อินเดียมีส่วนแบ่งตลาดอัญมณีและเครื่องประดับอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากส่วนแบ่งตลาดอันดับ 6 ของโลกที่อัตราร้อยละ 5.8 ในปี 2539 ขยับขึ้นเป็นอันดับ 5 ของโลกที่อัตราร้อยละ 6.6 ในปี 2544 รองจากผู้ผลิตรายสำคัญของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เบลเยียม และอิสราเอล ซึ่งเป็นผลจากพัฒนาการในการผลิตและส่งออกที่มีอย่างต่อเนื่องมาช้านาน จนปัจจุบันอินเดียได้ชื่อว่าเป็นผู้ส่งออกเพชรเจียระไนแล้วรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นศูนย์กลางการเจียระไนเพชรขนาดเล็กที่สำคัญที่สุดในโลก ตลอดจนกำลังก้าวสู่การเจียระไนเพชรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น คุณภาพสูงขึ้น มีรูปแบบการเจียระไนและสีสันที่หลากหลาย รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการเจียระไนและการค้าพลอยสีระดับราคาค่อนข้างต่ำถึงปานกลางที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และมีการนำพลอยสีที่ผ่านการเจียระไนแล้วไปประกอบตัวเรือนซึ่งทำจากโลหะมีค่าเพื่อส่งออกอีกด้วย จากศักยภาพการผลิตดังกล่าวทำให้อินเดียเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับรายสำคัญของโลก
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อินเดียมีศักยภาพสูงในการผลิตและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ คือ
- อินเดียเป็นเครือข่ายการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับสำคัญของโลก เนื่องจากปัจจุบันผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเพชรรายใหญ่ของโลกมีสาขาอยู่ในอินเดียเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการเหล่านี้สามารถเข้าถึงแหล่งเพชรสำคัญของโลกอย่างรัสเซีย ออสเตรเลีย และแคนาดาได้โดยตรง ขณะเดียวกันยังเป็นศูนย์กลางการเจียระไนและการค้าเพชรขนาดเล็กและพลอยสีที่สำคัญของโลก รวมทั้งมีเครือข่ายการค้ากระจายอยู่ตามเมืองใหญ่ทั่วโลกกว่า 2,000 แห่ง
- ค่าจ้างแรงงานอยู่ในระดับต่ำ เทียบกับประเทศคู่แข่ง อาทิ เบลเยียม อิสราเอล จีน และไทย ทั้งนี้ จากข้อมูลของ International Labour Organization พบว่าอัตราค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอยู่ที่ระดับ 35.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน (ข้อมูลล่าสุด ณ ปี 2542) ขณะที่ไทยและจีนอยู่ที่ระดับ 114.3 ดอลลาร์สหรัฐ และ 81.4 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ตามลำดับ (ข้อมูลล่าสุด ณ ปี 2544)
- แรงงานมีฝีมือและมีความชำนาญสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจียระไนเพชรขนาดเล็ก (ต่ำกว่า0.10 กะรัต) และพลอยสีระดับราคาค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง ทำให้อินเดียเป็นศูนย์กลางการเจียระไนและการค้าเพชรขนาดเล็กและพลอยสีที่สำคัญของโลก โดยมีส่วนแบ่งตลาดเพชรขนาดเล็กสูงถึงร้อยละ 55 ของมูลค่าตลาดค้าเพชรโลก
- มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิต ทั้งในอุตสาหกรรมเจียระไนเพชรและพลอยสี รวมทั้งอุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับ เพื่อปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น ตลอดจนพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานสากลเพื่อรองรับตลาดระดับบน นอกจากนี้ ปัจจุบันอินเดียกำลังพัฒนาไปสู่การเจียระไนเพชรที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีรูปแบบการเจียระไนที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดค้าเพชรโลก
- มีการใช้นโยบายตลาดเชิงรุก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งขยายเครือข่ายการค้าในเมืองใหญ่ทั่วโลกเพื่อเป็นศูนย์กระจายสินค้า รวมทั้งการมีองค์กรซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นจำนวนมาก อาทิ Diamond Exporters Association, Gem & Jewellery Exporters Association และ The Gem and Jewellery Export Promotion Council ปัจจัยดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการอินเดียมีอำนาจในการเจรจาต่อรองทางการค้า และได้รับการสนับสนุนด้านการเงินและการเจาะตลาดต่างประเทศ
- ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preferences: GSP) จากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 ของอินเดีย ล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2544 สหรัฐฯ ได้ประกาศต่ออายุ GSP แก่อินเดียทำให้ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าในกลุ่มเครื่องประดับที่ทำจากโลหะมีค่า จากเดิมที่ต้องเสียภาษีร้อยละ 5.0 — 5.8
- ภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง อาทิ การมีสถาบันฝึกอบรมด้านอัญมณีศาสตร์ทั่วประเทศ การยกเลิกระบบการขอใบอนุญาตนำเข้าเพชรก้อน การยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าเพชรก้อนที่นำมาเจียระไนเพื่อส่งออก และการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีแก่ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น
ความสำเร็จของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดีย นับเป็นแบบอย่างที่ดีที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยจะดำเนินรอยตาม เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยที่มีจุดเด่นอยู่หลายประการ โดยเฉพาะฝีมือการเจียระไนเพชรและพลอย และการออกแบบเครื่องประดับที่ได้รับการยอมรับจากตลาดที่มีกำลังซื้อสูง เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป ให้ได้รับการพัฒนาให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งแม้ว่าต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการแต่คาดว่าผลที่ได้รับจะคุ้มค่าในการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในตลาดโลก จากปัจจุบันแม้ว่าไทยจะมีส่วนแบ่งตลาดสำคัญเพียงร้อยละ 2 — 3 แต่ยังสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศติด 1 ใน 10 อันดับสินค้าส่งออกสำคัญของไทยด้วยมูลค่าส่งออกเฉลี่ยสูงถึงกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 13 ในช่วงปี 2544 — 2546
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2547--
-พห-
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อินเดียมีศักยภาพสูงในการผลิตและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ คือ
- อินเดียเป็นเครือข่ายการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับสำคัญของโลก เนื่องจากปัจจุบันผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเพชรรายใหญ่ของโลกมีสาขาอยู่ในอินเดียเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการเหล่านี้สามารถเข้าถึงแหล่งเพชรสำคัญของโลกอย่างรัสเซีย ออสเตรเลีย และแคนาดาได้โดยตรง ขณะเดียวกันยังเป็นศูนย์กลางการเจียระไนและการค้าเพชรขนาดเล็กและพลอยสีที่สำคัญของโลก รวมทั้งมีเครือข่ายการค้ากระจายอยู่ตามเมืองใหญ่ทั่วโลกกว่า 2,000 แห่ง
- ค่าจ้างแรงงานอยู่ในระดับต่ำ เทียบกับประเทศคู่แข่ง อาทิ เบลเยียม อิสราเอล จีน และไทย ทั้งนี้ จากข้อมูลของ International Labour Organization พบว่าอัตราค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอยู่ที่ระดับ 35.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน (ข้อมูลล่าสุด ณ ปี 2542) ขณะที่ไทยและจีนอยู่ที่ระดับ 114.3 ดอลลาร์สหรัฐ และ 81.4 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ตามลำดับ (ข้อมูลล่าสุด ณ ปี 2544)
- แรงงานมีฝีมือและมีความชำนาญสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจียระไนเพชรขนาดเล็ก (ต่ำกว่า0.10 กะรัต) และพลอยสีระดับราคาค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง ทำให้อินเดียเป็นศูนย์กลางการเจียระไนและการค้าเพชรขนาดเล็กและพลอยสีที่สำคัญของโลก โดยมีส่วนแบ่งตลาดเพชรขนาดเล็กสูงถึงร้อยละ 55 ของมูลค่าตลาดค้าเพชรโลก
- มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิต ทั้งในอุตสาหกรรมเจียระไนเพชรและพลอยสี รวมทั้งอุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับ เพื่อปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น ตลอดจนพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานสากลเพื่อรองรับตลาดระดับบน นอกจากนี้ ปัจจุบันอินเดียกำลังพัฒนาไปสู่การเจียระไนเพชรที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีรูปแบบการเจียระไนที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดค้าเพชรโลก
- มีการใช้นโยบายตลาดเชิงรุก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งขยายเครือข่ายการค้าในเมืองใหญ่ทั่วโลกเพื่อเป็นศูนย์กระจายสินค้า รวมทั้งการมีองค์กรซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นจำนวนมาก อาทิ Diamond Exporters Association, Gem & Jewellery Exporters Association และ The Gem and Jewellery Export Promotion Council ปัจจัยดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการอินเดียมีอำนาจในการเจรจาต่อรองทางการค้า และได้รับการสนับสนุนด้านการเงินและการเจาะตลาดต่างประเทศ
- ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preferences: GSP) จากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 ของอินเดีย ล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2544 สหรัฐฯ ได้ประกาศต่ออายุ GSP แก่อินเดียทำให้ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าในกลุ่มเครื่องประดับที่ทำจากโลหะมีค่า จากเดิมที่ต้องเสียภาษีร้อยละ 5.0 — 5.8
- ภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง อาทิ การมีสถาบันฝึกอบรมด้านอัญมณีศาสตร์ทั่วประเทศ การยกเลิกระบบการขอใบอนุญาตนำเข้าเพชรก้อน การยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าเพชรก้อนที่นำมาเจียระไนเพื่อส่งออก และการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีแก่ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น
ความสำเร็จของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดีย นับเป็นแบบอย่างที่ดีที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยจะดำเนินรอยตาม เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยที่มีจุดเด่นอยู่หลายประการ โดยเฉพาะฝีมือการเจียระไนเพชรและพลอย และการออกแบบเครื่องประดับที่ได้รับการยอมรับจากตลาดที่มีกำลังซื้อสูง เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป ให้ได้รับการพัฒนาให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งแม้ว่าต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการแต่คาดว่าผลที่ได้รับจะคุ้มค่าในการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในตลาดโลก จากปัจจุบันแม้ว่าไทยจะมีส่วนแบ่งตลาดสำคัญเพียงร้อยละ 2 — 3 แต่ยังสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศติด 1 ใน 10 อันดับสินค้าส่งออกสำคัญของไทยด้วยมูลค่าส่งออกเฉลี่ยสูงถึงกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 13 ในช่วงปี 2544 — 2546
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2547--
-พห-