ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2547 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของกัมพูชา (Cambodian Investment Board: CIB) อนุมัติโครงการลงทุนลดลงเหลือเพียง 17 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวม 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับที่อนุมัติรวม 30 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 530 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2546ซึ่งเป็นผลจากปัญหาการเมืองในประเทศโดยมีจีนเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด รองลงมา คือ นักลงทุนจากมาเลเซียสหรัฐฯ และสิงคโปร์ ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม 2547 ที่ผ่านมา การเมืองในกัมพูชาเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นเนื่องจากสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมชุดใหม่ได้สำเร็จ ประกอบกับคาดว่าภายในสิ้นปี 2547กัมพูชาจะเข้าเป็นสมาชิกใหม่ลำดับที่ 148 ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ได้อย่างเป็นทางการซึ่งคาดว่าจะทำให้นักลงทุนต่างชาติมั่นใจและกลับเข้าไปลงทุนในกัมพูชาเพิ่มขึ้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมจาก CIB และมีศักยภาพที่จะเข้าไปลงทุนในกัมพูชา ได้แก่
1. อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งนอกจากนักลงทุนต่างชาติจะได้รับสิทธิประโยชน์จาก CIB ด้วยการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ วัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป รวมทั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการผลิตเพื่อส่งออกแล้ว นักลงทุนยังจะได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ อีกมากจากการเข้าไปลงทุนเนื่องจากกัมพูชาจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระดับการพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries: LDC) ทำให้ประเทศที่พัฒนาแล้วกว่า 26 ประเทศ เช่น สหรัฐฯ กลุ่มสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ฯลฯ ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP) แก่สินค้านำเข้าจากกัมพูชาหลายพันรายการ อีกทั้งกัมพูชาเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA อีกด้วย ประกอบกับอัตราค่าจ้างแรงงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปตั้งฐานการผลิตเพื่อส่งออกในหลายอุตสาหกรรม อาทิ
อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของกัมพูชา (สัดส่วนราวร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าส่งออกทั้งหมด) ทั้งนี้ ภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยการค้าสิ่งทอ (Multifibre Arrangement: MFA) ของ WTO กำหนดให้ประเทศสมาชิก WTO ต้องเปิดเสรีด้านการค้าสิ่งทอนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป คาดว่าจะส่งผลดีทำให้กัมพูชาสามารถขยายการส่งออกสิ่งทอไปยังตลาดใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากตลาดหลักเดิม เช่น สหรัฐฯ กลุ่มสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เนื่องจากค่าจ้างแรงงานภาคสิ่งทอยังอยู่ในระดับต่ำราว 45 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (ประมาณ 1,900 บาท/เดือน) อีกทั้งยังเป็นแรงงานที่ฝึกหัดได้ง่าย โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2547 นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปมากที่สุดถึงเกือบร้อยละ 70 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด
อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมรองเท้า (มีอัตราค่าจ้างแรงงาน/เดือน ใกล้เคียงกับแรงงานในภาคสิ่งทอ) เครื่องหนัง ของเล่น และเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เป็นต้น โดย CIB กำหนดให้อุตสาหกรรมที่จะได้รับการส่งเสริม เช่น สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ต้องมีเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการผลิตหนังและรองเท้าต้องมีเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น
2. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เนื่องจากกัมพูชามีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์สำคัญหลายแห่ง โดยเฉพาะนครวัด (UNESCO ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก) และนครธมซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเสียมราฐหรือเสียมเรียบ โดยรัฐบาลกัมพูชาอนุญาตให้สายการบินของต่างชาติสามารถบินตรงสู่เมืองเสียมราฐตามนโยบาย Open-Sky Policy ที่เริ่มตั้งแต่ปี 2540 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทำให้ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร รวมทั้งบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยรัฐบาลกัมพูชาคาดว่าในปี 2547 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยวเมืองเสียมราฐราว 1 ล้านคน เพิ่มเป็นกว่า 3 เท่าจากปี 2546 ทั้งนี้ กัมพูชาไม่ได้กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
3. อุตสาหกรรมการเกษตรและการแปรรูปอาหาร เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของกัมพูชายังปลอดจากปุ๋ยเคมีและสารเคมีตกค้าง จึงมีศักยภาพในการปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและกำลังเป็นที่นิยมในตลาดแถบประเทศยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยสัตว์น้ำทะเลจำนวนมากแต่ยังขาดเทคโนโลยีในการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า โดย CIB กำหนดให้อุตสาหกรรมที่จะได้รับการส่งเสริม เช่น การแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์ต้องมีเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 แสนดอลลาร์สหรัฐ และกำหนดให้การเพาะปลูกผัก พืชผลเกษตรอื่นๆ และข้าว ต้องมีพื้นที่เพาะปลูกไม่น้อยกว่า 50, 500 และ 1,000 เฮกเตอร์ ตามลำดับ
4. การก่อสร้าง เนื่องจากกัมพูชายังขาดระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ ถนน ท่าเรือ สนามบิน ระบบสื่อสารโทรคมนาคม โรงผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ และอาคารพาณิชย์ ฯลฯ จึงสนับสนุนให้ชาวต่างชาติเข้าไปลงทุนเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยนักลงทุนต่างชาติอาจเข้าไปลงทุนในลักษณะ BOT (Built, Operate and Transfer) ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการบริหารโครงการราว 30 ปีก่อนจะโอนกรรมสิทธิของโครงการให้ภาครัฐดำเนินการต่อไป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2547--
-พห-
สำหรับอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมจาก CIB และมีศักยภาพที่จะเข้าไปลงทุนในกัมพูชา ได้แก่
1. อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งนอกจากนักลงทุนต่างชาติจะได้รับสิทธิประโยชน์จาก CIB ด้วยการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ วัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป รวมทั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการผลิตเพื่อส่งออกแล้ว นักลงทุนยังจะได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ อีกมากจากการเข้าไปลงทุนเนื่องจากกัมพูชาจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระดับการพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries: LDC) ทำให้ประเทศที่พัฒนาแล้วกว่า 26 ประเทศ เช่น สหรัฐฯ กลุ่มสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ฯลฯ ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP) แก่สินค้านำเข้าจากกัมพูชาหลายพันรายการ อีกทั้งกัมพูชาเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA อีกด้วย ประกอบกับอัตราค่าจ้างแรงงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปตั้งฐานการผลิตเพื่อส่งออกในหลายอุตสาหกรรม อาทิ
อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของกัมพูชา (สัดส่วนราวร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าส่งออกทั้งหมด) ทั้งนี้ ภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยการค้าสิ่งทอ (Multifibre Arrangement: MFA) ของ WTO กำหนดให้ประเทศสมาชิก WTO ต้องเปิดเสรีด้านการค้าสิ่งทอนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป คาดว่าจะส่งผลดีทำให้กัมพูชาสามารถขยายการส่งออกสิ่งทอไปยังตลาดใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากตลาดหลักเดิม เช่น สหรัฐฯ กลุ่มสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เนื่องจากค่าจ้างแรงงานภาคสิ่งทอยังอยู่ในระดับต่ำราว 45 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (ประมาณ 1,900 บาท/เดือน) อีกทั้งยังเป็นแรงงานที่ฝึกหัดได้ง่าย โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2547 นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปมากที่สุดถึงเกือบร้อยละ 70 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด
อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมรองเท้า (มีอัตราค่าจ้างแรงงาน/เดือน ใกล้เคียงกับแรงงานในภาคสิ่งทอ) เครื่องหนัง ของเล่น และเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เป็นต้น โดย CIB กำหนดให้อุตสาหกรรมที่จะได้รับการส่งเสริม เช่น สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ต้องมีเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการผลิตหนังและรองเท้าต้องมีเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น
2. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เนื่องจากกัมพูชามีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์สำคัญหลายแห่ง โดยเฉพาะนครวัด (UNESCO ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก) และนครธมซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเสียมราฐหรือเสียมเรียบ โดยรัฐบาลกัมพูชาอนุญาตให้สายการบินของต่างชาติสามารถบินตรงสู่เมืองเสียมราฐตามนโยบาย Open-Sky Policy ที่เริ่มตั้งแต่ปี 2540 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทำให้ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร รวมทั้งบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยรัฐบาลกัมพูชาคาดว่าในปี 2547 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยวเมืองเสียมราฐราว 1 ล้านคน เพิ่มเป็นกว่า 3 เท่าจากปี 2546 ทั้งนี้ กัมพูชาไม่ได้กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
3. อุตสาหกรรมการเกษตรและการแปรรูปอาหาร เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของกัมพูชายังปลอดจากปุ๋ยเคมีและสารเคมีตกค้าง จึงมีศักยภาพในการปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและกำลังเป็นที่นิยมในตลาดแถบประเทศยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยสัตว์น้ำทะเลจำนวนมากแต่ยังขาดเทคโนโลยีในการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า โดย CIB กำหนดให้อุตสาหกรรมที่จะได้รับการส่งเสริม เช่น การแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์ต้องมีเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 แสนดอลลาร์สหรัฐ และกำหนดให้การเพาะปลูกผัก พืชผลเกษตรอื่นๆ และข้าว ต้องมีพื้นที่เพาะปลูกไม่น้อยกว่า 50, 500 และ 1,000 เฮกเตอร์ ตามลำดับ
4. การก่อสร้าง เนื่องจากกัมพูชายังขาดระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ ถนน ท่าเรือ สนามบิน ระบบสื่อสารโทรคมนาคม โรงผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ และอาคารพาณิชย์ ฯลฯ จึงสนับสนุนให้ชาวต่างชาติเข้าไปลงทุนเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยนักลงทุนต่างชาติอาจเข้าไปลงทุนในลักษณะ BOT (Built, Operate and Transfer) ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการบริหารโครงการราว 30 ปีก่อนจะโอนกรรมสิทธิของโครงการให้ภาครัฐดำเนินการต่อไป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2547--
-พห-