ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.อยู่ระหว่างพิจารณาชะลอโครงการการใช้เทคโนโลยีภาพเต็มระบบ ผอส.สายระบบการ
ชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการพัฒนาระบบหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคาร
ด้วยภาพ (Cheque Image) ซึ่งเป็นระบบการตัดการเดินทางของตัวเช็ค (Cheque Truncations) นั้น
ธปท.กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตัดสินใจที่จะชะลอโครงการการใช้เทคโนโลยีภาพเต็มระบบออกไปก่อน
เนื่องจากปัจจุบัน ธปท.ได้นำระบบการใช้เทคโนโลยีภาพดังกล่าวมาใช้ไปแล้วส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะในส่วนของ
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถให้ประสิทธิภาพในการดำเนินการได้ค่อนข้างดีอยู่แล้ว รวมทั้งหากเมื่อ
พิจารณาถึงการลงทุนกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ อาจจะไม่คุ้มกับการลงทุนมากนัก เพราะจะต้องใช้เงินลงทุนที่สูง
มากกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งอาจจะเป็นภาระค่อนข้างมากสำหรับผู้ลงทุน คือ ธพ. และ ธปท. (บ้านเมือง)
2. ก.คลังเตรียมปรับโครงสร้างภาษีช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย รมว.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ ก.
คลังมีนโยบายที่จะใช้มาตรการทางภาษีเข้าไปช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และบริษัทเอกชนรายเล็ก ๆ เพื่อให้มี
ภาระต้นทุนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และทำให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด โดยคาดว่าการขยายฐานเงินได้ของผู้
เสียภาษีจะทำให้กรมสรรพากรเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีไม่มาก หรือประมาณ 100-1,000 ล้านบาท ทั้งนี้
การขยายฐานรายได้ของผู้เสียภาษีจาก 80,000 บาท เป็น 100,000 บาท จะทำให้ผู้มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
16,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ไม่ต้องเสียภาษีสำหรับผู้มีเงินได้เฉลี่ยเดือนละ 14,000
บาท นอกจากนี้ ก.คลังยังมีนโยบายที่จะพิจารณาปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนของกำไรสุทธิของ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดยพิจารณาจากกำไรสุทธิส่วนเกินเป็นเกณฑ์ ซึ่งเดิมกำหนด
โครงสร้างกำไรสุทธิของเอสเอ็มอีที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 20 นโยบายใหม่จะปรับ
ลดเหลือร้อยละ 10 แต่หากเอสเอ็มอีที่มีกำไรสุทธิเกิน 1-3 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 25 ส่วนที่
มีกำไรสุทธิตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไปจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 30 สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีการขยายฐานรายได้
ที่ไม่ถึงเกณฑ์ในการเสียภาษีให้มากขึ้นกว่าเดิมที่อยู่ที่ 1.2 ล้านบาท เป็น 1.8 ล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถ
ใช้นโยบายดังกล่าวได้ภายในงบประมาณปี 48 (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. ธ.กรุงไทยจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสินเชื่อ 11
ราย ปลัด ก.คลัง รองประธานกรรมการ ธ.กรุงไทย ในฐานะประธานกรรมการตรวจสอบคุณภาพสินเชื่อ
ธ.กรุงไทย เปิดเผยว่า วันที่ 11 ต.ค.47 คณะกรรมการ ธ.กรุงไทยจะดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทาง
วินัยกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการปล่อยสินเชื่อจำนวน 11 ราย โดยอาจจะมากกว่า 1 ชุด แต่ละชุดจะ
ให้สอบสวนในแต่ละเรื่อง ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนการตรวจสอบตามปกติของธนาคาร ส่วนการคัดเลือกกรรมการผู้
จัดการ ธ.กรุงไทยนั้น นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการธนาคาร จะทำการตั้งคณะ
กรรมการสรรหาชุดใหม่ โดยคาดว่าจะใช้เวลาในการคัดเลือกประมาณ 1 เดือน เนื่องจาก รมว.คลังเร่งรัดให้
ได้ข้อยุติภายใน 1 เดือน ซึ่งขั้นตอนทุกอย่างจะดำเนินการไปตามขั้นตอนกฎหมาย (บ้านเมือง)
4. สศอ.เตรียมจัดทำฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์จังหวัดภาคอุตสาหกรรม ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ก.อุตสาหกรรมอยู่ระหว่างการจัดทำฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์จังหวัดภาค
อุตสาหกรรม (จีพีพี ภาคอุตสาหกรรม) ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละจังหวัด เพื่อนำมา
เป็นข้อมูลจัดทำผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ภาคอุตสาหกรรม โดยจีพีพีดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการ
ผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมแต่ละประเภท อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัด ระดับรายได้ของ
ประชากรในจังหวัด เพื่อนำมาประเมินภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลใน
การบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการ คาดว่าจะสามารถเริ่มนำมาเผยแพร่ในปี 51 ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการจัดทำ
จีพีพียังได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ขาดข้อมูลในด้านปริมาณการผลิต ราคา ต้นทุนการผลิต ดัชนีราคาจำแนกรายจังหวัด
และการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นไปอย่างล่าช้า ดังนั้น สศอ.จึงเข้ามาจัดทำจีพีพีด้วยตนเอง (ข่าวสด)
5. ก.คลังกำหนดเป้าหมายเพิ่มงบประมาณลงทุนปีละ 100,000 ล้านบาทตามแผนยุทธศาสตร์การ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย รมว.คลัง เปิดเผยในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมของไทยให้ยั่งยืน ในเบื้องต้นกำหนดเป้าหมายที่จะเพิ่มงบประมาณลงทุนให้ได้ปีละ 100,000
ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 8-9 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) โดยจะพยายามลดงบประมาณรายจ่ายประจำ
แล้วเพิ่มงบลงทุนให้มากที่สุด หรือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของงบประมาณรายจ่ายในแต่ละปี (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าการจ้างงานที่ลดลงในเดือน ก.ย.47 จะไม่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของ สรอ. รายงานจากเซนต์หลุยส์ เมื่อ 8 ต.ค.47 ประธาน FRB of St. Louis
(William Poole) เปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานใหม่ของ สรอ.ในเดือน ก.ย.47 ซึ่งมีจำนวนเพียง
96,000 คน ต่ำกว่าการคาดการณ์อย่างมาก จะไม่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
ของ สรอ. รวมทั้งคาดว่าประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 3.5-4 และในช่วงต่อไป
การเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงทิศทางที่สดใส นอกจากนี้ Poole เห็นว่าเศรษฐกิจ สรอ.จะยังไม่ประสบกับภาวะ
เงินเฟ้อ แม้ว่าต้นทุนราคาพลังงานจะสูงขึ้น โดยเขากล่าวว่า แม้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะสูงขึ้น แต่ราคาสินค้า
อื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของดัชนีราคาผู้บริโภคกลับลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ เขายังเห็นว่ากำลังการผลิตของ
สรอ.จะเพิ่มขึ้นโดยอาศัยแรงผลักดันจากธุรกิจต่างๆ ที่ยังคงมองว่าภาวะเศรษฐกิจ สรอ.อยู่ในระดับที่ดี โดยคาด
ว่ากำลังการผลิตของ สรอ.จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0-3.5 (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจของอียูจะยังคงเติบโตได้ดีแม้ราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้น รายงานจากกรุงบ
รัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 9 ต.ค.47 Jean-Claude Trichet ประธาน ธ.กลางของสหภาพ
ยุโรป กล่าวว่า เขายังคงมีมุมมองที่ดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของเขตยูโร แม้ว่าจะมีความเสี่ยงอยู่บ้างต่อ
ราคาน้ำมันที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้น โดยเศรษฐกิจในปีนี้อาจจะเติบโตสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก่อนที่ระดับ
ร้อยละ 1.6 เป็นร้อยละ 2.2 และจากร้อยละ 1.8 เป็นร้อยละ 2.8 ในปี 48 ส่วนเรื่องที่มีการเรียกร้อง
ให้ผ่อนคลายกฎระเบียบใน Stability and Growth Pact ของประเทศสมาชิกที่ใช้เงินสกุลยูโรที่กำหนดให้
ประเทศสมาชิกจัดทำ งปม. แบบขาดดุลได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของจีดีพีนั้น เขายืนยันไม่เห็นด้วย แต่ควรปรับปรุง
ให้ดีและเหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศสมาชิกควรจะส่งเสริมให้มีการออมเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเติบโตสูง
เพื่อจะได้สามารถรับมือกับการขาดดุล งปม. ในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยโดยไม่ทำลายกฎระเบียบของสนธิสัญญาที่
ได้จัดทำร่วมกันเหมือนเช่นที่เยอรมนี ฝรั่งเศส และประเทศอื่นเคยทำมา นอกจากนี้ เขายังเรียกร้องให้
ประเทศสมาชิกในเขตยูโรให้ข้อมูลทางสถิติที่เชื่อถือได้ เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์เช่นในประเทศกรีซที่ปรับตัวเลข
การขาดดุล งปม. ปี 43 เป็นร้อยละ 4.3 จากที่เคยคาดการณ์ไว้ร้อยละ 2.0 และในปี 44 และ 45 เป็น
ร้อยละ 3.7 จากร้อยละ 1.4 ทั้งนี้ เนื่องจากตัวเลขทางสถิติต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลในเรื่อง งปม. จะต้องเป็น
ข้อมูลที่แน่นอนไม่มีข้อโต้แย้ง รวมทั้งจะต้องมีความสัมพันธ์กันและไม่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีทิศทางในอนาคต
(รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของจีนจะชะลอลงในไตรมาสที่ 4 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 10
ต.ค. 47 the State Development and Reform commission ของจีนคาดว่าในไตรมาสที่ 4 ปีนี้อัตรา
เงินเฟ้อจะชะลอลงหลังจากที่สูงขึ้นเกินกว่าร้อยละ 5 เมื่อเร็วๆนี้ โดยอัตราเงินเฟ้อของจีนในเดือนก.ค. และ
เดือนส.ค.เพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 7 ปีที่ระดับร้อยละ 5.3 ทำให้คาดว่า ธ.กลางจีนจะปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากระดับราคา
สินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28 ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้นร้อยละ 10.6
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปของจีนเริ่มมีแนวโน้มที่มีเสถียรภาพ และคาดว่าในไตรมาสที่ 4
อัตราเงินเฟ้อจะชะลอลงที่ระดับร้อยละ 2.8 — 3.0 โดยคาดว่าระดับราคาสินค้าเกษตรจะมีเสถียรภาพมาก
ขึ้น ดังนั้นสินค้าบริโภคอาทิ เนื้อ ไข่ และนม ซึ่งต้องใช้สินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบอาจจะชะลอตัวลง นอกจากนั้น
มาตรการต่างๆของรัฐบาลจีน อาทิ การให้ ธ.พ.ดำรงสินทรัพย์สำรองเพิ่มขึ้น การจำกัดโครงการลงทุนใน
อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนจำนวนมาก เช่นอสังหาริมทรัพย์ เหล็กกล้า และซีเมนต์ จะส่งผลให้เศรษฐกิจจีนชะลอ
ตัวลง โดยในช่วงไตรมาสที่ 2 ปีนี้เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจสิงคโปร์หดตัวร้อยละ 2.3 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 11
ต.ค.47 เศรษฐกิจสิงคโปร์หดตัวร้อยละ 2.3 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ หดตัวมากกว่าที่คาดไว้จากผลสำรวจของ
รอยเตอร์ก่อนหน้านี้ว่าจะหดตัวเพียงร้อยละ 0.8 หลังจากขยายตัวอย่างรวดเร็วด้วยอัตราเลข 2 หลักติดต่อกัน
4 ไตรมาสตั้งแต่กลางปีที่แล้วหลังสิ้นสุดการระบาดของโรคไข้หวัด SARS เป็นต้นมา โดยเป็นผลจาก
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศเริ่มชะลอตัวจากความต้องการในตลาดโลกที่เริ่ม
อ่อนตัวและยังได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในขณะนี้ แต่อย่างไรก็ตาม GDP ก็ยังขยายตัวในอัตราร้อย
ละ 7.7 ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยธ.กลางสิงคโปร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อ
จะอยู่ในระดับร้อยละ 1.5 ถึง 2.0 ในปีนี้และร้อยละ 1 ถึง 2 ในปีหน้า และคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัว
ระหว่างร้อยละ 8 ถึง 9 และร้อยละ 3 ถึง 5 ในปีหน้า (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 ต.ค. 47 8 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.346 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.1721/41.4569 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6250-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 676.15/20.16 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,150/8,250 8,100/8,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.69 38.36 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.อยู่ระหว่างพิจารณาชะลอโครงการการใช้เทคโนโลยีภาพเต็มระบบ ผอส.สายระบบการ
ชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการพัฒนาระบบหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคาร
ด้วยภาพ (Cheque Image) ซึ่งเป็นระบบการตัดการเดินทางของตัวเช็ค (Cheque Truncations) นั้น
ธปท.กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตัดสินใจที่จะชะลอโครงการการใช้เทคโนโลยีภาพเต็มระบบออกไปก่อน
เนื่องจากปัจจุบัน ธปท.ได้นำระบบการใช้เทคโนโลยีภาพดังกล่าวมาใช้ไปแล้วส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะในส่วนของ
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถให้ประสิทธิภาพในการดำเนินการได้ค่อนข้างดีอยู่แล้ว รวมทั้งหากเมื่อ
พิจารณาถึงการลงทุนกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ อาจจะไม่คุ้มกับการลงทุนมากนัก เพราะจะต้องใช้เงินลงทุนที่สูง
มากกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งอาจจะเป็นภาระค่อนข้างมากสำหรับผู้ลงทุน คือ ธพ. และ ธปท. (บ้านเมือง)
2. ก.คลังเตรียมปรับโครงสร้างภาษีช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย รมว.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ ก.
คลังมีนโยบายที่จะใช้มาตรการทางภาษีเข้าไปช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และบริษัทเอกชนรายเล็ก ๆ เพื่อให้มี
ภาระต้นทุนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และทำให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด โดยคาดว่าการขยายฐานเงินได้ของผู้
เสียภาษีจะทำให้กรมสรรพากรเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีไม่มาก หรือประมาณ 100-1,000 ล้านบาท ทั้งนี้
การขยายฐานรายได้ของผู้เสียภาษีจาก 80,000 บาท เป็น 100,000 บาท จะทำให้ผู้มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
16,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ไม่ต้องเสียภาษีสำหรับผู้มีเงินได้เฉลี่ยเดือนละ 14,000
บาท นอกจากนี้ ก.คลังยังมีนโยบายที่จะพิจารณาปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนของกำไรสุทธิของ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดยพิจารณาจากกำไรสุทธิส่วนเกินเป็นเกณฑ์ ซึ่งเดิมกำหนด
โครงสร้างกำไรสุทธิของเอสเอ็มอีที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 20 นโยบายใหม่จะปรับ
ลดเหลือร้อยละ 10 แต่หากเอสเอ็มอีที่มีกำไรสุทธิเกิน 1-3 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 25 ส่วนที่
มีกำไรสุทธิตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไปจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 30 สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีการขยายฐานรายได้
ที่ไม่ถึงเกณฑ์ในการเสียภาษีให้มากขึ้นกว่าเดิมที่อยู่ที่ 1.2 ล้านบาท เป็น 1.8 ล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถ
ใช้นโยบายดังกล่าวได้ภายในงบประมาณปี 48 (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. ธ.กรุงไทยจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสินเชื่อ 11
ราย ปลัด ก.คลัง รองประธานกรรมการ ธ.กรุงไทย ในฐานะประธานกรรมการตรวจสอบคุณภาพสินเชื่อ
ธ.กรุงไทย เปิดเผยว่า วันที่ 11 ต.ค.47 คณะกรรมการ ธ.กรุงไทยจะดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทาง
วินัยกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการปล่อยสินเชื่อจำนวน 11 ราย โดยอาจจะมากกว่า 1 ชุด แต่ละชุดจะ
ให้สอบสวนในแต่ละเรื่อง ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนการตรวจสอบตามปกติของธนาคาร ส่วนการคัดเลือกกรรมการผู้
จัดการ ธ.กรุงไทยนั้น นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการธนาคาร จะทำการตั้งคณะ
กรรมการสรรหาชุดใหม่ โดยคาดว่าจะใช้เวลาในการคัดเลือกประมาณ 1 เดือน เนื่องจาก รมว.คลังเร่งรัดให้
ได้ข้อยุติภายใน 1 เดือน ซึ่งขั้นตอนทุกอย่างจะดำเนินการไปตามขั้นตอนกฎหมาย (บ้านเมือง)
4. สศอ.เตรียมจัดทำฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์จังหวัดภาคอุตสาหกรรม ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ก.อุตสาหกรรมอยู่ระหว่างการจัดทำฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์จังหวัดภาค
อุตสาหกรรม (จีพีพี ภาคอุตสาหกรรม) ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละจังหวัด เพื่อนำมา
เป็นข้อมูลจัดทำผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ภาคอุตสาหกรรม โดยจีพีพีดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการ
ผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมแต่ละประเภท อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัด ระดับรายได้ของ
ประชากรในจังหวัด เพื่อนำมาประเมินภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลใน
การบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการ คาดว่าจะสามารถเริ่มนำมาเผยแพร่ในปี 51 ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการจัดทำ
จีพีพียังได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ขาดข้อมูลในด้านปริมาณการผลิต ราคา ต้นทุนการผลิต ดัชนีราคาจำแนกรายจังหวัด
และการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นไปอย่างล่าช้า ดังนั้น สศอ.จึงเข้ามาจัดทำจีพีพีด้วยตนเอง (ข่าวสด)
5. ก.คลังกำหนดเป้าหมายเพิ่มงบประมาณลงทุนปีละ 100,000 ล้านบาทตามแผนยุทธศาสตร์การ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย รมว.คลัง เปิดเผยในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมของไทยให้ยั่งยืน ในเบื้องต้นกำหนดเป้าหมายที่จะเพิ่มงบประมาณลงทุนให้ได้ปีละ 100,000
ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 8-9 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) โดยจะพยายามลดงบประมาณรายจ่ายประจำ
แล้วเพิ่มงบลงทุนให้มากที่สุด หรือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของงบประมาณรายจ่ายในแต่ละปี (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าการจ้างงานที่ลดลงในเดือน ก.ย.47 จะไม่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของ สรอ. รายงานจากเซนต์หลุยส์ เมื่อ 8 ต.ค.47 ประธาน FRB of St. Louis
(William Poole) เปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานใหม่ของ สรอ.ในเดือน ก.ย.47 ซึ่งมีจำนวนเพียง
96,000 คน ต่ำกว่าการคาดการณ์อย่างมาก จะไม่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
ของ สรอ. รวมทั้งคาดว่าประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 3.5-4 และในช่วงต่อไป
การเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงทิศทางที่สดใส นอกจากนี้ Poole เห็นว่าเศรษฐกิจ สรอ.จะยังไม่ประสบกับภาวะ
เงินเฟ้อ แม้ว่าต้นทุนราคาพลังงานจะสูงขึ้น โดยเขากล่าวว่า แม้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะสูงขึ้น แต่ราคาสินค้า
อื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของดัชนีราคาผู้บริโภคกลับลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ เขายังเห็นว่ากำลังการผลิตของ
สรอ.จะเพิ่มขึ้นโดยอาศัยแรงผลักดันจากธุรกิจต่างๆ ที่ยังคงมองว่าภาวะเศรษฐกิจ สรอ.อยู่ในระดับที่ดี โดยคาด
ว่ากำลังการผลิตของ สรอ.จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0-3.5 (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจของอียูจะยังคงเติบโตได้ดีแม้ราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้น รายงานจากกรุงบ
รัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 9 ต.ค.47 Jean-Claude Trichet ประธาน ธ.กลางของสหภาพ
ยุโรป กล่าวว่า เขายังคงมีมุมมองที่ดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของเขตยูโร แม้ว่าจะมีความเสี่ยงอยู่บ้างต่อ
ราคาน้ำมันที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้น โดยเศรษฐกิจในปีนี้อาจจะเติบโตสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก่อนที่ระดับ
ร้อยละ 1.6 เป็นร้อยละ 2.2 และจากร้อยละ 1.8 เป็นร้อยละ 2.8 ในปี 48 ส่วนเรื่องที่มีการเรียกร้อง
ให้ผ่อนคลายกฎระเบียบใน Stability and Growth Pact ของประเทศสมาชิกที่ใช้เงินสกุลยูโรที่กำหนดให้
ประเทศสมาชิกจัดทำ งปม. แบบขาดดุลได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของจีดีพีนั้น เขายืนยันไม่เห็นด้วย แต่ควรปรับปรุง
ให้ดีและเหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศสมาชิกควรจะส่งเสริมให้มีการออมเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเติบโตสูง
เพื่อจะได้สามารถรับมือกับการขาดดุล งปม. ในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยโดยไม่ทำลายกฎระเบียบของสนธิสัญญาที่
ได้จัดทำร่วมกันเหมือนเช่นที่เยอรมนี ฝรั่งเศส และประเทศอื่นเคยทำมา นอกจากนี้ เขายังเรียกร้องให้
ประเทศสมาชิกในเขตยูโรให้ข้อมูลทางสถิติที่เชื่อถือได้ เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์เช่นในประเทศกรีซที่ปรับตัวเลข
การขาดดุล งปม. ปี 43 เป็นร้อยละ 4.3 จากที่เคยคาดการณ์ไว้ร้อยละ 2.0 และในปี 44 และ 45 เป็น
ร้อยละ 3.7 จากร้อยละ 1.4 ทั้งนี้ เนื่องจากตัวเลขทางสถิติต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลในเรื่อง งปม. จะต้องเป็น
ข้อมูลที่แน่นอนไม่มีข้อโต้แย้ง รวมทั้งจะต้องมีความสัมพันธ์กันและไม่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีทิศทางในอนาคต
(รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของจีนจะชะลอลงในไตรมาสที่ 4 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 10
ต.ค. 47 the State Development and Reform commission ของจีนคาดว่าในไตรมาสที่ 4 ปีนี้อัตรา
เงินเฟ้อจะชะลอลงหลังจากที่สูงขึ้นเกินกว่าร้อยละ 5 เมื่อเร็วๆนี้ โดยอัตราเงินเฟ้อของจีนในเดือนก.ค. และ
เดือนส.ค.เพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 7 ปีที่ระดับร้อยละ 5.3 ทำให้คาดว่า ธ.กลางจีนจะปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากระดับราคา
สินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28 ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้นร้อยละ 10.6
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปของจีนเริ่มมีแนวโน้มที่มีเสถียรภาพ และคาดว่าในไตรมาสที่ 4
อัตราเงินเฟ้อจะชะลอลงที่ระดับร้อยละ 2.8 — 3.0 โดยคาดว่าระดับราคาสินค้าเกษตรจะมีเสถียรภาพมาก
ขึ้น ดังนั้นสินค้าบริโภคอาทิ เนื้อ ไข่ และนม ซึ่งต้องใช้สินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบอาจจะชะลอตัวลง นอกจากนั้น
มาตรการต่างๆของรัฐบาลจีน อาทิ การให้ ธ.พ.ดำรงสินทรัพย์สำรองเพิ่มขึ้น การจำกัดโครงการลงทุนใน
อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนจำนวนมาก เช่นอสังหาริมทรัพย์ เหล็กกล้า และซีเมนต์ จะส่งผลให้เศรษฐกิจจีนชะลอ
ตัวลง โดยในช่วงไตรมาสที่ 2 ปีนี้เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจสิงคโปร์หดตัวร้อยละ 2.3 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 11
ต.ค.47 เศรษฐกิจสิงคโปร์หดตัวร้อยละ 2.3 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ หดตัวมากกว่าที่คาดไว้จากผลสำรวจของ
รอยเตอร์ก่อนหน้านี้ว่าจะหดตัวเพียงร้อยละ 0.8 หลังจากขยายตัวอย่างรวดเร็วด้วยอัตราเลข 2 หลักติดต่อกัน
4 ไตรมาสตั้งแต่กลางปีที่แล้วหลังสิ้นสุดการระบาดของโรคไข้หวัด SARS เป็นต้นมา โดยเป็นผลจาก
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศเริ่มชะลอตัวจากความต้องการในตลาดโลกที่เริ่ม
อ่อนตัวและยังได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในขณะนี้ แต่อย่างไรก็ตาม GDP ก็ยังขยายตัวในอัตราร้อย
ละ 7.7 ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยธ.กลางสิงคโปร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อ
จะอยู่ในระดับร้อยละ 1.5 ถึง 2.0 ในปีนี้และร้อยละ 1 ถึง 2 ในปีหน้า และคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัว
ระหว่างร้อยละ 8 ถึง 9 และร้อยละ 3 ถึง 5 ในปีหน้า (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 ต.ค. 47 8 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.346 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.1721/41.4569 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6250-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 676.15/20.16 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,150/8,250 8,100/8,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.69 38.36 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-