นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐประจำเดือนกันยายน 2547 และปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - กันยายน 2547) พร้อมทั้งสถานะหนี้สาธารณะล่าสุด ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2547 ดังนี้
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
ในเดือนกันยายน 2547 :-
ด้านต่างประเทศ
รัฐบาล
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนเงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) ก่อนครบกำหนด 14,694 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 5,442 ล้านบาท โดยเป็นการชำระคืนของรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังให้กู้ต่อ 1,323 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 387 ล้านบาท ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 5,452 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 1,071 ล้านบาท นอกจากนั้นได้ Roll Over เงินกู้ ECP (Euro Commercial Paper) ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้จาก JBIC วงเงิน 190 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 7,906 ล้านบาท ออกไปอีก 12 เดือน ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยได้ 59 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ โดย 1) ชำระคืนเงินกู้ ECP ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการทำ Refinance เงินกู้จากธนาคารโลก ก่อนครบกำหนด 0.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 37 ล้านบาท ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 37 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 7 ล้านบาท และ 2) Roll Over เงินกู้ ECP จากธนาคารโลก จำนวน 0.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 37 ล้านบาท ออกไปอีก 6 เดือน ซึ่งทำให้ลดภาระดอกเบี้ยได้ 1 ล้านบาท
ด้านในประเทศ
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ Roll Over เงินกู้ 625 ล้านบาท
ในปีงบประมาณ 2547 :-
ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศเป็นเงินรวม 73,077 ล้านบาท โดย 1) การชำระคืนก่อนครบกำหนด 9,811 ล้านบาท 2) การ Refinance เงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชียและธนาคารโลกโดยวิธีการออกตราสารอัตราดอกเบี้ยลอยตัว วงเงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 39,500 ล้านบาท และ 3) Roll Over เงินกู้ ECP 585 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 23,756 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าว ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 9,811 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ 6,592 ล้านบาทสำหรับรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศเป็นวงเงินรวม 59,526 ล้านบาท โดย 1) การชำระคืนก่อนกำหนด 17,818 ล้านบาท 2) การ Refinance 31,267 ล้านบาท ซึ่งเป็นการ Refinance เงินกู้ต่างประเทศด้วยเงินบาท 25,478 ล้านบาท และ 3) การ Roll Over จำนวนรวม 10,441 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 17,818 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ 7,724 ล้านบาท
ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) วงเงินรวม 90,000 ล้านบาท ด้วยการชำระคืนเงินต้น จากกำไรสุทธิที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่งสมทบกองทุนชำระคืนต้นเงินกู้ 3,747 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจำนวน 86,253 ล้านบาท ได้ทำการ Roll Over โดยเป็นพันธบัตร 65,000 ล้านบาท ตั๋วปรับโครงสร้างหนี้ 15,000 ล้านบาท และเงินกู้ระยะสั้น 6,253 ล้านบาท และชำระคืนพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน (FIDF2) ที่ครบกำหนด 22,000 ล้านบาท รวมทั้งการลดยอดหนี้คงค้างอันเกิดจากการตั้งบัญชีเงินทดรองจ่ายอีก 315 ล้านบาท นอกจากนั้น กระทรวงการคลังได้ไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1) ก่อนครบกำหนดในวงเงิน 25,075 ล้านบาท ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 25,075 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ย 6,305 ล้านบาท
ส่วนรัฐวิสาหกิจได้ทำการกู้เงินในประเทศเพื่อการ Roll Over หนี้เดิมรวม 17,625 ล้านบาท และเพื่อการ Refinance หนี้ต่างประเทศรวม 24,100 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
ในเดือนกันยายน 2547 :-
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินในประเทศด้วยการออกตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 36,040 ล้านบาท และออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF3) รวม 34,188 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ 20,188 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 14,000 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศด้วยการออกพันธบัตรจำนวน 9,609 ล้านบาท ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต 3,000 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2,233 ล้านบาท การเคหะแห่งชาติ 1,331 ล้านบาท และการไฟฟ้านครหลวง 3,045 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อลงทุน 3,006 ล้านบาท กู้เพื่อเป็นเงินบาทสมทบ 3,023 ล้านบาท และเพื่อทดแทนเงินกู้ต่างประเทศ 3,580 ล้านบาท นอกจากนี้ สถาบันบริหารกองทุนพลังงานได้กู้เงินเพื่อชดเชยราคาน้ำมัน 30,000 ล้านบาท
ในปีงบประมาณ 2547 :-
กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศไปแล้วทั้งสิ้น 259,688 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 90,000 ล้านบาท จากแผนที่กำหนดไว้ 99,900 ล้านบาท และการออกพันธบัตร FIDF3 169,688 ล้านบาท สำหรับรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวม 66,517 ล้านบาท และกู้เงินจากต่างประเทศตามแผนก่อหนี้ 21,096 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ของรัฐบาล
ในเดือนกันยายน 2547 :-
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 26,551 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 6,811 ล้านบาท และดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม 14,477 ล้านบาท และการจัดซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า 5,263 ล้านบาท
ในปีงบประมาณ 2547 :-
กระทรวงการคลังได้ชำระหนี้จากงบประมาณรวมทั้งสิ้น 120,255 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 29,030 ล้านบาท และดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 85,962 ล้านบาท และการจัดซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า 5,263 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2547
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2547 มีจำนวน 2,942,301 ล้านบาท หรือร้อยละ 45.58 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,664,846 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 860,432 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 417,023 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 10,073 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 11,367 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลง 6,531 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้น 5,237 ล้านบาท
หนี้สาธารณะจำแนกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ 657,768 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.36 และหนี้ในประเทศ 2,284,534 ล้านบาท หรือร้อยละ 77.64 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,388,224 ล้านบาท หรือร้อยละ 81.17 และหนี้ระยะสั้น 554,077 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.83 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 81/2547 11 ตุลาคม 2547--
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
ในเดือนกันยายน 2547 :-
ด้านต่างประเทศ
รัฐบาล
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนเงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) ก่อนครบกำหนด 14,694 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 5,442 ล้านบาท โดยเป็นการชำระคืนของรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังให้กู้ต่อ 1,323 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 387 ล้านบาท ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 5,452 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 1,071 ล้านบาท นอกจากนั้นได้ Roll Over เงินกู้ ECP (Euro Commercial Paper) ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้จาก JBIC วงเงิน 190 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 7,906 ล้านบาท ออกไปอีก 12 เดือน ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยได้ 59 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ โดย 1) ชำระคืนเงินกู้ ECP ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการทำ Refinance เงินกู้จากธนาคารโลก ก่อนครบกำหนด 0.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 37 ล้านบาท ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 37 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 7 ล้านบาท และ 2) Roll Over เงินกู้ ECP จากธนาคารโลก จำนวน 0.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 37 ล้านบาท ออกไปอีก 6 เดือน ซึ่งทำให้ลดภาระดอกเบี้ยได้ 1 ล้านบาท
ด้านในประเทศ
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ Roll Over เงินกู้ 625 ล้านบาท
ในปีงบประมาณ 2547 :-
ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศเป็นเงินรวม 73,077 ล้านบาท โดย 1) การชำระคืนก่อนครบกำหนด 9,811 ล้านบาท 2) การ Refinance เงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชียและธนาคารโลกโดยวิธีการออกตราสารอัตราดอกเบี้ยลอยตัว วงเงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 39,500 ล้านบาท และ 3) Roll Over เงินกู้ ECP 585 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 23,756 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าว ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 9,811 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ 6,592 ล้านบาทสำหรับรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศเป็นวงเงินรวม 59,526 ล้านบาท โดย 1) การชำระคืนก่อนกำหนด 17,818 ล้านบาท 2) การ Refinance 31,267 ล้านบาท ซึ่งเป็นการ Refinance เงินกู้ต่างประเทศด้วยเงินบาท 25,478 ล้านบาท และ 3) การ Roll Over จำนวนรวม 10,441 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 17,818 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ 7,724 ล้านบาท
ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) วงเงินรวม 90,000 ล้านบาท ด้วยการชำระคืนเงินต้น จากกำไรสุทธิที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่งสมทบกองทุนชำระคืนต้นเงินกู้ 3,747 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจำนวน 86,253 ล้านบาท ได้ทำการ Roll Over โดยเป็นพันธบัตร 65,000 ล้านบาท ตั๋วปรับโครงสร้างหนี้ 15,000 ล้านบาท และเงินกู้ระยะสั้น 6,253 ล้านบาท และชำระคืนพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน (FIDF2) ที่ครบกำหนด 22,000 ล้านบาท รวมทั้งการลดยอดหนี้คงค้างอันเกิดจากการตั้งบัญชีเงินทดรองจ่ายอีก 315 ล้านบาท นอกจากนั้น กระทรวงการคลังได้ไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1) ก่อนครบกำหนดในวงเงิน 25,075 ล้านบาท ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 25,075 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ย 6,305 ล้านบาท
ส่วนรัฐวิสาหกิจได้ทำการกู้เงินในประเทศเพื่อการ Roll Over หนี้เดิมรวม 17,625 ล้านบาท และเพื่อการ Refinance หนี้ต่างประเทศรวม 24,100 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
ในเดือนกันยายน 2547 :-
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินในประเทศด้วยการออกตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 36,040 ล้านบาท และออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF3) รวม 34,188 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ 20,188 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 14,000 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศด้วยการออกพันธบัตรจำนวน 9,609 ล้านบาท ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต 3,000 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2,233 ล้านบาท การเคหะแห่งชาติ 1,331 ล้านบาท และการไฟฟ้านครหลวง 3,045 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อลงทุน 3,006 ล้านบาท กู้เพื่อเป็นเงินบาทสมทบ 3,023 ล้านบาท และเพื่อทดแทนเงินกู้ต่างประเทศ 3,580 ล้านบาท นอกจากนี้ สถาบันบริหารกองทุนพลังงานได้กู้เงินเพื่อชดเชยราคาน้ำมัน 30,000 ล้านบาท
ในปีงบประมาณ 2547 :-
กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศไปแล้วทั้งสิ้น 259,688 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 90,000 ล้านบาท จากแผนที่กำหนดไว้ 99,900 ล้านบาท และการออกพันธบัตร FIDF3 169,688 ล้านบาท สำหรับรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวม 66,517 ล้านบาท และกู้เงินจากต่างประเทศตามแผนก่อหนี้ 21,096 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ของรัฐบาล
ในเดือนกันยายน 2547 :-
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 26,551 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 6,811 ล้านบาท และดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม 14,477 ล้านบาท และการจัดซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า 5,263 ล้านบาท
ในปีงบประมาณ 2547 :-
กระทรวงการคลังได้ชำระหนี้จากงบประมาณรวมทั้งสิ้น 120,255 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 29,030 ล้านบาท และดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 85,962 ล้านบาท และการจัดซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า 5,263 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2547
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2547 มีจำนวน 2,942,301 ล้านบาท หรือร้อยละ 45.58 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,664,846 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 860,432 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 417,023 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 10,073 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 11,367 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลง 6,531 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้น 5,237 ล้านบาท
หนี้สาธารณะจำแนกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ 657,768 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.36 และหนี้ในประเทศ 2,284,534 ล้านบาท หรือร้อยละ 77.64 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,388,224 ล้านบาท หรือร้อยละ 81.17 และหนี้ระยะสั้น 554,077 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.83 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 81/2547 11 ตุลาคม 2547--