กรุงเทพ--8 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอย่าง ไม่เป็นทางการภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS: Ayeyawady-Chao Phraya- Mekong Economic Cooperation Strategy) ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ โดย ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ขณะที่นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าร่วมการประชุมฯจะประกอบด้วยประเทศสมาชิก ACMECS คือกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ตลอดจน Development Partners ซึ่งหมายถึงประเทศที่มิใช่สมาชิกฯ หรือองค์การระหว่างประเทศที่สนใจจะเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน (partnership) สนับสนุนการดำเนินงานของ ACMECS
ในการประชุมฯ ครั้งนี้ ประเทศไทยจะเสนอให้มีการยืนยันเจตนารมณ์ในระดับรัฐมนตรีที่จะผลักดันให้ ACMECS บรรลุผลโดยเร็ว โดยใช้โอกาสที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของยุทธศาสตร์ความร่วมมือฯ อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะทำให้ความร่วมมือมีพลังขับเคลื่อนได้มากขึ้น รวมทั้งเห็นว่าเป็นโอกาสที่จะติดตามความคืบหน้าและวางกลไกที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ใน 5 สาขาหลักได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยจะแบ่งให้แต่ละประเทศสมาชิกฯ เป็นผู้นำในแต่ละสาขา เพื่อเร่งรัดให้เห็นผลโดยเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด
การประชุมฯ ที่จังหวัดกระบี่ยังจะเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิก ACMECS จะได้หารือกับ Development Partners ในช่วงประชุมที่จัดเป็นพิเศษ โดยฝ่ายไทยจะประสานให้ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ (Ministerial Retreat) พิจารณา รายการโครงการร่วมและโครงการทวิภาคีที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ที่จะให้ Development Partners เข้ามามีส่วนร่วม ได้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อผลักดันโครงการต่างๆ ให้เป็นระบบและเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว
นอกจาก ACMECS จะเป็นกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ไทยยัง เห็นว่า ACMECS เป็นยุทธศาสตร์ที่จะสนับสนุนความร่วมมือในระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคอื่นๆ อาทิ กรอบความร่วมมือ Greater Mekong Sub-region (GMS), Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical Economic Cooperation (BIMSTEC) และอาเซียน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและเป็นผลดีต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียโดยรวม ตลอดจนเป็นช่องทางเพิ่มพูนความร่วมมือกับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคฯ ให้ดีขึ้น และยังเป็นการเชื่อมโยงฐานราก (building blocks) ของความร่วมมือระหว่างประเทศในกรอบพหุภาคีด้วย
อนึ่ง ACMECS มีชื่อเดิมว่า “ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS: Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่าเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) เปลี่ยนชื่อยุทธศาสตร์ความร่วมมือจาก ECS เป็น ACMECS รวมทั้งแผนปฏิบัติการครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขาหลัก ซึ่งอยู่บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การสร้างงาน โดยมีกิจกรรมที่เห็นผลเร็ว มุ่งผลประโยชน์ร่วมกัน และเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งส่งเสริม ให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย โดยเวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 เพื่อเพิ่มพูนความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ
สร้างความมั่นคงและสันติสุขในอนุภูมิภาคให้เป็นไปอย่างสอดคล้องและเสริมประโยชน์กันมากยิ่งขึ้นเป้าหมายหลักของ ACMECS คือการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและก่อให้เกิดความเจริญเติบโตมาก ขึ้นตามแนวชายแดน ตลอดจนอำนวยความสะดวกให้มีการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมเกษตรและการผลิตไปยังบริเวณที่มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ อันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนของประเทศสมาชิกฯ และสร้างโอกาสการจ้างงานและลดความแตกต่างของรายได้ในระหว่างประเทศสมาชิก และส่งเสริมการสร้างการติดต่อระดับประชาชนเพื่อสร้างความ เข้าใจที่ดีระหว่างกัน
สำหรับกลไกการทำงานของ ACMECS นั้น ที่ประชุมผู้นำ ACMECS เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 มีมติให้ จัดการประชุมระดับผู้นำทุก 2 ปี และให้รัฐมนตรีต่างประเทศประชุมทุกปี เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการตามแผนปฏิบัติการที่ได้ตกลงร่วมกันไว้ในโครงการร่วม 46 โครงการ โครงการทวิภาคี 224 โครงการ ภายใต้ความร่วมมือ 5 สาขาหลักข้างต้น
ในส่วนของประเทศไทยนั้นคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2546 ให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (อพบ.) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้มีคำสั่งที่ 4/2547 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2547 จัดตั้ง อพบ. แล้ว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการ ต่างประเทศร่วมเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ เพื่อพิจารณากลั่นกรองเสนอแนะนโยบาย แผนงานและโครงการตามแผนงานการจัดระบบเศรษฐกิจตามแนวชายแดนและการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงาน ACMECS ด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของ ACMECS มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับหน่วยงานภายในของไทยให้ดำเนินงานเป็นไปตามแผนปฏิบัติการและกระทรวงการต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับประเทศสมาชิก ACMECS
ไทยมุ่งหวังที่จะใช้ ACMECS เป็นกลไกสร้างงานและรายได้ให้แก่ประชาชนไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะพื้นที่ตลอดแนวชายแดนและเมืองหลักของเพื่อนบ้าน ตลอดจนการผลักดันบทบาทของไทยในการเป็น
สะพานและศูนย์กลางเชื่อมโยงความร่วมมือทางเศรษฐกิจในกรอบ ACMECS ในระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในทุกระดับทั้งรัฐ-รัฐ / เอกชน-เอกชน / รัฐ-เอกชน / ประชาชน-ประชาชน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอย่าง ไม่เป็นทางการภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS: Ayeyawady-Chao Phraya- Mekong Economic Cooperation Strategy) ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ โดย ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ขณะที่นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าร่วมการประชุมฯจะประกอบด้วยประเทศสมาชิก ACMECS คือกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ตลอดจน Development Partners ซึ่งหมายถึงประเทศที่มิใช่สมาชิกฯ หรือองค์การระหว่างประเทศที่สนใจจะเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน (partnership) สนับสนุนการดำเนินงานของ ACMECS
ในการประชุมฯ ครั้งนี้ ประเทศไทยจะเสนอให้มีการยืนยันเจตนารมณ์ในระดับรัฐมนตรีที่จะผลักดันให้ ACMECS บรรลุผลโดยเร็ว โดยใช้โอกาสที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของยุทธศาสตร์ความร่วมมือฯ อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะทำให้ความร่วมมือมีพลังขับเคลื่อนได้มากขึ้น รวมทั้งเห็นว่าเป็นโอกาสที่จะติดตามความคืบหน้าและวางกลไกที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ใน 5 สาขาหลักได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยจะแบ่งให้แต่ละประเทศสมาชิกฯ เป็นผู้นำในแต่ละสาขา เพื่อเร่งรัดให้เห็นผลโดยเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด
การประชุมฯ ที่จังหวัดกระบี่ยังจะเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิก ACMECS จะได้หารือกับ Development Partners ในช่วงประชุมที่จัดเป็นพิเศษ โดยฝ่ายไทยจะประสานให้ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ (Ministerial Retreat) พิจารณา รายการโครงการร่วมและโครงการทวิภาคีที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ที่จะให้ Development Partners เข้ามามีส่วนร่วม ได้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อผลักดันโครงการต่างๆ ให้เป็นระบบและเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว
นอกจาก ACMECS จะเป็นกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ไทยยัง เห็นว่า ACMECS เป็นยุทธศาสตร์ที่จะสนับสนุนความร่วมมือในระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคอื่นๆ อาทิ กรอบความร่วมมือ Greater Mekong Sub-region (GMS), Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical Economic Cooperation (BIMSTEC) และอาเซียน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและเป็นผลดีต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียโดยรวม ตลอดจนเป็นช่องทางเพิ่มพูนความร่วมมือกับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคฯ ให้ดีขึ้น และยังเป็นการเชื่อมโยงฐานราก (building blocks) ของความร่วมมือระหว่างประเทศในกรอบพหุภาคีด้วย
อนึ่ง ACMECS มีชื่อเดิมว่า “ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS: Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่าเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) เปลี่ยนชื่อยุทธศาสตร์ความร่วมมือจาก ECS เป็น ACMECS รวมทั้งแผนปฏิบัติการครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขาหลัก ซึ่งอยู่บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การสร้างงาน โดยมีกิจกรรมที่เห็นผลเร็ว มุ่งผลประโยชน์ร่วมกัน และเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งส่งเสริม ให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย โดยเวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 เพื่อเพิ่มพูนความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ
สร้างความมั่นคงและสันติสุขในอนุภูมิภาคให้เป็นไปอย่างสอดคล้องและเสริมประโยชน์กันมากยิ่งขึ้นเป้าหมายหลักของ ACMECS คือการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและก่อให้เกิดความเจริญเติบโตมาก ขึ้นตามแนวชายแดน ตลอดจนอำนวยความสะดวกให้มีการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมเกษตรและการผลิตไปยังบริเวณที่มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ อันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนของประเทศสมาชิกฯ และสร้างโอกาสการจ้างงานและลดความแตกต่างของรายได้ในระหว่างประเทศสมาชิก และส่งเสริมการสร้างการติดต่อระดับประชาชนเพื่อสร้างความ เข้าใจที่ดีระหว่างกัน
สำหรับกลไกการทำงานของ ACMECS นั้น ที่ประชุมผู้นำ ACMECS เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 มีมติให้ จัดการประชุมระดับผู้นำทุก 2 ปี และให้รัฐมนตรีต่างประเทศประชุมทุกปี เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการตามแผนปฏิบัติการที่ได้ตกลงร่วมกันไว้ในโครงการร่วม 46 โครงการ โครงการทวิภาคี 224 โครงการ ภายใต้ความร่วมมือ 5 สาขาหลักข้างต้น
ในส่วนของประเทศไทยนั้นคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2546 ให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (อพบ.) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้มีคำสั่งที่ 4/2547 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2547 จัดตั้ง อพบ. แล้ว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการ ต่างประเทศร่วมเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ เพื่อพิจารณากลั่นกรองเสนอแนะนโยบาย แผนงานและโครงการตามแผนงานการจัดระบบเศรษฐกิจตามแนวชายแดนและการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงาน ACMECS ด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของ ACMECS มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับหน่วยงานภายในของไทยให้ดำเนินงานเป็นไปตามแผนปฏิบัติการและกระทรวงการต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับประเทศสมาชิก ACMECS
ไทยมุ่งหวังที่จะใช้ ACMECS เป็นกลไกสร้างงานและรายได้ให้แก่ประชาชนไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะพื้นที่ตลอดแนวชายแดนและเมืองหลักของเพื่อนบ้าน ตลอดจนการผลักดันบทบาทของไทยในการเป็น
สะพานและศูนย์กลางเชื่อมโยงความร่วมมือทางเศรษฐกิจในกรอบ ACMECS ในระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในทุกระดับทั้งรัฐ-รัฐ / เอกชน-เอกชน / รัฐ-เอกชน / ประชาชน-ประชาชน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-