การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ขอหารือในเรื่องต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุม ประธานการประชุมได้ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการประกาศรัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี จากนั้นประธาน ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ
รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
๒. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๒.๑ ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒.๒ ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
๓. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
สถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๔
๔. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้รับทราบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงาน
ความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ พ.ศ. ….
๕. รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้
พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๕ ฉบับ คือ
๕.๑ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภา
ท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ
ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๕.๒ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และ
นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๕.๓ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
(ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๕.๔ ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๕.๕ ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารเคมีและวิธีการต้องห้ามทาง การกีฬา พ.ศ. …. ซึ่งนายสุวิชญ์ โยทองยศ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสำนักงานผู้แทนธนาคาร
พัฒนาเอเชียในประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องของการจำกัดอำนาจอธิปไตยของรัฐในทางศาล และทางบริหาร การให้เอกสิทธิ์และความ คุ้มกันนั้น จะต้องมีความชัดเจนและควรให้เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ควรเขียนกฎหมายให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามข้อตกลงที่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องเกินความจำเป็น โดยคณะกรรมาธิการได้ ชี้แจงว่า เหตุที่เขียนเผื่อไว้นี้เนื่องจากต้องการให้เกิดการยืดหยุ่นในการบังคับใช้กฎหมายและจะ ไม่กระทบต่ออำนาจอธิปไตยของรัฐอย่างแน่นนอน เนื่องจากความตกลงใดที่จะมีผลกระทบก็จะต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญก่อนที่จะทำความตกลง จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๔๙ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า เรื่องการแบ่ง ส่วนงานของมหาวิทยาลัยเป็นไปในลักษณะให้ความสำคัญกับส่วนงานบริหาร ซึ่งต่างจากที่ปฏิบัติกันมาที่จะให้ความสำคัญกับส่วนงานวิชาการมากกว่า เรื่องที่กำหนดให้รัฐบาลจะต้องจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่มหาวิทยาลัยหากมีรายได้ไม่เพียงพอนั้นจะต้องกำหนดให้หลักเกณฑ์ให้ชัดเจนด้วย หรืออาจจัดสรรเป็นเงินกู้แทนการให้เงินอุดหนุนจะเหมาะสมกว่า เรื่องการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่กำหนดให้คัดเลือกหนึ่งคนจากบัญชีรายชื่อจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนนั้น ซึ่งเสนอโดยคณะกรรมการ การอุดมศึกษานั้นเห็นว่าไม่ควรที่จะต้องระบุจำนวนในบัญชีที่เสนอ แต่ควรให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นผู้กำหนดเองจะเหมาะสมกว่า ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า เรื่องการแบ่งส่วนงานวิชาการของมหาวิทยาลัยได้มีระบุไว้แล้วและมหาวิทยาลัยสามารถที่จะกำหนดได้เองในอนาคต เรื่องเงินอุดหนุนนั้น เหตุที่เขียนไว้นั้นก็เพื่อเป็นหลักประกันในการจัดการศึกษาและจะจัดสรรให้เฉพาะในกรณีที่มหาวิทยาลัยมีรายได้ไม่เพียงพอและไม่สามารถหาเงินจากแหล่งอื่นได้เท่านั้น เรื่องการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้น กรรมาธิการขอยืนยันให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการได้แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อสมาชิกได้อภิปรายและกรรมาธิการได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๗๙ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๓. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ และมีร่างพระราชบัญญัติที่มีลักษณะทำนองเดียวกันได้แก่
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง กับคณะ เป็นผู้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง พันตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมจึงได้มีมติให้รวมพิจารณาในคราวเดียวกัน
จากนั้น ผู้เสนอกฎหมาย ได้แถลงว่า โดยที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ ในส่วนที่เกี่ยวกับการห้ามมิให้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคการเมือง หรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่อาจเป็นการจูงใจให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องระยะเวลาในการต้องห้ามมิให้กระทำการดังกล่าว ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ อยู่ก่อนวันครบวาระการดำรงตำแหน่งกับผู้สมัครรายอื่น จึงควรกำหนดระยะเวลาเพิ่มเติมห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดกระทำการใด ๆ ภายในหกสิบวันก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่งจนถึงวัน เลือกตั้ง ประกอบกับ ยังไม่มีความชัดเจนว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจะนำการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใด นับตั้งแต่ระยะเวลาใดมาเป็นเหตุวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งทำให้ผู้สมัคร หรือผู้ที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเกิดความ ไม่แน่ใจว่าจะประพฤติปฏิบัติตนได้เพียงใดและภายในกำหนดระยะเวลาใด จึงสมควรกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการกรณีการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมและการคัดค้านการเลือกตั้ง ให้สอดคล้องสัมพันธ์กับข้อห้ามที่กำหนดขึ้น อีกทั้ง สมควรกำหนดจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งประสงค์จะคัดค้านการเลือกตั้งเพิ่มเติมขึ้นอีกส่วนหนึ่ง เพื่อให้การคัดค้านการเลือกตั้งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสุจริตเที่ยงธรรมมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ โดยสมาชิกได้อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ กันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบให้ผู้เสนอกฎหมายแต่ละฉบับแก้ไขเพิ่มเติมหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติที่เสนอด้วย เพื่อเป็นการกำหนดกรอบให้ชัดเจนว่าจะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งในมาตราใดบ้าง จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๓๑๑ เสียง ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ ทั้ง ๔ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๒ วัน โดยถือเอาร่างซึ่งเสนอโดยนายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นหลักในการพิจารณา
๔. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว โดยประธานคณะกรรมาธิการได้ เสนอผลการพิจารณาให้ที่ประชุมรับทราบ จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนนเสียง ๒๖๐ เสียง โดยจะประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบ กับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งจะได้ส่งให้คณะรัฐมนตรีต่อไป
๕. ร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการ
ร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว โดยเลขานุการคณะกรรมาธิการร่วมกันได้เสนอผลการพิจารณาให้ที่ประชุมรับทราบ โดยเฉพาะประเด็นข้อขัดแย้งระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยมีสมาชิกอภิปรายอย่างกว้างขวาง จากนั้นคณะกรรมาธิการได้สรุปสาระสำคัญภายหลังการอภิปรายต่อ ที่ประชุม ๓ ประเด็นหลัก คือ
๑. ได้ตัดถ้อยคำบางถ้อยคำในร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไป เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีความชัดเจนขึ้น เช่น คำว่า สมาคม หน่วยงานของรัฐ มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์ ในที่ดินวัด ที่ธรณีสงฆ์ ที่สาธารณะสมบัติ เนื่องจากมีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ และประมวลกฎหมายที่ดิน บังคับใช้อยู่แล้ว
๒. การจัดรูปที่ดินอันเกิดจากเหตุเพลิงไหม้หรือเหตุเภทภัยที่ต้องจัดรูปที่ดิน
ตามมาตรา ๓๕ จะไม่ใช้บังคับกับการจัดรูปที่ดินของกรมโยธาธิการและการเคหะแห่งชาติ เนื่องจาก ๒ หน่วยงานนี้มีแผนงานการจัดรูปที่ดินอยู่แล้ว
๓. ได้บัญญัติเพิ่มเติมมาตรา ๓๙/๑ ในกรณีที่การจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนา
ที่ดินเพื่อการศาสนาจะต้องได้รับการเห็นชอบจากผู้ดูแลที่ดินเพื่อการศาสนานั้นด้วยและการดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อการศาสนาต้องดำเนินตามกฎหมายคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนน ๒๕๙ เสียง
๖. ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกัน
พิจารณาเสร็จแล้ว โดยประธานคณะกรรมาธิการเสนอผลการพิจารณาโดยให้คงถ้อยคำในมาตรา ๔๖/๑ เกี่ยวกับการห้ามมิให้ผู้ชุมนุมในเขตทางหลวงในลักษณะการกีดขวางการจราจรอันจะเป็นเหตุให้ ผู้สัญจรไปมาเกิดอันตราย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันความสูญเสียทางร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งกรณีนี้ยกเว้นการเดินขบวนแห่ตามประเพณีหรือกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์หรือประโยชน์เพื่อการสาธารณะ จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๕๑ เสียง เห็นชอบด้วยกับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกัน ซึ่งจะได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
๗. พิจารณาการที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ ซีดี พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในประเด็นที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมจำนวน ๙ มาตรา ซึ่งล้วนเป็นสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน สาระสำคัญของกฎหมายจะเน้นการปราบปรามผู้ผลิตซีดีเถื่อนจึงได้เสนอให้มีการเพิ่มโทษให้สูงขึ้นทั้งจำทั้งปรับ จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนน ๒๕๙ เสียง ซึ่งจะได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
๘. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ และ เรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง ซึ่งคณะกรรมาธิการมิได้แก้ไขในบทบัญญัติร่างกฎหมายแต่อย่างใด เพียงแต่ได้มีข้อสังเกตแนบท้ายร่างพระราชบัญญัตินี้เท่านั้น ซึ่งสมาชิกฯ ได้อภิปรายตั้งคำถามต่อ คณะกรรมาธิการ โดยเฉพาะประเด็นพื้นที่พัฒนาตามพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๓๓ และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยตามประกาศพระบรมราชโองการ ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๔ นั้นมีขอบเขตอย่างไร ทั้งนี้ต้องการให้มีความชัดเจนและกำหนดเขตพื้นที่ให้ชัดเจนมากขึ้นกว่ากฎหมายเดิมที่บังคับใช้อยู่แล้ว ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า เขตพื้นที่ การพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียเป็นการออกกฎหมายเพื่ออนุมัติตามความในบันทึกข้อตกลงระหว่างไทยและมาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยรัฐสภาเคยออกพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๓๓ เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๓ มาบังคับใช้ก่อนหน้านี้แล้ว โดยเขตพื้นที่การพัฒนาร่วมนั้นมี คำนิยาม หมายถึง พื้นที่ในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยและมาเลเซีย ในอ่าวไทย บัญญัติไว้ในมาตรา ๙ จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการด้วยคะแนน ๒๕๔ เสียง และเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะส่งให้คณะรัฐมนตรีต่อไป
๙. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร
พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยประธาน คณะกรรมาธิการเสนอผลการพิจารณาว่า คณะกรรมาธิการมิได้มีการแก้ไขถ้อยคำในร่างพระราชบัญญัติ แต่อย่างใดและยังให้คงไว้ตามร่างเดิมทั้งหมด จะมีแต่เพียงข้อสังเกตแนบท้ายร่างพระราชบัญญัติ เกี่ยวกับเหตุผลของการตรากฎหมายฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งไม่มีสมาชิกฯ อภิปรายในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เช่นกัน จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการด้วยคะแนน ๒๕๖ เสียง และมีมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะได้ส่งให้คณะรัฐมนตรีต่อไป
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๓๐ นาฬิกา
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๐.๑๐ นาฬิกา โดยนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในการประชุม เมื่อครบองค์ประชุม ประธาน การประชุมได้ดำเนินการพิจารณาตามระเบียบวาระคือ ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มี และระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ดังนี้
- รับทราบเรื่องศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งยุบพรรคชาติพัฒนา เพื่อรวมกับพรรค ไทยรักไทยที่เป็นพรรคหลัก ตามคำสั่งของนายทะเบียนพรรคการเมืองแล้ว
ด้วยนายทะเบียนพรรคการเมืองได้มีหนังสือแจ้งว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งยุบ พรรคชาติพัฒนา ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พุทธศักราช ๒๕๔๑ มาตรา ๖๕ วรรค ๑ (๓) และวรรค ๒ ประกอบมาตรา ๗๓ เนื่องจากที่ประชุมใหญ่ของพรรคชาติพัฒนาและพรรคไทยรักไทยเห็นชอบให้รวมกัน โดยให้พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองหลัก และ นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ประกาศคำสั่งยุบพรรคชาติพัฒนาเพื่อรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย ในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา ๗๒ วรรค ๒ แล้ว
- รับทราบอนุสัญญาพิธีการและข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
สมัยที่ ๘๓-๘๙
ด้วยคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้เสนออนุสัญญา พิธีสาร และข้อแนะ ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ สมัยที่ ๘๓-๘๙ ต่อรัฐสภา เพื่อทราบตามธรรมนูญขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ มาตรา ๑๙ ซึ่งได้บัญญัติว่า ต้องเสนออนุสัญญาและข้อแนะฉบับนั้น ๆ ต่อหน่วยงานผู้ทรงอำนาจสำหรับประเทศ ซึ่งสำหรับประเทศไทย ได้แก่ รัฐสภา เพื่อทราบการตราอนุสัญญาและข้อแนะดังกล่าว
จากนั้นได้มีสมาชิกฯ ตั้งข้อสังเกตและซักถามว่า การจัดทำเอกสารการประชุมแรงงานระหว่างประเทศจะมีการประชุมทุกปี แต่ส่วนการรายงานผลนั้นจะไม่มีการรายงานทุกปี จะเห็นได้จากการประชุมครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นครั้งที่ ๑๑ ได้ประชุมเสร็จสิ้นไปแล้ว ตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ แต่ได้รายงานผลในปี ๒๕๔๗ รวมทั้งจากการที่ประเทศไทยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization หรือ ILO) และถูกผนวกเข้าเป็นหมวดการชำนัญพิเศษของ สหประชาชาติ ดังนั้นการจัดทำอนุสัญญาต่าง ๆ ที่ผ่านมา ๑๐ ครั้ง โดยในอนุสัญญาจะมีข้อแนะไว้ ในข้อแนะต่าง ๆ นั้น กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการไปอย่างไรบ้าง
ในส่วนของแรงงานด้านการเกษตรได้กล่าวถึง มาตรการในการกำหนดเกี่ยวกับ การจัดการสารเคมีในการเกษตรกรรมอย่างถูกต้อง อุปกรณ์ และเครื่องมือในการแต่งกายส่วนบุคคล รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในการชำระล้างสำหรับผู้ที่ใช้สารเคมี การบำรุง การทำความสะอาดอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล กระทรวงแรงงานให้ความสำคัญกับภาคการเกษตรมากน้อยเพียงไร ตลอดจนแนวโน้มและทิศทางของแผนงานที่ประเทศไทยจะไปเซ็นเป็นภาคีอนุสัญญานั้น เช่น อนุสัญญาว่าด้วยงานที่รับไปทำที่บ้าน อนุสัญญาว่าด้วยเรื่องการแก้ไขอนุสัญญาการคุ้มครองมารดา และอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในงานเกษตรกรรม ซึ่งประเทศไทยยังมิได้เซ็นเป็นภาคีหรือให้สัตยาบันอนุสัญญาแต่ประการใด เพียงให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับเดียว คือ ฉบับที่ ๑๘๒ ว่าด้วยการห้ามและการดำเนินการโดยทันทีเพื่อขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก ในส่วนของอนุสัญญาที่ยังมิได้มีการให้สัตยาบันอนุสัญญานั้น สมาชิกฯ ได้มีความเป็นห่วงในเรื่อง ดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะอนุสัญญาฉบับที่ ๑๘๓ ว่าด้วยการแก้ไขอนุสัญญาการคุ้มครองมารดา ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่มารดาซึ่งต้องทำงาน ทั้งในด้านสุขภาพอนามัย สภาพการทำงาน การได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ ดังนั้นกระทรวงแรงงานควรมีแผนในการเตรียมให้สัตยาบันอนุสัญญา เพื่อให้คนไทยในภูมิภาคต่าง ๆ ได้รับการคุ้มครองอย่างทั่วถึง
ต่อจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นางอุไรวรรณ เทียนทอง) ได้ตอบชี้แจงว่า ในเรื่องอนุสัญญาที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไปแล้ว ๑๔ ฉบับ เช่น อนุสัญญาฉบับที่ ๑๙ ว่าด้วยการปฏิบัติโดยเท่าเทียมกัน ในเรื่องค่าตอบแทนสำหรับคนงานชาติในบังคับและคนต่างชาติ พุทธศักราช ๒๔๖๘ อนุสัญญาฉบับที่ ๒๙ ว่าด้วยการเกณฑ์แรงงานหรือแรงงานบังคับ พ.ศ. ๒๔๗๓ อนุสัญญาฉบับที่ ๑๒๗ ว่าด้วยน้ำหนักสูงสุดอนุญาตให้คนงานคนหนึ่งแบกหามได้ พุทธศักราช ๒๕๑๐ และอนุสัญญา ฉบับที่ ๑๘๒ ว่าด้วยการห้ามและดำเนินการโดยทันทีเพื่อขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก พุทธศักราช ๒๕๔๒ เป็นต้น สำหรับในส่วนของการรายงานให้รับทราบอนุสัญญาและพิธีสารและข้อแนะขององค์การระหว่างประเทศนั้น จากการรายงาน ๑๐ ครั้งที่ผ่านมา ค่อนข้างไม่ล่าช้า แต่ครั้งสุดท้ายเป็นการรายงานการประชุมสมัยที่ ๗๒-๘๒ ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๒๙-๒๕๓๘ และรายงานเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๙ นั้น เนื่องจากการรายงานนั้นค่อนข้างไม่เป็นปัจจุบัน แต่ในการประชุมสมัยที่ ๙๐ ๙๑ และ ๙๒ ประชุมเสร็จสิ้นเมื่อมิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการเร่งรัดให้เป็นปัจจุบัน ในอดีตกระทรวง แรงงานไม่สามารถดำเนินการรายงานได้ทัน เนื่องจากไม่เคยได้รับงบประมาณในการจัดทำรายงาน เพราะต้องจัดทำประมาณ ๓,๐๐๐ เล่ม เพื่อเสนอต่อรัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา แต่ในปัจจุบันกระทรวงแรงงานได้รับงบประมาณในการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวนี้ จึงสามารถ รายงานสมัยที่ ๙๐ ๙๑ และ ๙๒ ได้ทันต่อปี
สำหรับการให้สัตยาบันในเรื่องต่าง ๆ นั้นต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบถึง ความพร้อมของประเทศไทยในการที่จะนำบทบัญญัติของอนุสัญญามาใช้ปฏิบัติ ตลอดจนความจำเป็นที่จะต้องตราหรือแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญา เพราะการให้สัตยาบันอนุสัญญาใดก็ตามเท่ากับเป็นการยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องนั้น และต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของอนุสัญญานั้น ๆ ได้ทุกมาตรา
ส่วนในเรื่องของแรงงานภาคเกษตรและแรงงานที่รับไปทำที่บ้าน ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบนั้น ขณะนี้กระทรวงแรงงานได้มีการพิจารณาโดยมีการจัดการสัมมนาทั่วประเทศ และได้ มอบหมายให้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชทำการวิจัยในเรื่องของการที่จะดำเนินการต่อไป และผลการวิจัยจะเสร็จสิ้นในเดือนธันวาคมนี้
ที่ประชุมรับทราบ
- รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๖
ก่อนที่สมาชิกฯ อภิปราย ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้สั่งให้เลื่อนการรับทราบรายงานดังกล่าวไปในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗
พักการประชุมเวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา
ต่อจากนั้น ในเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา ได้มีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายธานินทร์ ใจสมุทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง นโยบายการจัดที่ดินทำกิน ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่ง นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตอบกระทู้ว่า จากการดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้แก่ประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้มีการประกาศให้ประชาชนทั่วประเทศ ขึ้นทะเบียนคนจนนั้น ในปัจจุบันได้มีประชาชนมาขึ้นทะเบียนแจ้งความประสงค์ว่า ไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเองประมาณ ๑,๓๐๐,๐๐๐ ราย ทั่วประเทศ ซึ่งการดำเนินการจัดที่ทำกินนั้นจะแยกออกเป็น ๔ ส่วน ได้แก่ พื้นที่ป่าที่มีสภาพเสื่อมโทรม พื้นที่สงวนหวงห้ามของทางราชการ พื้นที่ซึ่งไม่มีการประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินและอยู่ในระหว่างการรังวัดออกเอกสารสิทธิ์ให้ประชาชน รวมทั้งที่สาธารณประโยชน์ หรือทำเลเลี้ยงสัตว์ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย โดยจะเข้าไปตรวจสอบและจัดสรรสิทธิ์ ให้แก่ประชาชนตามความเหมาะสม ตรงไปตรงมา และไม่มีการเลือกปฏิบัติ ทั้งนี้จะคำนึงถึงบุคคล ซึ่งอยู่ในพื้นที่และมีภูมิลำเนาในพื้นที่นั้น ๆ รวมถึงระยะเวลาที่เคยทำกินในพื้นที่นั้น ๆ เป็นหลัก
๒. กระทู้ถามสดของนายบุญพันธ์ แขวัฒนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การระเบิดของโรงงานผลิตพลุและ ดอกไม้เพลิง ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ตอบกระทู้ว่า ในขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุของการระเบิด และยังไม่ทราบตัวผู้กระทำผิด ซึ่งกำลัง อยู่ในระหว่างการสอบสวน และหากมีความคืบหน้าประการใดก็จะแจ้งให้ทราบต่อไป อย่างไรก็ตามหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว ทางกระทรวงมหาดไทยก็ได้มีการเพิ่มมาตรการและกำชับให้ ทุกจังหวัดเพิ่มความเข้มงวดให้มากขึ้น โดยในการพิจารณาออกใบอนุญาตหรือต่อใบอนุญาตนั้น ให้นายทะเบียนท้องที่รับทราบข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาประกอบการพิจารณาด้วย ส่วนการตรวจสอบนั้นได้ให้นายทะเบียนท้องที่กำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เข้มงวด ไม่ให้มีการลักลอบทำหรือค้าดอกไม้เพลิง รวมทั้งกวดขันร้านที่จำหน่ายสินค้าดังกล่าวด้วย สำหรับมาตรการในการออกใบอนุญาตนั้น ทางกระทรวงมหาดไทยได้มีมาตรการเข้มงวดมาโดยตลอด โดยพิจารณาถึงฐานะและคุณสมบัติของผู้ขอ รวมทั้งสถานที่ตั้งต้องปลอดภัยจากอัคคีภัยและห่างไกลจากชุมชนตามที่กฎหมายกำหนดไว้
นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบจำนวนดอกไม้เพลิงที่มีอยู่ให้ตรงตามบัญชีรายเดือน ที่ผู้ประกอบการรายงานแก่นายทะเบียนท้องที่ ซึ่งต้องระบุแหล่งที่มา ปริมาณ และยอดคงเหลือ ของดอกไม้เพลิงในแต่ละเดือน ตลอดจนต้องอยู่ในเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตด้วย สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องและใช้ในปัจจุบันนี้ได้ออกมาเป็นเวลานานแล้ว และกฎหมายแต่ละฉบับก็เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงกลาโหม ซึ่งรัฐบาล ก็สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดร่วมกันพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ให้ชัดเจน และรัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อย่างไรก็ตามสำหรับข้อสังเกต และข้อเสนอแนะต่าง ๆ นั้น จะได้นำไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป
๓. กระทู้ถามสดของนายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ความไม่โปร่งใสในโครงการ เช่า CPU เมนเฟรม และระบบปฏิบัติการ OS / ๓๙๐, Z / VM และ Linux เพื่อทดแทนของสำนักงานประกันสังคม ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่งนางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ตอบกระทู้ว่า สำนักงานประกันสังคมได้นำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการปฏิบัติงานตั้งแต่ปี ๒๕๓๓ และระบบสารสนเทศ ก็ถูกออกแบบให้ใช้คอมพิวเตอร์ระบบเมนเฟรมเท่านั้น โดยในปี ๒๕๓๓-๒๕๔๔ สำนักงานประกันสังคมได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบเมนเฟรม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของไอบีเอ็ม และต่อมาในปี ๒๕๔๔ ได้เปลี่ยนยี่ห้อมาเป็นอัมดาล ซึ่งมีสัญญาเช่าเป็นเวลา ๓ ปี และได้สิ้นสุดสัญญาไปเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๗ โดยเหตุที่ต้องทำสัญญากับผู้เช่ารายใหม่นั้น เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบเมนเฟรมของคู่สัญญาในปัจจุบัน คือ ยี่ห้ออัมดาลได้เลิกการผลิตไปแล้ว นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทใหม่ คือ ไอบีเอ็ม นั้น ก็สามารถประมวลผลข้อมูลได้มากกว่าเครื่องเดิมถึง ๒ เท่า ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น รวมทั้งยังมีความสามารถในการขยายสมรรถนะ เพื่อรองรับความต้องการในอนาคตที่มีประสิทธิภาพ สูงกว่า ซึ่งจะนำไปสู่ระบบเปิดได้ภายใน ๔ ปี ทั้งนี้ การดำเนินการเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบ เมนเฟรมนั้นได้ดำเนินการตามระเบียบพัสดุทุกขั้นตอน และผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้วย
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๘ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรค
ไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาที่ดินทำกินป่าวังเพลิง - ม่วงค่อม ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ตอบกระทู้ว่า กองทัพบกได้ทำหนังสือขอใช้พื้นที่ ๔๔๗,๐๐๐ ไร่ ในปี ๒๕๓๓ และได้เริ่มใช้ในปี ๒๕๓๔ ซึ่งภายหลัง ได้มีการขอลดการใช้พื้นที่ลงเหลือ ๒๐๐,๐๐๐ กว่าไร่ โดยทางจังหวัดลพบุรีและกองทัพบกได้มีการเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ของราษฎรรายย่อย ซึ่งอาศัยทำกินในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ทางกรมป่าไม้ได้มีการตรวจสอบรังวัดที่ดินของราษฎรแล้วบางส่วน ทำให้ทราบแนวเขตที่ ชัดเจนแล้ว สำหรับพื้นที่ ๆ ยังไม่มีการดำเนินการก็จะเร่งรัดให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีนโยบายในการพิสูจน์สิทธิและการครอบครองที่ดินของราษฎรก่อนกรมป่าไม้ประกาศ ป่าวังเพลิง - ม่วงค่อม ปี ๒๕๑๒ ด้วย ซึ่งหากครอบครองมาก่อนที่จะมีการประกาศเป็นเขตพื้นที่ ป่าถาวรหรือป่าสงวน ทางรัฐบาลก็จะกันพื้นที่นั้น ๆ ออกให้ราษฎรสามารถใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ทั้งนี้จะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้มีมาตรการชัดเจนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และจะนำข้อสังเกตต่าง ๆ ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง และพิจารณาดำเนินการ ในส่วนที่สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้ต่อไป
๒. กระทู้ถามของนายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
พรรคชาติพัฒนา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การหลอกขายวัตถุมงคลปลอม และพระเลี่ยมทองคุณภาพต่ำกว่าที่ระบุให้นักท่องเที่ยว ถามนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ติดใจที่จะถาม ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป
๓. กระทู้ถามของนายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง มาตรการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวหรือ ชาวต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศไทย ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีได้รับมอบหมายป่วยกะทันหัน จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป
๔. กระทู้ถามของนายโสภณ เพชรสว่าง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งรัฐมนตรีป่วยกะทันหัน จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป
๕. กระทู้ถามของนายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การก่อสร้างที่จอดเรือบริเวณหน้าถ้ำมรกต ถามรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งรัฐมนตรีป่วยกะทันหัน จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป
๖. กระทู้ถามของนายเชน เทือกสุบรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การรักษาพยาบาลพระภิกษุสงฆ์ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย ติดภารกิจ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุม สภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป
๗. กระทู้ถามของนายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ
พรรคชาติพัฒนา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการบริหารงบประมาณในกระทรวงสาธารณสุข ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรัฐมนตรีติดภารกิจ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป
๘. กระทู้ถามของพันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดนครราชสีมา พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ขอให้ขยายขนาดโรงพยาบาล ปากช่องนานา ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรัฐมนตรีติดภารกิจ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ คือ การเลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเป็นกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาแทนตำแหน่งที่ว่างลง ๓ ตำแหน่ง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๙ เนื่องจากนายวิลาศ สิงหวิสัย ศาสตราจารย์ ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล และศาสตราจารย์ ติน ปรัชญพฤทธิ์ กรรมการ ก.ร. ผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร ได้ครบวาระการดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๔๗ ทำให้ตำแหน่งกรรมการข้าราชการ ฝ่ายรัฐสภาว่างลง ๓ ตำแหน่ง ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรต้องดำเนินการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายใน ๓๐ วัน ทั้งนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๗ ก่อนกำหนดวันเลือกตั้ง จำนวน ๓ ท่าน คือ นายวิลาศ สิงหวิสัย ศาสตราจารย์ ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล และศาสตราจารย์ ติน ปรัชญพฤทธิ์ สำหรับท่านที่ ๔ คือ รองศาสตราจารย์ ดร.อุดม ทุมโฆสิต นั้น ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๗ ดังนั้นจึงพิจารณาเพียง ๓ ท่าน ข้างต้น
โดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา มาตรา ๑๐ บัญญัติว่าในการ เลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประธานรัฐสภากำหนด ซึ่งได้มีประกาศประธานรัฐสภา ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๓๕ กำหนดให้นำข้อบังคับว่าด้วยการเลือกตั้งคณะกรรมาธิการสามัญมาใช้บังคับแก่การเลือกตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโดยอนุโลม และข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อ ๘๑ วรรคท้าย กำหนดว่าการออกเสียงลงคะแนน เลือกตั้งคณะกรรมาธิการ ถ้ามีการเสนอชื่อกรรมาธิการเท่ากับจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดให้ถือว่า ผู้ถูกเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อมากกว่าจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดให้ออกเสียง ลงคะแนนเป็นความลับ ทั้งนี้เมื่อสมาชิกเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม จำนวน ๓ ท่าน ดังกล่าว ซึ่งไม่เกินจำนวนตำแหน่งที่ว่างลง จึงถือว่าผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง ๓ ท่าน เป็น ผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ปิดประชุมเวลา ๑๕.๑๕ นาฬิกา
----------------------------------------------------------
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ขอหารือในเรื่องต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุม ประธานการประชุมได้ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการประกาศรัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี จากนั้นประธาน ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ
รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
๒. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๒.๑ ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒.๒ ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
๓. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
สถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๔
๔. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้รับทราบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงาน
ความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ พ.ศ. ….
๕. รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้
พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๕ ฉบับ คือ
๕.๑ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภา
ท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ
ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๕.๒ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และ
นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๕.๓ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
(ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๕.๔ ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๕.๕ ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารเคมีและวิธีการต้องห้ามทาง การกีฬา พ.ศ. …. ซึ่งนายสุวิชญ์ โยทองยศ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสำนักงานผู้แทนธนาคาร
พัฒนาเอเชียในประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องของการจำกัดอำนาจอธิปไตยของรัฐในทางศาล และทางบริหาร การให้เอกสิทธิ์และความ คุ้มกันนั้น จะต้องมีความชัดเจนและควรให้เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ควรเขียนกฎหมายให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามข้อตกลงที่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องเกินความจำเป็น โดยคณะกรรมาธิการได้ ชี้แจงว่า เหตุที่เขียนเผื่อไว้นี้เนื่องจากต้องการให้เกิดการยืดหยุ่นในการบังคับใช้กฎหมายและจะ ไม่กระทบต่ออำนาจอธิปไตยของรัฐอย่างแน่นนอน เนื่องจากความตกลงใดที่จะมีผลกระทบก็จะต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญก่อนที่จะทำความตกลง จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๔๙ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า เรื่องการแบ่ง ส่วนงานของมหาวิทยาลัยเป็นไปในลักษณะให้ความสำคัญกับส่วนงานบริหาร ซึ่งต่างจากที่ปฏิบัติกันมาที่จะให้ความสำคัญกับส่วนงานวิชาการมากกว่า เรื่องที่กำหนดให้รัฐบาลจะต้องจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่มหาวิทยาลัยหากมีรายได้ไม่เพียงพอนั้นจะต้องกำหนดให้หลักเกณฑ์ให้ชัดเจนด้วย หรืออาจจัดสรรเป็นเงินกู้แทนการให้เงินอุดหนุนจะเหมาะสมกว่า เรื่องการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่กำหนดให้คัดเลือกหนึ่งคนจากบัญชีรายชื่อจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนนั้น ซึ่งเสนอโดยคณะกรรมการ การอุดมศึกษานั้นเห็นว่าไม่ควรที่จะต้องระบุจำนวนในบัญชีที่เสนอ แต่ควรให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นผู้กำหนดเองจะเหมาะสมกว่า ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า เรื่องการแบ่งส่วนงานวิชาการของมหาวิทยาลัยได้มีระบุไว้แล้วและมหาวิทยาลัยสามารถที่จะกำหนดได้เองในอนาคต เรื่องเงินอุดหนุนนั้น เหตุที่เขียนไว้นั้นก็เพื่อเป็นหลักประกันในการจัดการศึกษาและจะจัดสรรให้เฉพาะในกรณีที่มหาวิทยาลัยมีรายได้ไม่เพียงพอและไม่สามารถหาเงินจากแหล่งอื่นได้เท่านั้น เรื่องการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้น กรรมาธิการขอยืนยันให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการได้แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อสมาชิกได้อภิปรายและกรรมาธิการได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๗๙ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๓. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ และมีร่างพระราชบัญญัติที่มีลักษณะทำนองเดียวกันได้แก่
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง กับคณะ เป็นผู้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง พันตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมจึงได้มีมติให้รวมพิจารณาในคราวเดียวกัน
จากนั้น ผู้เสนอกฎหมาย ได้แถลงว่า โดยที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ ในส่วนที่เกี่ยวกับการห้ามมิให้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคการเมือง หรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่อาจเป็นการจูงใจให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องระยะเวลาในการต้องห้ามมิให้กระทำการดังกล่าว ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ อยู่ก่อนวันครบวาระการดำรงตำแหน่งกับผู้สมัครรายอื่น จึงควรกำหนดระยะเวลาเพิ่มเติมห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดกระทำการใด ๆ ภายในหกสิบวันก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่งจนถึงวัน เลือกตั้ง ประกอบกับ ยังไม่มีความชัดเจนว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจะนำการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใด นับตั้งแต่ระยะเวลาใดมาเป็นเหตุวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งทำให้ผู้สมัคร หรือผู้ที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเกิดความ ไม่แน่ใจว่าจะประพฤติปฏิบัติตนได้เพียงใดและภายในกำหนดระยะเวลาใด จึงสมควรกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการกรณีการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมและการคัดค้านการเลือกตั้ง ให้สอดคล้องสัมพันธ์กับข้อห้ามที่กำหนดขึ้น อีกทั้ง สมควรกำหนดจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งประสงค์จะคัดค้านการเลือกตั้งเพิ่มเติมขึ้นอีกส่วนหนึ่ง เพื่อให้การคัดค้านการเลือกตั้งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสุจริตเที่ยงธรรมมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ โดยสมาชิกได้อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ กันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบให้ผู้เสนอกฎหมายแต่ละฉบับแก้ไขเพิ่มเติมหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติที่เสนอด้วย เพื่อเป็นการกำหนดกรอบให้ชัดเจนว่าจะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งในมาตราใดบ้าง จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๓๑๑ เสียง ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ ทั้ง ๔ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๒ วัน โดยถือเอาร่างซึ่งเสนอโดยนายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นหลักในการพิจารณา
๔. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว โดยประธานคณะกรรมาธิการได้ เสนอผลการพิจารณาให้ที่ประชุมรับทราบ จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนนเสียง ๒๖๐ เสียง โดยจะประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบ กับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งจะได้ส่งให้คณะรัฐมนตรีต่อไป
๕. ร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการ
ร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว โดยเลขานุการคณะกรรมาธิการร่วมกันได้เสนอผลการพิจารณาให้ที่ประชุมรับทราบ โดยเฉพาะประเด็นข้อขัดแย้งระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยมีสมาชิกอภิปรายอย่างกว้างขวาง จากนั้นคณะกรรมาธิการได้สรุปสาระสำคัญภายหลังการอภิปรายต่อ ที่ประชุม ๓ ประเด็นหลัก คือ
๑. ได้ตัดถ้อยคำบางถ้อยคำในร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไป เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีความชัดเจนขึ้น เช่น คำว่า สมาคม หน่วยงานของรัฐ มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์ ในที่ดินวัด ที่ธรณีสงฆ์ ที่สาธารณะสมบัติ เนื่องจากมีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ และประมวลกฎหมายที่ดิน บังคับใช้อยู่แล้ว
๒. การจัดรูปที่ดินอันเกิดจากเหตุเพลิงไหม้หรือเหตุเภทภัยที่ต้องจัดรูปที่ดิน
ตามมาตรา ๓๕ จะไม่ใช้บังคับกับการจัดรูปที่ดินของกรมโยธาธิการและการเคหะแห่งชาติ เนื่องจาก ๒ หน่วยงานนี้มีแผนงานการจัดรูปที่ดินอยู่แล้ว
๓. ได้บัญญัติเพิ่มเติมมาตรา ๓๙/๑ ในกรณีที่การจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนา
ที่ดินเพื่อการศาสนาจะต้องได้รับการเห็นชอบจากผู้ดูแลที่ดินเพื่อการศาสนานั้นด้วยและการดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อการศาสนาต้องดำเนินตามกฎหมายคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนน ๒๕๙ เสียง
๖. ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกัน
พิจารณาเสร็จแล้ว โดยประธานคณะกรรมาธิการเสนอผลการพิจารณาโดยให้คงถ้อยคำในมาตรา ๔๖/๑ เกี่ยวกับการห้ามมิให้ผู้ชุมนุมในเขตทางหลวงในลักษณะการกีดขวางการจราจรอันจะเป็นเหตุให้ ผู้สัญจรไปมาเกิดอันตราย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันความสูญเสียทางร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งกรณีนี้ยกเว้นการเดินขบวนแห่ตามประเพณีหรือกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์หรือประโยชน์เพื่อการสาธารณะ จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๕๑ เสียง เห็นชอบด้วยกับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกัน ซึ่งจะได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
๗. พิจารณาการที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ ซีดี พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในประเด็นที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมจำนวน ๙ มาตรา ซึ่งล้วนเป็นสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน สาระสำคัญของกฎหมายจะเน้นการปราบปรามผู้ผลิตซีดีเถื่อนจึงได้เสนอให้มีการเพิ่มโทษให้สูงขึ้นทั้งจำทั้งปรับ จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนน ๒๕๙ เสียง ซึ่งจะได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
๘. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ และ เรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง ซึ่งคณะกรรมาธิการมิได้แก้ไขในบทบัญญัติร่างกฎหมายแต่อย่างใด เพียงแต่ได้มีข้อสังเกตแนบท้ายร่างพระราชบัญญัตินี้เท่านั้น ซึ่งสมาชิกฯ ได้อภิปรายตั้งคำถามต่อ คณะกรรมาธิการ โดยเฉพาะประเด็นพื้นที่พัฒนาตามพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๓๓ และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยตามประกาศพระบรมราชโองการ ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๔ นั้นมีขอบเขตอย่างไร ทั้งนี้ต้องการให้มีความชัดเจนและกำหนดเขตพื้นที่ให้ชัดเจนมากขึ้นกว่ากฎหมายเดิมที่บังคับใช้อยู่แล้ว ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า เขตพื้นที่ การพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียเป็นการออกกฎหมายเพื่ออนุมัติตามความในบันทึกข้อตกลงระหว่างไทยและมาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยรัฐสภาเคยออกพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๓๓ เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๓ มาบังคับใช้ก่อนหน้านี้แล้ว โดยเขตพื้นที่การพัฒนาร่วมนั้นมี คำนิยาม หมายถึง พื้นที่ในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยและมาเลเซีย ในอ่าวไทย บัญญัติไว้ในมาตรา ๙ จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการด้วยคะแนน ๒๕๔ เสียง และเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะส่งให้คณะรัฐมนตรีต่อไป
๙. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร
พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยประธาน คณะกรรมาธิการเสนอผลการพิจารณาว่า คณะกรรมาธิการมิได้มีการแก้ไขถ้อยคำในร่างพระราชบัญญัติ แต่อย่างใดและยังให้คงไว้ตามร่างเดิมทั้งหมด จะมีแต่เพียงข้อสังเกตแนบท้ายร่างพระราชบัญญัติ เกี่ยวกับเหตุผลของการตรากฎหมายฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งไม่มีสมาชิกฯ อภิปรายในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เช่นกัน จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการด้วยคะแนน ๒๕๖ เสียง และมีมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะได้ส่งให้คณะรัฐมนตรีต่อไป
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๓๐ นาฬิกา
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๐.๑๐ นาฬิกา โดยนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในการประชุม เมื่อครบองค์ประชุม ประธาน การประชุมได้ดำเนินการพิจารณาตามระเบียบวาระคือ ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มี และระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ดังนี้
- รับทราบเรื่องศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งยุบพรรคชาติพัฒนา เพื่อรวมกับพรรค ไทยรักไทยที่เป็นพรรคหลัก ตามคำสั่งของนายทะเบียนพรรคการเมืองแล้ว
ด้วยนายทะเบียนพรรคการเมืองได้มีหนังสือแจ้งว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งยุบ พรรคชาติพัฒนา ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พุทธศักราช ๒๕๔๑ มาตรา ๖๕ วรรค ๑ (๓) และวรรค ๒ ประกอบมาตรา ๗๓ เนื่องจากที่ประชุมใหญ่ของพรรคชาติพัฒนาและพรรคไทยรักไทยเห็นชอบให้รวมกัน โดยให้พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองหลัก และ นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ประกาศคำสั่งยุบพรรคชาติพัฒนาเพื่อรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย ในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา ๗๒ วรรค ๒ แล้ว
- รับทราบอนุสัญญาพิธีการและข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
สมัยที่ ๘๓-๘๙
ด้วยคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้เสนออนุสัญญา พิธีสาร และข้อแนะ ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ สมัยที่ ๘๓-๘๙ ต่อรัฐสภา เพื่อทราบตามธรรมนูญขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ มาตรา ๑๙ ซึ่งได้บัญญัติว่า ต้องเสนออนุสัญญาและข้อแนะฉบับนั้น ๆ ต่อหน่วยงานผู้ทรงอำนาจสำหรับประเทศ ซึ่งสำหรับประเทศไทย ได้แก่ รัฐสภา เพื่อทราบการตราอนุสัญญาและข้อแนะดังกล่าว
จากนั้นได้มีสมาชิกฯ ตั้งข้อสังเกตและซักถามว่า การจัดทำเอกสารการประชุมแรงงานระหว่างประเทศจะมีการประชุมทุกปี แต่ส่วนการรายงานผลนั้นจะไม่มีการรายงานทุกปี จะเห็นได้จากการประชุมครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นครั้งที่ ๑๑ ได้ประชุมเสร็จสิ้นไปแล้ว ตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ แต่ได้รายงานผลในปี ๒๕๔๗ รวมทั้งจากการที่ประเทศไทยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization หรือ ILO) และถูกผนวกเข้าเป็นหมวดการชำนัญพิเศษของ สหประชาชาติ ดังนั้นการจัดทำอนุสัญญาต่าง ๆ ที่ผ่านมา ๑๐ ครั้ง โดยในอนุสัญญาจะมีข้อแนะไว้ ในข้อแนะต่าง ๆ นั้น กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการไปอย่างไรบ้าง
ในส่วนของแรงงานด้านการเกษตรได้กล่าวถึง มาตรการในการกำหนดเกี่ยวกับ การจัดการสารเคมีในการเกษตรกรรมอย่างถูกต้อง อุปกรณ์ และเครื่องมือในการแต่งกายส่วนบุคคล รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในการชำระล้างสำหรับผู้ที่ใช้สารเคมี การบำรุง การทำความสะอาดอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล กระทรวงแรงงานให้ความสำคัญกับภาคการเกษตรมากน้อยเพียงไร ตลอดจนแนวโน้มและทิศทางของแผนงานที่ประเทศไทยจะไปเซ็นเป็นภาคีอนุสัญญานั้น เช่น อนุสัญญาว่าด้วยงานที่รับไปทำที่บ้าน อนุสัญญาว่าด้วยเรื่องการแก้ไขอนุสัญญาการคุ้มครองมารดา และอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในงานเกษตรกรรม ซึ่งประเทศไทยยังมิได้เซ็นเป็นภาคีหรือให้สัตยาบันอนุสัญญาแต่ประการใด เพียงให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับเดียว คือ ฉบับที่ ๑๘๒ ว่าด้วยการห้ามและการดำเนินการโดยทันทีเพื่อขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก ในส่วนของอนุสัญญาที่ยังมิได้มีการให้สัตยาบันอนุสัญญานั้น สมาชิกฯ ได้มีความเป็นห่วงในเรื่อง ดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะอนุสัญญาฉบับที่ ๑๘๓ ว่าด้วยการแก้ไขอนุสัญญาการคุ้มครองมารดา ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่มารดาซึ่งต้องทำงาน ทั้งในด้านสุขภาพอนามัย สภาพการทำงาน การได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ ดังนั้นกระทรวงแรงงานควรมีแผนในการเตรียมให้สัตยาบันอนุสัญญา เพื่อให้คนไทยในภูมิภาคต่าง ๆ ได้รับการคุ้มครองอย่างทั่วถึง
ต่อจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นางอุไรวรรณ เทียนทอง) ได้ตอบชี้แจงว่า ในเรื่องอนุสัญญาที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไปแล้ว ๑๔ ฉบับ เช่น อนุสัญญาฉบับที่ ๑๙ ว่าด้วยการปฏิบัติโดยเท่าเทียมกัน ในเรื่องค่าตอบแทนสำหรับคนงานชาติในบังคับและคนต่างชาติ พุทธศักราช ๒๔๖๘ อนุสัญญาฉบับที่ ๒๙ ว่าด้วยการเกณฑ์แรงงานหรือแรงงานบังคับ พ.ศ. ๒๔๗๓ อนุสัญญาฉบับที่ ๑๒๗ ว่าด้วยน้ำหนักสูงสุดอนุญาตให้คนงานคนหนึ่งแบกหามได้ พุทธศักราช ๒๕๑๐ และอนุสัญญา ฉบับที่ ๑๘๒ ว่าด้วยการห้ามและดำเนินการโดยทันทีเพื่อขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก พุทธศักราช ๒๕๔๒ เป็นต้น สำหรับในส่วนของการรายงานให้รับทราบอนุสัญญาและพิธีสารและข้อแนะขององค์การระหว่างประเทศนั้น จากการรายงาน ๑๐ ครั้งที่ผ่านมา ค่อนข้างไม่ล่าช้า แต่ครั้งสุดท้ายเป็นการรายงานการประชุมสมัยที่ ๗๒-๘๒ ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๒๙-๒๕๓๘ และรายงานเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๙ นั้น เนื่องจากการรายงานนั้นค่อนข้างไม่เป็นปัจจุบัน แต่ในการประชุมสมัยที่ ๙๐ ๙๑ และ ๙๒ ประชุมเสร็จสิ้นเมื่อมิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการเร่งรัดให้เป็นปัจจุบัน ในอดีตกระทรวง แรงงานไม่สามารถดำเนินการรายงานได้ทัน เนื่องจากไม่เคยได้รับงบประมาณในการจัดทำรายงาน เพราะต้องจัดทำประมาณ ๓,๐๐๐ เล่ม เพื่อเสนอต่อรัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา แต่ในปัจจุบันกระทรวงแรงงานได้รับงบประมาณในการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวนี้ จึงสามารถ รายงานสมัยที่ ๙๐ ๙๑ และ ๙๒ ได้ทันต่อปี
สำหรับการให้สัตยาบันในเรื่องต่าง ๆ นั้นต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบถึง ความพร้อมของประเทศไทยในการที่จะนำบทบัญญัติของอนุสัญญามาใช้ปฏิบัติ ตลอดจนความจำเป็นที่จะต้องตราหรือแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญา เพราะการให้สัตยาบันอนุสัญญาใดก็ตามเท่ากับเป็นการยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องนั้น และต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของอนุสัญญานั้น ๆ ได้ทุกมาตรา
ส่วนในเรื่องของแรงงานภาคเกษตรและแรงงานที่รับไปทำที่บ้าน ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบนั้น ขณะนี้กระทรวงแรงงานได้มีการพิจารณาโดยมีการจัดการสัมมนาทั่วประเทศ และได้ มอบหมายให้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชทำการวิจัยในเรื่องของการที่จะดำเนินการต่อไป และผลการวิจัยจะเสร็จสิ้นในเดือนธันวาคมนี้
ที่ประชุมรับทราบ
- รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๖
ก่อนที่สมาชิกฯ อภิปราย ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้สั่งให้เลื่อนการรับทราบรายงานดังกล่าวไปในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗
พักการประชุมเวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา
ต่อจากนั้น ในเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา ได้มีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายธานินทร์ ใจสมุทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง นโยบายการจัดที่ดินทำกิน ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่ง นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตอบกระทู้ว่า จากการดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้แก่ประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้มีการประกาศให้ประชาชนทั่วประเทศ ขึ้นทะเบียนคนจนนั้น ในปัจจุบันได้มีประชาชนมาขึ้นทะเบียนแจ้งความประสงค์ว่า ไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเองประมาณ ๑,๓๐๐,๐๐๐ ราย ทั่วประเทศ ซึ่งการดำเนินการจัดที่ทำกินนั้นจะแยกออกเป็น ๔ ส่วน ได้แก่ พื้นที่ป่าที่มีสภาพเสื่อมโทรม พื้นที่สงวนหวงห้ามของทางราชการ พื้นที่ซึ่งไม่มีการประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินและอยู่ในระหว่างการรังวัดออกเอกสารสิทธิ์ให้ประชาชน รวมทั้งที่สาธารณประโยชน์ หรือทำเลเลี้ยงสัตว์ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย โดยจะเข้าไปตรวจสอบและจัดสรรสิทธิ์ ให้แก่ประชาชนตามความเหมาะสม ตรงไปตรงมา และไม่มีการเลือกปฏิบัติ ทั้งนี้จะคำนึงถึงบุคคล ซึ่งอยู่ในพื้นที่และมีภูมิลำเนาในพื้นที่นั้น ๆ รวมถึงระยะเวลาที่เคยทำกินในพื้นที่นั้น ๆ เป็นหลัก
๒. กระทู้ถามสดของนายบุญพันธ์ แขวัฒนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การระเบิดของโรงงานผลิตพลุและ ดอกไม้เพลิง ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ตอบกระทู้ว่า ในขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุของการระเบิด และยังไม่ทราบตัวผู้กระทำผิด ซึ่งกำลัง อยู่ในระหว่างการสอบสวน และหากมีความคืบหน้าประการใดก็จะแจ้งให้ทราบต่อไป อย่างไรก็ตามหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว ทางกระทรวงมหาดไทยก็ได้มีการเพิ่มมาตรการและกำชับให้ ทุกจังหวัดเพิ่มความเข้มงวดให้มากขึ้น โดยในการพิจารณาออกใบอนุญาตหรือต่อใบอนุญาตนั้น ให้นายทะเบียนท้องที่รับทราบข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาประกอบการพิจารณาด้วย ส่วนการตรวจสอบนั้นได้ให้นายทะเบียนท้องที่กำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เข้มงวด ไม่ให้มีการลักลอบทำหรือค้าดอกไม้เพลิง รวมทั้งกวดขันร้านที่จำหน่ายสินค้าดังกล่าวด้วย สำหรับมาตรการในการออกใบอนุญาตนั้น ทางกระทรวงมหาดไทยได้มีมาตรการเข้มงวดมาโดยตลอด โดยพิจารณาถึงฐานะและคุณสมบัติของผู้ขอ รวมทั้งสถานที่ตั้งต้องปลอดภัยจากอัคคีภัยและห่างไกลจากชุมชนตามที่กฎหมายกำหนดไว้
นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบจำนวนดอกไม้เพลิงที่มีอยู่ให้ตรงตามบัญชีรายเดือน ที่ผู้ประกอบการรายงานแก่นายทะเบียนท้องที่ ซึ่งต้องระบุแหล่งที่มา ปริมาณ และยอดคงเหลือ ของดอกไม้เพลิงในแต่ละเดือน ตลอดจนต้องอยู่ในเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตด้วย สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องและใช้ในปัจจุบันนี้ได้ออกมาเป็นเวลานานแล้ว และกฎหมายแต่ละฉบับก็เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงกลาโหม ซึ่งรัฐบาล ก็สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดร่วมกันพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ให้ชัดเจน และรัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อย่างไรก็ตามสำหรับข้อสังเกต และข้อเสนอแนะต่าง ๆ นั้น จะได้นำไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป
๓. กระทู้ถามสดของนายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ความไม่โปร่งใสในโครงการ เช่า CPU เมนเฟรม และระบบปฏิบัติการ OS / ๓๙๐, Z / VM และ Linux เพื่อทดแทนของสำนักงานประกันสังคม ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่งนางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ตอบกระทู้ว่า สำนักงานประกันสังคมได้นำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการปฏิบัติงานตั้งแต่ปี ๒๕๓๓ และระบบสารสนเทศ ก็ถูกออกแบบให้ใช้คอมพิวเตอร์ระบบเมนเฟรมเท่านั้น โดยในปี ๒๕๓๓-๒๕๔๔ สำนักงานประกันสังคมได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบเมนเฟรม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของไอบีเอ็ม และต่อมาในปี ๒๕๔๔ ได้เปลี่ยนยี่ห้อมาเป็นอัมดาล ซึ่งมีสัญญาเช่าเป็นเวลา ๓ ปี และได้สิ้นสุดสัญญาไปเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๗ โดยเหตุที่ต้องทำสัญญากับผู้เช่ารายใหม่นั้น เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบเมนเฟรมของคู่สัญญาในปัจจุบัน คือ ยี่ห้ออัมดาลได้เลิกการผลิตไปแล้ว นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทใหม่ คือ ไอบีเอ็ม นั้น ก็สามารถประมวลผลข้อมูลได้มากกว่าเครื่องเดิมถึง ๒ เท่า ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น รวมทั้งยังมีความสามารถในการขยายสมรรถนะ เพื่อรองรับความต้องการในอนาคตที่มีประสิทธิภาพ สูงกว่า ซึ่งจะนำไปสู่ระบบเปิดได้ภายใน ๔ ปี ทั้งนี้ การดำเนินการเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบ เมนเฟรมนั้นได้ดำเนินการตามระเบียบพัสดุทุกขั้นตอน และผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้วย
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๘ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรค
ไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาที่ดินทำกินป่าวังเพลิง - ม่วงค่อม ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ตอบกระทู้ว่า กองทัพบกได้ทำหนังสือขอใช้พื้นที่ ๔๔๗,๐๐๐ ไร่ ในปี ๒๕๓๓ และได้เริ่มใช้ในปี ๒๕๓๔ ซึ่งภายหลัง ได้มีการขอลดการใช้พื้นที่ลงเหลือ ๒๐๐,๐๐๐ กว่าไร่ โดยทางจังหวัดลพบุรีและกองทัพบกได้มีการเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ของราษฎรรายย่อย ซึ่งอาศัยทำกินในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ทางกรมป่าไม้ได้มีการตรวจสอบรังวัดที่ดินของราษฎรแล้วบางส่วน ทำให้ทราบแนวเขตที่ ชัดเจนแล้ว สำหรับพื้นที่ ๆ ยังไม่มีการดำเนินการก็จะเร่งรัดให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีนโยบายในการพิสูจน์สิทธิและการครอบครองที่ดินของราษฎรก่อนกรมป่าไม้ประกาศ ป่าวังเพลิง - ม่วงค่อม ปี ๒๕๑๒ ด้วย ซึ่งหากครอบครองมาก่อนที่จะมีการประกาศเป็นเขตพื้นที่ ป่าถาวรหรือป่าสงวน ทางรัฐบาลก็จะกันพื้นที่นั้น ๆ ออกให้ราษฎรสามารถใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ทั้งนี้จะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้มีมาตรการชัดเจนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และจะนำข้อสังเกตต่าง ๆ ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง และพิจารณาดำเนินการ ในส่วนที่สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้ต่อไป
๒. กระทู้ถามของนายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
พรรคชาติพัฒนา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การหลอกขายวัตถุมงคลปลอม และพระเลี่ยมทองคุณภาพต่ำกว่าที่ระบุให้นักท่องเที่ยว ถามนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ติดใจที่จะถาม ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป
๓. กระทู้ถามของนายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง มาตรการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวหรือ ชาวต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศไทย ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีได้รับมอบหมายป่วยกะทันหัน จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป
๔. กระทู้ถามของนายโสภณ เพชรสว่าง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งรัฐมนตรีป่วยกะทันหัน จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป
๕. กระทู้ถามของนายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การก่อสร้างที่จอดเรือบริเวณหน้าถ้ำมรกต ถามรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งรัฐมนตรีป่วยกะทันหัน จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป
๖. กระทู้ถามของนายเชน เทือกสุบรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การรักษาพยาบาลพระภิกษุสงฆ์ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย ติดภารกิจ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุม สภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป
๗. กระทู้ถามของนายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ
พรรคชาติพัฒนา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการบริหารงบประมาณในกระทรวงสาธารณสุข ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรัฐมนตรีติดภารกิจ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป
๘. กระทู้ถามของพันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดนครราชสีมา พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ขอให้ขยายขนาดโรงพยาบาล ปากช่องนานา ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรัฐมนตรีติดภารกิจ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ คือ การเลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเป็นกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาแทนตำแหน่งที่ว่างลง ๓ ตำแหน่ง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๙ เนื่องจากนายวิลาศ สิงหวิสัย ศาสตราจารย์ ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล และศาสตราจารย์ ติน ปรัชญพฤทธิ์ กรรมการ ก.ร. ผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร ได้ครบวาระการดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๔๗ ทำให้ตำแหน่งกรรมการข้าราชการ ฝ่ายรัฐสภาว่างลง ๓ ตำแหน่ง ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรต้องดำเนินการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายใน ๓๐ วัน ทั้งนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๗ ก่อนกำหนดวันเลือกตั้ง จำนวน ๓ ท่าน คือ นายวิลาศ สิงหวิสัย ศาสตราจารย์ ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล และศาสตราจารย์ ติน ปรัชญพฤทธิ์ สำหรับท่านที่ ๔ คือ รองศาสตราจารย์ ดร.อุดม ทุมโฆสิต นั้น ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๗ ดังนั้นจึงพิจารณาเพียง ๓ ท่าน ข้างต้น
โดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา มาตรา ๑๐ บัญญัติว่าในการ เลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประธานรัฐสภากำหนด ซึ่งได้มีประกาศประธานรัฐสภา ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๓๕ กำหนดให้นำข้อบังคับว่าด้วยการเลือกตั้งคณะกรรมาธิการสามัญมาใช้บังคับแก่การเลือกตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโดยอนุโลม และข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อ ๘๑ วรรคท้าย กำหนดว่าการออกเสียงลงคะแนน เลือกตั้งคณะกรรมาธิการ ถ้ามีการเสนอชื่อกรรมาธิการเท่ากับจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดให้ถือว่า ผู้ถูกเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อมากกว่าจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดให้ออกเสียง ลงคะแนนเป็นความลับ ทั้งนี้เมื่อสมาชิกเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม จำนวน ๓ ท่าน ดังกล่าว ซึ่งไม่เกินจำนวนตำแหน่งที่ว่างลง จึงถือว่าผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง ๓ ท่าน เป็น ผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ปิดประชุมเวลา ๑๕.๑๕ นาฬิกา
----------------------------------------------------------