นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการของธนาคารโลก ในวันที่ 2 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นหนึ่งในการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการ ธนาคารโลกและกองทุนการเงินหว่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา โดยผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้เข้าร่วมในฐานะสมาชิกสำรองของกลุ่มออกเสียงของไทยหรือกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia) ในธนาคารโลก ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังของประเทศแอฟริกาใต้ (Mr. Trevor Manuel) ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม สรุปได้ ดังนี้
1. ที่ประชุมได้หารือในเรื่องการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศยากจน(Aid Effectiveness) โดยที่ประชุมเห็นว่าการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals) คงเป็นไปได้ยากหากไม่มีการเพิ่มจำนวนเงินให้ความช่วยเหลือหรือสรรหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อเพิ่มจำนวนเงิน ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาใน 2 แนวทาง ได้แก่ การจัดทำกลไกการเพิ่มความช่วยเหลือทางการเงินในลักษณะการระดมเงินทุนล่วงหน้าผ่านการออกพันธบัตรในตลาดทุนระหว่างประเทศ และการจัดทำระบบ Global Tax ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจน ทั้งนี้ ผู้แทนจากกลุ่มของไทยได้สนับสนุนแนวทางดังกล่าว โดยให้มีการจัดทำการ ศึกษาให้ละเอียดยิ่งขึ้นเพื่อให้สามารถนำกลไกดังกล่าวไปใช้ได้โดยเร็ว
2. ที่ประชุมได้รับทราบแนวทางของธนาคารโลกในการเพิ่มบทบาทในการจัดทำนโยบายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะนำมาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและลดความยากจนของประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากที่ประชุมเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการลดความยากจน ดังนั้น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจะนำมาสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ การจ้างงานและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนโดยรวมในอนาคต
3. ที่ประชุมได้หารือในเรื่องการเพิ่มบทบาทของประเทศขนาดเล็กและประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากปัจจุบันการกำหนดแนวทางของเศรษฐกิจและแนวทางในการพัฒนาล้วนมาจากประเทศขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพทางการเงินสูง ดังนั้นประชุมจึงเห็นว่าการเพิ่มบทบาทของประเทศขนาดเล็กและประเทศกำลังพัฒนาจะมีส่วนสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและเสมอภาค อย่างไรก็ตาม กระบวนการในการเพิ่มบทบาทของกลุ่มประเทศดังกล่าวมีความซับซ้อน ซึ่งต้องมีการสนับสนุนจากประเทศขนาดใหญ่
4. สำหรับในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการในครั้งหน้า ซึ่งจะกำหนดจะจัดขึ้นในเดือนเมษายน 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยจะทำหน้าที่เป็นผู้แทนของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (กลุ่ม SEA) ในการประชุมดังกล่าว
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 84/2547 13 ตุลาคม 2547--
1. ที่ประชุมได้หารือในเรื่องการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศยากจน(Aid Effectiveness) โดยที่ประชุมเห็นว่าการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals) คงเป็นไปได้ยากหากไม่มีการเพิ่มจำนวนเงินให้ความช่วยเหลือหรือสรรหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อเพิ่มจำนวนเงิน ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาใน 2 แนวทาง ได้แก่ การจัดทำกลไกการเพิ่มความช่วยเหลือทางการเงินในลักษณะการระดมเงินทุนล่วงหน้าผ่านการออกพันธบัตรในตลาดทุนระหว่างประเทศ และการจัดทำระบบ Global Tax ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจน ทั้งนี้ ผู้แทนจากกลุ่มของไทยได้สนับสนุนแนวทางดังกล่าว โดยให้มีการจัดทำการ ศึกษาให้ละเอียดยิ่งขึ้นเพื่อให้สามารถนำกลไกดังกล่าวไปใช้ได้โดยเร็ว
2. ที่ประชุมได้รับทราบแนวทางของธนาคารโลกในการเพิ่มบทบาทในการจัดทำนโยบายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะนำมาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและลดความยากจนของประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากที่ประชุมเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการลดความยากจน ดังนั้น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจะนำมาสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ การจ้างงานและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนโดยรวมในอนาคต
3. ที่ประชุมได้หารือในเรื่องการเพิ่มบทบาทของประเทศขนาดเล็กและประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากปัจจุบันการกำหนดแนวทางของเศรษฐกิจและแนวทางในการพัฒนาล้วนมาจากประเทศขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพทางการเงินสูง ดังนั้นประชุมจึงเห็นว่าการเพิ่มบทบาทของประเทศขนาดเล็กและประเทศกำลังพัฒนาจะมีส่วนสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและเสมอภาค อย่างไรก็ตาม กระบวนการในการเพิ่มบทบาทของกลุ่มประเทศดังกล่าวมีความซับซ้อน ซึ่งต้องมีการสนับสนุนจากประเทศขนาดใหญ่
4. สำหรับในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการในครั้งหน้า ซึ่งจะกำหนดจะจัดขึ้นในเดือนเมษายน 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยจะทำหน้าที่เป็นผู้แทนของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (กลุ่ม SEA) ในการประชุมดังกล่าว
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 84/2547 13 ตุลาคม 2547--