นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวบรรยายในหัวข้อ “แผนการประชาสัมพันธ์ นโยบายพรรคการเมือง และผู้สมัคร” ว่าภาคใต้มี 54 เขต ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เป็นแชมป์อยู่ 48 เขตมีส.ส.ย้ายไปอยู่พรรคอื่น 5 เขต ซึ่งเป็นเขตพิเศษ และเงื่อนไขแตกต่างกันไป ทั้งนี้สาขาพรรคและสมาชิกรวมทั้งผู้สมัครส.ส.ในเขตต่างๆ มีจุดที่ต้องระวัง 2 จุดที่จะประมาทไม่ได้ ว่าระบบการจัดการเดิมของพรรคดี มีระบบมายาวนาน และกระแสเดิมดี ซึ่งจุดที่ต้องระวังคือ เขตที่เอาส.ส.หน้าใหม่ไปลงสมัคร
นายสาทิตย์ กล่าวว่า เราจะต้องเอาทฤษฎีการตลาดมาใช้ โดยต้องประเมินก่อนว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเขาชอบแบบไหน และการเมืองต้องมีการประเมินเหมือนกันว่า ประชาชนชอบแบบไหน และต้องการข่าวสารในลักษณะใด ซึ่งเป็นหน้าที่ของสาขาพรรค ผู้สมัคร และสมาชิก จะต้องมีหน้าที่นำหลักการเหล่านี้ไปประยุกต์ปฎิบัติให้เกิดผล
นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่า การทำงานจะต้องแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ 1. ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันรับสมัครเลือกตั้งต้องทำกิจกรรม เพื่อสร้างกระแส ยกตัวอย่าง เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2547 ตนได้จัดปราศรัยใหญ่ ภายใต้ชื่อ “รวมพลคนประชาธิปัตย์” และปลายเดือนตุลาคม จะมีการแจกซีดีที่รวบรวมการอภิปรายไม่ไว้วางใจให้กับประชาชน รวมถึงจะมีการจัดตั้งกลุ่มประสานงานในเดือนพฤศจิกายน เพื่อสร้างกระแสอยู่กันคนละสายเทใจให้ประชาธิปัตย์ โดยจะจัดกิจกรรมให้คนมาฟังปราศรัยโดยไม่ต้องจัดเลี้ยง เพื่อให้ไม่ผิดกฎหมายเลือกตั้ง และกล่าวต่อว่า ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม — วันลงคะแนนการเลือกตั้ง เป็นช่วงที่เราจะต้องสร้างกระแสตรึงไว้ไม่ให้ตก เพื่อกั้นไม่ให้พรรคไทยรักไทยได้มีโอกาสทำกระแสขึ้นมาได้ ซึ่งเราจะต้องสร้างกระแสไปสู้กระสุน ให้เกิดขึ้นทั่วภาคใต้ เพราะหากจะสู้ด้วยกระสุนก็จะไม่สามารถสู้ได้เพราะพรรคมีเงินน้อย หากเห็นช้างขี้และขี้ตามช้างคงไปไม่รอด โดยจะต้องไม่ให้คู่ต่อสู้โงหัวขึ้นมาได้ โดยตนขอเสนอการสร้างยุทธศาสตร์จุดแข็ง มดสู้ช้าง เพื่อให้พรรคประชาธิปัตย์กลับมาได้ 201 เสียง ซึ่งจะไม่ใช่ช้างสู้ช้าง ‘กรณีของนายทวี สุระบาล ที่อาจจะมาลงแข่งขันกับตน และถูกมองว่าเป็นช้างชนช้าง ซึ่งความจริงไม่ใช่ แต่เป็นมดชนช้าง เพราะฝ่ายนั้นมีทั้งอำนาจทุน อำนาจรัฐ โดยคุณลักษณะของมดที่สำคัญคือ มดจะแบ่งงานกันทำเป็นระบบ มดงานทำงาน นางพญามดก็รักษารัง มดทุกตัวจะรู้งานของตัวเอง ซึ่งยุทธศาสตร์นี้เหมาะกับพื้นที่ภาคใต้มากที่สุด’ นายสาทิตย์ กล่าว และกล่าวต่อว่า ดังนั้นการที่จะทำยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้สำเร็จได้เราจะต้องมี 1. ความสามัคคี 2.ความมีวินัย ทั้งนี้เราต้องมีการนำการตลาดมาใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ดังนี้
1.จับจุดแข็งของพรรค และจุดเด่นของผู้สมัครมาใช้สร้างเป็นยุทธศาสตร์จุดแข็งให้ได้ อย่างเช่นจุดแข็งที่พรรคอื่นไม่มีคือ สมาชิกพรรค เราจะต้องดึงเอากลุ่มสมาชิกพรรค เอ็นจีโอ ชมรม หรือ กลุ่มอาชีพต่างๆที่พรรคจัดตั้งขึ้นเข้ามาร่วมมือ เพราะเป็นสื่อที่ดีที่สุด แบบตัวถึงตัว และทางพรรคไม่มีเงินมากพอที่จะไปประชาสัมพันธ์ทางสื่ออื่น เช่น ทางโทรทัศน์ และวิทยุ แต่ก็มีบางเขตที่พรรคได้จัดรายการวิทยุชุมชนอยู่ในขณะนี้
2.จะต้องกิจกรรมเสริมภาพพจน์ของพรรคและตัวผู้สมัครในช่วงเวลาที่เหลือ 70 กว่าวันนี้อย่างเต็มที่และสำคัญจะต้องระวังในช่วงเวลาใกล้ปีใหม่ในเรื่องของการจัดเลี้ยงที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหา ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งตัดสินให้ใบแดง ซึ่งจะทำให้ภาพพจน์หมดทันที และส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งอย่างมาก ซึ่งเป็นจุดที่ผู้สมัครต้องระวังอย่างยิ่ง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 ต.ค. 2547--จบ--
-ดท-
นายสาทิตย์ กล่าวว่า เราจะต้องเอาทฤษฎีการตลาดมาใช้ โดยต้องประเมินก่อนว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเขาชอบแบบไหน และการเมืองต้องมีการประเมินเหมือนกันว่า ประชาชนชอบแบบไหน และต้องการข่าวสารในลักษณะใด ซึ่งเป็นหน้าที่ของสาขาพรรค ผู้สมัคร และสมาชิก จะต้องมีหน้าที่นำหลักการเหล่านี้ไปประยุกต์ปฎิบัติให้เกิดผล
นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่า การทำงานจะต้องแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ 1. ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันรับสมัครเลือกตั้งต้องทำกิจกรรม เพื่อสร้างกระแส ยกตัวอย่าง เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2547 ตนได้จัดปราศรัยใหญ่ ภายใต้ชื่อ “รวมพลคนประชาธิปัตย์” และปลายเดือนตุลาคม จะมีการแจกซีดีที่รวบรวมการอภิปรายไม่ไว้วางใจให้กับประชาชน รวมถึงจะมีการจัดตั้งกลุ่มประสานงานในเดือนพฤศจิกายน เพื่อสร้างกระแสอยู่กันคนละสายเทใจให้ประชาธิปัตย์ โดยจะจัดกิจกรรมให้คนมาฟังปราศรัยโดยไม่ต้องจัดเลี้ยง เพื่อให้ไม่ผิดกฎหมายเลือกตั้ง และกล่าวต่อว่า ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม — วันลงคะแนนการเลือกตั้ง เป็นช่วงที่เราจะต้องสร้างกระแสตรึงไว้ไม่ให้ตก เพื่อกั้นไม่ให้พรรคไทยรักไทยได้มีโอกาสทำกระแสขึ้นมาได้ ซึ่งเราจะต้องสร้างกระแสไปสู้กระสุน ให้เกิดขึ้นทั่วภาคใต้ เพราะหากจะสู้ด้วยกระสุนก็จะไม่สามารถสู้ได้เพราะพรรคมีเงินน้อย หากเห็นช้างขี้และขี้ตามช้างคงไปไม่รอด โดยจะต้องไม่ให้คู่ต่อสู้โงหัวขึ้นมาได้ โดยตนขอเสนอการสร้างยุทธศาสตร์จุดแข็ง มดสู้ช้าง เพื่อให้พรรคประชาธิปัตย์กลับมาได้ 201 เสียง ซึ่งจะไม่ใช่ช้างสู้ช้าง ‘กรณีของนายทวี สุระบาล ที่อาจจะมาลงแข่งขันกับตน และถูกมองว่าเป็นช้างชนช้าง ซึ่งความจริงไม่ใช่ แต่เป็นมดชนช้าง เพราะฝ่ายนั้นมีทั้งอำนาจทุน อำนาจรัฐ โดยคุณลักษณะของมดที่สำคัญคือ มดจะแบ่งงานกันทำเป็นระบบ มดงานทำงาน นางพญามดก็รักษารัง มดทุกตัวจะรู้งานของตัวเอง ซึ่งยุทธศาสตร์นี้เหมาะกับพื้นที่ภาคใต้มากที่สุด’ นายสาทิตย์ กล่าว และกล่าวต่อว่า ดังนั้นการที่จะทำยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้สำเร็จได้เราจะต้องมี 1. ความสามัคคี 2.ความมีวินัย ทั้งนี้เราต้องมีการนำการตลาดมาใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ดังนี้
1.จับจุดแข็งของพรรค และจุดเด่นของผู้สมัครมาใช้สร้างเป็นยุทธศาสตร์จุดแข็งให้ได้ อย่างเช่นจุดแข็งที่พรรคอื่นไม่มีคือ สมาชิกพรรค เราจะต้องดึงเอากลุ่มสมาชิกพรรค เอ็นจีโอ ชมรม หรือ กลุ่มอาชีพต่างๆที่พรรคจัดตั้งขึ้นเข้ามาร่วมมือ เพราะเป็นสื่อที่ดีที่สุด แบบตัวถึงตัว และทางพรรคไม่มีเงินมากพอที่จะไปประชาสัมพันธ์ทางสื่ออื่น เช่น ทางโทรทัศน์ และวิทยุ แต่ก็มีบางเขตที่พรรคได้จัดรายการวิทยุชุมชนอยู่ในขณะนี้
2.จะต้องกิจกรรมเสริมภาพพจน์ของพรรคและตัวผู้สมัครในช่วงเวลาที่เหลือ 70 กว่าวันนี้อย่างเต็มที่และสำคัญจะต้องระวังในช่วงเวลาใกล้ปีใหม่ในเรื่องของการจัดเลี้ยงที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหา ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งตัดสินให้ใบแดง ซึ่งจะทำให้ภาพพจน์หมดทันที และส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งอย่างมาก ซึ่งเป็นจุดที่ผู้สมัครต้องระวังอย่างยิ่ง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 ต.ค. 2547--จบ--
-ดท-