กรุงเทพ--8 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (6 ตุลาคม 2547) นาย Itaru Koeda ประธานสมาพันธ์ผู้ผลิตยานยนต์ของญี่ปุ่นและนาย Hiromu Okabe ประธานสมาพันธ์ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งญี่ปุ่นได้เข้าเยี่ยมคารวะ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังการหารือ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
1. ฝ่ายญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย และถือว่าประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนที่สำคัญ และยืนยันว่าจะมุ่งขยายการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยต่อไป โดยจะพยายามเน้นการขยายการส่งออกโดยอาศัยฐานการผลิต ในประเทศไทย นอกจากนี้ ฝ่ายญี่ปุ่น ก็ย้ำว่าในการที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยด้วย และเห็นว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ใน ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะไปสู่ระดับโลกได้ ซึ่งบริษัทญี่ปุ่นให้ความสำคัญทั้งในส่วนของการถ่ายทอดเทคโนโลยีและฝึกบุคลากรของไทยเพื่อให้ไทยก้าวไปสู่การเป็นผู้ผลิตยานยนต์ในระดับโลกต่อไป
2. ฝ่ายญี่ปุ่นได้ย้ำในประเด็นที่ต้องการเห็นการเปิดเสรีการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับญี่ปุ่น รวมทั้งการเคลื่อนย้ายบุคลากรอย่างเสรีของทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะบุคลากรใน อุตสาหกรรมยานยนต์ ด้วยเหตุนี้ทางบริษัทอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่นจึงให้ความสำคัญกับการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น หรือ JTEPA และต้องการที่จะให้กลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์อยู่ในกรอบของการเจรจาด้วย
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ขอบคุณฝ่ายญี่ปุ่นที่ได้เข้ามา ลงทุนเพื่อช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย สำหรับเรื่องการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งว่า หลักการเจรจาของไทยถือว่าการเจรจานั้นจะต้องครอบคลุมทุกเรื่องทั้งในเรื่องสินค้าที่สามารถเปิดเสรีได้ทันที (Fast track) และสินค้าที่มีความอ่อนไหว ซึ่งฝ่ายไทยมีความพร้อมที่จะให้การเจรจาครอบคลุม ทุกประเด็น แม้ว่าสินค้าอุตสาหกรรมยานยนต์จะเป็นกลุ่มสินค้าที่มีความอ่อนไหวสำหรับไทย ทั้งนี้ เพื่อจะดูว่าจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรค และมีด้านใดที่จะร่วมมือกันได้ ดังนั้น เมื่อฝ่ายไทยมีท่าทีเช่นนี้ก็ประสงค์จะให้ฝ่ายญี่ปุ่นมีท่าทีเช่นเดียวกัน
4. สำหรับเรื่องของกลุ่มสินค้าเกษตรซึ่งถือว่าเป็นสินค้าอ่อนไหวของฝ่ายญี่ปุ่นนั้น ไทยก็ประสงค์ให้ญี่ปุ่นนำสินค้าเกษตรและสินค้าอาหารอยู่ในการเจรจาด้วย ซึ่งขณะนี้ไทยก็ห่วงว่า ฝ่ายญี่ปุ่นพยายามยกเว้นสินค้าเกษตรจากการเจรจาเขตการค้าเสรี ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่า ควรครอบคลุมทุกสินค้า ทั้งสินค้าที่เปิดได้โดยทันทีกับสินค้าอ่อนไหว ส่วนการแก้ไขปัญหา และจะมีตารางเวลาอย่างไรก็เป็นเรื่องที่ต้องเจรจากัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
วันนี้ (6 ตุลาคม 2547) นาย Itaru Koeda ประธานสมาพันธ์ผู้ผลิตยานยนต์ของญี่ปุ่นและนาย Hiromu Okabe ประธานสมาพันธ์ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งญี่ปุ่นได้เข้าเยี่ยมคารวะ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังการหารือ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
1. ฝ่ายญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย และถือว่าประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนที่สำคัญ และยืนยันว่าจะมุ่งขยายการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยต่อไป โดยจะพยายามเน้นการขยายการส่งออกโดยอาศัยฐานการผลิต ในประเทศไทย นอกจากนี้ ฝ่ายญี่ปุ่น ก็ย้ำว่าในการที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยด้วย และเห็นว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ใน ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะไปสู่ระดับโลกได้ ซึ่งบริษัทญี่ปุ่นให้ความสำคัญทั้งในส่วนของการถ่ายทอดเทคโนโลยีและฝึกบุคลากรของไทยเพื่อให้ไทยก้าวไปสู่การเป็นผู้ผลิตยานยนต์ในระดับโลกต่อไป
2. ฝ่ายญี่ปุ่นได้ย้ำในประเด็นที่ต้องการเห็นการเปิดเสรีการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับญี่ปุ่น รวมทั้งการเคลื่อนย้ายบุคลากรอย่างเสรีของทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะบุคลากรใน อุตสาหกรรมยานยนต์ ด้วยเหตุนี้ทางบริษัทอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่นจึงให้ความสำคัญกับการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น หรือ JTEPA และต้องการที่จะให้กลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์อยู่ในกรอบของการเจรจาด้วย
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ขอบคุณฝ่ายญี่ปุ่นที่ได้เข้ามา ลงทุนเพื่อช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย สำหรับเรื่องการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งว่า หลักการเจรจาของไทยถือว่าการเจรจานั้นจะต้องครอบคลุมทุกเรื่องทั้งในเรื่องสินค้าที่สามารถเปิดเสรีได้ทันที (Fast track) และสินค้าที่มีความอ่อนไหว ซึ่งฝ่ายไทยมีความพร้อมที่จะให้การเจรจาครอบคลุม ทุกประเด็น แม้ว่าสินค้าอุตสาหกรรมยานยนต์จะเป็นกลุ่มสินค้าที่มีความอ่อนไหวสำหรับไทย ทั้งนี้ เพื่อจะดูว่าจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรค และมีด้านใดที่จะร่วมมือกันได้ ดังนั้น เมื่อฝ่ายไทยมีท่าทีเช่นนี้ก็ประสงค์จะให้ฝ่ายญี่ปุ่นมีท่าทีเช่นเดียวกัน
4. สำหรับเรื่องของกลุ่มสินค้าเกษตรซึ่งถือว่าเป็นสินค้าอ่อนไหวของฝ่ายญี่ปุ่นนั้น ไทยก็ประสงค์ให้ญี่ปุ่นนำสินค้าเกษตรและสินค้าอาหารอยู่ในการเจรจาด้วย ซึ่งขณะนี้ไทยก็ห่วงว่า ฝ่ายญี่ปุ่นพยายามยกเว้นสินค้าเกษตรจากการเจรจาเขตการค้าเสรี ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่า ควรครอบคลุมทุกสินค้า ทั้งสินค้าที่เปิดได้โดยทันทีกับสินค้าอ่อนไหว ส่วนการแก้ไขปัญหา และจะมีตารางเวลาอย่างไรก็เป็นเรื่องที่ต้องเจรจากัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-