ผลสรุปของการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์และการปรับบทบาทกระทรวงการคลัง ปี 2548-2551 ระหว่างวันที่ 9-10 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นการจัดประชุมตามดำริของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ต้องการให้กระทรวงการคลังเป็นกระทรวงนำในการปรับแผนยุทธศาสตร์และเป็นการปรับบทบาทเพื่อรองรับกับนโยบายรัฐบาลในการเสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้บรรยายสรุปเกี่ยวกับผลงานของกระทรวงการคลังในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมาว่า กระทรวงการคลังได้มีบทบาทที่สำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจสู่ความมั่นคงและมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้นโยบายเกี่ยวกับการกำหนดทิศทางและแนวทางในการดำเนินงานของกระทรวงการคลังใน 4 ปีข้างหน้า โดยถือเป็นสัญญาประชาคมกระทรวงการคลัง ซึ่งจะเป็นการเน้นการต่อยอดและสร้างเสริมเศรษฐกิจและสังคมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ จำเป็นต้องมีการปฏิรูปเศรษฐกิจทั้งระบบ อีกทั้งต้องมีการพัฒนาองค์กรและบุคลากรให้มีความโปร่งใสและมีคุณธรรม ทั้งนี้สัญญาประชาคมดังกล่าวประกอบด้วย การสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพการเงินการคลัง การปรับเปลี่ยนคนไทยสู่มิติเชิงคุณภาพ การสร้างสังคมเชิงวิทยาการ ชุมชนที่เข้มแข็ง สภาพแวดล้อมชีวิตที่ดี และการนำเศรษฐกิจให้มีผลิตภาพและแข่งขันได้
2. ปลัดกระทรวงการคลังกล่าวว่า ช่วงเวลาต่อจากนี้ เป็นช่วงเวลาของความท้าทายการทำงานกระทรวงการคลังใน 4 ปีข้างหน้า เพื่อสร้างเศรษฐกิจ สังคม และประชาชนให้แข็งแกร่ง ก้าวหน้า ยั่งยืน บนพื้นฐานของความร่วมมือกับภาคเอกชนและประชาชน ทำให้กระทรวงการคลังต้องทบทวนและปรับจุดเน้นบางประการเกี่ยวกับบทบาทของกระทรวงการคลัง โดยเน้นด้านการเสริมสร้างความมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชนในการดำเนินภารกิจของกระทรวงการคลัง ซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนจากการปรับปรุงวิสัยทัศน์ว่า กระทรวงการคลังเป็น "กระทรวงที่บูรณาการการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชนในการสร้างความยั่งยืนทางการคลังและระบบการเงิน รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย" นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะเสริมจุดเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการที่ดีขึ้นต่อประชาชน รวมทั้ง จะเสริมจุดเน้นด้านการสร้างความโปร่งใสและขจัดทุจริตคอร์รัปชั่นให้เกิดขึ้นในกระทรวงการคลัง
3. จากสัญญาประชาคมกระทรวงการคลัง 4 ปีข้างหน้า รวมกับการพิจารณากรอบการบริหารเศรษฐกิจไทยในอีก 5 ปี กระทรวงการคลังจึงได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างความยั่งยืนทางการคลัง การพัฒนาความแข็งแกร่งของระบบการเงินที่ยั่งยืน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน และการปรับระบบการบริหารจัดการ ประสิทธิภาพ ความทันสมัย และความโปร่งใส ซึ่งแต่ละกรมหรือสำนักงาน ต้องนำไปเป็นแนวทางในการปรับบทบาทของตนเอง เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงการคลังข้างต้น และเพื่อประโยชน์กับทุกภาคส่วนของสังคม
4. ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการปรับบทบาทของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง (สป.) และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
4.1 สป. และสศค. ต้องปรับบทบาทเพื่อเป็น corporate core ของกระทรวงการคลัง โดยสป. เป็นฝ่ายสนับสนุนการบริหารจัดการทั่วไปของกระทรวงฯ และสศค. สนับสนุนการบริหารจัดการเชิงวิชาการของกระทรวงฯ
4.2 ควรเพิ่มหรือมอบหมายบทบาทใหม่ให้กับรองปลัดกระทรวงฯ และผู้ตรวจราชการ โดยรับผิดชอบงานในมิติใหม่เชิงพื้นที่หรือภูมิภาค หรือดูแลและกำกับแผนพัฒนาบุคลากรของทั้งกระทรวงการคลังและกรมหรือสำนักงานต่าง ๆ
4.3 ให้ สป. เพิ่มช่องทางในการวางระบบในการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงฯ โดยให้เชิญนักวิชาการที่มีชื่อเสียงตามสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศมาให้การฝึกอบรมแก่ข้าราชการของกระทรวงการคลังในประเทศไทย และเชิญหน่วยงานอื่นมาร่วมฝึกอบรม เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่
4.4 ให้ สศค. พิจารณาบทบาทในการสร้างกลไกในการประสานกับภาคเอกชนเพื่อให้มีการสื่อสารแบบสองทางระหว่างกระทรวงการคลังกับภาคเอกชน และเสริมสร้างความใกล้ชิดมากขึ้นกับหน่วยงานสำคัญทางเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมกรพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการวิเคราะห์ รวมทั้งการเสนอมาตรการเศรษฐกิจที่มีความสอดคล้องกันอย่างเหมาะสม
4.5 ให้ สศค. ทำหน้าที่ประเมินความสำเร็จของการดำเนินนโยบายของรัฐบาล และเป็นกลไกเตือนภัยล่วงหน้าด้านความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจมหภาค และความเสี่ยงจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาล
4.6 สศค. ต้องสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ และคน สศค. ต้องมีจิตสำนึก ซื่อสัตย์ กล้าหาญ และมีวินัยในการเสนอความเห็นเชิงวิชาการ
5. ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการปรับบทบาทของกรมบัญชีกลาง และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
5.1 กรมบัญชีกลางควรผลักดันเรื่อง CFO ต่อไป โดยพิจารณาความพร้อมของบุคลากรและความต้องการของผู้ว่า CEO ด้วย อย่างไรก็ตาม กรมบัญชีกลางต้องพยายามทำให้ CFO เป็น nerve center ของหน่วยงานกระทรวงการคลังในภูมิภาคในแต่ละจังหวัด เพื่อกระทรวงการคลังจะได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดในส่วนของกระทรวงการคลัง
5.2 กรมบัญชีกลางต้องเดินหน้าเรื่องการเพิ่มบทบาทในโครงการ GFMIS และต้องให้ความสำคัญกับการสร้างระบบตรวจสอบภายใน อย่างไรก็ดี หากระบบ GFMIS ถูกใช้อย่างเต็มที่แล้ว งานของบุคลากรในกรมบัญชีกลางจะลดลง ดังนั้น กรมบัญชีกลางควรพิจารณาว่าจะต้องปรับปรุงงานด้านใดต่อไป ทั้งนี้ งานด้านการปรับปรุงระบบบัญชีภาครัฐ จะเป็นงานที่สำคัญที่สุดของกรมบัญชีกลางต่อไป แต่ก็ต้องคำนึงว่ามีกฎหมายรองรับหรือไม่
5.3 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะควรมีการศึกษาแผนการลงทุนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจร่วมกับ สศค. และสคร. เพื่อวางแผนการ finance ที่เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่อง Mega Project
5.4 นอกจากนี้ ควรมีการศึกษาเรื่องหนี้สาธารณะสุทธิตามนิยามของ OECD ซึ่งต่างจากนิยามหนี้สาธารณะตามนิยามของ IMF ประกอบกับการที่ asset ยังไม่ได้ mark to market ทำให้ไม่รู้ภาพฐานะที่แท้จริง
5.5 ให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะทบทวนแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ และเริ่มวางกรอบในการดำเนินการตามแผนให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน และต้องปฏิรูปด้านกำลังคน การเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น และเสริมคุณภาพของงานด้วยการมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยงาน
5.6 ให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะประสานกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจในการศึกษาเรื่องหนี้สาธารณะในส่วนของรัฐวิสาหกิจ ว่าควรจะ refinance หรือไม่ เมื่อไหร่ อย่างไร
6. ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการปรับบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และกรมธนารักษ์ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
6.1 ปัญหาของรัฐวิสาหกิจ มีสาเหตุหลักมาจากปัญหาโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากกรรมการบริหารของรัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้แทนจากกระทรวงการคลังนั้น ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารใน 3 ด้าน ได้แก่ Integrity, Duty of Care, Royalty อย่างพอเพียงในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรืออาจเกิดจากการที่ผู้แทนของกระทรวงการคลังไม่สามารถควบคุมการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจได้อย่างเต็มที่ ทำให้รัฐไม่ได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าจากการลงทุนในรัฐวิสาหกิจ
6.2 สำหรับการเลือกสรรและแต่งตั้งกรรมการบริหารของรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังควรที่จะมีการแต่งตั้งผู้ที่นอกจากมีความรู้ ความสามารถ และปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการฯ (Integrity, Duty of Care, Royalty) อย่างครบถ้วนแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ที่มีบารมีและเป็นที่เกรงใจของรัฐวิสาหกิจ
6.3 การแต่งตั้ง Super Body ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการบริหารรัฐวิสาหกิจทุกคณะ โดยกรรมการใน Super Body นี้จะต้องเป็นที่เคารพนับถือของรัฐวิสาหกิจต่างๆ โดยในเบื้องต้นอาจมีการจัดทำรายชื่อผู้ที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งใน Super Body จากคณะผู้บริหารอาวุโสของกระทรวงการคลัง และหน่วยราชการอื่น ซึ่งผู้บริหารอาวุโสเหล่านี้เป็นผู้ที่มีบารมีและเครือข่ายในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
6.4 การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหารรัฐวิสาหกิจ จากเดิมที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ให้นโยบาย และตรวจสอบการทำงานของรัฐวิสาหกิจ เป็นการสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของรัฐวิสาหกิจ (Public Pressure)
6.5 เพิ่มบทบาทของผู้แทนการทรวงการคลังในการกำกับการทำงานและตรวจสอบผลการประกอบการของรัฐวิสาหกิจ และเพิ่มบทบาทในฐานะของผู้ถือหุ้นใหญ่ให้มากยิ่งขึ้น หรือการปล่อยให้รัฐวิสาหกิจมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการด้วยตนเอง และทำสัญญา (MOU) กับกระทรวงการคลัง ในรูปแบบเดียวกับที่กระทรวงการคลังทำกับ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารและกระทรวงที่รัฐวิสาหกิจสังกัดมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจภายใต้การดูแล
6.6 ในส่วนของกรมธนารักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้เน้น 2 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาทรัพย์สินให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยการให้มืออาชีพเข้ามาพัฒนา และ (2) กรมธนารักษ์น่าจะมีบทบาทในการนำที่ราชพัสดุมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับสังคม เช่นการสร้างสวนสาธารณะให้กับชุมชน โดยพิจารณาว่าที่ใดมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นสวนธารณะก็ให้ดำเนินการสร้างได้ นอกจากนี้ กรมธนารักษ์ควรสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าวด้วย
7. ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการปรับบทบาทของกรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และกรมสรรพากร โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
7.1 การเป็นศุลกากรตามมาตรฐานโลกนั้น กรมศุลกากรจะดำเนินการ 2 ประการ ได้แก่ 1) การผ่านด่านศุลกากรต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน : one day clear 2) การเป็นศุลกากรใสสะอาด :customs clean หมายถึง การขจัดปัญหาทุจริต คอร์รัปชั่น ด้วยการที่กรมศุลกากรจะดำเนินการโครงการศุลกากรใสสะอาด โดยการมีทีมงานจากกรมศุลกากรไปตรวจสอบ ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 1 ธันวาคม 2457 ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีข้อเสนอแนะเกี่ยงกับเรื่อง clear and clean ว่าควรมีระบบตรวจสอบภายในกรมศุลกากร หากมีการทุจริตเกิดขึ้น จะดำเนินการโยกย้ายทันที นอกจากนี้ ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในเรื่องของความร่วมมือกันอย่างจริงจัง การมีทัศนคติที่ดีระหว่างภาคเอกชนและราชการเพื่อให้ศุลกากรใสสะอาด รวมทั้งการมีศูนย์ร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริต และส่งเรื่องดังกล่าวให้กรมศุลกากร เพื่อเป็น two way communication
7.2 การผ่านด่านที่มีพรมแดนติดต่อกับไทย ต้องเป็น concept ของ Single Customs House โดยกรมศุลกากรจะเริ่มในส่วนของ Single Declaration และ Single Inspection
7.3 การดำเนินการตามระบบพิธีการศุลกากรสามารถทำได้รวดเร็ว หากว่ากรมศุลกากรได้ ตกลงกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยในเรื่องการใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน นอกจากนี้ กรมศุลกากรควรคำนึงถึงระบบพิธีการศุลกากรผ่านระบบ Computer ที่เป็นBest Practice ด้วย
7.4 ภาคเอกชนได้ขอให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานกลางในการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน ในเรื่องของความยุ่งยาก ซับซ้อนของระบบพิธีการศุลกากรของประเทศเพื่อนบ้าน
7.5 ในส่วนของกรมสรรพสามิต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เน้นถึงการเก็บภาษีสินค้าอบายมุขต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังขอให้กรมสรรพสามิตพิจารณาเกี่ยวกับการให้สิทธิประโยชน์เพื่อการพัฒนาสังคม
7.6 สำหรับกรมสรรพากร ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะให้กรมพิจารณาแนวทางการขยายฐานผู้เสียภาษีให้ครอบคลุมประชากรมากกว่าในปัจจุบัน ซึ่งมีผู้ยื่นเสียภาษีเงินได้เพียงร้อยละ 10-15 ของประชากรทั้งหมด (ประมาณ 6 ล้านคน)
7.7 ที่ประชุมได้หารือถึงมาตรการแรงจูงใจให้ประชาชนเสียภาษีอาจจะเป็นเพื่อให้ประชาชนไม่มีแรงต่อต้านการเสียภาษีเท่านั้น นอกจากนี้ การดำเนินมาตรการแรงจูงใจโดยการให้ประชาชนหักค่าใช้จ่ายนั้น ต้องคำนึงถึงภาระที่จะกลับมาสู่ประชาชนผู้เสียภาษีอีกครั้ง โดยอาจเป็นการกระตุ้นการเสียภาษีให้สูงขึ้น ดังนั้น อาจทำเป็นระบบเหมาจ่ายแบบต่างประเทศ นอกจากนี้ กรมสรรพากรควรมีการคำนวณสัดส่วนของผู้ไม่ยื่นแบบเสียภาษีหรือผู้หลีกเลี่ยงการเสียภาษีต่อประชากรทั้งหมดอีกด้วย
7.8 สำหรับหลักการการลดภาระภาษีระยะสั้น เพื่อหวังผลระยะยาว โดยการให้ภาคเอกชนเข้ามาในระบบและมีความแข็งแกร่งในระยะยาวแทนนั้น ควรดำเนินมาตรการดังกล่าวให้เห็นผลชัดเจนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การจัดเก็บข้อมูลเพื่อแสดงผลในระยะยาวของการจัดเก็บภาษีในต่างจังหวัด ซึ่งในระยะสั้นภาษีที่เก็บจากประชาชนในต่างจังหวัดมากขึ้น อันเนื่องจากมีการดำเนินมาตรการของรัฐบาลเพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เข่น OTOP กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น แต่ในระยะยาวจะเป็นอย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้เกิดความชัดเจน นอกจากนั้น ควรสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บภาษีอย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพราะภาษีจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของภาษีภาครัฐ และนับวันจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือกันเพื่อดูแลเรื่องดังกล่าว
7.9 กระทรวงการคลังควรมีการวางแผนการคลังในภูมิภาค เช่น การแบ่งภาคและการเจรจาร่วมมือในภูมิภาค ระหว่างภาคเอกชนกับรัฐบาล เช่น หอการค้า สภาอุตสาหกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อเสริมความเข้มแข็งทางการคลัง เช่น การตั้ง clinic ชั่วคราว ให้คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ ของกรมจัดเก็บ เนื่องจากแนวโน้มการคลังจะไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น
7.10 สำหรับประเด็นการตรวจสอบภายในกรมจัดเก็บรายได้ทั้งสามแห่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเน้นว่าควรมีระบบตรวจสอบภายใน เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการทุจริตได้ทันที
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 80/2547 10 ตุลาคม 2547--
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้บรรยายสรุปเกี่ยวกับผลงานของกระทรวงการคลังในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมาว่า กระทรวงการคลังได้มีบทบาทที่สำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจสู่ความมั่นคงและมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้นโยบายเกี่ยวกับการกำหนดทิศทางและแนวทางในการดำเนินงานของกระทรวงการคลังใน 4 ปีข้างหน้า โดยถือเป็นสัญญาประชาคมกระทรวงการคลัง ซึ่งจะเป็นการเน้นการต่อยอดและสร้างเสริมเศรษฐกิจและสังคมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ จำเป็นต้องมีการปฏิรูปเศรษฐกิจทั้งระบบ อีกทั้งต้องมีการพัฒนาองค์กรและบุคลากรให้มีความโปร่งใสและมีคุณธรรม ทั้งนี้สัญญาประชาคมดังกล่าวประกอบด้วย การสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพการเงินการคลัง การปรับเปลี่ยนคนไทยสู่มิติเชิงคุณภาพ การสร้างสังคมเชิงวิทยาการ ชุมชนที่เข้มแข็ง สภาพแวดล้อมชีวิตที่ดี และการนำเศรษฐกิจให้มีผลิตภาพและแข่งขันได้
2. ปลัดกระทรวงการคลังกล่าวว่า ช่วงเวลาต่อจากนี้ เป็นช่วงเวลาของความท้าทายการทำงานกระทรวงการคลังใน 4 ปีข้างหน้า เพื่อสร้างเศรษฐกิจ สังคม และประชาชนให้แข็งแกร่ง ก้าวหน้า ยั่งยืน บนพื้นฐานของความร่วมมือกับภาคเอกชนและประชาชน ทำให้กระทรวงการคลังต้องทบทวนและปรับจุดเน้นบางประการเกี่ยวกับบทบาทของกระทรวงการคลัง โดยเน้นด้านการเสริมสร้างความมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชนในการดำเนินภารกิจของกระทรวงการคลัง ซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนจากการปรับปรุงวิสัยทัศน์ว่า กระทรวงการคลังเป็น "กระทรวงที่บูรณาการการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชนในการสร้างความยั่งยืนทางการคลังและระบบการเงิน รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย" นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะเสริมจุดเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการที่ดีขึ้นต่อประชาชน รวมทั้ง จะเสริมจุดเน้นด้านการสร้างความโปร่งใสและขจัดทุจริตคอร์รัปชั่นให้เกิดขึ้นในกระทรวงการคลัง
3. จากสัญญาประชาคมกระทรวงการคลัง 4 ปีข้างหน้า รวมกับการพิจารณากรอบการบริหารเศรษฐกิจไทยในอีก 5 ปี กระทรวงการคลังจึงได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างความยั่งยืนทางการคลัง การพัฒนาความแข็งแกร่งของระบบการเงินที่ยั่งยืน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน และการปรับระบบการบริหารจัดการ ประสิทธิภาพ ความทันสมัย และความโปร่งใส ซึ่งแต่ละกรมหรือสำนักงาน ต้องนำไปเป็นแนวทางในการปรับบทบาทของตนเอง เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงการคลังข้างต้น และเพื่อประโยชน์กับทุกภาคส่วนของสังคม
4. ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการปรับบทบาทของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง (สป.) และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
4.1 สป. และสศค. ต้องปรับบทบาทเพื่อเป็น corporate core ของกระทรวงการคลัง โดยสป. เป็นฝ่ายสนับสนุนการบริหารจัดการทั่วไปของกระทรวงฯ และสศค. สนับสนุนการบริหารจัดการเชิงวิชาการของกระทรวงฯ
4.2 ควรเพิ่มหรือมอบหมายบทบาทใหม่ให้กับรองปลัดกระทรวงฯ และผู้ตรวจราชการ โดยรับผิดชอบงานในมิติใหม่เชิงพื้นที่หรือภูมิภาค หรือดูแลและกำกับแผนพัฒนาบุคลากรของทั้งกระทรวงการคลังและกรมหรือสำนักงานต่าง ๆ
4.3 ให้ สป. เพิ่มช่องทางในการวางระบบในการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงฯ โดยให้เชิญนักวิชาการที่มีชื่อเสียงตามสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศมาให้การฝึกอบรมแก่ข้าราชการของกระทรวงการคลังในประเทศไทย และเชิญหน่วยงานอื่นมาร่วมฝึกอบรม เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่
4.4 ให้ สศค. พิจารณาบทบาทในการสร้างกลไกในการประสานกับภาคเอกชนเพื่อให้มีการสื่อสารแบบสองทางระหว่างกระทรวงการคลังกับภาคเอกชน และเสริมสร้างความใกล้ชิดมากขึ้นกับหน่วยงานสำคัญทางเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมกรพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการวิเคราะห์ รวมทั้งการเสนอมาตรการเศรษฐกิจที่มีความสอดคล้องกันอย่างเหมาะสม
4.5 ให้ สศค. ทำหน้าที่ประเมินความสำเร็จของการดำเนินนโยบายของรัฐบาล และเป็นกลไกเตือนภัยล่วงหน้าด้านความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจมหภาค และความเสี่ยงจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาล
4.6 สศค. ต้องสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ และคน สศค. ต้องมีจิตสำนึก ซื่อสัตย์ กล้าหาญ และมีวินัยในการเสนอความเห็นเชิงวิชาการ
5. ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการปรับบทบาทของกรมบัญชีกลาง และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
5.1 กรมบัญชีกลางควรผลักดันเรื่อง CFO ต่อไป โดยพิจารณาความพร้อมของบุคลากรและความต้องการของผู้ว่า CEO ด้วย อย่างไรก็ตาม กรมบัญชีกลางต้องพยายามทำให้ CFO เป็น nerve center ของหน่วยงานกระทรวงการคลังในภูมิภาคในแต่ละจังหวัด เพื่อกระทรวงการคลังจะได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดในส่วนของกระทรวงการคลัง
5.2 กรมบัญชีกลางต้องเดินหน้าเรื่องการเพิ่มบทบาทในโครงการ GFMIS และต้องให้ความสำคัญกับการสร้างระบบตรวจสอบภายใน อย่างไรก็ดี หากระบบ GFMIS ถูกใช้อย่างเต็มที่แล้ว งานของบุคลากรในกรมบัญชีกลางจะลดลง ดังนั้น กรมบัญชีกลางควรพิจารณาว่าจะต้องปรับปรุงงานด้านใดต่อไป ทั้งนี้ งานด้านการปรับปรุงระบบบัญชีภาครัฐ จะเป็นงานที่สำคัญที่สุดของกรมบัญชีกลางต่อไป แต่ก็ต้องคำนึงว่ามีกฎหมายรองรับหรือไม่
5.3 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะควรมีการศึกษาแผนการลงทุนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจร่วมกับ สศค. และสคร. เพื่อวางแผนการ finance ที่เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่อง Mega Project
5.4 นอกจากนี้ ควรมีการศึกษาเรื่องหนี้สาธารณะสุทธิตามนิยามของ OECD ซึ่งต่างจากนิยามหนี้สาธารณะตามนิยามของ IMF ประกอบกับการที่ asset ยังไม่ได้ mark to market ทำให้ไม่รู้ภาพฐานะที่แท้จริง
5.5 ให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะทบทวนแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ และเริ่มวางกรอบในการดำเนินการตามแผนให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน และต้องปฏิรูปด้านกำลังคน การเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น และเสริมคุณภาพของงานด้วยการมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยงาน
5.6 ให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะประสานกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจในการศึกษาเรื่องหนี้สาธารณะในส่วนของรัฐวิสาหกิจ ว่าควรจะ refinance หรือไม่ เมื่อไหร่ อย่างไร
6. ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการปรับบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และกรมธนารักษ์ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
6.1 ปัญหาของรัฐวิสาหกิจ มีสาเหตุหลักมาจากปัญหาโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากกรรมการบริหารของรัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้แทนจากกระทรวงการคลังนั้น ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารใน 3 ด้าน ได้แก่ Integrity, Duty of Care, Royalty อย่างพอเพียงในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรืออาจเกิดจากการที่ผู้แทนของกระทรวงการคลังไม่สามารถควบคุมการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจได้อย่างเต็มที่ ทำให้รัฐไม่ได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าจากการลงทุนในรัฐวิสาหกิจ
6.2 สำหรับการเลือกสรรและแต่งตั้งกรรมการบริหารของรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังควรที่จะมีการแต่งตั้งผู้ที่นอกจากมีความรู้ ความสามารถ และปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการฯ (Integrity, Duty of Care, Royalty) อย่างครบถ้วนแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ที่มีบารมีและเป็นที่เกรงใจของรัฐวิสาหกิจ
6.3 การแต่งตั้ง Super Body ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการบริหารรัฐวิสาหกิจทุกคณะ โดยกรรมการใน Super Body นี้จะต้องเป็นที่เคารพนับถือของรัฐวิสาหกิจต่างๆ โดยในเบื้องต้นอาจมีการจัดทำรายชื่อผู้ที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งใน Super Body จากคณะผู้บริหารอาวุโสของกระทรวงการคลัง และหน่วยราชการอื่น ซึ่งผู้บริหารอาวุโสเหล่านี้เป็นผู้ที่มีบารมีและเครือข่ายในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
6.4 การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหารรัฐวิสาหกิจ จากเดิมที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ให้นโยบาย และตรวจสอบการทำงานของรัฐวิสาหกิจ เป็นการสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของรัฐวิสาหกิจ (Public Pressure)
6.5 เพิ่มบทบาทของผู้แทนการทรวงการคลังในการกำกับการทำงานและตรวจสอบผลการประกอบการของรัฐวิสาหกิจ และเพิ่มบทบาทในฐานะของผู้ถือหุ้นใหญ่ให้มากยิ่งขึ้น หรือการปล่อยให้รัฐวิสาหกิจมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการด้วยตนเอง และทำสัญญา (MOU) กับกระทรวงการคลัง ในรูปแบบเดียวกับที่กระทรวงการคลังทำกับ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารและกระทรวงที่รัฐวิสาหกิจสังกัดมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจภายใต้การดูแล
6.6 ในส่วนของกรมธนารักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้เน้น 2 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาทรัพย์สินให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยการให้มืออาชีพเข้ามาพัฒนา และ (2) กรมธนารักษ์น่าจะมีบทบาทในการนำที่ราชพัสดุมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับสังคม เช่นการสร้างสวนสาธารณะให้กับชุมชน โดยพิจารณาว่าที่ใดมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นสวนธารณะก็ให้ดำเนินการสร้างได้ นอกจากนี้ กรมธนารักษ์ควรสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าวด้วย
7. ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการปรับบทบาทของกรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และกรมสรรพากร โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
7.1 การเป็นศุลกากรตามมาตรฐานโลกนั้น กรมศุลกากรจะดำเนินการ 2 ประการ ได้แก่ 1) การผ่านด่านศุลกากรต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน : one day clear 2) การเป็นศุลกากรใสสะอาด :customs clean หมายถึง การขจัดปัญหาทุจริต คอร์รัปชั่น ด้วยการที่กรมศุลกากรจะดำเนินการโครงการศุลกากรใสสะอาด โดยการมีทีมงานจากกรมศุลกากรไปตรวจสอบ ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 1 ธันวาคม 2457 ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีข้อเสนอแนะเกี่ยงกับเรื่อง clear and clean ว่าควรมีระบบตรวจสอบภายในกรมศุลกากร หากมีการทุจริตเกิดขึ้น จะดำเนินการโยกย้ายทันที นอกจากนี้ ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในเรื่องของความร่วมมือกันอย่างจริงจัง การมีทัศนคติที่ดีระหว่างภาคเอกชนและราชการเพื่อให้ศุลกากรใสสะอาด รวมทั้งการมีศูนย์ร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริต และส่งเรื่องดังกล่าวให้กรมศุลกากร เพื่อเป็น two way communication
7.2 การผ่านด่านที่มีพรมแดนติดต่อกับไทย ต้องเป็น concept ของ Single Customs House โดยกรมศุลกากรจะเริ่มในส่วนของ Single Declaration และ Single Inspection
7.3 การดำเนินการตามระบบพิธีการศุลกากรสามารถทำได้รวดเร็ว หากว่ากรมศุลกากรได้ ตกลงกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยในเรื่องการใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน นอกจากนี้ กรมศุลกากรควรคำนึงถึงระบบพิธีการศุลกากรผ่านระบบ Computer ที่เป็นBest Practice ด้วย
7.4 ภาคเอกชนได้ขอให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานกลางในการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน ในเรื่องของความยุ่งยาก ซับซ้อนของระบบพิธีการศุลกากรของประเทศเพื่อนบ้าน
7.5 ในส่วนของกรมสรรพสามิต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เน้นถึงการเก็บภาษีสินค้าอบายมุขต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังขอให้กรมสรรพสามิตพิจารณาเกี่ยวกับการให้สิทธิประโยชน์เพื่อการพัฒนาสังคม
7.6 สำหรับกรมสรรพากร ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะให้กรมพิจารณาแนวทางการขยายฐานผู้เสียภาษีให้ครอบคลุมประชากรมากกว่าในปัจจุบัน ซึ่งมีผู้ยื่นเสียภาษีเงินได้เพียงร้อยละ 10-15 ของประชากรทั้งหมด (ประมาณ 6 ล้านคน)
7.7 ที่ประชุมได้หารือถึงมาตรการแรงจูงใจให้ประชาชนเสียภาษีอาจจะเป็นเพื่อให้ประชาชนไม่มีแรงต่อต้านการเสียภาษีเท่านั้น นอกจากนี้ การดำเนินมาตรการแรงจูงใจโดยการให้ประชาชนหักค่าใช้จ่ายนั้น ต้องคำนึงถึงภาระที่จะกลับมาสู่ประชาชนผู้เสียภาษีอีกครั้ง โดยอาจเป็นการกระตุ้นการเสียภาษีให้สูงขึ้น ดังนั้น อาจทำเป็นระบบเหมาจ่ายแบบต่างประเทศ นอกจากนี้ กรมสรรพากรควรมีการคำนวณสัดส่วนของผู้ไม่ยื่นแบบเสียภาษีหรือผู้หลีกเลี่ยงการเสียภาษีต่อประชากรทั้งหมดอีกด้วย
7.8 สำหรับหลักการการลดภาระภาษีระยะสั้น เพื่อหวังผลระยะยาว โดยการให้ภาคเอกชนเข้ามาในระบบและมีความแข็งแกร่งในระยะยาวแทนนั้น ควรดำเนินมาตรการดังกล่าวให้เห็นผลชัดเจนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การจัดเก็บข้อมูลเพื่อแสดงผลในระยะยาวของการจัดเก็บภาษีในต่างจังหวัด ซึ่งในระยะสั้นภาษีที่เก็บจากประชาชนในต่างจังหวัดมากขึ้น อันเนื่องจากมีการดำเนินมาตรการของรัฐบาลเพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เข่น OTOP กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น แต่ในระยะยาวจะเป็นอย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้เกิดความชัดเจน นอกจากนั้น ควรสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บภาษีอย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพราะภาษีจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของภาษีภาครัฐ และนับวันจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือกันเพื่อดูแลเรื่องดังกล่าว
7.9 กระทรวงการคลังควรมีการวางแผนการคลังในภูมิภาค เช่น การแบ่งภาคและการเจรจาร่วมมือในภูมิภาค ระหว่างภาคเอกชนกับรัฐบาล เช่น หอการค้า สภาอุตสาหกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อเสริมความเข้มแข็งทางการคลัง เช่น การตั้ง clinic ชั่วคราว ให้คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ ของกรมจัดเก็บ เนื่องจากแนวโน้มการคลังจะไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น
7.10 สำหรับประเด็นการตรวจสอบภายในกรมจัดเก็บรายได้ทั้งสามแห่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเน้นว่าควรมีระบบตรวจสอบภายใน เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการทุจริตได้ทันที
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 80/2547 10 ตุลาคม 2547--