การแข่งขันของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภายในประเทศขณะนี้นับว่าอยู่ในภาวะที่มีการแข่งขันสูงและพบว่ามีความล้าหลังในการใช้เทคโนโลยีไอซีที เพราะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ยังขาดแคลนเงินลงทุนด้านไอซีที เนื่องจากตลาดซอฟต์แวร์ที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งภาครัฐเข้าใจปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดีว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศยุคใหม่จำเป็นต้องเน้นการพัฒนาศักยภาพด้านซอฟต์แวร์ จึงจัดตั้งโครงการซอฟต์แวร์สำหรับเอสเอ็มอีโดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA
โครงการซอฟต์แวร์สำหรับเอสเอ็มอี เป็นโครงการที่ภาครัฐจัดหาซอฟต์แวร์ราคาถูกมาสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ได้มีโอกาสใช้ซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการธุรกิจของตนเอง ซึ่งถือเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาประเทศ มีวัตถุประสงค์ให้เอสเอ็มอีไทยได้มีความคุ้นเคยและใชัไอซีทีอย่างทั่วถึง เพื่อเป็นการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยให้ความเชื่อมั่นว่าซอฟต์แวร์ไทยมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และมีราคาประหยัด ทั้งนี้ทุกฝ่ายจะต้องเข้าใจและมีความเชื่อถือซึ่งกันและกัน
การดำเนินงานโครงการซอฟต์แวร์สำหรับเอสเอ็มอี เริ่มต้นจากการรวบรวมบริษัทที่ผลิตซอฟต์แวร์สำหรับกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีทั่วประเทศภายใต้โครงการ The SME Software Exchange Program ซึ่งเป็นโครงการที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านซอฟต์แวร์เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้ามาเลือกหาและนำไปใช้ในธุรกิจ ทั้งนี้จะเป็นการส่งเสริมการตลาดภายในประเทศให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ขนาดเล็กซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่ดีให้เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยอาศัยฐานลูกค้ากลุ่มเอสเอ็มอีซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 1 ล้านหน่วยธุรกิจ การขายซอฟต์แวร์คุณภาพดีแต่ราคาประหยัดดังกล่าวนี้มีการดำเนินการขาย 2 วิธี คือ 1) ขายซอฟต์แวร์แบบ Package พร้อมให้สิทธิ์ 2) ขายซอฟต์แวร์ชนิดให้บริการผ่านศูนย์โดยคิดค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน
โครงการ The SME Software Exchange Program จะมีการรวบรวมซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆ มาจัดหมวดหมู่ตามลักษณะการใช้งาน เช่น บัญชี การเงิน การตลาดและการขาย การบริหารสินค้าคงคลัง เป็นต้น โดยนำเสนอข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ และสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งจะปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา และซอฟต์แวร์ที่เข้าร่วมโครงการนี้จะได้รับการรับรองจาก SIPA ว่ามีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากนี้จะมีการดึงมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนด้านเอ็มบีเอเข้ามาช่วยเป็นที่ปรึกษา เพื่อตีโจทย์ให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ได้รู้ว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแต่ละกลุ่มธุรกิจมีความต้องการซอฟต์แวร์ลักษณะใดมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ ทั้งนี้เป็นการกำหนดบทบาทให้เหมาะสมกับผู้ที่เกี่ยวข้องตามความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะส่งผลให้ตอบสนองการใช้งานของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ตรงตามความต้องการอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ SIPA จะมีโครงการสร้างเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยจะทำการคัดเลือกบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ประมาณ 10 ราย ที่เป็นแนวหน้าในประเทศไทย โดยสนับสนุนด้านเงินทุนและด้านการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งยังช่วยหาแนวทางว่าจะเติบโตได้อย่างไร และต้องการให้ SIPA สนับสนุนในด้านใด เนื่องจากการสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีผู้ประกอบการรายใหญ่มาช่วยขับเคลื่อนตลาดเพื่อให้มีการขยายไปสู่ผู้ประกอบการขนาดเล็กได้ง่ายขึ้น
จากนั้น SIPA จะร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ในการคัดเลือกผู้ประกอบการเอสเอ็มอีประมาณ 100-200 บริษัทที่มีความพร้อมที่จะนำระบบไอซีทีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะเจาะลึกว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องการซอฟต์แวร์ด้านใด โดยที่ SIPA จะเข้ามาช่วยสนับสนุนด้านเงินลงทุนให้ส่วนหนึ่ง (50%) สำหรับปีงบประมาณ 2548 ซึ่งเป็นเงินให้เปล่า แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ทั้งนี้จะต้องมีการตรวจสอบการพัฒนาระบบไอซีทีของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการด้วย ผู้ที่สนใจโครงการดังกล่าวสามารถติดตามข้อมูลได้ที่ www.sipa.or.th หรือติดต่อฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (bd@sipa.or.th)
ในส่วนของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้มีการวางนโยบายส่งเสริมการสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เนื่องจากปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญในชีวิตประจำวันมาก ดังนั้นการพัฒนากระบวนการส่งผ่านความรู้โดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นช่องทางในการจำหน่ายความรู้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากไปสู่ประชาชนในทุกหมู่บ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จึงจัดทำเว็บไซต์ศูนย์กลางแห่งความรู้แห่งชาติ (TKC) โดยมีสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เป็นผู้จัดหาสาระความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้านต่างๆ มาไว้ในเว็บไซต์ www.tkc.go.th ซึ่งจะเปิดให้บริการปลายเดือนกันยายน 2547 นี้
www.tkc.go.th เป็นเว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้อย่างแท้จริงในทุกๆ เรื่อง โดยเป็นการรวบรวมความรู้ทุกชนิดมาเก็บไว้ให้บริการและส่งไปถึงทุกครัวเรือน ทั้งเรื่องวิชาการและความบันเทิง อาทิเช่น เกมส์ที่สร้างสรรค์ไม่มีความรุนแรง การวิเคราะห์เพลง ภาพยนตร์ กีฬา และการเปิดเวทีชาวบ้านให้สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ได้ และที่สำคัญจะมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขามาให้ความรู้และคำแนะนำ แต่ทั้งนี้ผู้ที่จะเข้าไปใช้เว็บไซต์ดังกล่าวได้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกโดยไม่เสียค่าบริการ
อย่างไรก็ตาม โครงการต่างๆ ทั้งหมดนี้จะส่งผลให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนตลอดไปได้ก็ต่อเมื่อได้รับความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยทั่วกัน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
โครงการซอฟต์แวร์สำหรับเอสเอ็มอี เป็นโครงการที่ภาครัฐจัดหาซอฟต์แวร์ราคาถูกมาสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ได้มีโอกาสใช้ซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการธุรกิจของตนเอง ซึ่งถือเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาประเทศ มีวัตถุประสงค์ให้เอสเอ็มอีไทยได้มีความคุ้นเคยและใชัไอซีทีอย่างทั่วถึง เพื่อเป็นการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยให้ความเชื่อมั่นว่าซอฟต์แวร์ไทยมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และมีราคาประหยัด ทั้งนี้ทุกฝ่ายจะต้องเข้าใจและมีความเชื่อถือซึ่งกันและกัน
การดำเนินงานโครงการซอฟต์แวร์สำหรับเอสเอ็มอี เริ่มต้นจากการรวบรวมบริษัทที่ผลิตซอฟต์แวร์สำหรับกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีทั่วประเทศภายใต้โครงการ The SME Software Exchange Program ซึ่งเป็นโครงการที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านซอฟต์แวร์เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้ามาเลือกหาและนำไปใช้ในธุรกิจ ทั้งนี้จะเป็นการส่งเสริมการตลาดภายในประเทศให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ขนาดเล็กซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่ดีให้เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยอาศัยฐานลูกค้ากลุ่มเอสเอ็มอีซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 1 ล้านหน่วยธุรกิจ การขายซอฟต์แวร์คุณภาพดีแต่ราคาประหยัดดังกล่าวนี้มีการดำเนินการขาย 2 วิธี คือ 1) ขายซอฟต์แวร์แบบ Package พร้อมให้สิทธิ์ 2) ขายซอฟต์แวร์ชนิดให้บริการผ่านศูนย์โดยคิดค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน
โครงการ The SME Software Exchange Program จะมีการรวบรวมซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆ มาจัดหมวดหมู่ตามลักษณะการใช้งาน เช่น บัญชี การเงิน การตลาดและการขาย การบริหารสินค้าคงคลัง เป็นต้น โดยนำเสนอข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ และสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งจะปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา และซอฟต์แวร์ที่เข้าร่วมโครงการนี้จะได้รับการรับรองจาก SIPA ว่ามีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากนี้จะมีการดึงมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนด้านเอ็มบีเอเข้ามาช่วยเป็นที่ปรึกษา เพื่อตีโจทย์ให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ได้รู้ว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแต่ละกลุ่มธุรกิจมีความต้องการซอฟต์แวร์ลักษณะใดมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ ทั้งนี้เป็นการกำหนดบทบาทให้เหมาะสมกับผู้ที่เกี่ยวข้องตามความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะส่งผลให้ตอบสนองการใช้งานของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ตรงตามความต้องการอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ SIPA จะมีโครงการสร้างเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยจะทำการคัดเลือกบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ประมาณ 10 ราย ที่เป็นแนวหน้าในประเทศไทย โดยสนับสนุนด้านเงินทุนและด้านการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งยังช่วยหาแนวทางว่าจะเติบโตได้อย่างไร และต้องการให้ SIPA สนับสนุนในด้านใด เนื่องจากการสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีผู้ประกอบการรายใหญ่มาช่วยขับเคลื่อนตลาดเพื่อให้มีการขยายไปสู่ผู้ประกอบการขนาดเล็กได้ง่ายขึ้น
จากนั้น SIPA จะร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ในการคัดเลือกผู้ประกอบการเอสเอ็มอีประมาณ 100-200 บริษัทที่มีความพร้อมที่จะนำระบบไอซีทีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะเจาะลึกว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องการซอฟต์แวร์ด้านใด โดยที่ SIPA จะเข้ามาช่วยสนับสนุนด้านเงินลงทุนให้ส่วนหนึ่ง (50%) สำหรับปีงบประมาณ 2548 ซึ่งเป็นเงินให้เปล่า แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ทั้งนี้จะต้องมีการตรวจสอบการพัฒนาระบบไอซีทีของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการด้วย ผู้ที่สนใจโครงการดังกล่าวสามารถติดตามข้อมูลได้ที่ www.sipa.or.th หรือติดต่อฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (bd@sipa.or.th)
ในส่วนของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้มีการวางนโยบายส่งเสริมการสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เนื่องจากปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญในชีวิตประจำวันมาก ดังนั้นการพัฒนากระบวนการส่งผ่านความรู้โดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นช่องทางในการจำหน่ายความรู้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากไปสู่ประชาชนในทุกหมู่บ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จึงจัดทำเว็บไซต์ศูนย์กลางแห่งความรู้แห่งชาติ (TKC) โดยมีสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เป็นผู้จัดหาสาระความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้านต่างๆ มาไว้ในเว็บไซต์ www.tkc.go.th ซึ่งจะเปิดให้บริการปลายเดือนกันยายน 2547 นี้
www.tkc.go.th เป็นเว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้อย่างแท้จริงในทุกๆ เรื่อง โดยเป็นการรวบรวมความรู้ทุกชนิดมาเก็บไว้ให้บริการและส่งไปถึงทุกครัวเรือน ทั้งเรื่องวิชาการและความบันเทิง อาทิเช่น เกมส์ที่สร้างสรรค์ไม่มีความรุนแรง การวิเคราะห์เพลง ภาพยนตร์ กีฬา และการเปิดเวทีชาวบ้านให้สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ได้ และที่สำคัญจะมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขามาให้ความรู้และคำแนะนำ แต่ทั้งนี้ผู้ที่จะเข้าไปใช้เว็บไซต์ดังกล่าวได้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกโดยไม่เสียค่าบริการ
อย่างไรก็ตาม โครงการต่างๆ ทั้งหมดนี้จะส่งผลให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนตลอดไปได้ก็ต่อเมื่อได้รับความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยทั่วกัน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-