บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)

ข่าวการเมือง Thursday October 7, 2004 11:49 —รัฐสภา

                         บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันจันทร์ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๕๐ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาประชุมครบองค์ประชุม นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา
และนายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๗ ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติสถาบัน
เทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว และในการประชุม
ครั้งเดียวกัน ที่ประชุมได้พิจารณาและลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงาน
บังคับคดี) ที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
๒. ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่
๒๒ กันยายน ๒๕๔๗ ที่ประชุมได้พิจารณาและลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ
ซึ่งวุฒิสภาได้แก้ไขเพิ่มเติม รวม ๒ ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด)
และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. …. และได้กำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบ
เป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว เป็นจำนวน
สภาละ ๑๒ คน ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๕ (๓)
ต่อมา ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่งได้ผลัดเปลี่ยนกัน
ทำหน้าที่ประธานของที่ประชุม โดยประธานของที่ประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาและ
รับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ไตรมาสที่ ๔ ปี ๒๕๔๕
และไตรมาสที่ ๑ - ๓ ปี ๒๕๔๖ หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
และกรรมการผู้จัดการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ) ตอบชี้แจงแล้ว
ที่ประชุมได้รับทราบรายงานดังกล่าว
จากนั้น ประธานของที่ประชุมได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอเลื่อนเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม ลำดับที่ ๑.๒ ถึงลำดับที่ ๑.๖ ออกไปก่อน ซึ่งที่ประชุมมีมติ
เห็นชอบ
ต่อจากนั้น ประธานของที่ประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องด่วน
ตามลำดับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติ
เห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตอบชี้แจงแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายสุริยน ภูมิรัตนประพิณ ๒. นายเกษม ชัยสิทธิ์
๓. นายธวัชชัย เมืองนาง ๔. นายพา อักษรเสือ
๕. พลตำรวจตรี อำพล งามจิตร ๖. นางมาลีรัตน์ แก้วก่า
๗. พลเอก ศิริ ทิวะพันธุ์ ๘. นายวรวิทย์ เชื้อเพ็ชร์
๙. นายวิชัย ครองยุติ ๑๐. นางบุษรินทร์ ติยะไพรัช วรพัฒนานันต์
๑๑. นางบัวล้อม พูลลาภ ๑๒. พลตำรวจโท ปรีชา ปฏิบัติสรกิจ
๑๓. นายปริญญา กรวยทอง ๑๔. นายอนุชาติ บรรจงศุภมิตร
๑๕. นายผ่อง เล่งอี้ ๑๖. นายวิบูลย์ แช่มชื่น
๑๗. นายณรงค์ นุ่นทอง ๑๘. นางกรองกาญจน์ วีสมหมาย
๑๙. นางมาลินี สุขเวชชวรกิจ ๒๐. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
๒๑. นายกำพล ภู่มณี ๒๒. นายสราวุธ นิยมทรัพย์
๒๓. นายแก้วสรร อติโพธิ ๒๔. นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
๒๕. นายรังสรรค์ กระจ่างตา
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๒. ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติ
เห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตอบชี้แจงแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นางสุนีย์ อินฉัตร ๒. นายอนันต์ ผลอำนวย
๓. พลตำรวจตรี เสกสันต์ อุ่นสำราญ ๔. นายสมสิทธิ์ ศิริเจริญไชย
๕. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา ๖. นายวิญญู อุฬารกุล
๗. พลโท โอภาส รัตนบุรี ๘. นายคำนวณ เหมาะประสิทธิ์
๙. นายอุดร ตันติสุนทร ๑๐. นายสมเกียรติ ศรลัมพ์
๑๑. นายศิลป์ชัย เชษฐศิลป์ ๑๒. นายสุนทร จินดาอินทร์
๑๓. นายวีรวร สิทธิธรรม ๑๔. นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา
๑๕. นางวิลาวัณย์ ตันวัฒนะพงษ์ ๑๖. นายชุมพล ศิลปอาชา
๑๗. นายคำพันธ์ ป้องปาน ๑๘. นายสม ต๊ะยศ
๑๙. นายประสิทธิ์ พิทูรกิจจา ๒๐. คุณหญิงจินตนา สุขมาก
๒๑. นายปราโมทย์ ไพชนม์ ๒๒. นายสราวุธ นิยมทรัพย์
๒๓. นายมนตรี สินทวิชัย ๒๔. นายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง
๒๕. นางสาวพวงเพชร สารคุณ
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
หลังจากนั้น ประธานของที่ประชุมได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่องเรื่องอื่น ๆ
ให้ที่ประชุมพิจารณา ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ประธานของที่ประชุมจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
เรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
พ.ศ. .... ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา จำนวน ๑๒ คน ประกอบเป็น
คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ประกอบด้วย
๑. นายจำเจน จิตรธร ๒. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา
๓. นายประเกียรติ นาสิมมา ๔. นางมลิวัลย์ เงินหมื่น
๕. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ๖. นายวีรวร สิทธิธรรม
๗. นายสมควร จิตแสง ๘. นายวิชัย ครองยุติ
๙. นายสมัย ฮมแสน ๑๐. นายสุรสิทธิ์ ฉัตรชัยเดช
๑๑. นายอำนาจ เธียรประมุข ๑๒. นายโอภาส รองเงิน
๒. ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การงดการบังคับคดีและ
การขายทอดตลาด) ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา จำนวน ๑๒ คน
ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ประกอบด้วย
๑. นายบุญเลิศ ไพรินทร์ ๒. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์
๓. พลตำรวจโท ปรีชา ปฏิบัติสรกิจ ๔. นายปรีชา ปิตานนท์
๕. นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ ๖. พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน
๗. นายสนิท จันทรวงศ์ ๘. นายสัก กอแสงเรือง
๙. นายสุนทร จินดาอินทร์ ๑๐. พันตำรวจเอก สุรพงศ์ ไผ่นวล
๑๑. นายเสรี สุวรรณภานนท์ ๑๒. นายอุบล เอื้อศรี
ต่อมา ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้นำเรื่องตั้งกรรมาธิการการทหาร แทนตำแหน่ง
ที่ว่าง ๑ ตำแหน่ง ให้ที่ประชุมพิจารณา และมีมติให้ตั้ง นายสวัสดิ์ กฤตรัชตนันต์
เป็นกรรมาธิการแทน นางบุษรินทร์ ติยะไพรัช วรพัฒนานันต์ ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่ง
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา
(นายมนตรี รูปสุวรรณ)
เลขาธิการวุฒิสภา
- ๖ -
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา จำนวน ๒ ฉบับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ....
ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
จำนวน ๒ ฉบับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด)
กลุ่มงานรายงานการประชุม
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๒๗
โทรสาร ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๒๔

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ