นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรค กล่าวถึงเรื่องการวางยุทธศาสตร์เลือกตั้งในพื้นที่ภาคใต้ ว่า พื้นที่เลือกตั้งภาคใต้กับการเลือกตั้ง ถือว่า 54 เขตเลือกตั้ง พรรคเป็นเจ้าของเขตเลือกตั้ง คือมี ส.ส. อยู่ 48 เขตเลือกตั้งซึ่งถือว่ามากกว่า 90 % และมีสาขาพรรคกระจายอยู่ทั่วเขตเลือกตั้ง
การสัมมนาพรรคครั้งนี้ จำนำไปสู่การปฏิบัติจริงเนื่องจากมีการสัมมนามาโดยตลอด และทางสำนักงานเลขาธิการก็มีแผนสัมมนาอีกครั้งหนึ่งในเดือนพ.ย. ซึ่งถือว่าเป็นการกฏิบัติการ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง กรณีของเรื่องยุทธสาสตร์ประชาธิปัตย์ภาคใต้ 100% เป็นเรื่องที่มีการพูดคุยในการสัมมนาสาขาพรรคทั้ง 54 เขตเมื่อปี 2545 ภายหลังการเลือกตั้ง ปี 2544 โดยสาขาเป็นผู้เสนอยุทธศาสตร์นี้ ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้เป็นการนำยุทธศาสตร์นี้มาตอกย้ำอีกครั้งหนึ่งและต้องนำไปสู่แผนปฏิบัติการ ซึ่งทุกเขตเลือกตั้งต้องนำไปดำเนินการต่อ เพียงแต่การดำเนินการนั้นสาขาพรรคต้องไปคุยกับ ส.ส. และแกนนำในพื้นที่ เพื่อขยายผลในการปฏิบัติต่อไป
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เรายังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภาคใต้อยู่ 3 ประการซึ่ง สะท้อนมาจากตัวแทนสาขาพรรค และแกนนำ รวมทั้ง ส.ส.ส่วนใหญ่ในภาคใต้ คือ1.มีความกังวลเรื่องมาตรฐานของการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยเฉพาะกรณีเรื่องใบเหลือง-ใบแดง และการกำหนดวันเวลา ในการปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมายเลือกตั้ง เพราะการไม่กำหนด 60 วัน 90 วัน เป็นผลทำให้ผู้สมัครก็ดี สาขาพรรคก็ดีมีความสับสนเรื่องของการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นการสัมมนาครั้งนี้ ก็มีการย้ำว่าอะรที่เป็นเรื่องสุ่มเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายเลือกตั้งก้ขอให้งดการปฏิบัติเสีย เพราะเราไม่มั่นใจมาตรฐานของกกต. และจะไม่รอกฎหมายที่ออกโดยสภา
ประการที่ 2 คือมีความกังวลเรื่องการใช้อำนาจรัฐในการเข้ามาแทรกแซงกระบวนการเลือกตั้งในภาคใต้เพราะในขณะนี้มีบุคคลที่อยู่ในระดับบริหาร ระดับรัฐมนตรีได้จัดข้าราชการซึ่งถือว่าเป็นคนของรัฐบาลลงมาในพื้นที่ หลายจังหวัด เมื่อวานนี้มีหลายจังหวัดได้เขียนจดหมายถึงฝ่ายบริหารของพรรคแจ้งให้ทราบว่าหน่วยงาน 4 หน่วยถูกจัดตั้งมาโดยคนของรัฐบาลในหลายจังหวัด คือ1.หน่วยงานทางการเกษตร 2.หน่วยงานทางการศึกษา 3. หน่วยงานทางการปกครองกระทรวงมหาดไทย และ4. ตำรวจไม่นับอีกหลายกระทรวงที่มีการจัดคนอยู่ แต่ 4 หน่วยงานที่กล่าวถึงมีการลงพื้นที่ติดตามงานโดยรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีไม่ได้มางานราชการ แต่มางานการเมืองโดยเฉพาะ กรณีการใช้อำนาจรัฐแทรกแซงนี้ เข้าใจว่าใกล้การเลือกตั้งคงจะมีการใช้หนักขึ้นตามลำดับ ซึ่งเรื่องนี้พรรคต้องมีมาตรการเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา เพรพาะสาขาพรรคเองก็มีความวิตกกังวล ต้องบอกตรงว่าผู้สมัครใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความกังวลว่าหลังจากมีการเปิดตัวแกนนำแล้วจะมีการสวมรอยสถานการณ์ภาคใต้แล้วปฏิบัติการใช้อาวุธเพื่อให้แกนนำของพรรคเกิดความหวาดกลัว หรือเกรงถึงเรื่องยิงทิ้ง ทำให้การทำงานภาคใต้เป็นการทำงานที่ต้องระมัดระวังตัวตลอดเวลา กับกรณีที่นายกฯประกาศปราบปรามยาเสพติดรอบ 2 เป็นยุทะการไล่ล่าหัวคะแนนพรรคประชาธิปัตย์
ประการที่ 3 คือมีความหวั่นเกรงว่าจะมีการใช้เงินเข้ามาใช้ในการเลือกตั้งในภาคใต้จำนวนมหาศาลโดยพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลเพราะเป็นตัวอย่างเห็นได้จากการเลือกตั้งเขต 3 จังหวัดสงขลา จึงต้องเน้นในการเลือกตั้งครั้งหน้าจะต้องดำเนินการต่อต้านการใช้เงินซื้อสิทธิ ขายเสียง ซึ่งจะเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งหน้า
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ต.ค. 2547--จบ--
-ดท-
การสัมมนาพรรคครั้งนี้ จำนำไปสู่การปฏิบัติจริงเนื่องจากมีการสัมมนามาโดยตลอด และทางสำนักงานเลขาธิการก็มีแผนสัมมนาอีกครั้งหนึ่งในเดือนพ.ย. ซึ่งถือว่าเป็นการกฏิบัติการ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง กรณีของเรื่องยุทธสาสตร์ประชาธิปัตย์ภาคใต้ 100% เป็นเรื่องที่มีการพูดคุยในการสัมมนาสาขาพรรคทั้ง 54 เขตเมื่อปี 2545 ภายหลังการเลือกตั้ง ปี 2544 โดยสาขาเป็นผู้เสนอยุทธศาสตร์นี้ ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้เป็นการนำยุทธศาสตร์นี้มาตอกย้ำอีกครั้งหนึ่งและต้องนำไปสู่แผนปฏิบัติการ ซึ่งทุกเขตเลือกตั้งต้องนำไปดำเนินการต่อ เพียงแต่การดำเนินการนั้นสาขาพรรคต้องไปคุยกับ ส.ส. และแกนนำในพื้นที่ เพื่อขยายผลในการปฏิบัติต่อไป
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เรายังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภาคใต้อยู่ 3 ประการซึ่ง สะท้อนมาจากตัวแทนสาขาพรรค และแกนนำ รวมทั้ง ส.ส.ส่วนใหญ่ในภาคใต้ คือ1.มีความกังวลเรื่องมาตรฐานของการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยเฉพาะกรณีเรื่องใบเหลือง-ใบแดง และการกำหนดวันเวลา ในการปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมายเลือกตั้ง เพราะการไม่กำหนด 60 วัน 90 วัน เป็นผลทำให้ผู้สมัครก็ดี สาขาพรรคก็ดีมีความสับสนเรื่องของการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นการสัมมนาครั้งนี้ ก็มีการย้ำว่าอะรที่เป็นเรื่องสุ่มเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายเลือกตั้งก้ขอให้งดการปฏิบัติเสีย เพราะเราไม่มั่นใจมาตรฐานของกกต. และจะไม่รอกฎหมายที่ออกโดยสภา
ประการที่ 2 คือมีความกังวลเรื่องการใช้อำนาจรัฐในการเข้ามาแทรกแซงกระบวนการเลือกตั้งในภาคใต้เพราะในขณะนี้มีบุคคลที่อยู่ในระดับบริหาร ระดับรัฐมนตรีได้จัดข้าราชการซึ่งถือว่าเป็นคนของรัฐบาลลงมาในพื้นที่ หลายจังหวัด เมื่อวานนี้มีหลายจังหวัดได้เขียนจดหมายถึงฝ่ายบริหารของพรรคแจ้งให้ทราบว่าหน่วยงาน 4 หน่วยถูกจัดตั้งมาโดยคนของรัฐบาลในหลายจังหวัด คือ1.หน่วยงานทางการเกษตร 2.หน่วยงานทางการศึกษา 3. หน่วยงานทางการปกครองกระทรวงมหาดไทย และ4. ตำรวจไม่นับอีกหลายกระทรวงที่มีการจัดคนอยู่ แต่ 4 หน่วยงานที่กล่าวถึงมีการลงพื้นที่ติดตามงานโดยรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีไม่ได้มางานราชการ แต่มางานการเมืองโดยเฉพาะ กรณีการใช้อำนาจรัฐแทรกแซงนี้ เข้าใจว่าใกล้การเลือกตั้งคงจะมีการใช้หนักขึ้นตามลำดับ ซึ่งเรื่องนี้พรรคต้องมีมาตรการเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา เพรพาะสาขาพรรคเองก็มีความวิตกกังวล ต้องบอกตรงว่าผู้สมัครใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความกังวลว่าหลังจากมีการเปิดตัวแกนนำแล้วจะมีการสวมรอยสถานการณ์ภาคใต้แล้วปฏิบัติการใช้อาวุธเพื่อให้แกนนำของพรรคเกิดความหวาดกลัว หรือเกรงถึงเรื่องยิงทิ้ง ทำให้การทำงานภาคใต้เป็นการทำงานที่ต้องระมัดระวังตัวตลอดเวลา กับกรณีที่นายกฯประกาศปราบปรามยาเสพติดรอบ 2 เป็นยุทะการไล่ล่าหัวคะแนนพรรคประชาธิปัตย์
ประการที่ 3 คือมีความหวั่นเกรงว่าจะมีการใช้เงินเข้ามาใช้ในการเลือกตั้งในภาคใต้จำนวนมหาศาลโดยพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลเพราะเป็นตัวอย่างเห็นได้จากการเลือกตั้งเขต 3 จังหวัดสงขลา จึงต้องเน้นในการเลือกตั้งครั้งหน้าจะต้องดำเนินการต่อต้านการใช้เงินซื้อสิทธิ ขายเสียง ซึ่งจะเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งหน้า
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ต.ค. 2547--จบ--
-ดท-