ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งหมดประมาณ 1,700 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ผลิตกลุ่มหนึ่ง (1stTier)
ประมาณ 700 ราย และอีกประมาณ 1,000 ราย เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนป้อนโรงงานประกอบรถยนต์ (Original Equipment
Manufacturers: OEMs) และผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ (Replacement Equipment Manufacturers: REMs) และตลาดรถยนต์
โดยส่วนใหญ่ของไทยเป็นผู้ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นกว่าร้อยละ 80 ซึ่งในปัจจุบันไทยเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับที่ 15 ของโลก
ภาวะการผลิตรถยนต์ของไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 มีจำนวนการผลิตรถยนต์ทั้งหมด 446,329 คัน
โดยเป็นการผลิตรถบรรทุกขนาดต่างๆ มากที่สุด 295,326 คัน คิดเป็นร้อยละ 66.17 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด ซึ่งเป็นการผลิต
รถกระบะ 1 ตันมากที่สุดถึง 190,430 คัน คิดเป็นร้อยละ 42.67 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด ส่วนการผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคล
พบว่ามีการผลิตทั้งหมด 149,226 คัน คิดเป็นร้อยละ 33.43 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด (ที่มา: สถาบันยานยนต์)
ภาวะความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรมของอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในเดือน มิ.ย. 2547 พบว่าดัชนีความเชื่อมั่น
ของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับที่สูงขึ้นเท่ากับ 122.2 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่น
ต่อภาวะอุตสาหกรรมในระดับที่ดีขึ้น
ตารางที่ 1 มูลค่าการนำเข้าและการส่งออกของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ระหว่างเดือน ม.ค.-ก.ค. ปี 2547
รายการ 2546 สัดส่วน (%) 2547 สัดส่วน Growth (%)
(ม.ค.-ก.ค.) (ม.ค.-ก.ค) (%)
มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท)
รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 91,643.00 77.86 120,591.00 71.92 31.59
เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ 12,577.80 10.68 28,751.10 17.14 128.58
รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ 7,401.30 6.29 11,182.00 6.67 51.08
รถจักรยานและส่วนประกอบ 2,489.80 2.12 2,767.80 1.65 11.17
อื่น ๆ 3,588.10 3.05 4,375.30 2.62 21.93
รวมมูลค่าการส่งออก 117,700.00 100 167,667.20 100 42.45
มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท)
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรวมทั้งโครงรถและตัวถัง 55,336.60 76.27 65,603.80 78.99 18.55
รถยนต์นั่ง 9,945.10 13.71 8,068.40 9.71 -18.87
อื่น ๆ 7,269.00 10.02 9,382.20 11.3 29.07
รวมมูลค่าการนำเข้า 72,550.70 100 83,054.40 100 14.48
ที่มา:ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ภาวะการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไทยในช่วง เดือน ม.ค.-ก.ค.2547
จากตารางที่ 1 พบว่ามีมูลค่าการส่งออกรวม 167,667.20 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.45 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันในปี 2546 โดยมีการส่งออกรถยนต์พร้อมทั้งอุปกรณ์และส่วนประกอบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 71.92 ของการส่งออก
ทั้งหมด และมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 รองลงมาได้แก่ เครื่องยนต์สันดาป
ภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบรถจักรยานต์ยนต์และส่วนประกอบ รถจักรยานและส่วนประกอบ และอื่น ๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
17.14, 6.67, 1.65 และ 2.62 ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย สหราชอาณาจักร
สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ในส่วนของการนำเข้า พบว่ามีมูลค่าการนำเข้ารวม 83,054.40 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 14.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 โดยเป็นการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รวมทั้งโครงรถและตัวถังมากที่สุด
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 78.99 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 65,603.80 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 18.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 ส่วนการนำเข้ารถยนต์นั่งมีมูลค่าลดลงจาก 9,945.10 ล้านบาท เป็น
8,068.40 ล้านบาท หรือมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 18.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้า
จาก ญี่ปุ่น เยอรมนี และเกาหลีใต้
จากภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนทั้งการผลิต ดัชนีความเชื่อมั่น และการค้า คาดว่าแนวโน้มของอุตสาหกรรม
ยานยนต์และชิ้นส่วนในปี 2547 จะมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้น ตามเป้าหมายที่ทางภาครัฐได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีการส่งออกรถยนต์ประมาณ
320,000 คัน และมีการบริโภคในประเทศประมาณ 600,000 คัน ซึ่งไม่น่าจะเป็นเรื่องยาก เนื่องจากปัจจุบันผู้ผลิตของไทยสามารถ
ผลิตเครื่องยนต์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปได้มากขึ้น เช่น การผลิตหัวฉีดแรงดันแบบคอมมอนเรล ซึ่งเป็น
เทคโนโลยีระดับสูง และการผลิตท่อน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูงสำหรับเครื่องยนต์คอมมอนเรลมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในตลาด
ต่างประเทศมากขึ้น โดยอุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์ที่ผลิตในประเทศยังได้เปรียบคู่แข่ง เช่น จีน ในด้านคุณภาพสินค้าและ
เทคโนโลยี
นอกจากนี้ไทยได้ลงนามข้อตกลงการเปิดเสรีการค้า (FTA) กับอินเดีย และออสเตรเลีย โดยจะมีการลดภาษีนำเข้า
สำหรับรถยนต์ และสินค้าส่วนประกอบยานยนต์ให้เป็น 0 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2547 สำหรับ FTA ไทย-อินเดีย
และ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2548 เป็นต้นไป สำหรับ FTA ไทย-ออสเตรเลีย ซึ่งการทำ FTA นี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการใน
อุตสาหกรรมฯ สามารถส่งออกรถยนต์ และชิ้นส่วนไปยังประเทศทั้งสองได้มากขึ้น
ส่วนทางด้านกระทรวงอุตสาหกรรมได้มียุทธศาสตร์สร้างไทยเป็นศูนย์กลางยานยนต์ในภูมิภาค โดยผลักดันให้ไทยมีศักยภาพ
และส่งออกสินค้าคุณภาพไปยังตลาดต่างประเทศทั่วโลกได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะประเทศที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มทางการตลาด
ที่ดี เช่น อินเดีย จีน หากไทยสามารถเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนและส่งออกไปยังสองประเทศนี้ได้ เชื่อว่าจะสร้างรายได้จำนวนมาก
เนื่องจากสองประเทศนี้มีความต้องการของผู้บริโภคจำนวนมาก ตลอดจนมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จึงได้ร่วมมือ
กับทูตพาณิชย์ไทยในด้านของการให้ข้อมูลตลาดของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีความจำเป็นต่อการทำตลาดของไทยในประเทศนั้นๆ
รวมถึงขั้นตอน กฎระเบียบด้านกฎหมาย ภาษี หรือมาตรการต่างๆ ในการติดต่อประสานงาน เพื่อนำมาเป็นจุดได้เปรียบในการปรับ
กลยุทธ์ทางการตลาด
อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ยังมีปัญหาอุปสรรคในด้านการขาดแคลนเครื่องตรวจสอบคุณภาพสินค้า
มาตรฐานของตลาดหลัก ขาดเทคโนโลยีที่เป็นของตนเองอย่างแท้จริง และการชดเชยภาษีการส่งออกมีความล่าช้า ทำให้ผู้ผลิต
ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ดังนั้นผู้ผลิตไทยต้องมีการปรับตัวในด้านต่างๆ มากขึ้น เช่น มุ่งเน้นการพัฒนาและวิจัยการผลิตชิ้นส่วน
และอุปกรณ์ยานยนต์ การสร้างตราสินค้าของตนเองและการพัฒนารูปแบบสินค้าให้ตรงตามมาตฐานสากลและเป็นที่ยอมรับในตลาด
ต่างประเทศ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ประมาณ 700 ราย และอีกประมาณ 1,000 ราย เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนป้อนโรงงานประกอบรถยนต์ (Original Equipment
Manufacturers: OEMs) และผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ (Replacement Equipment Manufacturers: REMs) และตลาดรถยนต์
โดยส่วนใหญ่ของไทยเป็นผู้ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นกว่าร้อยละ 80 ซึ่งในปัจจุบันไทยเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับที่ 15 ของโลก
ภาวะการผลิตรถยนต์ของไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 มีจำนวนการผลิตรถยนต์ทั้งหมด 446,329 คัน
โดยเป็นการผลิตรถบรรทุกขนาดต่างๆ มากที่สุด 295,326 คัน คิดเป็นร้อยละ 66.17 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด ซึ่งเป็นการผลิต
รถกระบะ 1 ตันมากที่สุดถึง 190,430 คัน คิดเป็นร้อยละ 42.67 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด ส่วนการผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคล
พบว่ามีการผลิตทั้งหมด 149,226 คัน คิดเป็นร้อยละ 33.43 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด (ที่มา: สถาบันยานยนต์)
ภาวะความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรมของอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในเดือน มิ.ย. 2547 พบว่าดัชนีความเชื่อมั่น
ของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับที่สูงขึ้นเท่ากับ 122.2 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่น
ต่อภาวะอุตสาหกรรมในระดับที่ดีขึ้น
ตารางที่ 1 มูลค่าการนำเข้าและการส่งออกของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ระหว่างเดือน ม.ค.-ก.ค. ปี 2547
รายการ 2546 สัดส่วน (%) 2547 สัดส่วน Growth (%)
(ม.ค.-ก.ค.) (ม.ค.-ก.ค) (%)
มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท)
รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 91,643.00 77.86 120,591.00 71.92 31.59
เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ 12,577.80 10.68 28,751.10 17.14 128.58
รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ 7,401.30 6.29 11,182.00 6.67 51.08
รถจักรยานและส่วนประกอบ 2,489.80 2.12 2,767.80 1.65 11.17
อื่น ๆ 3,588.10 3.05 4,375.30 2.62 21.93
รวมมูลค่าการส่งออก 117,700.00 100 167,667.20 100 42.45
มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท)
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรวมทั้งโครงรถและตัวถัง 55,336.60 76.27 65,603.80 78.99 18.55
รถยนต์นั่ง 9,945.10 13.71 8,068.40 9.71 -18.87
อื่น ๆ 7,269.00 10.02 9,382.20 11.3 29.07
รวมมูลค่าการนำเข้า 72,550.70 100 83,054.40 100 14.48
ที่มา:ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ภาวะการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไทยในช่วง เดือน ม.ค.-ก.ค.2547
จากตารางที่ 1 พบว่ามีมูลค่าการส่งออกรวม 167,667.20 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.45 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันในปี 2546 โดยมีการส่งออกรถยนต์พร้อมทั้งอุปกรณ์และส่วนประกอบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 71.92 ของการส่งออก
ทั้งหมด และมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 รองลงมาได้แก่ เครื่องยนต์สันดาป
ภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบรถจักรยานต์ยนต์และส่วนประกอบ รถจักรยานและส่วนประกอบ และอื่น ๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
17.14, 6.67, 1.65 และ 2.62 ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย สหราชอาณาจักร
สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ในส่วนของการนำเข้า พบว่ามีมูลค่าการนำเข้ารวม 83,054.40 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 14.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 โดยเป็นการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รวมทั้งโครงรถและตัวถังมากที่สุด
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 78.99 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 65,603.80 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 18.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 ส่วนการนำเข้ารถยนต์นั่งมีมูลค่าลดลงจาก 9,945.10 ล้านบาท เป็น
8,068.40 ล้านบาท หรือมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 18.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้า
จาก ญี่ปุ่น เยอรมนี และเกาหลีใต้
จากภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนทั้งการผลิต ดัชนีความเชื่อมั่น และการค้า คาดว่าแนวโน้มของอุตสาหกรรม
ยานยนต์และชิ้นส่วนในปี 2547 จะมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้น ตามเป้าหมายที่ทางภาครัฐได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีการส่งออกรถยนต์ประมาณ
320,000 คัน และมีการบริโภคในประเทศประมาณ 600,000 คัน ซึ่งไม่น่าจะเป็นเรื่องยาก เนื่องจากปัจจุบันผู้ผลิตของไทยสามารถ
ผลิตเครื่องยนต์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปได้มากขึ้น เช่น การผลิตหัวฉีดแรงดันแบบคอมมอนเรล ซึ่งเป็น
เทคโนโลยีระดับสูง และการผลิตท่อน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูงสำหรับเครื่องยนต์คอมมอนเรลมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในตลาด
ต่างประเทศมากขึ้น โดยอุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์ที่ผลิตในประเทศยังได้เปรียบคู่แข่ง เช่น จีน ในด้านคุณภาพสินค้าและ
เทคโนโลยี
นอกจากนี้ไทยได้ลงนามข้อตกลงการเปิดเสรีการค้า (FTA) กับอินเดีย และออสเตรเลีย โดยจะมีการลดภาษีนำเข้า
สำหรับรถยนต์ และสินค้าส่วนประกอบยานยนต์ให้เป็น 0 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2547 สำหรับ FTA ไทย-อินเดีย
และ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2548 เป็นต้นไป สำหรับ FTA ไทย-ออสเตรเลีย ซึ่งการทำ FTA นี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการใน
อุตสาหกรรมฯ สามารถส่งออกรถยนต์ และชิ้นส่วนไปยังประเทศทั้งสองได้มากขึ้น
ส่วนทางด้านกระทรวงอุตสาหกรรมได้มียุทธศาสตร์สร้างไทยเป็นศูนย์กลางยานยนต์ในภูมิภาค โดยผลักดันให้ไทยมีศักยภาพ
และส่งออกสินค้าคุณภาพไปยังตลาดต่างประเทศทั่วโลกได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะประเทศที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มทางการตลาด
ที่ดี เช่น อินเดีย จีน หากไทยสามารถเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนและส่งออกไปยังสองประเทศนี้ได้ เชื่อว่าจะสร้างรายได้จำนวนมาก
เนื่องจากสองประเทศนี้มีความต้องการของผู้บริโภคจำนวนมาก ตลอดจนมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จึงได้ร่วมมือ
กับทูตพาณิชย์ไทยในด้านของการให้ข้อมูลตลาดของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีความจำเป็นต่อการทำตลาดของไทยในประเทศนั้นๆ
รวมถึงขั้นตอน กฎระเบียบด้านกฎหมาย ภาษี หรือมาตรการต่างๆ ในการติดต่อประสานงาน เพื่อนำมาเป็นจุดได้เปรียบในการปรับ
กลยุทธ์ทางการตลาด
อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ยังมีปัญหาอุปสรรคในด้านการขาดแคลนเครื่องตรวจสอบคุณภาพสินค้า
มาตรฐานของตลาดหลัก ขาดเทคโนโลยีที่เป็นของตนเองอย่างแท้จริง และการชดเชยภาษีการส่งออกมีความล่าช้า ทำให้ผู้ผลิต
ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ดังนั้นผู้ผลิตไทยต้องมีการปรับตัวในด้านต่างๆ มากขึ้น เช่น มุ่งเน้นการพัฒนาและวิจัยการผลิตชิ้นส่วน
และอุปกรณ์ยานยนต์ การสร้างตราสินค้าของตนเองและการพัฒนารูปแบบสินค้าให้ตรงตามมาตฐานสากลและเป็นที่ยอมรับในตลาด
ต่างประเทศ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-