กระทรวงอุตสาหกรรมรุกคืบจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัดภาคอุตสาหกรรม [GPP
] มุ่งสนองนโยบายรัฐบริหารแบบบูรณาการ ผลักดันยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดให้เห็นผล ดึงอุตสาหกรรมจังหวัด-ภาคเอกชนร่วม เจาะลึกข้อมูลโครงสร้างเศรษฐกิจ-แนวโน้มการเติบโต-ระดับรายได้ประชากร คาดเริ่มเผยแพร่ปี 2551
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์จังหวัดภาคอุตสาหกรรม [GPPภาคอุตสาหกรรม
] ซึ่งเป็นตัวชี้วัดภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละจังหวัด เพื่อนำมาสู่การจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคอุตสาหกรรม หรือGDP ทั้งนี้เพื่อมุ่งผลักดันแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้มีประสิทธิภาพ ด้วยข้อมูลสนับสนุนที่ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น โดยGPPจะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมแต่ละประเภท อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัด ระดับรายได้ของประชากรในจังหวัด เพื่อนำประเมินภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการ คาดว่าจะเริ่มเผยแพร่ในปี 2551
ทั้งนี้ ในการดำเนินงานได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานส่วนภูมิภาคหลายฝ่ายด้วยกัน เช่น อุตสาหกรรมจังหวัด พาณิชย์จังหวัด สรรพากรจังหวัด สรรพสามิตจังหวัด สถิติจังหวัด เป็นต้น เพื่อประสานการพัฒนาข้อมูลร่วมกับหน่วยงานราชการส่วนกลาง โดยจะมีการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำมาคำนวณมูลค่าเพิ่มในสาขาอุตสาหกรรมต่างๆ โดยจะครอบคลุมข้อมูลด้าน ปริมาณ และราคาผลผลิต รายได้จากการประกอบการ ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาผู้บริโภค และต้นทุนการผลิต
อย่างไรก็ตามแม้ว่าการจัดทำ GPP ในระยะที่ผ่านมา ยังมีข้อมูลเศรษฐกิจภาพรวมของจังหวัดที่ได้มายังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร ซึ่งส่วนใหญ่ยังขาดแคลนข้อมูลในด้านปริมาณการผลิต ราคา ต้นทุนการผลิต ดัชนีราคาจำแนกรายจังหวัด รวมทั้ง การจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลเป็นไปอย่างล่าช้า
ดังนั้น สศอ.ในฐานะหน่วยงานด้านการจัดทำฐานข้อมูลเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศ ได้มีการปรับกระบวนทัศน์ใหม่ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ด้วยการสนับสนุนให้จังหวัดจัดทำ GPP ด้วยตนเอง คาดว่า จะสามารถจัดเก็บข้อมูลกิจกรรมการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในพื้นที่ของแต่ละจังหวัดได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถหาข้อมูลจากส่วนต่างๆได้มากขึ้น ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม โรงสีข้าว อุตสาหกรรมที่เป็นสินค้าOTOP อุตสาหกรรมในครัวเรือน รวมทั้ง การเหมืองแร่และเหมืองหิน และการค้าและบริการ ในส่วนของการซ่อมแซมยานยนต์ ซึ่งจะทำให้การรวบรวมข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำมาพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดให้เติบโตได้ตามเป้าหมาย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
] มุ่งสนองนโยบายรัฐบริหารแบบบูรณาการ ผลักดันยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดให้เห็นผล ดึงอุตสาหกรรมจังหวัด-ภาคเอกชนร่วม เจาะลึกข้อมูลโครงสร้างเศรษฐกิจ-แนวโน้มการเติบโต-ระดับรายได้ประชากร คาดเริ่มเผยแพร่ปี 2551
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์จังหวัดภาคอุตสาหกรรม [GPPภาคอุตสาหกรรม
] ซึ่งเป็นตัวชี้วัดภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละจังหวัด เพื่อนำมาสู่การจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคอุตสาหกรรม หรือGDP ทั้งนี้เพื่อมุ่งผลักดันแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้มีประสิทธิภาพ ด้วยข้อมูลสนับสนุนที่ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น โดยGPPจะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมแต่ละประเภท อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัด ระดับรายได้ของประชากรในจังหวัด เพื่อนำประเมินภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการ คาดว่าจะเริ่มเผยแพร่ในปี 2551
ทั้งนี้ ในการดำเนินงานได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานส่วนภูมิภาคหลายฝ่ายด้วยกัน เช่น อุตสาหกรรมจังหวัด พาณิชย์จังหวัด สรรพากรจังหวัด สรรพสามิตจังหวัด สถิติจังหวัด เป็นต้น เพื่อประสานการพัฒนาข้อมูลร่วมกับหน่วยงานราชการส่วนกลาง โดยจะมีการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำมาคำนวณมูลค่าเพิ่มในสาขาอุตสาหกรรมต่างๆ โดยจะครอบคลุมข้อมูลด้าน ปริมาณ และราคาผลผลิต รายได้จากการประกอบการ ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาผู้บริโภค และต้นทุนการผลิต
อย่างไรก็ตามแม้ว่าการจัดทำ GPP ในระยะที่ผ่านมา ยังมีข้อมูลเศรษฐกิจภาพรวมของจังหวัดที่ได้มายังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร ซึ่งส่วนใหญ่ยังขาดแคลนข้อมูลในด้านปริมาณการผลิต ราคา ต้นทุนการผลิต ดัชนีราคาจำแนกรายจังหวัด รวมทั้ง การจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลเป็นไปอย่างล่าช้า
ดังนั้น สศอ.ในฐานะหน่วยงานด้านการจัดทำฐานข้อมูลเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศ ได้มีการปรับกระบวนทัศน์ใหม่ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ด้วยการสนับสนุนให้จังหวัดจัดทำ GPP ด้วยตนเอง คาดว่า จะสามารถจัดเก็บข้อมูลกิจกรรมการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในพื้นที่ของแต่ละจังหวัดได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถหาข้อมูลจากส่วนต่างๆได้มากขึ้น ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม โรงสีข้าว อุตสาหกรรมที่เป็นสินค้าOTOP อุตสาหกรรมในครัวเรือน รวมทั้ง การเหมืองแร่และเหมืองหิน และการค้าและบริการ ในส่วนของการซ่อมแซมยานยนต์ ซึ่งจะทำให้การรวบรวมข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำมาพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดให้เติบโตได้ตามเป้าหมาย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-