นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยส่งออกสินค้าไปยัง
ประเทศ
ผู้ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร GSP (ยกเว้นออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ที่ไม่ได้ออก ฟอร์ม เอ)
มีมูลค่ารวม
ทั้งสิ้น 21,555 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในจำนวนนี้มีการส่งออกโดยขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษี (GSP)
4,716 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 22 ของการส่งออกโดยรวมไปยังประเทศดังกล่าว
การส่งออกภายใต้ GSP ดังกล่าว มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า
4,287
ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 10
ตลาดสำคัญเรียงตามลำดับมูลค่าการส่งออกภายใต้สิทธิ GSP มีดังนี้
สหภาพยุโรป 1,963.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สหรัฐอเมริกา 1,498.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ญี่ปุ่น 907.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) 128.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก 107.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
แคนาดา 99.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตรุกี 9.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกสินค้าหลัก ๆ ที่มาขอใช้สิทธิลดภาษี ในแต่ละตลาด มีดังนี้
ตลาดสหรัฐอเมริกา ได้แก่ เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณทำด้วยโลหะมีค่า ( 270 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ) เครื่องรับโทรทัศน์สี (79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ) พัดลมแบบตั้งโต๊ะ (77 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ )
ชุดสายไฟ (69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตลาดสหภาพยุโรป ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่งของ
(265 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ) เครื่องปรับอากาศ (174 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ
( 121
ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เลนส์แว่นตา (56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตลาดญี่ปุ่น ได้แก่ กุ้งปรุงแต่ง ( 49
ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ) เดกซ์ทรินและโมดิไฟด์สตาร์ช (39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ) ของใช้บรรจุสินค้า
(34
ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตะปูควงและสลักเกลียว (30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
สำหรับการส่งออกไปประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปใหม่ 10 ประเทศ ในช่วงเดือนพ.ค.- มิ.ย.
2547 มีมูลค่า 91 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546
ซึ่งเป็นช่วง
ที่ยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป โดยมีมูลค่าการใช้สิทธิ GSP 12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิด
เป็นร้อยละ 13
นายราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศสมาชิกใหม่สหภาพยุโรปส่วนใหญ่ยังไม่ใช่
ตลาดหลักของไทย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกเดิม เมื่อเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว จะ
ใช้กฎระเบียบศุลกากรเดียวกับสหภาพยุโรป ซึ่งน่าจะเป็นช่องทางในการใช้สิทธิ GSP ได้เพิ่มขึ้น สำหรับ
สินค้าที่เดิมไม่สามารถใช้สิทธิ GSP ได้ เช่น สินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้า ,เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า และยานยนต์
เป็นต้น
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ
โทร. 0 2457 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail :
tpdft.moc.go.th
--กรมการค้าต่างประเทศ ตุลาคม 2547--
-สส-
ประเทศ
ผู้ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร GSP (ยกเว้นออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ที่ไม่ได้ออก ฟอร์ม เอ)
มีมูลค่ารวม
ทั้งสิ้น 21,555 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในจำนวนนี้มีการส่งออกโดยขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษี (GSP)
4,716 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 22 ของการส่งออกโดยรวมไปยังประเทศดังกล่าว
การส่งออกภายใต้ GSP ดังกล่าว มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า
4,287
ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 10
ตลาดสำคัญเรียงตามลำดับมูลค่าการส่งออกภายใต้สิทธิ GSP มีดังนี้
สหภาพยุโรป 1,963.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สหรัฐอเมริกา 1,498.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ญี่ปุ่น 907.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) 128.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก 107.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
แคนาดา 99.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตรุกี 9.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกสินค้าหลัก ๆ ที่มาขอใช้สิทธิลดภาษี ในแต่ละตลาด มีดังนี้
ตลาดสหรัฐอเมริกา ได้แก่ เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณทำด้วยโลหะมีค่า ( 270 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ) เครื่องรับโทรทัศน์สี (79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ) พัดลมแบบตั้งโต๊ะ (77 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ )
ชุดสายไฟ (69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตลาดสหภาพยุโรป ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่งของ
(265 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ) เครื่องปรับอากาศ (174 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ
( 121
ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เลนส์แว่นตา (56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตลาดญี่ปุ่น ได้แก่ กุ้งปรุงแต่ง ( 49
ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ) เดกซ์ทรินและโมดิไฟด์สตาร์ช (39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ) ของใช้บรรจุสินค้า
(34
ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตะปูควงและสลักเกลียว (30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
สำหรับการส่งออกไปประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปใหม่ 10 ประเทศ ในช่วงเดือนพ.ค.- มิ.ย.
2547 มีมูลค่า 91 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546
ซึ่งเป็นช่วง
ที่ยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป โดยมีมูลค่าการใช้สิทธิ GSP 12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิด
เป็นร้อยละ 13
นายราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศสมาชิกใหม่สหภาพยุโรปส่วนใหญ่ยังไม่ใช่
ตลาดหลักของไทย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกเดิม เมื่อเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว จะ
ใช้กฎระเบียบศุลกากรเดียวกับสหภาพยุโรป ซึ่งน่าจะเป็นช่องทางในการใช้สิทธิ GSP ได้เพิ่มขึ้น สำหรับ
สินค้าที่เดิมไม่สามารถใช้สิทธิ GSP ได้ เช่น สินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้า ,เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า และยานยนต์
เป็นต้น
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ
โทร. 0 2457 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail :
tpdft.moc.go.th
--กรมการค้าต่างประเทศ ตุลาคม 2547--
-สส-