กรุงเทพ--11 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2547 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนระหว่างการเดินทางไปเข้าร่วมประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 5 ที่โรงแรม Hanoi Melia ดังนี้
1. การประชุมระดับผู้นำ ASEM มีการหารือประเด็นการเมืองหลังยุค สงครามเย็น ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้ก่อตั้งในยุคหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ไม่นาน ดังนั้นจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยที่ประชุม ASEM เห็นตรงกันที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติให้เป็นเวทีความตกลงแบบพหุภาคี เพื่อให้สหประชาชาติเป็นที่พึ่งในการแก้ปัญหาความขัดแย้งของโลกมากกว่าการใช้กำลัง ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายความขัดแย้งที่ เกิดขึ้นในหลายส่วนของโลก ส่วนผลการปรับปรุงโครงสร้างของสหประชาชาติต้องรอ คณะทำงานที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีไทยเป็นประธาน คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนธันวาคมนี้
2. ผู้สื่อข่าวถามว่า ไทยได้แจ้งที่ประชุม ASEM เกี่ยวกับการเสนอ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นเลขาธิการสหประชาชาติหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไม่ได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นหารือในที่ประชุม แต่นายกรัฐมนตรีลาว ในฐานะประธานอาเซียนได้แจ้งมติของอาเซียนที่ได้สนับสนุน ดร. สุรเกียรติ์ฯ เป็นตัวแทนของ อาเซียนในการแข่งขันเป็นเลขาธิการสหประชาชาติคนใหม่ในปี 2006 ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ได้พูดคุยกับประธานาธิบดีเกาหลีใต้ และได้รับแจ้งว่า แต่เดิมเกาหลีใต้จะส่งตัวแทนเข้าแข่งขัน แต่ได้เปลี่ยนใจหลังจากทราบว่าไทยส่งตัวแทนเข้าแข่งขัน
3. นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้เสนอต่อที่ประชุมให้มีการเชื่อมโยงการใช้ยูโรบอนด์กับเอเชียบอนด์ ซึ่งในประเด็นเอเชียบอนด์นั้น จะมีลักษณะของการแลกเปลี่ยนเงินสกุลท้องถิ่น มีการยกเว้นภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อจูงใจให้ประเทศอื่นๆ เห็นคล้อยตามแต่ทุกประเทศต้องกลับไปแก้ไขเรื่องมาตรการทางภาษี ทั้งนี้คณะทำงานที่ตั้งขึ้นในการศึกษาเรื่องเอเชียบอนด์ เมื่อครั้งการประชุม ASEM ครั้งที่ 4 ได้ข้อสรุปตรงกับไทยว่า เพื่อให้เกิดความสมดุลย์ทางระบบ การเงินของโลกควรจะมีความเชื่อมโยงระหว่างเอเชียบอนด์กับยูโรบอนด์ และคาดว่าจะมีความ ชัดเจนต้นปีหน้า ทั้งนี้การประชุม ASEM ครั้งนี้ได้กำหนดหัวข้อนี้ไว้ในปฏิญญาฮานอยด้วย
4. สำหรับการจัดแข่งกีฬาฟุตบอลเยาวชน ASEM นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 2-8 มิถุนายน 2548 ทั้งนี้จะหยิบยกเรื่องนี้เสนอต่อที่ประชุม ASEM ช่วงที่ 3 ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นด้านวัฒนธรรม เพราะเห็นว่าการแข่งขันกีฬาเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประชาชน 2 ภูมิภาค ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวได้ระบุไว้ในปฏิญญาฮานอยด้วยเช่นกัน
5. นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่าที่ประชุม ASEM ไม่ได้หารือเรื่องการระบาดของ โรคไข้หวัดนกในไทย เพราะทุกประเทศเข้าใจว่าไก่ที่ส่งออกจากไทยถูกสุขอนามัย เนื่องจากเป็นการเลี้ยงแบบฟาร์มปิด และปัญหาไข้หวัดนกที่เกิดขึ้นมาจากไก่ที่เลี้ยงตามบ้าน และสหภาพยุโรป ไม่ห่วงและเข้าใจว่าความรุนแรงมีไม่มากและป้องกันได้
6. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการหารือกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในประเด็นการเปิดเสรีการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ว่า ได้สอบถามความคืบหน้าในเรื่อง ดังกล่าว ซึ่งตนแจ้งว่า จะติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การเจรจาเป็นไปด้วยความเรียบร้อยบรรลุข้อตกลงโดยเร็ว เป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย และเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
7. ในการหารือกับรองนายกรัฐมนตรีสเปน นั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ทางสเปนเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอ็กซ์โป โดยขอเสียงสนับสนุนจากไทย ซึ่งตนยินดีที่จะพิจารณาให้การสนับสนุน นอกจากนี้ได้หารือถึงความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว โดยเห็นว่า ในสถานการณ์ที่มีการก่อการร้ายเกิดขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก ความร่วมมือที่ดีต่อกันถือเป็นเรื่องสำคัญในการแก้ปัญหาการก่อการร้ายไม่ให้มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยว โดยเห็นว่าการแก้ปัญหาการก่อการร้ายไม่ควรใช้ความรุนแรง แต่ควรแก้ไขด้วยความเข้าใจกัน พัฒนาแก้ปัญหาความยากจน และให้การศึกษาเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางสังคม อันจะช่วยป้องกันปัญหาการก่อ การร้ายได้
8. ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่จะพบหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในสัปดาห์หน้า จะมีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนภาคใต้หรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้เน้นย้ำว่าสองประเทศจะต้องทำเป็นตัวอย่างว่าประเทศเพื่อนบ้าน จะพัฒนาร่วมกัน เพื่อให้เห็นว่าเราสามารถแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ เชื่อว่าประชาชนทั้งมาเลเซียและไทยจะมีความสุข
9. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเดินทางเยือนพม่า เพื่อติดตามความคืบหน้าในการสร้างความปรองดองแห่งชาติพม่าว่า จะเดินทางเมื่อใดต้องรอดูจังหวะและความเหมาะสมเพื่อหาโอกาสเข้าพบกับ พล.อ. ตาน ฉ่วย ผู้นำสูงสุดของพม่า เพื่อแจ้งถึงความห่วงใยของนานาชาติ และช่วยกันพิจารณาหาทางออกเพื่อให้เกิดความปรองดองแห่งชาติพม่าอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม หากได้พบกับผู้นำพม่าในการประชุมอาเซียนซัมมิท ที่ประเทศลาวในเดือนพฤศจิกายน อาจจะมีการหารือในลักษณะเพื่อนฝูงให้ทราบถึงความห่วงใยของนานาชาติ แต่คงไม่วิพากษ์วิจารณ์พัฒนาการภายในประเทศ เพราะต้องเคารพอธิปไตยของพม่า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2547 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนระหว่างการเดินทางไปเข้าร่วมประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 5 ที่โรงแรม Hanoi Melia ดังนี้
1. การประชุมระดับผู้นำ ASEM มีการหารือประเด็นการเมืองหลังยุค สงครามเย็น ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้ก่อตั้งในยุคหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ไม่นาน ดังนั้นจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยที่ประชุม ASEM เห็นตรงกันที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติให้เป็นเวทีความตกลงแบบพหุภาคี เพื่อให้สหประชาชาติเป็นที่พึ่งในการแก้ปัญหาความขัดแย้งของโลกมากกว่าการใช้กำลัง ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายความขัดแย้งที่ เกิดขึ้นในหลายส่วนของโลก ส่วนผลการปรับปรุงโครงสร้างของสหประชาชาติต้องรอ คณะทำงานที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีไทยเป็นประธาน คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนธันวาคมนี้
2. ผู้สื่อข่าวถามว่า ไทยได้แจ้งที่ประชุม ASEM เกี่ยวกับการเสนอ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นเลขาธิการสหประชาชาติหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไม่ได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นหารือในที่ประชุม แต่นายกรัฐมนตรีลาว ในฐานะประธานอาเซียนได้แจ้งมติของอาเซียนที่ได้สนับสนุน ดร. สุรเกียรติ์ฯ เป็นตัวแทนของ อาเซียนในการแข่งขันเป็นเลขาธิการสหประชาชาติคนใหม่ในปี 2006 ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ได้พูดคุยกับประธานาธิบดีเกาหลีใต้ และได้รับแจ้งว่า แต่เดิมเกาหลีใต้จะส่งตัวแทนเข้าแข่งขัน แต่ได้เปลี่ยนใจหลังจากทราบว่าไทยส่งตัวแทนเข้าแข่งขัน
3. นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้เสนอต่อที่ประชุมให้มีการเชื่อมโยงการใช้ยูโรบอนด์กับเอเชียบอนด์ ซึ่งในประเด็นเอเชียบอนด์นั้น จะมีลักษณะของการแลกเปลี่ยนเงินสกุลท้องถิ่น มีการยกเว้นภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อจูงใจให้ประเทศอื่นๆ เห็นคล้อยตามแต่ทุกประเทศต้องกลับไปแก้ไขเรื่องมาตรการทางภาษี ทั้งนี้คณะทำงานที่ตั้งขึ้นในการศึกษาเรื่องเอเชียบอนด์ เมื่อครั้งการประชุม ASEM ครั้งที่ 4 ได้ข้อสรุปตรงกับไทยว่า เพื่อให้เกิดความสมดุลย์ทางระบบ การเงินของโลกควรจะมีความเชื่อมโยงระหว่างเอเชียบอนด์กับยูโรบอนด์ และคาดว่าจะมีความ ชัดเจนต้นปีหน้า ทั้งนี้การประชุม ASEM ครั้งนี้ได้กำหนดหัวข้อนี้ไว้ในปฏิญญาฮานอยด้วย
4. สำหรับการจัดแข่งกีฬาฟุตบอลเยาวชน ASEM นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 2-8 มิถุนายน 2548 ทั้งนี้จะหยิบยกเรื่องนี้เสนอต่อที่ประชุม ASEM ช่วงที่ 3 ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นด้านวัฒนธรรม เพราะเห็นว่าการแข่งขันกีฬาเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประชาชน 2 ภูมิภาค ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวได้ระบุไว้ในปฏิญญาฮานอยด้วยเช่นกัน
5. นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่าที่ประชุม ASEM ไม่ได้หารือเรื่องการระบาดของ โรคไข้หวัดนกในไทย เพราะทุกประเทศเข้าใจว่าไก่ที่ส่งออกจากไทยถูกสุขอนามัย เนื่องจากเป็นการเลี้ยงแบบฟาร์มปิด และปัญหาไข้หวัดนกที่เกิดขึ้นมาจากไก่ที่เลี้ยงตามบ้าน และสหภาพยุโรป ไม่ห่วงและเข้าใจว่าความรุนแรงมีไม่มากและป้องกันได้
6. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการหารือกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในประเด็นการเปิดเสรีการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ว่า ได้สอบถามความคืบหน้าในเรื่อง ดังกล่าว ซึ่งตนแจ้งว่า จะติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การเจรจาเป็นไปด้วยความเรียบร้อยบรรลุข้อตกลงโดยเร็ว เป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย และเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
7. ในการหารือกับรองนายกรัฐมนตรีสเปน นั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ทางสเปนเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอ็กซ์โป โดยขอเสียงสนับสนุนจากไทย ซึ่งตนยินดีที่จะพิจารณาให้การสนับสนุน นอกจากนี้ได้หารือถึงความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว โดยเห็นว่า ในสถานการณ์ที่มีการก่อการร้ายเกิดขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก ความร่วมมือที่ดีต่อกันถือเป็นเรื่องสำคัญในการแก้ปัญหาการก่อการร้ายไม่ให้มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยว โดยเห็นว่าการแก้ปัญหาการก่อการร้ายไม่ควรใช้ความรุนแรง แต่ควรแก้ไขด้วยความเข้าใจกัน พัฒนาแก้ปัญหาความยากจน และให้การศึกษาเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางสังคม อันจะช่วยป้องกันปัญหาการก่อ การร้ายได้
8. ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่จะพบหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในสัปดาห์หน้า จะมีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนภาคใต้หรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้เน้นย้ำว่าสองประเทศจะต้องทำเป็นตัวอย่างว่าประเทศเพื่อนบ้าน จะพัฒนาร่วมกัน เพื่อให้เห็นว่าเราสามารถแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ เชื่อว่าประชาชนทั้งมาเลเซียและไทยจะมีความสุข
9. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเดินทางเยือนพม่า เพื่อติดตามความคืบหน้าในการสร้างความปรองดองแห่งชาติพม่าว่า จะเดินทางเมื่อใดต้องรอดูจังหวะและความเหมาะสมเพื่อหาโอกาสเข้าพบกับ พล.อ. ตาน ฉ่วย ผู้นำสูงสุดของพม่า เพื่อแจ้งถึงความห่วงใยของนานาชาติ และช่วยกันพิจารณาหาทางออกเพื่อให้เกิดความปรองดองแห่งชาติพม่าอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม หากได้พบกับผู้นำพม่าในการประชุมอาเซียนซัมมิท ที่ประเทศลาวในเดือนพฤศจิกายน อาจจะมีการหารือในลักษณะเพื่อนฝูงให้ทราบถึงความห่วงใยของนานาชาติ แต่คงไม่วิพากษ์วิจารณ์พัฒนาการภายในประเทศ เพราะต้องเคารพอธิปไตยของพม่า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-