การเปิดเสรีทางการค้าของประเทศไทยที่ทำกับประเทศคู่ค้าต่างๆ ทั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และการทำเขตการค้าเสรี (FTA) ซึ่งไทยกำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์ ต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ประโยชน์ที่ได้ คือ ช่วยให้ไทยมีแหล่งวัตถุดิบประเภทเพชรพลอยจำนวนมากขึ้น และสามารถขยายการส่งออกได้มากขึ้นในระยะยาว ประโยชน์ที่ไทยจะเสีย คือ เมื่อมีการลดกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับก็จะส่งผลให้ประเทศคู่ค้าที่มีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าไทยเช่น จีน และอินเดีย สามารถส่งสินค้า ขยายตลาดเข้ามาในไทยได้สะดวกมากขึ้น
ภาวะการค้าในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 พบว่ามีมูลค่าการส่งออกรวมลดลงจากช่วงเดียวกันในปี 2546 จาก 52,112.47 ล้านบาท เป็น 48,611.26 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 6.72 โดยสินค้าที่มีการส่งออกมากที่สุดคือ เครื่องประดับแท้ คิดเป็นร้อยละ 46.41 ของการส่งออกรวมทั้งหมด รองลงมาได้แก่ เพชร รัตนชาติ/กึ่งรัตนชาติ ทองคำ และเครื่องประดับอัญมณีเทียม ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวส่งออกสูงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 ได้แก่ เงิน เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า และ ไข่มุก ตามลำดับ (ดูตารางที่ 1) โดยมีการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.74 ของมูลค่าการส่งออกรวม รองลงมาคือ อิสราเอล เบลเยี่ยม และฮ่องกง คิดเป็นร้อยละ 14.39, 11.25 และ 6.89 ตามลำดับ
ตารางที่ 1 สถิติการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทยระหว่างเดือน ม.ค.-มิ.ย. ปี 2546 และ 2547
ลำดับที่ ประเภทอัญมณีและเครื่องประดับ 2546 2547 Growth
มูลค่า (%) มูลค่า (%) (%)
(ล้านบาท) (ล้านบาท)
1 เครื่องประดับแท้ 20,193.42 38.75 22,561.04 46.41 11.72
2 เพชร 12,870.45 24.7 14,231.27 29.28 10.57
3 รัตนชาติ และกึ่งรัตนชาติ 3,675.24 7.05 4,314.91 8.88 17.4
4 ทองคำ 12,192.53 23.4 3,232.62 6.65 -73.49
5 เครื่องประดับอัญมณีเทียม 1,776.94 3.41 2,135.97 4.39 20.2
6 เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า 476.42 0.91 819.96 1.69 72.11
7 เงิน 288.08 0.55 659.58 1.36 128.96
8 อัญมณีสังเคราะห์ 267.35 0.51 255.60 0.53 -4.39
9 ไข่มุก 124.76 0.24 189.34 0.39 51.76
10 เครื่องทองหรือเครื่องเงิน 165.45 0.32 95.08 0.20 -42.53
11 อื่นๆ 81.83 0.16 115.90 0.24 41.64
รวม 52,112.47 100.00 48,611.26 100.00 -6.72
ที่มา : สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ส่วนการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 พบว่ามีการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 47.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 หรือเพิ่มขึ้นจากมูลค่า 40,939.38 ล้านบาท เป็น 60,241.39 ล้านบาท โดยสินค้าที่มีการนำเข้ามากที่สุดคือ ทองคำ มีมูลค่าเท่ากับ 25,508.23 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 42.34 ของมูลค่าการนำเข้ารวม และมีอัตราการขยายตัวมากถึงร้อยละ 98.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 รองลงมาได้แก่ เพชร เงิน และเครื่องประดับแท้ คิดเป็นร้อยละ 37.11, 8.68 และ 4.49 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศ ออสเตรเลีย มากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.56 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด รองลงมาได้แก่ อิสราเอล ฮ่องกง อินเดีย สวิสเซอร์แลนด์ และจีน คิดเป็นร้อยละ 13.29, 12.44, 8.80 และ 7.56 ตามลำดับ
จากภาวะการค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยข้างต้น ในภาพรวมจะเห็นได้ว่าไทยมีการขยายตัวของการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นมาก แต่การส่งออกในภาพรวมกลับลดลง แต่ทั้งนี้ถ้าหากพิจารณาเฉพาะสินค้าที่ไทยมีศักยภาพและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในตัวผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี อันได้แก่ ไข่มุก เพชร ไข่มุก เงิน เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียมแล้ว พบว่ามีมูลค่าการขยายตัวสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546
ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้ทำ FTA กับหลายประเทศ ซึ่งเป็นคู่ค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของไทย ได้แก่ อินเดีย บาห์เรน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐ และจีน ซึ่งสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยถือได้ว่าเป็นสินค้าที่มีศักยภาพ และมีความพร้อมสามารถที่จะแข่งขันได้ จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยที่จะมีโอกาสขยายตลาดส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับได้มากขึ้น โดยในประเทศอินเดียไทยสามารถเปิดตลาดเครื่องประดับทองคำได้มากขึ้น ในบาห์เรนไทยสามารถใช้บาห์เรนเป็นประตูสู่การค้าและการลงทุนในกลุ่มประเทศ GCC ได้แก่ คูเวต กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน และซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำลังซื้อสูง ส่วนออสเตรเลียซึ่งทำ FTA เรียบร้อยแล้วมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค 2548 เป็นต้นไปนั้น คาดว่าไทยจะสามารถส่งสินค้าเครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับทอง 9K เข้าไปจำหน่ายในตลาดออสเตรเลียได้มากขึ้น
การทำ FTA ไทย-ญี่ปุ่น นั้นการเจรจายังไม่แล้วเสร็จ ถ้าหากการเจรจาประสบความสำเร็จไทยจะสามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นได้มากขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำเข้าหลักสินค้าไข่มุกและพลอยทับทิม/ไพลินจากไทยถึงร้อยละ 60 ของมูลค่าการนำเข้าในแต่ละปี และการทำ FTA ไทย-สหรัฐ ถึงแม้ไทยจะมีการแข่งขันสูงกับสินค้าจากอินเดียก็ตาม แต่ไทยน่าจะเป็นฝ่ายได้เปรียบและมีโอกาสขยายตลาดได้มากขึ้น ส่วนการทำ FTA ไทย-จีน ซึ่งยังไม่มีการลดภาษีในสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ แต่สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับก็เป็น 1 ใน 5,000 รายการที่จะต้องมีการลดภาษีในอนาคตหากจีนและไทยมีการลดภาษีในสินค้าดังกล่าว ไทยจะมีโอกาสสามารถขยายการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับโดยเฉพาะทับทิมได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน
ที่มา: สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการค้าในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 พบว่ามีมูลค่าการส่งออกรวมลดลงจากช่วงเดียวกันในปี 2546 จาก 52,112.47 ล้านบาท เป็น 48,611.26 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 6.72 โดยสินค้าที่มีการส่งออกมากที่สุดคือ เครื่องประดับแท้ คิดเป็นร้อยละ 46.41 ของการส่งออกรวมทั้งหมด รองลงมาได้แก่ เพชร รัตนชาติ/กึ่งรัตนชาติ ทองคำ และเครื่องประดับอัญมณีเทียม ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวส่งออกสูงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 ได้แก่ เงิน เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า และ ไข่มุก ตามลำดับ (ดูตารางที่ 1) โดยมีการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.74 ของมูลค่าการส่งออกรวม รองลงมาคือ อิสราเอล เบลเยี่ยม และฮ่องกง คิดเป็นร้อยละ 14.39, 11.25 และ 6.89 ตามลำดับ
ตารางที่ 1 สถิติการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทยระหว่างเดือน ม.ค.-มิ.ย. ปี 2546 และ 2547
ลำดับที่ ประเภทอัญมณีและเครื่องประดับ 2546 2547 Growth
มูลค่า (%) มูลค่า (%) (%)
(ล้านบาท) (ล้านบาท)
1 เครื่องประดับแท้ 20,193.42 38.75 22,561.04 46.41 11.72
2 เพชร 12,870.45 24.7 14,231.27 29.28 10.57
3 รัตนชาติ และกึ่งรัตนชาติ 3,675.24 7.05 4,314.91 8.88 17.4
4 ทองคำ 12,192.53 23.4 3,232.62 6.65 -73.49
5 เครื่องประดับอัญมณีเทียม 1,776.94 3.41 2,135.97 4.39 20.2
6 เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า 476.42 0.91 819.96 1.69 72.11
7 เงิน 288.08 0.55 659.58 1.36 128.96
8 อัญมณีสังเคราะห์ 267.35 0.51 255.60 0.53 -4.39
9 ไข่มุก 124.76 0.24 189.34 0.39 51.76
10 เครื่องทองหรือเครื่องเงิน 165.45 0.32 95.08 0.20 -42.53
11 อื่นๆ 81.83 0.16 115.90 0.24 41.64
รวม 52,112.47 100.00 48,611.26 100.00 -6.72
ที่มา : สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ส่วนการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 พบว่ามีการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 47.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 หรือเพิ่มขึ้นจากมูลค่า 40,939.38 ล้านบาท เป็น 60,241.39 ล้านบาท โดยสินค้าที่มีการนำเข้ามากที่สุดคือ ทองคำ มีมูลค่าเท่ากับ 25,508.23 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 42.34 ของมูลค่าการนำเข้ารวม และมีอัตราการขยายตัวมากถึงร้อยละ 98.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 รองลงมาได้แก่ เพชร เงิน และเครื่องประดับแท้ คิดเป็นร้อยละ 37.11, 8.68 และ 4.49 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศ ออสเตรเลีย มากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.56 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด รองลงมาได้แก่ อิสราเอล ฮ่องกง อินเดีย สวิสเซอร์แลนด์ และจีน คิดเป็นร้อยละ 13.29, 12.44, 8.80 และ 7.56 ตามลำดับ
จากภาวะการค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยข้างต้น ในภาพรวมจะเห็นได้ว่าไทยมีการขยายตัวของการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นมาก แต่การส่งออกในภาพรวมกลับลดลง แต่ทั้งนี้ถ้าหากพิจารณาเฉพาะสินค้าที่ไทยมีศักยภาพและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในตัวผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี อันได้แก่ ไข่มุก เพชร ไข่มุก เงิน เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียมแล้ว พบว่ามีมูลค่าการขยายตัวสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546
ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้ทำ FTA กับหลายประเทศ ซึ่งเป็นคู่ค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของไทย ได้แก่ อินเดีย บาห์เรน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐ และจีน ซึ่งสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยถือได้ว่าเป็นสินค้าที่มีศักยภาพ และมีความพร้อมสามารถที่จะแข่งขันได้ จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยที่จะมีโอกาสขยายตลาดส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับได้มากขึ้น โดยในประเทศอินเดียไทยสามารถเปิดตลาดเครื่องประดับทองคำได้มากขึ้น ในบาห์เรนไทยสามารถใช้บาห์เรนเป็นประตูสู่การค้าและการลงทุนในกลุ่มประเทศ GCC ได้แก่ คูเวต กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน และซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำลังซื้อสูง ส่วนออสเตรเลียซึ่งทำ FTA เรียบร้อยแล้วมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค 2548 เป็นต้นไปนั้น คาดว่าไทยจะสามารถส่งสินค้าเครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับทอง 9K เข้าไปจำหน่ายในตลาดออสเตรเลียได้มากขึ้น
การทำ FTA ไทย-ญี่ปุ่น นั้นการเจรจายังไม่แล้วเสร็จ ถ้าหากการเจรจาประสบความสำเร็จไทยจะสามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นได้มากขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำเข้าหลักสินค้าไข่มุกและพลอยทับทิม/ไพลินจากไทยถึงร้อยละ 60 ของมูลค่าการนำเข้าในแต่ละปี และการทำ FTA ไทย-สหรัฐ ถึงแม้ไทยจะมีการแข่งขันสูงกับสินค้าจากอินเดียก็ตาม แต่ไทยน่าจะเป็นฝ่ายได้เปรียบและมีโอกาสขยายตลาดได้มากขึ้น ส่วนการทำ FTA ไทย-จีน ซึ่งยังไม่มีการลดภาษีในสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ แต่สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับก็เป็น 1 ใน 5,000 รายการที่จะต้องมีการลดภาษีในอนาคตหากจีนและไทยมีการลดภาษีในสินค้าดังกล่าว ไทยจะมีโอกาสสามารถขยายการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับโดยเฉพาะทับทิมได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน
ที่มา: สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-