การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๐.๑๕ นาฬิกา โดยนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธาน
การประชุมได้ดำเนินการพิจารณาตามระเบียบวาระ คือ ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มี
และระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ดังนี้
๑. รับทราบรายงานกิจการประจำปีงบดุล และบัญชีกำไรขาดทุนของธนาคารพัฒนา
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
๒. รับทราบรายงานการเงินของแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖ โดย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งข้อสังเกตถึงการจัดทำรายงานการเงินของแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖ ว่า
จัดทำได้อย่างสมบูรณ์และมีรายละเอียด โดยแยกหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ
ของประเทศที่ดีขึ้น ทำให้รายรับโดยรวมจากการจัดเก็บภาษีของประเทศเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามในรายงาน
ฉบับนี้ไม่ได้แสดงรายละเอียดในส่วนของเงินนอกงบประมาณที่นอกเหนือ จากเงินคงคลัง และในส่วนของ
รายจ่ายชดใช้ที่แสดงในรายงานก็มีตัวเลขไม่ตรงกับในกฎหมาย งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๗
นอกจากนี้ยังได้ตั้งคำถามถึงการที่รายได้จากการจัดเก็บภาษี เพิ่มมากขึ้นนั้นเป็นการเก็บภาษีจากสินค้าทาง
ด้านการเกษตรมากน้อยเพียงใด
จากนั้น นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้อภิปรายชี้แจงว่า
รายงานการเงินของแผ่นดินนั้นเป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปี และพยายามที่จะให้เกิดความรวดเร็ว
ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงในหลาย ๆ เรื่อง โดยในส่วนของเงินนอกงบประมาณ
ที่แสดงไว้ในรายงานนั้นเป็นเงินฝากและเงินทุนที่ส่วนราชการต้องนำมาฝาก และคาดว่าในอนาคตจะสามารถ
จัดทำระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง ซึ่งจะสามารถนำเงินนอกงบที่เหลือเข้ามาแสดงไว้ในรายงานได้ สำหรับกรณีที่
ตัวเลขของเงินรายจ่ายชดใช้ในรายงานไม่ตรงกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๗ นั้น เนื่องจากมียอด
ในเรื่องของเหรียญกษาปณ์ชำรุดจำนวนหนึ่ง ทำให้ยอดเงินไม่ตรงกัน นอกจากนี้เรื่องของปัญหาเกี่ยวกับ
กฎหมายการเงินการคลังภาครัฐที่ใช้การเบิกจ่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ นายวราเทพยืนยันว่า
จะยังไม่มีการแก้ไขกฎหมายแต่อย่างใด แต่จะมีการแก้ไขหรือไม่นั้นต้องมีการพิจารณากันอย่างรอบคอบ
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับรายได้จากการเก็บภาษีทางตรงที่สูงขึ้นกว่า ๖ หมื่นล้านบาทนั้น
เป็นการเพิ่มขึ้นจากบุคคลธรรมดา เพียงไม่ถึง ๑% ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด
ซึ่งการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มมากขึ้นนั้นก็เนื่องมาจากการที่เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น และมีการเปิดให้
นิติบุคคลเข้าสู่ระบบภาษีได้มากขึ้น โดยในส่วนภาระหนี้ของประเทศนั้นรัฐบาลพยายามทำให้ภาระ
เงินกู้และเงินขาดทุนสะสมลดลง โดยจะเห็นได้จากงบประมาณในปี ๒๕๔๘ ที่ไม่มีการกู้ เพราะต้องการ
จัดทำงบประมาณแบบสมดุล และในอนาคตก็จะไม่มีภาระเงินกู้ ส่วนเรื่องการค้ำประกันเงินกู้ของ
รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลจะต้องชำระเงินต้นกว่า ๙ หมื่นล้านบาทนั้น ส่วนใหญ่เป็นรัฐวิสาหกิจในด้าน
สาธารณูปโภคที่มีการขาดทุนสะสม เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย องค์การรับส่งพัสดุ และใน
รัฐวิสาหกิจที่สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นต้น ทั้งนี้สำหรับ
ข้อเสนอแนะต่าง ๆ นั้น ทางรัฐบาลจะนำไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
๓. รับทราบรายงานการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ
พ.ศ. ๒๕๔๒
๔. รับทราบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่าง
ประเทศ พ.ศ. …. โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายถึงการจัดตั้งสำนักงานดังกล่าว ซึ่งรัฐบาล
ต้องการมุ่งเน้นนโยบายความช่วยเหลือระหว่างประเทศให้สัมฤทธิ์ผล เพื่อพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมและ
ความร่วมมืออื่น ๆ ตลอดจนส่งผลให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และประเทศชาติมีรายได้เพิ่ม
มากขึ้น และให้ข้อสังเกตถึงบทบาท อำนาจหน้าที่ของสำนักงานที่มีความซ้ำซ้อนกับกองทุนให้ความช่วยเหลือ
พัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ในส่วนของฐานะและภารกิจในการให้ความช่วยเหลือกับ
ต่างประเทศให้เกิดประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ และไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
แสวงหาผลประโยชน์นั้นยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร
ต่อมานายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้อภิปรายชี้แจงว่า การจัดตั้งสำนักงาน
ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศนั้น เป็นการโอนย้ายกรมวิเทศสหการ สำนักงานปลัด
สำนักนายกรัฐมนตรี ไปสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อรองรับภารกิจใหม่ ๆ ของรัฐบาล ซึ่งเป็น
ส่วนราชการที่ไม่ได้มีฐานะเป็นกรม และมีหัวหน้าเป็นอธิบดี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่แตกต่างจากกองทุน
ให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยสำนักงานนี้จะมีภารกิจในการให้ความ
ช่วยเหลือด้านทุน เทคนิค วิชาการ การวิจัย การฝึกอบรม และการพัฒนา มากกว่าการให้กู้เงิน ซึ่ง
อาจจะให้ความช่วยเหลือโดยตรงหรือร่วมมือกับต่างประเทศไปช่วยเหลือประเทศที่ ๓ อาทิ ความร่วมมือ
กับองค์การอนามัยโลกเพื่อการช่วยเหลือทางการแพทย์ในอัฟกานิสถาน โดยองค์การอนามัยโลกจะให้ความ
ช่วยเหลือทางด้านเงินทุน ส่วนประเทศไทยจะให้ความช่วยเหลือด้านกำลังคน นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับหลาย ๆ
ประเทศ ในการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูในอินโดนีเซียอีกด้วย ทั้งนี้สำนักงาน ดังกล่าวจะไม่โตขึ้นกว่านี้
เพราะมีการจำกัดด้านของอัตรากำลัง
พักการประชุมเวลา ๑๒.๐๕ นาฬิกา
ต่อจากนั้นในเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ได้มีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๒ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายปรีชา มุสิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร พรรคประชาธิปัตย์
เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี
(นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ได้ตอบกระทู้ว่า การเกิดไข้หวัดนกรอบที่สองนี้ จากผลของกลุ่มนักวิชาการหลาย ๆ
กลุ่มทั้งจากกระทรวงสาธารณสุข นักวิชาการในประเทศและต่างประเทศได้ข้อสรุปว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า
ไข้หวัดนกในรอบสองนี้เกิดขึ้นจากอะไร อาจติดเชื้อจากนกที่อยู่ในประเทศหรือต่างประเทศ หรืออาจเป็นเชื้อตกค้าง
ในรอบแรกที่ผ่านมา นักวิชาการจึงได้แจ้ง ให้ทราบว่า จะต้องศึกษาโอกาสของความเป็นไปได้
การศึกษาสาเหตุโดยต้องมีการตรวจสอบกันต่อไป ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถวินิจฉัยชี้ชัดได้ว่า เชื้อได้มาจากที่ไหน
สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นในจังหวัดกำแพงเพชร ได้เริ่มมีการติดต่อคนสู่คนนั้น จากการแถลงข่าวโดยปลัดกระทรวง
สาธารณสุขที่ผ่านมาว่า ในส่วนของเด็กที่เสียชีวิตไปแล้ว และยังไม่มี ผลพิสูจน์เป็นทางการที่ชัดเจนว่า
เป็นไข้หวัดนกหรือไม่ ดังนั้นจึงไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเชื้อนี้ติดจากคน สู่คนหรือไม่ แต่อาจจะเป็นไปได้
ส่วนทางด้านเตรียมการป้องกันนั้น แม้ว่าจะพิสูจน์ไม่ได้ชัดเจน ในขณะนี้ว่า
ไข้หวัดนกจะระบาดได้จากทางไก่สู่คนหรือคนสู่คน และเชื้อดังกล่าวนี้มาจากที่ไหนใน รอบสองนี้
ได้มีการป้องกันในพื้นที่ต่างจังหวัดโดยมีการเตรียมบุคลากรด้านอาสาสมัครสาธารณสุข องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องสาธารณสุขโดยส่งกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างเต็มที่ รวมทั้งสร้างความเข้าใจ
ให้กับประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ รวมทั้งมีการดูแลตัวเอง ดูแลไก่ เพื่อไม่ให้ติดเชื้อด้วย
และรัฐบาลจะดำเนินการหาข้อสรุปในการป้องกัน รวมทั้งมาตรการในการเลี้ยงสัตว์ปีกอย่างชัดเจนด้วย
โดยกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเจรจาวางมาตรการให้กระชับยิ่งขึ้น ตลอดจนเพิ่มบุคลากรในการดูแลอย่างเต็มที่
๒. กระทู้ถามสดของนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การให้เอกชนร่วมลงทุนและบริหารท่าเรือแหลมฉบัง
ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ได้ตอบกระทู้ว่า นโยบาย
ของการท่าเรือแหลมฉบังให้เอกชนเข้ามาบริหารนั้น เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีต แต่ปรากฏว่า การบริหารโดย
รัฐวิสาหกิจไม่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับเมื่อมีการย้ายจากท่าเรือกรุงเทพไปแหลมฉบัง จึงได้มีการนำบริษัท
เอกชนมาร่วมลงทุนบริหาร เพื่อจะได้มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า ซึ่งจากอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
ได้มีผู้รับสัมปทาน ๑๐ ราย มีต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุนด้วย โดยกำหนดเงื่อนไข TOR ว่า
ผู้ประกอบการที่จะมาดำเนินการนั้น ต้องมีสัดส่วนคนไทยหรือนิติบุคคลไทย ๕๑% ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลได้กระทำอยู่ขณะนี้
เพื่อต้องการให้ท่าเรือมีผู้บริหารที่ทันสมัยเข้ามาบริหารจัดการเพื่อต้นทุนต่ำ ต้องการนำกำไรจากบริษัทเอกชน
นำมาจ่ายให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย ในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นเงื่อนไขของ รัฐบาลที่ต้องการคุ้มต้นทุน
ที่ได้ลงทุนไปโดยไม่หวังผลกำไร เนื่องจากคนไทยไม่มีประสบการณ์ในการเดินเรือ ดังนั้นการหาบริษัทที่มี
ประสบการณ์มาบริหารเพื่อจะได้ต้นทุนต่ำในเรื่องดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นเรื่องดีมาก
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๘ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง นโยบายทรัพยากรน้ำ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้ตอบกระทู้ว่า หน่วยงานที่
เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำอยู่กระจัดกระจายกัน ดังนั้นจะทำอย่างไรจึงสามารถรวมหน่วยงานไว้ที่เดียวกัน
เพื่อความเป็นเอกภาพ เป็นระบบ เพราะในเรื่องดังกล่าวเป็นหัวใจที่สำคัญ แต่การรวมหน่วยงานเข้ามา
อยู่ด้วยกันนั้น มีปัญหาและอุปสรรคมาก เพราะต้องกระจายอำนาจ ถ่ายโอนอำนาจให้กับท้องถิ่น
เป็นผู้รับผิดชอบ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการดูแลน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ส่วนเรื่อง
เครื่องมือน้ำบาดาลนั้น ในเรื่องดังกล่าวนี้ขณะนี้อยู่ที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้กระจายไปที่ศูนย์ภูมิภาคต่าง ๆ และงบประมาณที่ดำเนินการใน
เรื่องนี้ได้ถูกถ่ายโอนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยแล้ว เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้แก่
ประชาชนที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ
การแก้ไขปัญหาบ่อน้ำบาดาล ซึ่งได้ดำเนินการขุดเจาะไปแล้ว และมีปัญหาอุดตัน ระบบน้ำประปา
ในหมู่บ้านใช้ไม่ได้นั้น ในเรื่องดังกล่าวนี้ได้มีการดูแลอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด สำหรับเรื่อง
การเจาะบ่อใหม่นั้นเป็นเรื่องที่จะต้องถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งขณะนี้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งจ้างเอกชน หรือใช้บริการของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยจัดงบประมาณ
มาให้ดำเนินการ ซึ่งในส่วนนี้มติคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ไปดำเนินการทำโครงการน้ำบาดาลเพื่อประชาชน โดยให้ประชาชนทั่วไปขอใช้บริการได้จากองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นสามารถมาขอใช้บริการโดยการจ้างได้
ส่วนน้ำประปานั้น องค์กรบางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีขีดความสามารถในการที่จะดำเนินการได้
ซึ่งในปีที่ผ่านมากรมทรัพยากรน้ำได้รับงบประมาณเพื่อนำไปดำเนินการจัดทำ
โครงการประปาหมู่บ้าน และได้ดำเนินการไปหลายหมู่บ้านแล้ว เพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนได้มีน้ำใช้ได้อย่างทั่วถึง
๒. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรค
ไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การใช้พื้นที่ฝึกของศูนย์ฝึกทางยุทธวิถี กองทัพบก ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร) ได้ตอบกระทู้ว่า การใช้พื้นที่ของ
ศูนย์ฝึกของศูนย์ฝึกยุทธวิถี กองทัพบก นั้น เป็นนโยบายของกระทรวงกลาโหม เพราะพื้นที่การฝึกเป็น
สิ่งที่มีความสำคัญ และการที่ทหารจะปฏิบัติภารกิจตามรัฐธรรมนูญได้ ทหารต้องมีความเข้มแข็ง ต้องมีการฝึก
ที่ดี มีพื้นที่ฝึกที่ดี และสมบูรณ์ที่สุด ดังนั้นพื้นที่ในการฝึกต้องมีพื้นที่ด้านกว้าง ๓๐ กิโลเมตร ลึก ๓๐กิโลเมตร
หรือประมาณ ๕ แสน ๖ หมื่นไร่ และต้องเป็นพื้นที่ต่อเนื่อง ไม่มีบ้าน สถานที่ราชการ
อยู่ในบริเวณนี้โดยเด็ดขาด รวมทั้งต้องมีภูเขาที่จะรับตำบลกระสุนตกได้ด้วย ดังนั้นในพื้นที่จังหวัดลพบุรีนั้น
จึงขอใช้พื้นที่จริงประมาณ ๓๑๕,๐๐๐ ไร่ อย่างไรก็ตามได้ทำเรื่องไปยังกรมป่าไม้ จังหวัดลพบุรี
เพื่อขอใช้พื้นที่จำนวนดังกล่าวแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบและในการปฏิบัติจะไม่ให้มีผลกระทบ
แก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่นั้นโดยเด็ดขาด
๓. กระทู้ถามของนายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การนำสถาบันพระพุทธศาสนาเข้าแก้ปัญหายาเสพติด
ที่ระบาดในกลุ่มเยาวชนของชาติทั่วประเทศ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต
ยงใจยุทธ) ได้ตอบกระทู้ว่า การใช้สถาบันพระพุทธศาสนาเข้าแก้ปัญหายาเสพติดนั้น เป็นที่สนใจ
ของมหาเถรสมาคมมาก ได้สั่งให้คณะสงฆ์ดำเนินการทุกอย่างเพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รัฐและองค์กรอื่น ๆ
ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยใช้วิธีการเทศนาในเรื่องศีล ๕ ให้ประชาชนเข้าใจประพฤติปฏิบัติ
อย่างเคร่งครัด ซึ่งรวมทั้งใช้วัดเป็นสถานที่ให้การช่วยเหลือ เช่น ทำป้ายอธิบายปัญหายาเสพติด
คำคมต่าง ๆ ตลอดจนใช้วัดเป็นสถานฟื้นฟู บำบัดยาเสพติดด้วย และมหาเถรสมาคมได้ตั้งคณะกรรมการ
ขึ้นมาเพื่อประสานงานกับวัดต่าง ๆ เพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ตลอดจนการค้นหาในหมู่บ้านต่าง ๆ ว่า
มีผู้ผลิต ผู้ค้าหรือไม่ มีผู้เสพ ผู้ติด หรือไม่ โดยพระต่าง ๆ จะได้รับการอบรมเป็นวิทยากรระดับอำเภอ
และระดับตำบล จากกระทรวงมหาดไทย ณ ศูนย์พัฒนาคุณธรรม ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ เป็นศูนย์ประสานงาน
หรือให้การช่วยเหลือต่อพระวิทยากรที่จะทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ที่ติดยาเสพติดต่อไป
๔. กระทู้ถามของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง เด็กนักเรียนทะเลาะวิวาทและตีกัน ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอดิศัย โพธารามิก) ได้ตอบกระทู้ว่า ในเรื่องดังกล่าวนี้
รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ดูแลมาอย่างต่อเนื่อง การดูแลเด็กเหล่านี้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการทะเลาะวิวาทกัน
ในทางนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมกับกองทัพบกและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ดูแลในเรื่องนี้ และกองทัพบกได้จัดโครงการฝึกหัดให้เด็กอาชีวะและเด็กในสถาบันการศึกษาบางส่วน
ที่มีแนวโน้มว่า จะทะเลาะวิวาทกันประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมของกองทัพบก เพื่ออบรม
และสร้างความรู้ความเข้าใจไม่ให้มีการใช้พฤติกรรมรุนแรงระหว่างสถาบันกันขึ้น
ส่วนหน่วยงานสวัสดิภาพเด็กและเยาวชนได้ดูแลอย่างเต็มที่ โดยมอบหมายให้กระทรวงหลักดูแลในด้าน
การประสานงานกับโรงเรียนในการดูแลอบรมเด็กเยาวชนในสถานศึกษา
รวมทั้งกรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดูแลในส่วนนี้ด้วย ส่วนการอบรมของเจ้าหน้าที่นั้นได้
แต่งตั้งโดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวง
ศึกษาธิการ ได้ร่วมกันแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทั่วประเทศ รวมทั้งประชาชนด้วย ให้ดูแลในเรื่อง
ดังกล่าวนี้อย่างใกล้ชิด
๕. กระทู้ถามของนายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ถาม
นายกรัฐมนตรี ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ได้ตอบกระทู้ว่า มาตรการในการดูแล
ป้องกันและปราบปรามการหายของรถยนต์และรถจักรยานยนต์นั้น ได้ดูแลโดยสำนักงานตำรวจ
แห่งชาติ ได้มีการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงการป้องกันการหาย
ของรถ และให้เจ้าของรถระมัดระวัง ในส่วนของการหายไปแล้วนั้น กระทรวงที่เกี่ยวข้องในการดูแลเรื่องดังกล่าว
เช่น ดูแลจุดตรวจ จุดสกัด จะดูแลเพื่อไม่ให้สามารถนำรถออกนอกตัวเมืองได้
สำหรับองค์กรที่จะช่วยป้องกันในการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ในส่วนของภาคเอกชน
จะป้องกันโดยสื่อมวลชน สื่อวิทยุ จราจรสาร จ.ส.๑๐๐ ร่วมด้วยช่วยกัน จะร่วมเผยแพร่ข่าว
ถ้ามีเหตุโจรกรรมรถเกิดขึ้น ในส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีศูนย์วิทยุเช่นกัน เรียกว่าศูนย์วิทยุทิวา ๒๔ ชั่วโมง
จะเป็นศูนย์ดูแลรถหายโดยเฉพาะและได้ดูแลมาอย่างต่อเนื่อง
๖. กระทู้ถามของนายเปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง มาตรการในการคุ้มครองความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
ข้าราชการ และลูกจ้างของรัฐ ถามนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ติดใจที่จะถาม
ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไปตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
๗. กระทู้ถามของนายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ
พรรคชาติพัฒนา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการดำเนินการของคุรุสภา ถามรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ แต่เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ติดใจที่จะถาม ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไปตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
๘. กระทู้ถามของนายประกอบ รัตนพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการรับสัญญาณถ่ายทอดของ
สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์ ในเขตอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ถาม
นายกรัฐมนตรี ซึ่งกระทู้ถามฉบับนี้ รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย ติดภารกิจ จึงขอเลื่อนการตอบ
กระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๓
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา
------------------------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน สำนักประชาสัมพันธ์
วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๐.๑๕ นาฬิกา โดยนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธาน
การประชุมได้ดำเนินการพิจารณาตามระเบียบวาระ คือ ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มี
และระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ดังนี้
๑. รับทราบรายงานกิจการประจำปีงบดุล และบัญชีกำไรขาดทุนของธนาคารพัฒนา
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
๒. รับทราบรายงานการเงินของแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖ โดย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งข้อสังเกตถึงการจัดทำรายงานการเงินของแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖ ว่า
จัดทำได้อย่างสมบูรณ์และมีรายละเอียด โดยแยกหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ
ของประเทศที่ดีขึ้น ทำให้รายรับโดยรวมจากการจัดเก็บภาษีของประเทศเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามในรายงาน
ฉบับนี้ไม่ได้แสดงรายละเอียดในส่วนของเงินนอกงบประมาณที่นอกเหนือ จากเงินคงคลัง และในส่วนของ
รายจ่ายชดใช้ที่แสดงในรายงานก็มีตัวเลขไม่ตรงกับในกฎหมาย งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๗
นอกจากนี้ยังได้ตั้งคำถามถึงการที่รายได้จากการจัดเก็บภาษี เพิ่มมากขึ้นนั้นเป็นการเก็บภาษีจากสินค้าทาง
ด้านการเกษตรมากน้อยเพียงใด
จากนั้น นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้อภิปรายชี้แจงว่า
รายงานการเงินของแผ่นดินนั้นเป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปี และพยายามที่จะให้เกิดความรวดเร็ว
ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงในหลาย ๆ เรื่อง โดยในส่วนของเงินนอกงบประมาณ
ที่แสดงไว้ในรายงานนั้นเป็นเงินฝากและเงินทุนที่ส่วนราชการต้องนำมาฝาก และคาดว่าในอนาคตจะสามารถ
จัดทำระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง ซึ่งจะสามารถนำเงินนอกงบที่เหลือเข้ามาแสดงไว้ในรายงานได้ สำหรับกรณีที่
ตัวเลขของเงินรายจ่ายชดใช้ในรายงานไม่ตรงกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๗ นั้น เนื่องจากมียอด
ในเรื่องของเหรียญกษาปณ์ชำรุดจำนวนหนึ่ง ทำให้ยอดเงินไม่ตรงกัน นอกจากนี้เรื่องของปัญหาเกี่ยวกับ
กฎหมายการเงินการคลังภาครัฐที่ใช้การเบิกจ่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ นายวราเทพยืนยันว่า
จะยังไม่มีการแก้ไขกฎหมายแต่อย่างใด แต่จะมีการแก้ไขหรือไม่นั้นต้องมีการพิจารณากันอย่างรอบคอบ
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับรายได้จากการเก็บภาษีทางตรงที่สูงขึ้นกว่า ๖ หมื่นล้านบาทนั้น
เป็นการเพิ่มขึ้นจากบุคคลธรรมดา เพียงไม่ถึง ๑% ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด
ซึ่งการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มมากขึ้นนั้นก็เนื่องมาจากการที่เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น และมีการเปิดให้
นิติบุคคลเข้าสู่ระบบภาษีได้มากขึ้น โดยในส่วนภาระหนี้ของประเทศนั้นรัฐบาลพยายามทำให้ภาระ
เงินกู้และเงินขาดทุนสะสมลดลง โดยจะเห็นได้จากงบประมาณในปี ๒๕๔๘ ที่ไม่มีการกู้ เพราะต้องการ
จัดทำงบประมาณแบบสมดุล และในอนาคตก็จะไม่มีภาระเงินกู้ ส่วนเรื่องการค้ำประกันเงินกู้ของ
รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลจะต้องชำระเงินต้นกว่า ๙ หมื่นล้านบาทนั้น ส่วนใหญ่เป็นรัฐวิสาหกิจในด้าน
สาธารณูปโภคที่มีการขาดทุนสะสม เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย องค์การรับส่งพัสดุ และใน
รัฐวิสาหกิจที่สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นต้น ทั้งนี้สำหรับ
ข้อเสนอแนะต่าง ๆ นั้น ทางรัฐบาลจะนำไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
๓. รับทราบรายงานการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ
พ.ศ. ๒๕๔๒
๔. รับทราบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่าง
ประเทศ พ.ศ. …. โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายถึงการจัดตั้งสำนักงานดังกล่าว ซึ่งรัฐบาล
ต้องการมุ่งเน้นนโยบายความช่วยเหลือระหว่างประเทศให้สัมฤทธิ์ผล เพื่อพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมและ
ความร่วมมืออื่น ๆ ตลอดจนส่งผลให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และประเทศชาติมีรายได้เพิ่ม
มากขึ้น และให้ข้อสังเกตถึงบทบาท อำนาจหน้าที่ของสำนักงานที่มีความซ้ำซ้อนกับกองทุนให้ความช่วยเหลือ
พัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ในส่วนของฐานะและภารกิจในการให้ความช่วยเหลือกับ
ต่างประเทศให้เกิดประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ และไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
แสวงหาผลประโยชน์นั้นยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร
ต่อมานายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้อภิปรายชี้แจงว่า การจัดตั้งสำนักงาน
ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศนั้น เป็นการโอนย้ายกรมวิเทศสหการ สำนักงานปลัด
สำนักนายกรัฐมนตรี ไปสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อรองรับภารกิจใหม่ ๆ ของรัฐบาล ซึ่งเป็น
ส่วนราชการที่ไม่ได้มีฐานะเป็นกรม และมีหัวหน้าเป็นอธิบดี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่แตกต่างจากกองทุน
ให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยสำนักงานนี้จะมีภารกิจในการให้ความ
ช่วยเหลือด้านทุน เทคนิค วิชาการ การวิจัย การฝึกอบรม และการพัฒนา มากกว่าการให้กู้เงิน ซึ่ง
อาจจะให้ความช่วยเหลือโดยตรงหรือร่วมมือกับต่างประเทศไปช่วยเหลือประเทศที่ ๓ อาทิ ความร่วมมือ
กับองค์การอนามัยโลกเพื่อการช่วยเหลือทางการแพทย์ในอัฟกานิสถาน โดยองค์การอนามัยโลกจะให้ความ
ช่วยเหลือทางด้านเงินทุน ส่วนประเทศไทยจะให้ความช่วยเหลือด้านกำลังคน นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับหลาย ๆ
ประเทศ ในการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูในอินโดนีเซียอีกด้วย ทั้งนี้สำนักงาน ดังกล่าวจะไม่โตขึ้นกว่านี้
เพราะมีการจำกัดด้านของอัตรากำลัง
พักการประชุมเวลา ๑๒.๐๕ นาฬิกา
ต่อจากนั้นในเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ได้มีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๒ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายปรีชา มุสิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร พรรคประชาธิปัตย์
เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี
(นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ได้ตอบกระทู้ว่า การเกิดไข้หวัดนกรอบที่สองนี้ จากผลของกลุ่มนักวิชาการหลาย ๆ
กลุ่มทั้งจากกระทรวงสาธารณสุข นักวิชาการในประเทศและต่างประเทศได้ข้อสรุปว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า
ไข้หวัดนกในรอบสองนี้เกิดขึ้นจากอะไร อาจติดเชื้อจากนกที่อยู่ในประเทศหรือต่างประเทศ หรืออาจเป็นเชื้อตกค้าง
ในรอบแรกที่ผ่านมา นักวิชาการจึงได้แจ้ง ให้ทราบว่า จะต้องศึกษาโอกาสของความเป็นไปได้
การศึกษาสาเหตุโดยต้องมีการตรวจสอบกันต่อไป ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถวินิจฉัยชี้ชัดได้ว่า เชื้อได้มาจากที่ไหน
สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นในจังหวัดกำแพงเพชร ได้เริ่มมีการติดต่อคนสู่คนนั้น จากการแถลงข่าวโดยปลัดกระทรวง
สาธารณสุขที่ผ่านมาว่า ในส่วนของเด็กที่เสียชีวิตไปแล้ว และยังไม่มี ผลพิสูจน์เป็นทางการที่ชัดเจนว่า
เป็นไข้หวัดนกหรือไม่ ดังนั้นจึงไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเชื้อนี้ติดจากคน สู่คนหรือไม่ แต่อาจจะเป็นไปได้
ส่วนทางด้านเตรียมการป้องกันนั้น แม้ว่าจะพิสูจน์ไม่ได้ชัดเจน ในขณะนี้ว่า
ไข้หวัดนกจะระบาดได้จากทางไก่สู่คนหรือคนสู่คน และเชื้อดังกล่าวนี้มาจากที่ไหนใน รอบสองนี้
ได้มีการป้องกันในพื้นที่ต่างจังหวัดโดยมีการเตรียมบุคลากรด้านอาสาสมัครสาธารณสุข องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องสาธารณสุขโดยส่งกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างเต็มที่ รวมทั้งสร้างความเข้าใจ
ให้กับประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ รวมทั้งมีการดูแลตัวเอง ดูแลไก่ เพื่อไม่ให้ติดเชื้อด้วย
และรัฐบาลจะดำเนินการหาข้อสรุปในการป้องกัน รวมทั้งมาตรการในการเลี้ยงสัตว์ปีกอย่างชัดเจนด้วย
โดยกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเจรจาวางมาตรการให้กระชับยิ่งขึ้น ตลอดจนเพิ่มบุคลากรในการดูแลอย่างเต็มที่
๒. กระทู้ถามสดของนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การให้เอกชนร่วมลงทุนและบริหารท่าเรือแหลมฉบัง
ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ได้ตอบกระทู้ว่า นโยบาย
ของการท่าเรือแหลมฉบังให้เอกชนเข้ามาบริหารนั้น เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีต แต่ปรากฏว่า การบริหารโดย
รัฐวิสาหกิจไม่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับเมื่อมีการย้ายจากท่าเรือกรุงเทพไปแหลมฉบัง จึงได้มีการนำบริษัท
เอกชนมาร่วมลงทุนบริหาร เพื่อจะได้มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า ซึ่งจากอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
ได้มีผู้รับสัมปทาน ๑๐ ราย มีต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุนด้วย โดยกำหนดเงื่อนไข TOR ว่า
ผู้ประกอบการที่จะมาดำเนินการนั้น ต้องมีสัดส่วนคนไทยหรือนิติบุคคลไทย ๕๑% ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลได้กระทำอยู่ขณะนี้
เพื่อต้องการให้ท่าเรือมีผู้บริหารที่ทันสมัยเข้ามาบริหารจัดการเพื่อต้นทุนต่ำ ต้องการนำกำไรจากบริษัทเอกชน
นำมาจ่ายให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย ในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นเงื่อนไขของ รัฐบาลที่ต้องการคุ้มต้นทุน
ที่ได้ลงทุนไปโดยไม่หวังผลกำไร เนื่องจากคนไทยไม่มีประสบการณ์ในการเดินเรือ ดังนั้นการหาบริษัทที่มี
ประสบการณ์มาบริหารเพื่อจะได้ต้นทุนต่ำในเรื่องดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นเรื่องดีมาก
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๘ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง นโยบายทรัพยากรน้ำ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้ตอบกระทู้ว่า หน่วยงานที่
เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำอยู่กระจัดกระจายกัน ดังนั้นจะทำอย่างไรจึงสามารถรวมหน่วยงานไว้ที่เดียวกัน
เพื่อความเป็นเอกภาพ เป็นระบบ เพราะในเรื่องดังกล่าวเป็นหัวใจที่สำคัญ แต่การรวมหน่วยงานเข้ามา
อยู่ด้วยกันนั้น มีปัญหาและอุปสรรคมาก เพราะต้องกระจายอำนาจ ถ่ายโอนอำนาจให้กับท้องถิ่น
เป็นผู้รับผิดชอบ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการดูแลน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ส่วนเรื่อง
เครื่องมือน้ำบาดาลนั้น ในเรื่องดังกล่าวนี้ขณะนี้อยู่ที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้กระจายไปที่ศูนย์ภูมิภาคต่าง ๆ และงบประมาณที่ดำเนินการใน
เรื่องนี้ได้ถูกถ่ายโอนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยแล้ว เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้แก่
ประชาชนที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ
การแก้ไขปัญหาบ่อน้ำบาดาล ซึ่งได้ดำเนินการขุดเจาะไปแล้ว และมีปัญหาอุดตัน ระบบน้ำประปา
ในหมู่บ้านใช้ไม่ได้นั้น ในเรื่องดังกล่าวนี้ได้มีการดูแลอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด สำหรับเรื่อง
การเจาะบ่อใหม่นั้นเป็นเรื่องที่จะต้องถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งขณะนี้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งจ้างเอกชน หรือใช้บริการของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยจัดงบประมาณ
มาให้ดำเนินการ ซึ่งในส่วนนี้มติคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ไปดำเนินการทำโครงการน้ำบาดาลเพื่อประชาชน โดยให้ประชาชนทั่วไปขอใช้บริการได้จากองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นสามารถมาขอใช้บริการโดยการจ้างได้
ส่วนน้ำประปานั้น องค์กรบางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีขีดความสามารถในการที่จะดำเนินการได้
ซึ่งในปีที่ผ่านมากรมทรัพยากรน้ำได้รับงบประมาณเพื่อนำไปดำเนินการจัดทำ
โครงการประปาหมู่บ้าน และได้ดำเนินการไปหลายหมู่บ้านแล้ว เพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนได้มีน้ำใช้ได้อย่างทั่วถึง
๒. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรค
ไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การใช้พื้นที่ฝึกของศูนย์ฝึกทางยุทธวิถี กองทัพบก ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร) ได้ตอบกระทู้ว่า การใช้พื้นที่ของ
ศูนย์ฝึกของศูนย์ฝึกยุทธวิถี กองทัพบก นั้น เป็นนโยบายของกระทรวงกลาโหม เพราะพื้นที่การฝึกเป็น
สิ่งที่มีความสำคัญ และการที่ทหารจะปฏิบัติภารกิจตามรัฐธรรมนูญได้ ทหารต้องมีความเข้มแข็ง ต้องมีการฝึก
ที่ดี มีพื้นที่ฝึกที่ดี และสมบูรณ์ที่สุด ดังนั้นพื้นที่ในการฝึกต้องมีพื้นที่ด้านกว้าง ๓๐ กิโลเมตร ลึก ๓๐กิโลเมตร
หรือประมาณ ๕ แสน ๖ หมื่นไร่ และต้องเป็นพื้นที่ต่อเนื่อง ไม่มีบ้าน สถานที่ราชการ
อยู่ในบริเวณนี้โดยเด็ดขาด รวมทั้งต้องมีภูเขาที่จะรับตำบลกระสุนตกได้ด้วย ดังนั้นในพื้นที่จังหวัดลพบุรีนั้น
จึงขอใช้พื้นที่จริงประมาณ ๓๑๕,๐๐๐ ไร่ อย่างไรก็ตามได้ทำเรื่องไปยังกรมป่าไม้ จังหวัดลพบุรี
เพื่อขอใช้พื้นที่จำนวนดังกล่าวแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบและในการปฏิบัติจะไม่ให้มีผลกระทบ
แก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่นั้นโดยเด็ดขาด
๓. กระทู้ถามของนายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การนำสถาบันพระพุทธศาสนาเข้าแก้ปัญหายาเสพติด
ที่ระบาดในกลุ่มเยาวชนของชาติทั่วประเทศ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต
ยงใจยุทธ) ได้ตอบกระทู้ว่า การใช้สถาบันพระพุทธศาสนาเข้าแก้ปัญหายาเสพติดนั้น เป็นที่สนใจ
ของมหาเถรสมาคมมาก ได้สั่งให้คณะสงฆ์ดำเนินการทุกอย่างเพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รัฐและองค์กรอื่น ๆ
ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยใช้วิธีการเทศนาในเรื่องศีล ๕ ให้ประชาชนเข้าใจประพฤติปฏิบัติ
อย่างเคร่งครัด ซึ่งรวมทั้งใช้วัดเป็นสถานที่ให้การช่วยเหลือ เช่น ทำป้ายอธิบายปัญหายาเสพติด
คำคมต่าง ๆ ตลอดจนใช้วัดเป็นสถานฟื้นฟู บำบัดยาเสพติดด้วย และมหาเถรสมาคมได้ตั้งคณะกรรมการ
ขึ้นมาเพื่อประสานงานกับวัดต่าง ๆ เพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ตลอดจนการค้นหาในหมู่บ้านต่าง ๆ ว่า
มีผู้ผลิต ผู้ค้าหรือไม่ มีผู้เสพ ผู้ติด หรือไม่ โดยพระต่าง ๆ จะได้รับการอบรมเป็นวิทยากรระดับอำเภอ
และระดับตำบล จากกระทรวงมหาดไทย ณ ศูนย์พัฒนาคุณธรรม ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ เป็นศูนย์ประสานงาน
หรือให้การช่วยเหลือต่อพระวิทยากรที่จะทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ที่ติดยาเสพติดต่อไป
๔. กระทู้ถามของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง เด็กนักเรียนทะเลาะวิวาทและตีกัน ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอดิศัย โพธารามิก) ได้ตอบกระทู้ว่า ในเรื่องดังกล่าวนี้
รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ดูแลมาอย่างต่อเนื่อง การดูแลเด็กเหล่านี้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการทะเลาะวิวาทกัน
ในทางนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมกับกองทัพบกและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ดูแลในเรื่องนี้ และกองทัพบกได้จัดโครงการฝึกหัดให้เด็กอาชีวะและเด็กในสถาบันการศึกษาบางส่วน
ที่มีแนวโน้มว่า จะทะเลาะวิวาทกันประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมของกองทัพบก เพื่ออบรม
และสร้างความรู้ความเข้าใจไม่ให้มีการใช้พฤติกรรมรุนแรงระหว่างสถาบันกันขึ้น
ส่วนหน่วยงานสวัสดิภาพเด็กและเยาวชนได้ดูแลอย่างเต็มที่ โดยมอบหมายให้กระทรวงหลักดูแลในด้าน
การประสานงานกับโรงเรียนในการดูแลอบรมเด็กเยาวชนในสถานศึกษา
รวมทั้งกรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดูแลในส่วนนี้ด้วย ส่วนการอบรมของเจ้าหน้าที่นั้นได้
แต่งตั้งโดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวง
ศึกษาธิการ ได้ร่วมกันแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทั่วประเทศ รวมทั้งประชาชนด้วย ให้ดูแลในเรื่อง
ดังกล่าวนี้อย่างใกล้ชิด
๕. กระทู้ถามของนายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ถาม
นายกรัฐมนตรี ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ได้ตอบกระทู้ว่า มาตรการในการดูแล
ป้องกันและปราบปรามการหายของรถยนต์และรถจักรยานยนต์นั้น ได้ดูแลโดยสำนักงานตำรวจ
แห่งชาติ ได้มีการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงการป้องกันการหาย
ของรถ และให้เจ้าของรถระมัดระวัง ในส่วนของการหายไปแล้วนั้น กระทรวงที่เกี่ยวข้องในการดูแลเรื่องดังกล่าว
เช่น ดูแลจุดตรวจ จุดสกัด จะดูแลเพื่อไม่ให้สามารถนำรถออกนอกตัวเมืองได้
สำหรับองค์กรที่จะช่วยป้องกันในการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ในส่วนของภาคเอกชน
จะป้องกันโดยสื่อมวลชน สื่อวิทยุ จราจรสาร จ.ส.๑๐๐ ร่วมด้วยช่วยกัน จะร่วมเผยแพร่ข่าว
ถ้ามีเหตุโจรกรรมรถเกิดขึ้น ในส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีศูนย์วิทยุเช่นกัน เรียกว่าศูนย์วิทยุทิวา ๒๔ ชั่วโมง
จะเป็นศูนย์ดูแลรถหายโดยเฉพาะและได้ดูแลมาอย่างต่อเนื่อง
๖. กระทู้ถามของนายเปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง มาตรการในการคุ้มครองความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
ข้าราชการ และลูกจ้างของรัฐ ถามนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ติดใจที่จะถาม
ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไปตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
๗. กระทู้ถามของนายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ
พรรคชาติพัฒนา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการดำเนินการของคุรุสภา ถามรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ แต่เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ติดใจที่จะถาม ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไปตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
๘. กระทู้ถามของนายประกอบ รัตนพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการรับสัญญาณถ่ายทอดของ
สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์ ในเขตอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ถาม
นายกรัฐมนตรี ซึ่งกระทู้ถามฉบับนี้ รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย ติดภารกิจ จึงขอเลื่อนการตอบ
กระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๓
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา
------------------------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน สำนักประชาสัมพันธ์