แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 22 - 28 ก.ย. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,372.76 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 727.74 ตัน สัตว์น้ำจืด 645.02 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.42 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.14 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 105.33 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 42.95 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 34.43 ตัน
การตลาด
กุ้งเวียดนามคู่แข่งสำคัญของไทย
นายไพบูลย์ พลสุวรรณ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยเปิดเผยถึงสถานการณ์การส่งออกกุ้งของไทยในปี 2548 ว่า จะยังคงมีการเติบโตต่อเนื่อง ถึงแม้คาดการณ์ส่งออกในปี 2547 นี้ สัดส่วนการส่งออกกุ้งอาจจะปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 10-15 เนื่องจากในช่วงต้นปีประสบปัญหากรณีสหรัฐฯ ฟ้องร้องกุ้งไทยเข้าไปทุ่มตลาดภายในประเทศ รวมถึงปัญหาต่อเนื่องจากการที่กลุ่มสหภาพยุโรป(อียู) ตัดสิทธิพิเศษทางด้านภาษีกุ้งไทย ซึ่งทางผู้ประกอบการได้มีการปรับตัวมากว่า 4-5 ปีแล้ว ซึ่งไทยก็คงต้องต่อสู้ต่อไปเพื่อให้อียูเปิดตลาดมากขึ้นกว่าเดิม และให้ความเป็นธรรมแก่ไทยเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ตลาดกุ้งไทยในสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวต่อเนื่องถึงแม้สหรัฐฯ ฟ้องร้องกุ้งไทยเข้าไปทุ่มตลาดภายในประเทศ แต่อัตราภาษีที่สหรัฐฯ เรียกเก็บจากไทยถือว่าต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศที่ถูกฟ้องร้องด้วยกัน คือ ร้อยละ 6.36 เนื่องจากมีความโปร่งใสทางด้านระบบบัญชี และมีมาตรฐานด้านระบบฐานบัญชี ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถปกปิดข้อมูลทางด้านบัญชี ประกอบกับไทยยังมีจุดแข็งในส่วนของสินค้าพร้อมบริโภค และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่ยังคงให้ความนิยมแก่สินค้ากุ้งจากไทย โดยปัจจุบันยังมีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 1.2
นายไพบูลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่าระดับอัตราภาษีที่สหรัฐฯ เรียกเก็บนั้น ยังถือว่าอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ แต่ก็ไม่ควรประมาท เนื่องจากล่าสุดได้มีกระแสข่าวจากผู้นำเข้ากุ้งในสหรัฐฯ ว่าทางการสหรัฐฯ จะมีการปรับอัตราภาษีอีกครั้งในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นประกาศสุดท้ายและมีแนวโน้มว่าประเทศ เวียดนามอาจจะได้รับการประเมินใหม่ ด้วยการปรับลดอัตราภาษีลงจากเดิมที่ถูกเรียกเก็บมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10-15 ระดับเดียวกับไทย และอาจเป็นคู่แข่งที่สำคัญในการส่งออกกุ้งของไทยในตลาดสหรัฐฯ ได้
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.66 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.16 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.88 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.57 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 210.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 212.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 205.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 207.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 21.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.73 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.57 บาทของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 91.43 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.71 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 4 - 8 ต.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.92 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.18 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 39 ประจำวันที่ 4-10 ตุลาคม 2547--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 22 - 28 ก.ย. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,372.76 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 727.74 ตัน สัตว์น้ำจืด 645.02 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.42 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.14 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 105.33 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 42.95 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 34.43 ตัน
การตลาด
กุ้งเวียดนามคู่แข่งสำคัญของไทย
นายไพบูลย์ พลสุวรรณ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยเปิดเผยถึงสถานการณ์การส่งออกกุ้งของไทยในปี 2548 ว่า จะยังคงมีการเติบโตต่อเนื่อง ถึงแม้คาดการณ์ส่งออกในปี 2547 นี้ สัดส่วนการส่งออกกุ้งอาจจะปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 10-15 เนื่องจากในช่วงต้นปีประสบปัญหากรณีสหรัฐฯ ฟ้องร้องกุ้งไทยเข้าไปทุ่มตลาดภายในประเทศ รวมถึงปัญหาต่อเนื่องจากการที่กลุ่มสหภาพยุโรป(อียู) ตัดสิทธิพิเศษทางด้านภาษีกุ้งไทย ซึ่งทางผู้ประกอบการได้มีการปรับตัวมากว่า 4-5 ปีแล้ว ซึ่งไทยก็คงต้องต่อสู้ต่อไปเพื่อให้อียูเปิดตลาดมากขึ้นกว่าเดิม และให้ความเป็นธรรมแก่ไทยเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ตลาดกุ้งไทยในสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวต่อเนื่องถึงแม้สหรัฐฯ ฟ้องร้องกุ้งไทยเข้าไปทุ่มตลาดภายในประเทศ แต่อัตราภาษีที่สหรัฐฯ เรียกเก็บจากไทยถือว่าต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศที่ถูกฟ้องร้องด้วยกัน คือ ร้อยละ 6.36 เนื่องจากมีความโปร่งใสทางด้านระบบบัญชี และมีมาตรฐานด้านระบบฐานบัญชี ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถปกปิดข้อมูลทางด้านบัญชี ประกอบกับไทยยังมีจุดแข็งในส่วนของสินค้าพร้อมบริโภค และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่ยังคงให้ความนิยมแก่สินค้ากุ้งจากไทย โดยปัจจุบันยังมีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 1.2
นายไพบูลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่าระดับอัตราภาษีที่สหรัฐฯ เรียกเก็บนั้น ยังถือว่าอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ แต่ก็ไม่ควรประมาท เนื่องจากล่าสุดได้มีกระแสข่าวจากผู้นำเข้ากุ้งในสหรัฐฯ ว่าทางการสหรัฐฯ จะมีการปรับอัตราภาษีอีกครั้งในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นประกาศสุดท้ายและมีแนวโน้มว่าประเทศ เวียดนามอาจจะได้รับการประเมินใหม่ ด้วยการปรับลดอัตราภาษีลงจากเดิมที่ถูกเรียกเก็บมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10-15 ระดับเดียวกับไทย และอาจเป็นคู่แข่งที่สำคัญในการส่งออกกุ้งของไทยในตลาดสหรัฐฯ ได้
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.66 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.16 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.88 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.57 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 210.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 212.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 205.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 207.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 21.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.73 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.57 บาทของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 91.43 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.71 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 4 - 8 ต.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.92 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.18 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 39 ประจำวันที่ 4-10 ตุลาคม 2547--
-พห-