ ต.ล.ท.หยุดการซื้อขายในช่วงเช้าวันที่ 5 ต.ค. เนื่องจากได้รับผลกระทบจากระบบซอฟท์แวร์ของผู้
ให้บริการระบบ ซึ่งขณะนี้มี 2 ราย ปรากฎว่ามี 1 รายประสบปัญหาเกี่ยวกับระบบการซื้อขายส่งผลให้โบรกเกอร์
ที่ใช้บริการของผู้ให้บริการระบบดังกล่าวซึ่งมี 19 รายไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายมายัง ต.ล.ท. จากปัจจุบันที่มี
โบรกเกอร์ทั้งหมด 34 ราย ซึ่งตามข้อบังคับของ ต.ล.ท. หากโบรกเกอร์มากกว่า 1 ใน 3 หรือตั้งแต่ 12
รายขึ้นไปไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ ส่งผลให้ต้องหยุดพักการซื้อขายเป็นการชั่วคราว (ผู้จัดการรายวัน,
กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ภาคบริการของสรอ. ในเดือนก.ย. 47 ชะลอตัว รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 47
The Institute for Supply Management — ISM เปิดเผยว่าในเดือนก.ย. 47 ภาคบริการของสรอ.
ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 80 ของเศรษฐกิจ สรอ. ขยายตัวที่ระดับ 56.7 ลดลงจากระดับ 58.2 ในเดือน ส.ค.
น้อยกว่าที่วอลสตรีทคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะขยายตัวในระดับ 59.0 และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน
พ.ค. 46 ทั้งนี้ระดับที่สูงกว่า 50 แสดงถึงการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจดังกล่าวขณะที่ระดับต่ำกว่า 50
แสดงถึงการหดตัว อย่างไรก็ตามแม้ว่าดัชนีที่มิใช่ภาคอุตสาหกรรมจะชะลอตัวลงรวมทั้งต่ำกว่าการคาดการณ์ แต่
ส่วนประกอบที่สำคัญยังคงมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจ้างงานที่ในเดือนก.ย. ขยายตัวที่ระดับ 54.6
เพิ่มขึ้นจากระดับ 52.5 ในเดือนส.ค. นอกจากนั้นนักเศรษฐศาสตร์ยังคงให้ความสนใจเรื่องต้นทุนพลังงานที่สูง
ขึ้นที่จะกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสรอ. (รอยเตอร์)
2. อัตราการว่างงานในเขตยูโรเดือน ส.ค.47 ทรงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.0 รายงานจาก
กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 5 ต.ค.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติของสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า
อัตราการว่างงานของ 12 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรในเดือน ส.ค.47 ยังทรงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.0 เป็น
เดือนที่ 5 เทียบกับร้อยละ 8.9 ในเดือน ส.ค.46 แสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงไม่สามารถ
กระตุ้นให้เกิดการจ้างงานใหม่ได้ โดย ณ เดือน ส.ค.47 จำนวนคนว่างงานในเขตยูโรมีประมาณ 12.8 ล้าน
คน เป็นไปตามที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ ในขณะที่อัตราการว่างงานของสหภาพยุโรปทั้ง 25 ประเทศ
ในเดือน ส.ค.47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 9.0 เช่นกัน จำนวนคนว่างงานมีประมาณ 19.3 ล้านคน โดยประเทศที่มี
อัตราคนว่างงานต่ำสุดในเขตยูโรในเดือน ส.ค.47 ได้แก่ ลักเซมเบอร์ก อยู่ที่ร้อยละ 4.3 และ ไอร์แลนด์
ร้อยละ 4.4 ส่วนสูงสุด ได้แก่ สเปน ร้อยละ 11.0 ในขณะที่ 2 ประเทศสมาชิกใหม่ของอียู ได้แก่
โปแลนด์ และ สโลวาเกีย มีอัตราการว่างงานสูงสุดที่ระดับร้อยละ 18.7 และ 15.7 ตามลำดับ อนึ่ง อัตรา
การว่างงานของสหภาพยุโรปค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับอัตราการว่างงานของ สรอ. ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 5.4 และ
ร้อยละ 4.8 ในญี่ปุ่น (รอยเตอร์)
3. คนว่างงานในเยอรมนีในเดือน ก.ย.47 มีจำนวน 4.445 ล้านคนสูงสุดในรอบกว่า 6 ปี
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 5 ต.ค.47 กรมแรงงานของเยอรมนีรายงานตัวเลขคนว่างงานในเดือน ก.ย.47 มี
จำนวน 4.445 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10.7 เพิ่มขึ้น 27,000 คนจากเดือนก่อน มากกว่า 2 เท่าของจำนวน
10,000 คนที่คาดไว้จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ และมีจำนวนสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 41 ที่มีคนว่างงาน
จำนวน 4.447 ล้านคน แม้ว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีจะขยายตัวเร็วสุดในรอบ 3 ปีก็ตาม แต่ยังไม่เร็วพอที่จะลด
จำนวนคนว่างงานลง นอกจากนี้การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มผลกำไรและการย้ายฐานการผลิตไปประเทศ
อื่นที่มีค่าแรงถูกกว่าของธุรกิจในเยอรมนีก็ส่งผลให้มีปรับลดพนักงานอย่างต่อเนื่อง กรมแรงงานยังคาดว่าจำนวน
คนว่างงานจะเพิ่มขึ้นสูงกว่า 5 ล้านคนจากปรับโครงสร้างระบบสวัสดิการสังคมซึ่งจะทำให้มีคนอย่างน้อย
300,000 คนที่จะถูกจัดเป็นคนว่างงานและต้องหางานทำ ผลสำรวจความเชื่อมั่นของชาวเยอรมนีพบว่าร้อยละ
76 ไม่เชื่อว่าการปรับโครงสร้างระบบสวัสดิการสังคมของรัฐบาลจะช่วยลดจำนวนคนว่างงานลงแต่กลับจะเพิ่มขึ้น
ในอีก 12 เดือนข้างหน้าและจะไม่ช่วยให้ยอดค้าปลีกและการใช้จ่ายในประเทศที่ยังอยู่ในภาวะซบเซาดีขึ้นได้
(รอยเตอร์)
4. Global PMI ในเดือน ก.ย.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 57.2 รายงาน จากลอนดอน เมื่อ
5 ต.ค.47 ผลสำรวจของ JP Morgan พบว่า The global all-industry index ซึ่งเป็นตัวชี้วัดผลผลิตทั้งใน
ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ โดยอ้างอิงจากดัชนี PMI ที่รวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อ 10,000 คน
ใน 20 ประเทศ ในเดือน ก.ย.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 57.2 จากระดับ 57.4 ในเดือนก่อน แต่ก็ยังอยู่เหนือ
ระดับ 50 ที่เป็นเส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัวของภาวะเศรษฐกิจ ส่วน The global
services index , The service sector new business index และ The global
manufacturing index ในเดือนเดียวกันลดลงอยู่ที่ระดับ 57.3 56.7 และ 54.9 จากระดับ 57.6
57.2 และ 55.8 ในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ ดัชนีชี้วัดภาคอุตสาหกรรมและบริการของประเทศในยุโรปและ
สรอ.ก็ชะลอตัวลงเช่นกัน โดย The Institute for Supply Management (ISM) เปิดเผยถึงดัชนีนอก
ภาคอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน ก.ย.47 ว่าลดลงอยู่ที่ระดับ 56.7 จากระดับ 58.2 ในเดือน ส.ค.47
และต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 59.0 ขณะที่ดัชนีภาคบริการของเขตเศรษฐกิจยุโรปอยู่ใน
ระดับต่ำต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ซึ่ง The companion survey on manufacturing รายงานว่าเป็นตัวเลข
ที่ต่ำที่สุดในรอบ 7 เดือน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ต.ค. 47 5 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.385 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.1793/41.4625 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6250-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 673.88/18.35 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,100/8,200 8,100/8,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.68 38.44 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-