อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องทางด้านเทคโนโลยีการผลิตและการพัฒนาด้านบุคลากรของอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ ของประเทศ ทั้งการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง และอื่นๆ ซึ่งแม่พิมพ์ที่นำมาใช้จึงมีหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับวัสดุ เช่น แม่พิมพ์โลหะ แม่พิมพ์พลาสติก แม่พิมพ์ยาง แม่พิมพ์แก้ว และอื่นๆ และแม่พิมพ์ที่นิยมใช้กันมากทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ แม่พิมพ์โลหะและแม่พิมพ์พลาสติก ซึ่งนำไปใช้ในเกือบทุกอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมของเด็กเล่น และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น เนื่องจากแม่พิมพ์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีรูปร่างเหมือนๆ กัน ได้ครั้งละจำนวนมากๆ ทำให้สินค้ามีคุณภาพและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างขีดความสามารถและความได้เปรียบในการแข่งขันสูงในแต่ละอุตสาหกรรม
ปัจจุบันไทยมีโรงงานทำแม่พิมพ์ทั้งหมด 2,000 โรงงาน โดยส่วนใหญ่ทำการผลิตแม่พิมพ์โลหะและพลาสติกถึงร้อยละ 90 และอีกร้อยละ 10 ผลิตแม่พิมพ์แก้ว ยาง และเซรามิกส์ เป็นต้น โดย 1,500 โรงงานเป็นโรงงานที่ผลิตแม่พิมพ์ใช้เอง และอีก 500 โรงงานรับจ้างผลิตแม่พิมพ์ ซึ่งในจำนวนนี้มีเพียง 3% ที่สามารถผลิตแม่พิมพ์ที่ได้คุณภาพและมีประสิทธิภาพความเที่ยงตรงสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ในประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตงานที่มีคุณภาพและความถูกต้องแม่นยำสูงได้
ภาวะการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ตั้งแต่ปี 2542-2547(ม.ค-มิ.ย) จากสถิติมูลค่าการนำเข้าและส่งออกแม่พิมพ์ (ตารางที่ 1) พบว่าประเทศไทยขาดดุลการค้าในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์มาโดยตลอด โดยในปี 2544 มีการขาดดุลการค้ามากกว่า 20,000 ล้านบาท และมูลค่าการนำเข้าแม่พิมพ์ของไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดยกเว้น ปี 2545 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 7.69 เทียบกับปี 2544 ส่วนมูลค่าการนำเข้าในปี 2547 คาดว่ามีแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน มีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 ถึงร้อยละ 33.57 การที่ไทยมีมูลค่าการนำเข้าแม่พิมพ์มากเนื่องจากโรงงานที่เป็นกิจการร่วมทุนกับต่างประเทศ มีกลุ่มตลาดส่วนใหญ่เป็นต่างประเทศซึ่งมีความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพสูง จึงทำให้มีการนำเข้าแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพและความเที่ยงตรงสูงจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก รวมทั้งผู้ผลิตชาวไทยที่สามารถผลิตแม่พิมพ์ที่มีความเที่ยงตรงสูงได้นั้นยังมีไม่มากนัก ทำให้ยังคงมีความต้องการนำเข้าแม่พิมพ์ค่อนข้างสูง โดยเป็นการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ ไต้หวัน และเกาหลีใต้
ส่วนการส่งออกแม่พิมพ์ของไทยนั้น สวนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ผลิตที่มีกิจการร่วมลงทุนกับต่างประเทศและได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ซึ่งเป็นกลุ่มที่สามารถผลิตแม่พิมพ์ที่มีความเที่ยงตรงสูงและส่งออกไปยังบริษัทแม่ ส่วนโรงงานแม่พิมพ์ขนาดกลางที่ผลิตแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพส่วนใหญ่จะส่งออกโดยผ่านตัวแทนจำหน่าย โดยมูลค่าการส่งออกตั้งแต่ปี 2542-2547 มีมูลค่าส่งออกไม่เกิน 3,000 ล้านบาทยกเว้นในปี 2546 ส่วนในปี 2547 คาดว่าแนวโน้มการส่งออกแม่พิมพ์ของไทยจะมีมูลค่ามากขึ้น เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกช่วง 6 เดือนแรกของปี พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 80.78 เทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไปในประเทศญี่ปุ่น รองลงมาคือมาเลเชียและฮ่องกง
ตารางที่ 1 มูลค่าการนำเข้าและส่งออกแม่พิมพ์ของไทยตั้งแต่ปี 2542-2547 (มกราคม-มิถุนายน)
หน่วย ล้านบาท
ปี 2542 2543 2544 2545 2546 2546 2547
(ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย)
นำเข้า 12,922 17,150 22,047 20,351 20,698 9,173 12,253
อัตราการเติบโต(%) - 32.72 28.55 -7.69 1.70 - 33.57
ส่งออก 1,880 2,269 2,036 2,458 3,273 1,460 2,640
อัตราการเติบโต(%) - 20.69 -10.26 20.72 33.16 - 80.78
ดุลการค้า -11,042 -14,881 -20,011 -17,893 -17,424 -7,713 -9,612
ที่มา: กรมศุลกากร
จากการศึกษาวิจัยของสถาบันไทย-เยอรมัน พบว่าอุตสาหกรรมที่มีการใช้แม่พิมพ์เข้ามาช่วยในการผลิตเป็นอย่างมาก คือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยปัญหาของอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทยที่พบส่วนใหญ่เกิดจากการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและคุณภาพทางด้านแม่พิมพ์ และปัญหาการเปลี่ยนย้ายงานบ่อยของพนักงาน นอกจากนั้นพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงใช้เครื่องจักรแบบเดิมๆ ยังไม่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการผลิต ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการนำเข้าแม่พิมพ์จากต่างประเทศมีมูลค่าปีละกว่า 20,000 บาท ทั้งนี้ทางรัฐบาล โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมมือกันในการจัดตั้งสถาบันแม่พิมพ์แห่งชาติ และโครงการพัฒนาบุคลากรอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ปี 2547-2551 ขึ้นมา โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานงาน กับกระทรวงวิทยาศาสตร์และภาคเอกชน ให้เกิดการพัฒนาในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยการนำแม่พิมพ์เข้ามาช่วยในการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้นการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทยให้มีความเข้มแข็งเพื่อสนับสนุนการผลิตของอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของไทยให้มีความสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ จึงเป็นเรื่องที่ทางภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคเอกชน ตลอดจนผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กต้องร่วมมือกันดำเนินการอย่างเร่งด่วน ได้แก่ การดำเนินโครงการส่งเสริมการลงทุน เพื่อขยายกำลังการผลิตแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพและความเที่ยงตรงแม่นยำสูง โครงการพัฒนาทักษะเพิ่มเติมให้นักออกแบบและสร้างแม่พิมพ์ เพื่ออุตสาหกรรมดังกล่าวข้างต้น และโครงการยกระดับเทคโนโลยีทางด้านแม่พิมพ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ทั้งพลาสติกและโลหะให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และที่สำคัญสามารถลดการนำเข้าจากต่างประเทศได้
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ปัจจุบันไทยมีโรงงานทำแม่พิมพ์ทั้งหมด 2,000 โรงงาน โดยส่วนใหญ่ทำการผลิตแม่พิมพ์โลหะและพลาสติกถึงร้อยละ 90 และอีกร้อยละ 10 ผลิตแม่พิมพ์แก้ว ยาง และเซรามิกส์ เป็นต้น โดย 1,500 โรงงานเป็นโรงงานที่ผลิตแม่พิมพ์ใช้เอง และอีก 500 โรงงานรับจ้างผลิตแม่พิมพ์ ซึ่งในจำนวนนี้มีเพียง 3% ที่สามารถผลิตแม่พิมพ์ที่ได้คุณภาพและมีประสิทธิภาพความเที่ยงตรงสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ในประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตงานที่มีคุณภาพและความถูกต้องแม่นยำสูงได้
ภาวะการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ตั้งแต่ปี 2542-2547(ม.ค-มิ.ย) จากสถิติมูลค่าการนำเข้าและส่งออกแม่พิมพ์ (ตารางที่ 1) พบว่าประเทศไทยขาดดุลการค้าในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์มาโดยตลอด โดยในปี 2544 มีการขาดดุลการค้ามากกว่า 20,000 ล้านบาท และมูลค่าการนำเข้าแม่พิมพ์ของไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดยกเว้น ปี 2545 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 7.69 เทียบกับปี 2544 ส่วนมูลค่าการนำเข้าในปี 2547 คาดว่ามีแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน มีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 ถึงร้อยละ 33.57 การที่ไทยมีมูลค่าการนำเข้าแม่พิมพ์มากเนื่องจากโรงงานที่เป็นกิจการร่วมทุนกับต่างประเทศ มีกลุ่มตลาดส่วนใหญ่เป็นต่างประเทศซึ่งมีความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพสูง จึงทำให้มีการนำเข้าแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพและความเที่ยงตรงสูงจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก รวมทั้งผู้ผลิตชาวไทยที่สามารถผลิตแม่พิมพ์ที่มีความเที่ยงตรงสูงได้นั้นยังมีไม่มากนัก ทำให้ยังคงมีความต้องการนำเข้าแม่พิมพ์ค่อนข้างสูง โดยเป็นการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ ไต้หวัน และเกาหลีใต้
ส่วนการส่งออกแม่พิมพ์ของไทยนั้น สวนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ผลิตที่มีกิจการร่วมลงทุนกับต่างประเทศและได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ซึ่งเป็นกลุ่มที่สามารถผลิตแม่พิมพ์ที่มีความเที่ยงตรงสูงและส่งออกไปยังบริษัทแม่ ส่วนโรงงานแม่พิมพ์ขนาดกลางที่ผลิตแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพส่วนใหญ่จะส่งออกโดยผ่านตัวแทนจำหน่าย โดยมูลค่าการส่งออกตั้งแต่ปี 2542-2547 มีมูลค่าส่งออกไม่เกิน 3,000 ล้านบาทยกเว้นในปี 2546 ส่วนในปี 2547 คาดว่าแนวโน้มการส่งออกแม่พิมพ์ของไทยจะมีมูลค่ามากขึ้น เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกช่วง 6 เดือนแรกของปี พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 80.78 เทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไปในประเทศญี่ปุ่น รองลงมาคือมาเลเชียและฮ่องกง
ตารางที่ 1 มูลค่าการนำเข้าและส่งออกแม่พิมพ์ของไทยตั้งแต่ปี 2542-2547 (มกราคม-มิถุนายน)
หน่วย ล้านบาท
ปี 2542 2543 2544 2545 2546 2546 2547
(ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย)
นำเข้า 12,922 17,150 22,047 20,351 20,698 9,173 12,253
อัตราการเติบโต(%) - 32.72 28.55 -7.69 1.70 - 33.57
ส่งออก 1,880 2,269 2,036 2,458 3,273 1,460 2,640
อัตราการเติบโต(%) - 20.69 -10.26 20.72 33.16 - 80.78
ดุลการค้า -11,042 -14,881 -20,011 -17,893 -17,424 -7,713 -9,612
ที่มา: กรมศุลกากร
จากการศึกษาวิจัยของสถาบันไทย-เยอรมัน พบว่าอุตสาหกรรมที่มีการใช้แม่พิมพ์เข้ามาช่วยในการผลิตเป็นอย่างมาก คือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยปัญหาของอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทยที่พบส่วนใหญ่เกิดจากการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและคุณภาพทางด้านแม่พิมพ์ และปัญหาการเปลี่ยนย้ายงานบ่อยของพนักงาน นอกจากนั้นพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงใช้เครื่องจักรแบบเดิมๆ ยังไม่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการผลิต ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการนำเข้าแม่พิมพ์จากต่างประเทศมีมูลค่าปีละกว่า 20,000 บาท ทั้งนี้ทางรัฐบาล โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมมือกันในการจัดตั้งสถาบันแม่พิมพ์แห่งชาติ และโครงการพัฒนาบุคลากรอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ปี 2547-2551 ขึ้นมา โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานงาน กับกระทรวงวิทยาศาสตร์และภาคเอกชน ให้เกิดการพัฒนาในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยการนำแม่พิมพ์เข้ามาช่วยในการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้นการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทยให้มีความเข้มแข็งเพื่อสนับสนุนการผลิตของอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของไทยให้มีความสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ จึงเป็นเรื่องที่ทางภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคเอกชน ตลอดจนผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กต้องร่วมมือกันดำเนินการอย่างเร่งด่วน ได้แก่ การดำเนินโครงการส่งเสริมการลงทุน เพื่อขยายกำลังการผลิตแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพและความเที่ยงตรงแม่นยำสูง โครงการพัฒนาทักษะเพิ่มเติมให้นักออกแบบและสร้างแม่พิมพ์ เพื่ออุตสาหกรรมดังกล่าวข้างต้น และโครงการยกระดับเทคโนโลยีทางด้านแม่พิมพ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ทั้งพลาสติกและโลหะให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และที่สำคัญสามารถลดการนำเข้าจากต่างประเทศได้
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-