การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน
ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ขอหารือในเรื่อง
ต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุม ประธานการประชุมได้ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรม
ราชโองการประกาศรัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
จากนั้นประธานได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
๒. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อ
พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๒.๑ ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒.๒ ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
๓. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
สถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๔
๔. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้รับทราบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงาน
ความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ พ.ศ. ….
๕. รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้
พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๕ ฉบับ คือ
๕.๑ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภา
ท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ
ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๕.๒ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และ
นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๕.๓ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
(ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๕.๔ ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๕.๕ ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารเคมีและวิธีการต้องห้ามทาง
การกีฬา พ.ศ. …. ซึ่งนายสุวิชญ์ โยทองยศ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสำนักงานผู้แทนธนาคาร
พัฒนาเอเชียในประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง
คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องของ
การจำกัดอำนาจอธิปไตยของรัฐในทางศาล และทางบริหาร การให้เอกสิทธิ์และความ คุ้มกันนั้น จะต้องมี
ความชัดเจนและควรให้เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ควรเขียนกฎหมายให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามข้อตกลง
ที่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องเกินความจำเป็น โดยคณะกรรมาธิการได้ ชี้แจงว่า เหตุที่เขียน
เผื่อไว้นี้เนื่องจากต้องการให้เกิดการยืดหยุ่นในการบังคับใช้กฎหมายและจะไม่
กระทบต่ออำนาจอธิปไตยของรัฐอย่างแน่นนอน เนื่องจากความตกลงใดที่จะมีผลกระทบก็จะต้องดำเนินการ
ตามรัฐธรรมนูญก่อนที่จะทำความตกลง จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง
เห็นด้วย ๒๔๙ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง
คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า เรื่องการแบ่ง
ส่วนงานของมหาวิทยาลัยเป็นไปในลักษณะให้ความสำคัญกับส่วนงานบริหาร ซึ่งต่างจากที่ปฏิบัติกันมาที่จะ
ให้ความสำคัญกับส่วนงานวิชาการมากกว่า เรื่องที่กำหนดให้รัฐบาลจะต้องจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่
มหาวิทยาลัยหากมีรายได้ไม่เพียงพอนั้นจะต้องกำหนดให้หลักเกณฑ์ให้ชัดเจนด้วย หรืออาจจัดสรรเป็น
เงินกู้แทนการให้เงินอุดหนุนจะเหมาะสมกว่า เรื่องการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่กำหนดให้คัดเลือก
หนึ่งคนจากบัญชีรายชื่อจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนนั้น ซึ่งเสนอโดยคณะกรรมการ การอุดมศึกษานั้นเห็นว่า
ไม่ควรที่จะต้องระบุจำนวนในบัญชีที่เสนอ แต่ควรให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นผู้กำหนดเองจะเหมาะสมกว่า
ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า เรื่องการแบ่งส่วนงานวิชาการของมหาวิทยาลัยได้มีระบุไว้แล้ว
และมหาวิทยาลัยสามารถที่จะกำหนดได้เองในอนาคต เรื่องเงินอุดหนุนนั้น เหตุที่เขียนไว้นั้นก็เพื่อเป็น
หลักประกันในการจัดการศึกษาและจะจัดสรรให้เฉพาะในกรณีที่มหาวิทยาลัยมีรายได้ไม่เพียงพอและ
ไม่สามารถหาเงินจากแหล่งอื่นได้เท่านั้น เรื่องการ
สรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้น กรรมาธิการขอยืนยันให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการได้แก้ไขเพิ่มเติม
เมื่อสมาชิกได้อภิปรายและกรรมาธิการได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓
ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๗๙ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๓. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
และมีร่างพระราชบัญญัติที่มีลักษณะทำนองเดียวกันได้แก่
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง พันตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมจึงได้มีมติให้รวมพิจารณาในคราวเดียวกัน
จากนั้น ผู้เสนอกฎหมาย ได้แถลงว่า โดยที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ ในส่วนที่เกี่ยวกับการห้ามมิให้
ผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคการเมือง หรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่อาจเป็นการจูงใจให้การเลือกตั้ง
เป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องระยะเวลาในการต้องห้ามมิให้กระทำการดังกล่าว
ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ อยู่ก่อนวันครบวาระการ
ดำรงตำแหน่งกับผู้สมัครรายอื่น จึงควรกำหนดระยะเวลาเพิ่มเติมห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดกระทำการใด ๆ
ภายในหกสิบวันก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่งจนถึงวันเลือกตั้ง ประกอบกับ ยังไม่มีความชัดเจนว่าคณะกรรมการ
การเลือกตั้งจะนำการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใด นับตั้งแต่ระยะเวลา
ใดมาเป็นเหตุวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งทำให้ผู้สมัคร หรือผู้ที่ประสงค์จะสมัคร
รับเลือกตั้งเกิดความไม่แน่ใจว่าจะประพฤติปฏิบัติตนได้เพียงใดและภายในกำหนดระยะเวลาใด จึงสมควรกำหนด
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการกรณีการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริต
และเที่ยงธรรมและการคัดค้านการเลือกตั้ง ให้สอดคล้องสัมพันธ์กับข้อห้ามที่กำหนดขึ้น อีกทั้งสมควรกำหนดจำนวน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งประสงค์จะคัดค้านการเลือกตั้งเพิ่มเติมขึ้นอีกส่วนหนึ่ง เพื่อให้การ คัดค้านการเลือกตั้งเป็น
ไปอย่างมีประสิทธิภาพและสุจริตเที่ยงธรรมมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
โดยสมาชิกได้อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ กันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบให้
ผู้เสนอกฎหมายแต่ละฉบับแก้ไขเพิ่มเติมหลักการ
แห่งร่างพระราชบัญญัติที่เสนอด้วย เพื่อเป็นการกำหนดกรอบให้ชัดเจนว่าจะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการเลือกตั้งในมาตราใดบ้าง จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๓๑๑ เสียง ให้รับหลักการแห่งร่าง
พระราชบัญญัติประกอบทั้ง ๔ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๒ วัน โดยถือเอาร่างซึ่งเสนอโดยนายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นหลักในการพิจารณา
๔. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว โดยประธานคณะกรรมาธิการได้ เสนอผลการพิจารณาให้ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนนเสียง ๒๖๐ เสียง โดยจะประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบ กับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งจะได้ส่งให้คณะรัฐมนตรีต่อไป
๕. ร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
โดยเลขานุการคณะกรรมาธิการร่วมกันได้เสนอผลการพิจารณาให้ที่ประชุมรับทราบ โดยเฉพาะประเด็นข้อขัดแย้ง
ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภา โดยมีสมาชิกอภิปรายอย่างกว้างขวาง จากนั้น
คณะกรรมาธิการได้สรุปสาระสำคัญภายหลังการอภิปรายต่อที่ประชุม ๓ ประเด็นหลัก คือ
๑. ได้ตัดถ้อยคำบางถ้อยคำในร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไป เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีความชัดเจนขึ้น เช่น
คำว่า สมาคม หน่วยงานของรัฐ มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์ ในที่ดินวัด ที่ธรณีสงฆ์ ที่สาธารณะสมบัติ
เนื่องจากมีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ และประมวลกฎหมายที่ดิน บังคับใช้อยู่แล้ว
๒. การจัดรูปที่ดินอันเกิดจากเหตุเพลิงไหม้หรือเหตุเภทภัยที่ต้องจัดรูปที่ดินตามมาตรา ๓๕ นั้น จะไม่ใช้บังคับ
กับการจัดรูปที่ดินของกรมโยธาธิการและการเคหะแห่งชาติ เนื่องจาก ๒ หน่วยงานนี้มีแผนงานการจัดรูปที่ดินอยู่แล้ว
๓. ได้บัญญัติเพิ่มเติมมาตรา ๓๙/๑ ในกรณีที่การจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดินเพื่อการศาสนาจะต้องได้รับการเห็นชอบ
จากผู้ดูแลที่ดินเพื่อการศาสนานั้นด้วยและการดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อการศาสนาต้องดำเนินตามกฎหมายคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนน ๒๕๙ เสียง
๖. ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
โดยประธานคณะกรรมาธิการเสนอผลการพิจารณาโดยให้คงถ้อยคำในมาตรา ๔๖/๑ เกี่ยวกับการห้ามมิให้ผู้ชุมนุม
ในเขตทางหลวงในลักษณะการกีดขวางการจราจรอันจะเป็นเหตุให้ผู้สัญจรไปมาเกิดอันตราย เว้นแต่จะได้รับอนุญาต
เป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันความสูญเสียทางร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน
ซึ่งกรณีนี้ ยกเว้นการเดินขบวนแห่ตามประเพณีหรือกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์หรือประโยชน์เพื่อการสาธารณะ
จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๕๑ เสียง เห็นชอบด้วยกับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกัน
ซึ่งจะได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
๗. พิจารณาการที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการผลิต
ผลิตภัณฑ์ ซีดี พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในประเด็นที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมจำนวน ๙ มาตรา
ซึ่งล้วนเป็นสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน สาระสำคัญของกฎหมายจะเน้นการปราบปรามผู้ผลิตซีดีเถื่อน
จึงได้เสนอให้มีการเพิ่มโทษให้สูงขึ้นทั้งจำทั้งปรับ จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วย
คะแนน ๒๕๙ เสียง ซึ่งจะได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
๘. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง
ซึ่งคณะกรรมาธิการมิได้แก้ไขในบทบัญญัติร่างกฎหมายแต่อย่างใด เพียงแต่ได้มีข้อสังเกตแนบท้ายร่างพระราชบัญญัตินี้เท่านั้น
ซึ่งสมาชิกฯ ได้อภิปรายตั้งคำถามต่อคณะกรรมาธิการ โดยเฉพาะประเด็นพื้นที่พัฒนาตามพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
พ.ศ. ๒๕๓๓ และ เขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยตามประกาศพระบรมราชโองการ ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๔
นั้นมีขอบเขตอย่างไร ทั้งนี้ต้องการให้มีความชัดเจนและกำหนดเขตพื้นที่ให้ชัดเจนมากขึ้นกว่ากฎหมายเดิมที่บังคับใช้อยู่แล้ว
ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า เขตพื้นที่การพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียเป็นการออกกฎหมายเพื่ออนุมัติตามความในบันทึกข้อตกลง
ระหว่างไทยและมาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยรัฐสภาเคยออกพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๓๓
เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๓ มาบังคับใช้ก่อนหน้านี้แล้ว โดยเขตพื้นที่การพัฒนาร่วมนั้นมี คำนิยาม หมายถึง
พื้นที่ในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยและมาเลเซีย ในอ่าวไทย บัญญัติไว้ในมาตรา ๙
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการด้วยคะแนน ๒๕๔ เสียง และ
เห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะส่งให้คณะรัฐมนตรีต่อไป
๙. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยประธานคณะกรรมาธิการเสนอผลการพิจารณาว่า
คณะกรรมาธิการมิได้มีการแก้ไขถ้อยคำในร่างพระราชบัญญัติ แต่อย่างใดและยังให้คงไว้ตามร่างเดิมทั้งหมด
จะมีแต่เพียงข้อสังเกตแนบท้ายร่างพระราชบัญญัติ เกี่ยวกับเหตุผลของการตรากฎหมายฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งไม่มีสมาชิกฯ
อภิปรายในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เช่นกัน จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ
ด้วยคะแนน ๒๕๖ เสียง และมีมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะได้ส่งให้คณะรัฐมนตรีต่อไป
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๓๐ นาฬิกา
--------------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน
สำนักประชาสัมพันธ์
วันพุธที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน
ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ขอหารือในเรื่อง
ต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุม ประธานการประชุมได้ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรม
ราชโองการประกาศรัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
จากนั้นประธานได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
๒. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อ
พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๒.๑ ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒.๒ ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
๓. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
สถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๔
๔. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้รับทราบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงาน
ความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ พ.ศ. ….
๕. รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้
พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๕ ฉบับ คือ
๕.๑ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภา
ท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ
ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๕.๒ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และ
นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๕.๓ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
(ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๕.๔ ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๕.๕ ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารเคมีและวิธีการต้องห้ามทาง
การกีฬา พ.ศ. …. ซึ่งนายสุวิชญ์ โยทองยศ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสำนักงานผู้แทนธนาคาร
พัฒนาเอเชียในประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง
คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องของ
การจำกัดอำนาจอธิปไตยของรัฐในทางศาล และทางบริหาร การให้เอกสิทธิ์และความ คุ้มกันนั้น จะต้องมี
ความชัดเจนและควรให้เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ควรเขียนกฎหมายให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามข้อตกลง
ที่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องเกินความจำเป็น โดยคณะกรรมาธิการได้ ชี้แจงว่า เหตุที่เขียน
เผื่อไว้นี้เนื่องจากต้องการให้เกิดการยืดหยุ่นในการบังคับใช้กฎหมายและจะไม่
กระทบต่ออำนาจอธิปไตยของรัฐอย่างแน่นนอน เนื่องจากความตกลงใดที่จะมีผลกระทบก็จะต้องดำเนินการ
ตามรัฐธรรมนูญก่อนที่จะทำความตกลง จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง
เห็นด้วย ๒๔๙ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง
คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า เรื่องการแบ่ง
ส่วนงานของมหาวิทยาลัยเป็นไปในลักษณะให้ความสำคัญกับส่วนงานบริหาร ซึ่งต่างจากที่ปฏิบัติกันมาที่จะ
ให้ความสำคัญกับส่วนงานวิชาการมากกว่า เรื่องที่กำหนดให้รัฐบาลจะต้องจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่
มหาวิทยาลัยหากมีรายได้ไม่เพียงพอนั้นจะต้องกำหนดให้หลักเกณฑ์ให้ชัดเจนด้วย หรืออาจจัดสรรเป็น
เงินกู้แทนการให้เงินอุดหนุนจะเหมาะสมกว่า เรื่องการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่กำหนดให้คัดเลือก
หนึ่งคนจากบัญชีรายชื่อจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนนั้น ซึ่งเสนอโดยคณะกรรมการ การอุดมศึกษานั้นเห็นว่า
ไม่ควรที่จะต้องระบุจำนวนในบัญชีที่เสนอ แต่ควรให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นผู้กำหนดเองจะเหมาะสมกว่า
ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า เรื่องการแบ่งส่วนงานวิชาการของมหาวิทยาลัยได้มีระบุไว้แล้ว
และมหาวิทยาลัยสามารถที่จะกำหนดได้เองในอนาคต เรื่องเงินอุดหนุนนั้น เหตุที่เขียนไว้นั้นก็เพื่อเป็น
หลักประกันในการจัดการศึกษาและจะจัดสรรให้เฉพาะในกรณีที่มหาวิทยาลัยมีรายได้ไม่เพียงพอและ
ไม่สามารถหาเงินจากแหล่งอื่นได้เท่านั้น เรื่องการ
สรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้น กรรมาธิการขอยืนยันให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการได้แก้ไขเพิ่มเติม
เมื่อสมาชิกได้อภิปรายและกรรมาธิการได้ตอบชี้แจงพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓
ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๗๙ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๓. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
และมีร่างพระราชบัญญัติที่มีลักษณะทำนองเดียวกันได้แก่
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง พันตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมจึงได้มีมติให้รวมพิจารณาในคราวเดียวกัน
จากนั้น ผู้เสนอกฎหมาย ได้แถลงว่า โดยที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ ในส่วนที่เกี่ยวกับการห้ามมิให้
ผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคการเมือง หรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่อาจเป็นการจูงใจให้การเลือกตั้ง
เป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องระยะเวลาในการต้องห้ามมิให้กระทำการดังกล่าว
ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ อยู่ก่อนวันครบวาระการ
ดำรงตำแหน่งกับผู้สมัครรายอื่น จึงควรกำหนดระยะเวลาเพิ่มเติมห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดกระทำการใด ๆ
ภายในหกสิบวันก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่งจนถึงวันเลือกตั้ง ประกอบกับ ยังไม่มีความชัดเจนว่าคณะกรรมการ
การเลือกตั้งจะนำการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใด นับตั้งแต่ระยะเวลา
ใดมาเป็นเหตุวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งทำให้ผู้สมัคร หรือผู้ที่ประสงค์จะสมัคร
รับเลือกตั้งเกิดความไม่แน่ใจว่าจะประพฤติปฏิบัติตนได้เพียงใดและภายในกำหนดระยะเวลาใด จึงสมควรกำหนด
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการกรณีการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริต
และเที่ยงธรรมและการคัดค้านการเลือกตั้ง ให้สอดคล้องสัมพันธ์กับข้อห้ามที่กำหนดขึ้น อีกทั้งสมควรกำหนดจำนวน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งประสงค์จะคัดค้านการเลือกตั้งเพิ่มเติมขึ้นอีกส่วนหนึ่ง เพื่อให้การ คัดค้านการเลือกตั้งเป็น
ไปอย่างมีประสิทธิภาพและสุจริตเที่ยงธรรมมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
โดยสมาชิกได้อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ กันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบให้
ผู้เสนอกฎหมายแต่ละฉบับแก้ไขเพิ่มเติมหลักการ
แห่งร่างพระราชบัญญัติที่เสนอด้วย เพื่อเป็นการกำหนดกรอบให้ชัดเจนว่าจะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการเลือกตั้งในมาตราใดบ้าง จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๓๑๑ เสียง ให้รับหลักการแห่งร่าง
พระราชบัญญัติประกอบทั้ง ๔ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๒ วัน โดยถือเอาร่างซึ่งเสนอโดยนายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นหลักในการพิจารณา
๔. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว โดยประธานคณะกรรมาธิการได้ เสนอผลการพิจารณาให้ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนนเสียง ๒๖๐ เสียง โดยจะประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบ กับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งจะได้ส่งให้คณะรัฐมนตรีต่อไป
๕. ร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
โดยเลขานุการคณะกรรมาธิการร่วมกันได้เสนอผลการพิจารณาให้ที่ประชุมรับทราบ โดยเฉพาะประเด็นข้อขัดแย้ง
ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภา โดยมีสมาชิกอภิปรายอย่างกว้างขวาง จากนั้น
คณะกรรมาธิการได้สรุปสาระสำคัญภายหลังการอภิปรายต่อที่ประชุม ๓ ประเด็นหลัก คือ
๑. ได้ตัดถ้อยคำบางถ้อยคำในร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไป เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีความชัดเจนขึ้น เช่น
คำว่า สมาคม หน่วยงานของรัฐ มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์ ในที่ดินวัด ที่ธรณีสงฆ์ ที่สาธารณะสมบัติ
เนื่องจากมีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ และประมวลกฎหมายที่ดิน บังคับใช้อยู่แล้ว
๒. การจัดรูปที่ดินอันเกิดจากเหตุเพลิงไหม้หรือเหตุเภทภัยที่ต้องจัดรูปที่ดินตามมาตรา ๓๕ นั้น จะไม่ใช้บังคับ
กับการจัดรูปที่ดินของกรมโยธาธิการและการเคหะแห่งชาติ เนื่องจาก ๒ หน่วยงานนี้มีแผนงานการจัดรูปที่ดินอยู่แล้ว
๓. ได้บัญญัติเพิ่มเติมมาตรา ๓๙/๑ ในกรณีที่การจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดินเพื่อการศาสนาจะต้องได้รับการเห็นชอบ
จากผู้ดูแลที่ดินเพื่อการศาสนานั้นด้วยและการดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อการศาสนาต้องดำเนินตามกฎหมายคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนน ๒๕๙ เสียง
๖. ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
โดยประธานคณะกรรมาธิการเสนอผลการพิจารณาโดยให้คงถ้อยคำในมาตรา ๔๖/๑ เกี่ยวกับการห้ามมิให้ผู้ชุมนุม
ในเขตทางหลวงในลักษณะการกีดขวางการจราจรอันจะเป็นเหตุให้ผู้สัญจรไปมาเกิดอันตราย เว้นแต่จะได้รับอนุญาต
เป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันความสูญเสียทางร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน
ซึ่งกรณีนี้ ยกเว้นการเดินขบวนแห่ตามประเพณีหรือกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์หรือประโยชน์เพื่อการสาธารณะ
จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๕๑ เสียง เห็นชอบด้วยกับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกัน
ซึ่งจะได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
๗. พิจารณาการที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการผลิต
ผลิตภัณฑ์ ซีดี พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในประเด็นที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมจำนวน ๙ มาตรา
ซึ่งล้วนเป็นสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน สาระสำคัญของกฎหมายจะเน้นการปราบปรามผู้ผลิตซีดีเถื่อน
จึงได้เสนอให้มีการเพิ่มโทษให้สูงขึ้นทั้งจำทั้งปรับ จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วย
คะแนน ๒๕๙ เสียง ซึ่งจะได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
๘. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง
ซึ่งคณะกรรมาธิการมิได้แก้ไขในบทบัญญัติร่างกฎหมายแต่อย่างใด เพียงแต่ได้มีข้อสังเกตแนบท้ายร่างพระราชบัญญัตินี้เท่านั้น
ซึ่งสมาชิกฯ ได้อภิปรายตั้งคำถามต่อคณะกรรมาธิการ โดยเฉพาะประเด็นพื้นที่พัฒนาตามพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
พ.ศ. ๒๕๓๓ และ เขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยตามประกาศพระบรมราชโองการ ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๔
นั้นมีขอบเขตอย่างไร ทั้งนี้ต้องการให้มีความชัดเจนและกำหนดเขตพื้นที่ให้ชัดเจนมากขึ้นกว่ากฎหมายเดิมที่บังคับใช้อยู่แล้ว
ซึ่งกรรมาธิการได้ชี้แจงว่า เขตพื้นที่การพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียเป็นการออกกฎหมายเพื่ออนุมัติตามความในบันทึกข้อตกลง
ระหว่างไทยและมาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยรัฐสภาเคยออกพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. ๒๕๓๓
เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๓ มาบังคับใช้ก่อนหน้านี้แล้ว โดยเขตพื้นที่การพัฒนาร่วมนั้นมี คำนิยาม หมายถึง
พื้นที่ในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยและมาเลเซีย ในอ่าวไทย บัญญัติไว้ในมาตรา ๙
จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการด้วยคะแนน ๒๕๔ เสียง และ
เห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะส่งให้คณะรัฐมนตรีต่อไป
๙. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยประธานคณะกรรมาธิการเสนอผลการพิจารณาว่า
คณะกรรมาธิการมิได้มีการแก้ไขถ้อยคำในร่างพระราชบัญญัติ แต่อย่างใดและยังให้คงไว้ตามร่างเดิมทั้งหมด
จะมีแต่เพียงข้อสังเกตแนบท้ายร่างพระราชบัญญัติ เกี่ยวกับเหตุผลของการตรากฎหมายฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งไม่มีสมาชิกฯ
อภิปรายในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เช่นกัน จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ
ด้วยคะแนน ๒๕๖ เสียง และมีมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะได้ส่งให้คณะรัฐมนตรีต่อไป
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๓๐ นาฬิกา
--------------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน
สำนักประชาสัมพันธ์