กรุงเทพ--8 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (6 ตุลาคม 2547) นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับประเด็นหลักที่จะมีการหารือกันในที่ประชุม ASEM ระหว่างวันที่ 7-9 ตุลาคม 2547 ที่กรุงฮานอย สรุปได้ดังนี้
1. การประชุม ASEM ระดับผู้นำครั้งที่ 5 ฝ่ายไทยให้ความสำคัญอย่างมากเพราะไทยต้องการให้ความร่วมมือระหว่างเอเชีย-ยุโรปพัฒนาก้าวหน้าต่อไป เพราะในช่วงที่ผ่านมา ความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป อาจเสียพลวัตรไปบ้าง เนื่องจากเอเชียประสบวิกฤติเศรษฐกิจ และด้านยุโรปก็มีการขยายสมาชิกของ สหภาพยุโรป และโดยที่ขณะนี้ ฝ่ายเอเชียมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแล้ว และฝ่ายยุโรปก็ผ่านกระบวนการขยายสมาชิกของสหภาพยุโรปแล้ว จึงเป็นจังหวะเวลาที่ดีที่ทั้งสองฝ่ายจะได้หันมาให้ความสำคัญกับ การพัฒนาความร่วมมือระหว่างเอเชียและยุโรป และร่วมกันพิจารณาว่าจะพัฒนาความร่วมมือในกรอบนี้ ให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างไร
2. ในส่วนของไทยเห็นว่าในกระบวนการอาเซมจะมีการหารือใน 3 หัวข้อหลัก ๆ ด้วยกันคือ 1) ด้านการเมือง 2) ด้านเศรษฐกิจ และ 3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งถือว่าทั้ง 3 ด้านเป็นเสาหลักที่ต้อง ให้ความสำคัญเท่ากัน ไทยเห็นว่า ความร่วมมือในกรอบอาเซมนั้นน่าจะเน้นความร่วมมือด้านทางเศรษฐกิจ ซึ่งพิจารณาแล้วน่าจะมีลู่ทางที่จะร่วมมือกันได้มากกว่าที่เป็นอยู่โดยสามารถที่จะร่วมมือกันในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ
3. ประเด็นสำคัญที่จะหารือกันในด้านการเมืองคงเป็นเรื่องสถานการณ์ระหว่างประเทศ และสถานการณ์ในภูมิภาค อาทิ สถานการณ์อิรัก ซึ่งคงหารือกันถึงท่าทีของแต่ละฝ่ายว่ามีการประเมิน สถานการณ์อย่างไร สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีซึ่งก็มีความห่วงใยในเรื่องของการพัฒนาการผลิต อาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ซึ่งขณะนี้ทุกฝ่ายต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี โดยขณะนี้ก็มี การเจรจาในกรอบ 6 ฝ่ายซึ่งไทยประสงค์ที่จะให้การเจรจาคืบหน้าต่อไป ความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายซึ่งเป็นประเด็นด้านความมั่นคงที่มีความสำคัญมากในขณะนี้ ซึ่งก็จะพิจารณากันว่าในระหว่าง เอเชียและยุโรปจะร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ ได้อย่างไรบ้าง ทั้งในเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรอง และการฝึกอบรมบุคลากร เป็นต้น ประเด็นทางด้านการเมืองที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งคือ ประเด็นความมั่นคงใหม่ๆ หรือ Non - traditional security issues อาทิ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคระบาดทั้งหลาย ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญ และกระทบกับความมั่นคงของประชาชนโดยตรง ซึ่งในภูมิภาคเอเชียก็ผ่านพ้นวิกฤติ ที่ผ่านมา ได้แก่ โรคซาร์ส และไข้หวัดนก ดังนั้นคงจะมีการหารือในเรื่องความร่วมมือกันในประเด็นนี้ด้วย
4. ในเรื่องของเศรษฐกิจ ฝ่ายไทยให้ความสำคัญกับประเด็นต่อไปนี้
- สถานการณ์เศรษฐกิจของโลก ได้แก่ การเจรจาการค้าในกรอบของ WTO ว่า ทำอย่างไรที่จะผลักดันให้การเจรจารอบปัจจุบันคือ รอบ Doha คืบหน้าต่อไป โดยเฉพาะเป็นรอบที่มี ความสำคัญกับประเทศกำลังพัฒนาอย่างมากเพราะว่าหมวดสินค้าที่สำคัญที่มีการเจรจากันคือ สินค้าเกษตร
- ปัญหาพลังงาน คงจะมีการหยิบยกขึ้นหารือกันเพราะว่าการที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูง ได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของหลาย ๆ ประเทศและต่อเศรษฐกิจของโลกโดยรวมด้วย
- การพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจให้เป็นรูปธรรม ที่ผ่านมาได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาระหว่างสองฝ่าย ซึ่งประกอบด้วย ภาคเอกชนและนักวิชาการร่วมอยู่ในคณะทำงาน และมีการประชุมไปแล้ว 5 ครั้ง คณะทำงานได้จัดทำรายงานข้อเสนอแนะว่าการพัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างเอเชียและยุโรปจะมีลู่ทางด้านใดบ้าง และควรจะดำเนินการอย่างไร คาดว่าในการประชุม ผู้นำเอเชีย-ยุโรปจะมีการพิจารณาข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของคณะทำงานซึ่งข้อเสนอแนะดังกล่าวจะครอบคลุม ทั้งในเรื่องการค้า การลงทุน การเปิดเสรีด้านการค้า ความร่วมมือด้านการคมนาคม ความร่วมมือด้านพลังงาน และความร่วมมือทางด้าน SMEs
- ความร่วมมือด้านการเงิน ในการประชุมสุดยอดของอาเซม ครั้งที่ 4 ที่ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เสนอให้มีการเชื่อมโยงทางด้านตลาดพันธบัตรระหว่างภูมิภาคยุโรปกับภูมิภาคเอเชีย ซึ่งหลังจากการประชุมสุดยออาเซมครั้งที่ 4 ในส่วน ของฝ่ายเอเชียได้มีความคืบหน้าอย่างมากในเรื่องของการพัฒนาตลาดพันธบัตรในเอเชียโดยมีการจัดตั้ง กองทุนพันธบัตรเอเชียขึ้นมา ฉะนั้นในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรี คงจะได้แจ้งให้ผู้นำฝ่ายยุโรปทราบถึงความ คืบหน้าของการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย และการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียขึ้น และพิจารณาว่า จะมี ลู่ทางที่จะเชื่อมโยงตลาดพันธบัตรระหว่างสองภูมิภาคได้อย่างไรบ้าง คาดว่าเรื่องนี้จะเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่ฝ่ายไทยจะยกขึ้นหารือกับฝ่ายยุโรป
5. ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและสังคม ความร่วมมือในกรอบอาเซมไม่ควรจะส่งเสริมเฉพาะความร่วมมือในระดับรัฐบาลหรือภาคเอกชนอย่างเดียว ถ้าต้องการจะให้เป็นความร่วมมือที่เป็น หุ้นส่วนกันจริง ๆ ความร่วมมือหรือกระบวนการอาเซมจะต้องไปสู่ภาคประชาชนด้วย โดยจะต้องมีกิจกรรม ที่จะส่งเสริมการไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชน การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การส่งเสริมความเข้าใจกันทางด้านวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาคทั้งสอง เพราะว่าเอเชียและยุโรปเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม การจะส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรมจะเป็นหนทางไปสู่ความเข้าใจกันระหว่างประชาชน และก็จะเป็นการวางรากฐานที่ดีให้กับความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวการณ์ปัจจุบันจะเห็น ได้ว่าจากปัญหาการก่อการร้ายนั้น ประเด็นที่กลุ่มลัทธิหัวรุนแรงพยายามเน้นเป็นพิเศษคือความแตกต่าง และความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ ศาสนา ซึ่งในสถานการณ์อย่างนี้ทั้งสองฝ่ายก็มีความเห็นตรงกันว่า การส่งเสริมความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างกันจะมีความสำคัญในการส่งเสริมวัฒนธรรมของ สันติภาพ การยอมรับความแตกต่างด้านลัทธิ ด้านเชื้อชาติ ศาสนา จะเป็นแนวทางที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายหรือลัทธิหัวรุนแรงที่ต้นตอ เพราะฉะนั้นเรื่องการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนของทั้งสองภูมิภาคจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ
6. การหารือระหว่างผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 5 นี้จะเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้กระบวนการ อาเซมกระเตื้องขึ้น และการหารือจะครอบคลุมประเด็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ในส่วนของฝ่ายไทยให้ความสำคัญกับการหารือในทุก ๆ ด้านแต่ที่ไทยให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือต้องการ ให้เวทีการประชุมเอเชีย-ยุโรป มิใช่เป็นเพียงเวทีด้านการหารือ แต่จะเป็นเวทีที่จะนำไปสู่ความร่วมมือ ที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะความร่วมมือที่จะนำไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
วันนี้ (6 ตุลาคม 2547) นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับประเด็นหลักที่จะมีการหารือกันในที่ประชุม ASEM ระหว่างวันที่ 7-9 ตุลาคม 2547 ที่กรุงฮานอย สรุปได้ดังนี้
1. การประชุม ASEM ระดับผู้นำครั้งที่ 5 ฝ่ายไทยให้ความสำคัญอย่างมากเพราะไทยต้องการให้ความร่วมมือระหว่างเอเชีย-ยุโรปพัฒนาก้าวหน้าต่อไป เพราะในช่วงที่ผ่านมา ความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป อาจเสียพลวัตรไปบ้าง เนื่องจากเอเชียประสบวิกฤติเศรษฐกิจ และด้านยุโรปก็มีการขยายสมาชิกของ สหภาพยุโรป และโดยที่ขณะนี้ ฝ่ายเอเชียมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแล้ว และฝ่ายยุโรปก็ผ่านกระบวนการขยายสมาชิกของสหภาพยุโรปแล้ว จึงเป็นจังหวะเวลาที่ดีที่ทั้งสองฝ่ายจะได้หันมาให้ความสำคัญกับ การพัฒนาความร่วมมือระหว่างเอเชียและยุโรป และร่วมกันพิจารณาว่าจะพัฒนาความร่วมมือในกรอบนี้ ให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างไร
2. ในส่วนของไทยเห็นว่าในกระบวนการอาเซมจะมีการหารือใน 3 หัวข้อหลัก ๆ ด้วยกันคือ 1) ด้านการเมือง 2) ด้านเศรษฐกิจ และ 3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งถือว่าทั้ง 3 ด้านเป็นเสาหลักที่ต้อง ให้ความสำคัญเท่ากัน ไทยเห็นว่า ความร่วมมือในกรอบอาเซมนั้นน่าจะเน้นความร่วมมือด้านทางเศรษฐกิจ ซึ่งพิจารณาแล้วน่าจะมีลู่ทางที่จะร่วมมือกันได้มากกว่าที่เป็นอยู่โดยสามารถที่จะร่วมมือกันในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ
3. ประเด็นสำคัญที่จะหารือกันในด้านการเมืองคงเป็นเรื่องสถานการณ์ระหว่างประเทศ และสถานการณ์ในภูมิภาค อาทิ สถานการณ์อิรัก ซึ่งคงหารือกันถึงท่าทีของแต่ละฝ่ายว่ามีการประเมิน สถานการณ์อย่างไร สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีซึ่งก็มีความห่วงใยในเรื่องของการพัฒนาการผลิต อาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ซึ่งขณะนี้ทุกฝ่ายต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี โดยขณะนี้ก็มี การเจรจาในกรอบ 6 ฝ่ายซึ่งไทยประสงค์ที่จะให้การเจรจาคืบหน้าต่อไป ความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายซึ่งเป็นประเด็นด้านความมั่นคงที่มีความสำคัญมากในขณะนี้ ซึ่งก็จะพิจารณากันว่าในระหว่าง เอเชียและยุโรปจะร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ ได้อย่างไรบ้าง ทั้งในเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรอง และการฝึกอบรมบุคลากร เป็นต้น ประเด็นทางด้านการเมืองที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งคือ ประเด็นความมั่นคงใหม่ๆ หรือ Non - traditional security issues อาทิ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคระบาดทั้งหลาย ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญ และกระทบกับความมั่นคงของประชาชนโดยตรง ซึ่งในภูมิภาคเอเชียก็ผ่านพ้นวิกฤติ ที่ผ่านมา ได้แก่ โรคซาร์ส และไข้หวัดนก ดังนั้นคงจะมีการหารือในเรื่องความร่วมมือกันในประเด็นนี้ด้วย
4. ในเรื่องของเศรษฐกิจ ฝ่ายไทยให้ความสำคัญกับประเด็นต่อไปนี้
- สถานการณ์เศรษฐกิจของโลก ได้แก่ การเจรจาการค้าในกรอบของ WTO ว่า ทำอย่างไรที่จะผลักดันให้การเจรจารอบปัจจุบันคือ รอบ Doha คืบหน้าต่อไป โดยเฉพาะเป็นรอบที่มี ความสำคัญกับประเทศกำลังพัฒนาอย่างมากเพราะว่าหมวดสินค้าที่สำคัญที่มีการเจรจากันคือ สินค้าเกษตร
- ปัญหาพลังงาน คงจะมีการหยิบยกขึ้นหารือกันเพราะว่าการที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูง ได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของหลาย ๆ ประเทศและต่อเศรษฐกิจของโลกโดยรวมด้วย
- การพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจให้เป็นรูปธรรม ที่ผ่านมาได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาระหว่างสองฝ่าย ซึ่งประกอบด้วย ภาคเอกชนและนักวิชาการร่วมอยู่ในคณะทำงาน และมีการประชุมไปแล้ว 5 ครั้ง คณะทำงานได้จัดทำรายงานข้อเสนอแนะว่าการพัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างเอเชียและยุโรปจะมีลู่ทางด้านใดบ้าง และควรจะดำเนินการอย่างไร คาดว่าในการประชุม ผู้นำเอเชีย-ยุโรปจะมีการพิจารณาข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของคณะทำงานซึ่งข้อเสนอแนะดังกล่าวจะครอบคลุม ทั้งในเรื่องการค้า การลงทุน การเปิดเสรีด้านการค้า ความร่วมมือด้านการคมนาคม ความร่วมมือด้านพลังงาน และความร่วมมือทางด้าน SMEs
- ความร่วมมือด้านการเงิน ในการประชุมสุดยอดของอาเซม ครั้งที่ 4 ที่ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เสนอให้มีการเชื่อมโยงทางด้านตลาดพันธบัตรระหว่างภูมิภาคยุโรปกับภูมิภาคเอเชีย ซึ่งหลังจากการประชุมสุดยออาเซมครั้งที่ 4 ในส่วน ของฝ่ายเอเชียได้มีความคืบหน้าอย่างมากในเรื่องของการพัฒนาตลาดพันธบัตรในเอเชียโดยมีการจัดตั้ง กองทุนพันธบัตรเอเชียขึ้นมา ฉะนั้นในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรี คงจะได้แจ้งให้ผู้นำฝ่ายยุโรปทราบถึงความ คืบหน้าของการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย และการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียขึ้น และพิจารณาว่า จะมี ลู่ทางที่จะเชื่อมโยงตลาดพันธบัตรระหว่างสองภูมิภาคได้อย่างไรบ้าง คาดว่าเรื่องนี้จะเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่ฝ่ายไทยจะยกขึ้นหารือกับฝ่ายยุโรป
5. ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและสังคม ความร่วมมือในกรอบอาเซมไม่ควรจะส่งเสริมเฉพาะความร่วมมือในระดับรัฐบาลหรือภาคเอกชนอย่างเดียว ถ้าต้องการจะให้เป็นความร่วมมือที่เป็น หุ้นส่วนกันจริง ๆ ความร่วมมือหรือกระบวนการอาเซมจะต้องไปสู่ภาคประชาชนด้วย โดยจะต้องมีกิจกรรม ที่จะส่งเสริมการไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชน การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การส่งเสริมความเข้าใจกันทางด้านวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาคทั้งสอง เพราะว่าเอเชียและยุโรปเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม การจะส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรมจะเป็นหนทางไปสู่ความเข้าใจกันระหว่างประชาชน และก็จะเป็นการวางรากฐานที่ดีให้กับความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวการณ์ปัจจุบันจะเห็น ได้ว่าจากปัญหาการก่อการร้ายนั้น ประเด็นที่กลุ่มลัทธิหัวรุนแรงพยายามเน้นเป็นพิเศษคือความแตกต่าง และความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ ศาสนา ซึ่งในสถานการณ์อย่างนี้ทั้งสองฝ่ายก็มีความเห็นตรงกันว่า การส่งเสริมความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างกันจะมีความสำคัญในการส่งเสริมวัฒนธรรมของ สันติภาพ การยอมรับความแตกต่างด้านลัทธิ ด้านเชื้อชาติ ศาสนา จะเป็นแนวทางที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายหรือลัทธิหัวรุนแรงที่ต้นตอ เพราะฉะนั้นเรื่องการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนของทั้งสองภูมิภาคจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ
6. การหารือระหว่างผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 5 นี้จะเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้กระบวนการ อาเซมกระเตื้องขึ้น และการหารือจะครอบคลุมประเด็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ในส่วนของฝ่ายไทยให้ความสำคัญกับการหารือในทุก ๆ ด้านแต่ที่ไทยให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือต้องการ ให้เวทีการประชุมเอเชีย-ยุโรป มิใช่เป็นเพียงเวทีด้านการหารือ แต่จะเป็นเวทีที่จะนำไปสู่ความร่วมมือ ที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะความร่วมมือที่จะนำไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-