สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ได้ขอหารือในเรื่องต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุม ประธานได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้พิจารณาและรับทราบร่างแผนปฏิบัติการ เพื่อ
กำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจทางการเงิน การคลัง และงบประมาณ
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและร่างแผนปฏิบัติการถ่ายโอนบุคลากร
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๒. รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้
พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๖ ฉบับ คือ
๒.๑ ร่างพระราชบัญญัติองค์กรอิสระผู้บริโภค พ.ศ. ….
ซึ่ง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒.๒ ร่างพระราชบัญญัติคนพิการ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ เป็นผู้เสนอ
๒.๓ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายสุวโรช พะลัง กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒.๔ ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารและวิธีการต้องห้ามทาง
การกีฬา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒.๕ ร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายจำรัส เวียงสงค์ เป็นผู้เสนอ
๒.๖ ร่างพระราชบัญญัติกองทุนส่งเสริมภาพยนตร์ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายจำรัส เวียงสงค์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง
คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง
เห็นด้วย ๑๙๕ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๒. ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง
คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า เรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
พัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติในการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ ไม่ชัดเจนว่าจะต้องเป็น
ผู้ประสานงานเองหรือไม่อย่างไร และการที่กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจในการศึกษา วิเคราะห์ และ
ประเมินผลการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรค ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นการกำหนด
ให้คณะกรรมการซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติมีอำนาจประเมินการทำงานของคณะ กรรรมการเองอาจไม่ถูกต้อง
ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า เรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
ในการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐนั้น ต้องการให้คณะกรรมการเป็นหลักในการประสานงานโดยทำหน้าที่วางนโยบายและเป็นผู้กำหนด
เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเท่านั้น สำหรับการประสานงานเป็นเรื่องของหน่วยงานของ รัฐต้องเป็นผู้ดำเนินการ
เรื่องการที่กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจในการศึกษา วิเคราะห์ และ
ประเมินผลนั้น เนื่องจากคณะกรรมการไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง
จึงกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ดังกล่าว เพื่อจะได้จัดวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไปได้ เมื่อสมาชิกได้อภิปรายและกรรมาธิการได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๑๖ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
๓. ร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกอภิปรายมาตรา ๓ว่าด้วย การยกเลิกกฎหมายหลายฉบับโดยเฉพาะพระราชบัญญัติกู้เงินเพื่อการป้องกันประเทศ พ.ศ. ๒๕๑๙ พระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากรัฐบาลต่างประเทศ เพื่อจัดซื้อยุทโธปกรณ์ ทางทหาร พ.ศ. ๒๕๒๔ และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๔๑ เนื่องจากเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่รัฐบาลต้องยกเลิกกฎหมายเหล่านี้ เพราะเมื่อมีความจำเป็นต้องกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อใช้ในการใดสามารถออกกฎหมายเพื่อการนั้นได้ทันที นอกจากนี้เสนอขอให้เพิ่มเติมกฎหมายเพื่อให้ยกเลิกมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณางบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ ว่าด้วย ข้อกำหนดรัฐวิสาหกิจที่จะกู้เงินจากองค์กรใดจะต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐมนตรีและผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ โดยกฎหมายฉบับใหม่นี้ได้กำหนดให้อยู่ในอำนาจของรัฐมนตรีเพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่เหมาะสมกว่าการให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณมีอำนาจในการนี้ด้วย ต่อมาเป็นการอภิปรายในส่วนของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคลที่ต้องการกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินการ ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรี ซึ่งในความเป็นจริงควรกำหนดให้รวมรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเดิมด้วย และเมื่อเป็นการกู้เพื่อการลงทุนต้องเสนอแผนการลงทุนให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาก่อน และหากเกินกว่า ๕๐ ล้านบาทขึ้นไป ต้องขออนุมัติรัฐมนตรีและเมื่อได้รับเงินกู้แล้วต้องจ่ายตามวัตถุประสงค์ของรัฐวิสาหกิจนั้น โดยไม่ต้องส่งกระทรวงการคลังตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณางบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ ในช่วงท้ายสมาชิก ฯ ได้อภิปรายเกี่ยวกับการกู้เงินจากสถาบันการเงินและคุณสมบัติของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะในส่วนของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ปรึกษาทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง ไม่สามารถเป็นคณะ
กรรมการชุดนี้ ซึ่งกรรมาธิการเสียงข้างน้อยไม่เห็นด้วยในกรณีนี้ เพราะไม่มีการระบุชัดเจนว่าบุคคลเหล่านี้ครอบคลุมไปถึงใครบ้าง ดังนั้นจึงควรกำหนดให้ชัดเจนว่าเป็นบุคคลกลุ่มใด
จากประเด็นการอภิปรายของสมาชิกฯ กรรมาธิการวิสามัญได้ตอบชี้แจงกรณี การ ยกเลิกกฎหมายหลายฉบับนั้น เพราะได้มีการกู้เงินภายใต้การบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้และมีการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้อย่างชัดเจนแล้ว ดังนั้น จึงควรยกเลิกกฎหมายในมาตรา ๓ และกรณีการไม่เพิ่มอนุมาตรา ๘ เพราะมีการบังคับใช้ในมาตรา ๙ ทวิ ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณางบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ อยู่แล้ว พร้อมทั้งมีกฎหมายว่าด้วย นิติบุคคลเป็นการเฉพาะในขณะที่วิธีการปฏิบัติกรณีเช่นนี้นั้น รัฐวิสาหกิจเสนอแผนการลงทุนให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาอยู่แล้ว นอกจากนี้กรรมาธิการต้องการให้การบังคับใช้ในเรื่องนี้กับรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคลเป็นการเฉพาะด้วย จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นด้วยกับการพิจารณาคณะกรรมาธิการวิสามัญ ในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง ๒๑๘ เสียง และเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งจะได้ส่งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไป
๔. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
จากนั้น นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงว่า โดยที่การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญและให้ผลประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการ เมื่อออกจากราชการ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก และจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก โดยกองทุนจะนำเงินไปลงทุน เพื่อหาผลประโยชน์ตอบแทนคืนสู่สมาชิก แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินกิจการของกองทุนและเพื่อประโยชน์ของสมาชิก สมควรกำหนดให้กองทุนสามารถดำเนินกิจการของกองทุนได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยอาจมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการกองทุน และให้สมาชิกสามารถส่งเงินสะสมเข้ากองทุนได้ตามความสามารถของแต่ละคน รวมทั้งสามารถเลือกแผนการลงทุนในหลักทรัพย์ที่กองทุนจัดทำขึ้น ซึ่งสมาชิกจะได้รับผลตอบแทนตามอัตราตอบแทนของ
แต่ละแผนการลงทุน นอกจากนั้น สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในกรณีที่กองทุนบริหารเงินของ
ผู้ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินคืน แต่ยังไม่ขอรับเงินคืนหรือขอทยอยรับเงินคืน และกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเงินคืนขอโอนเงินไปยังกองทุนอื่น รวมทั้งการส่งเงินประเดิมหรือเงินชดเชยคืนแก่กระทรวงการคลัง ในกรณีที่ไม่มีการจ่ายเงินประเดิมหรือเงินชดเชย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
หลังจากพิจารณาเสร็จแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๗๔ เสียง ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณา ต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๓๐ วัน
๕. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
จากนั้น นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงว่า โดยที่มาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้ผู้อุปการะเลี้ยงดูบุพการี ซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในประมวลรัษฎากร ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการอุปการะเลี้ยงดูบุพการี สมควรกำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน หรือบิดามารดาของสามี หรือภริยาของตนสามารถนำค่าอุปการะเลี้ยงดูดังกล่าว มาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ จากนั้น สมาชิกได้อภิปรายสนับสนุนว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะช่วยสนับสนุนให้บุตรหลานเลี้ยงดูบิดามารดาของตนมากขึ้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสอดรับกับมาตรการต่าง ๆ สำหรับช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ และทั้งนี้ ได้ตั้งข้อสังเกตว่าควรเปิดกว้างให้ ครอบคลุมถึงบุตรซึ่งอุปการะเลี้ยงดูบุพการี แต่มิได้อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันด้วย
หลังจากพิจารณาเสร็จแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๗๐ เสียง ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณา ต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ประธานการประชุมเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา จากผู้แทนของพรรคการเมือง ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๖๑ จำนวน ๑๙ คน โดยมีสัดส่วนของแต่ละพรรคการเมืองดังนี้ พรรคไทยรักไทย ๑๓ คน พรรคประชาธิปัตย์ ๕ คน พรรคชาติไทย ๑ คน ที่ประชุมเห็นชอบ
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๖ นาฬิกา
---------------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน
สำนักประชาสัมพันธ์
วันพุธที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ได้ขอหารือในเรื่องต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุม ประธานได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้พิจารณาและรับทราบร่างแผนปฏิบัติการ เพื่อ
กำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจทางการเงิน การคลัง และงบประมาณ
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและร่างแผนปฏิบัติการถ่ายโอนบุคลากร
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๒. รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้
พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๖ ฉบับ คือ
๒.๑ ร่างพระราชบัญญัติองค์กรอิสระผู้บริโภค พ.ศ. ….
ซึ่ง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒.๒ ร่างพระราชบัญญัติคนพิการ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ เป็นผู้เสนอ
๒.๓ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายสุวโรช พะลัง กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒.๔ ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารและวิธีการต้องห้ามทาง
การกีฬา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒.๕ ร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายจำรัส เวียงสงค์ เป็นผู้เสนอ
๒.๖ ร่างพระราชบัญญัติกองทุนส่งเสริมภาพยนตร์ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายจำรัส เวียงสงค์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง
คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง
เห็นด้วย ๑๙๕ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๒. ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง
คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า เรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
พัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติในการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ ไม่ชัดเจนว่าจะต้องเป็น
ผู้ประสานงานเองหรือไม่อย่างไร และการที่กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจในการศึกษา วิเคราะห์ และ
ประเมินผลการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรค ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นการกำหนด
ให้คณะกรรมการซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติมีอำนาจประเมินการทำงานของคณะ กรรรมการเองอาจไม่ถูกต้อง
ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า เรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
ในการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐนั้น ต้องการให้คณะกรรมการเป็นหลักในการประสานงานโดยทำหน้าที่วางนโยบายและเป็นผู้กำหนด
เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเท่านั้น สำหรับการประสานงานเป็นเรื่องของหน่วยงานของ รัฐต้องเป็นผู้ดำเนินการ
เรื่องการที่กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจในการศึกษา วิเคราะห์ และ
ประเมินผลนั้น เนื่องจากคณะกรรมการไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง
จึงกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ดังกล่าว เพื่อจะได้จัดวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไปได้ เมื่อสมาชิกได้อภิปรายและกรรมาธิการได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๑๖ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
๓. ร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกอภิปรายมาตรา ๓ว่าด้วย การยกเลิกกฎหมายหลายฉบับโดยเฉพาะพระราชบัญญัติกู้เงินเพื่อการป้องกันประเทศ พ.ศ. ๒๕๑๙ พระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากรัฐบาลต่างประเทศ เพื่อจัดซื้อยุทโธปกรณ์ ทางทหาร พ.ศ. ๒๕๒๔ และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๔๑ เนื่องจากเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่รัฐบาลต้องยกเลิกกฎหมายเหล่านี้ เพราะเมื่อมีความจำเป็นต้องกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อใช้ในการใดสามารถออกกฎหมายเพื่อการนั้นได้ทันที นอกจากนี้เสนอขอให้เพิ่มเติมกฎหมายเพื่อให้ยกเลิกมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณางบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ ว่าด้วย ข้อกำหนดรัฐวิสาหกิจที่จะกู้เงินจากองค์กรใดจะต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐมนตรีและผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ โดยกฎหมายฉบับใหม่นี้ได้กำหนดให้อยู่ในอำนาจของรัฐมนตรีเพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่เหมาะสมกว่าการให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณมีอำนาจในการนี้ด้วย ต่อมาเป็นการอภิปรายในส่วนของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคลที่ต้องการกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินการ ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรี ซึ่งในความเป็นจริงควรกำหนดให้รวมรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเดิมด้วย และเมื่อเป็นการกู้เพื่อการลงทุนต้องเสนอแผนการลงทุนให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาก่อน และหากเกินกว่า ๕๐ ล้านบาทขึ้นไป ต้องขออนุมัติรัฐมนตรีและเมื่อได้รับเงินกู้แล้วต้องจ่ายตามวัตถุประสงค์ของรัฐวิสาหกิจนั้น โดยไม่ต้องส่งกระทรวงการคลังตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณางบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ ในช่วงท้ายสมาชิก ฯ ได้อภิปรายเกี่ยวกับการกู้เงินจากสถาบันการเงินและคุณสมบัติของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะในส่วนของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ปรึกษาทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง ไม่สามารถเป็นคณะ
กรรมการชุดนี้ ซึ่งกรรมาธิการเสียงข้างน้อยไม่เห็นด้วยในกรณีนี้ เพราะไม่มีการระบุชัดเจนว่าบุคคลเหล่านี้ครอบคลุมไปถึงใครบ้าง ดังนั้นจึงควรกำหนดให้ชัดเจนว่าเป็นบุคคลกลุ่มใด
จากประเด็นการอภิปรายของสมาชิกฯ กรรมาธิการวิสามัญได้ตอบชี้แจงกรณี การ ยกเลิกกฎหมายหลายฉบับนั้น เพราะได้มีการกู้เงินภายใต้การบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้และมีการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้อย่างชัดเจนแล้ว ดังนั้น จึงควรยกเลิกกฎหมายในมาตรา ๓ และกรณีการไม่เพิ่มอนุมาตรา ๘ เพราะมีการบังคับใช้ในมาตรา ๙ ทวิ ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณางบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ อยู่แล้ว พร้อมทั้งมีกฎหมายว่าด้วย นิติบุคคลเป็นการเฉพาะในขณะที่วิธีการปฏิบัติกรณีเช่นนี้นั้น รัฐวิสาหกิจเสนอแผนการลงทุนให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาอยู่แล้ว นอกจากนี้กรรมาธิการต้องการให้การบังคับใช้ในเรื่องนี้กับรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคลเป็นการเฉพาะด้วย จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นด้วยกับการพิจารณาคณะกรรมาธิการวิสามัญ ในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง ๒๑๘ เสียง และเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งจะได้ส่งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไป
๔. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
จากนั้น นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงว่า โดยที่การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญและให้ผลประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการ เมื่อออกจากราชการ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก และจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก โดยกองทุนจะนำเงินไปลงทุน เพื่อหาผลประโยชน์ตอบแทนคืนสู่สมาชิก แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินกิจการของกองทุนและเพื่อประโยชน์ของสมาชิก สมควรกำหนดให้กองทุนสามารถดำเนินกิจการของกองทุนได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยอาจมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการกองทุน และให้สมาชิกสามารถส่งเงินสะสมเข้ากองทุนได้ตามความสามารถของแต่ละคน รวมทั้งสามารถเลือกแผนการลงทุนในหลักทรัพย์ที่กองทุนจัดทำขึ้น ซึ่งสมาชิกจะได้รับผลตอบแทนตามอัตราตอบแทนของ
แต่ละแผนการลงทุน นอกจากนั้น สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในกรณีที่กองทุนบริหารเงินของ
ผู้ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินคืน แต่ยังไม่ขอรับเงินคืนหรือขอทยอยรับเงินคืน และกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเงินคืนขอโอนเงินไปยังกองทุนอื่น รวมทั้งการส่งเงินประเดิมหรือเงินชดเชยคืนแก่กระทรวงการคลัง ในกรณีที่ไม่มีการจ่ายเงินประเดิมหรือเงินชดเชย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
หลังจากพิจารณาเสร็จแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๗๔ เสียง ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณา ต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๓๐ วัน
๕. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
จากนั้น นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงว่า โดยที่มาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้ผู้อุปการะเลี้ยงดูบุพการี ซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในประมวลรัษฎากร ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการอุปการะเลี้ยงดูบุพการี สมควรกำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน หรือบิดามารดาของสามี หรือภริยาของตนสามารถนำค่าอุปการะเลี้ยงดูดังกล่าว มาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ จากนั้น สมาชิกได้อภิปรายสนับสนุนว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะช่วยสนับสนุนให้บุตรหลานเลี้ยงดูบิดามารดาของตนมากขึ้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสอดรับกับมาตรการต่าง ๆ สำหรับช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ และทั้งนี้ ได้ตั้งข้อสังเกตว่าควรเปิดกว้างให้ ครอบคลุมถึงบุตรซึ่งอุปการะเลี้ยงดูบุพการี แต่มิได้อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันด้วย
หลังจากพิจารณาเสร็จแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๗๐ เสียง ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณา ต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ประธานการประชุมเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา จากผู้แทนของพรรคการเมือง ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๖๑ จำนวน ๑๙ คน โดยมีสัดส่วนของแต่ละพรรคการเมืองดังนี้ พรรคไทยรักไทย ๑๓ คน พรรคประชาธิปัตย์ ๕ คน พรรคชาติไทย ๑ คน ที่ประชุมเห็นชอบ
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๖ นาฬิกา
---------------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน
สำนักประชาสัมพันธ์