อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (Automobile Industry) ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการรับจ้างผลิต (OEM : Old Enterprise Manufacturing) โดยลูกค้าจะเป็นผู้ออกแบบชิ้นส่วน จากนั้นผู้รับจ้างผลิตจะนำแบบที่ได้รับมาทำแม่พิมพ์และเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต ทั้งนี้คู่แข่งขันในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ตั้งฐานการผลิตทั้งในและต่างประเทศมีอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเอสเอ็มอีไทยในอุตสาหกรรมดังกล่าวคงไปได้ไม่ไกลมากนักหากยังเป็นผู้รับจ้างผลิตเต็มร้อยเปอร์เซ็นตลอดไป
บริษัท ไทยชนาธร อุตสาหกรรม จำกัด เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มากว่า 20 ปี โดยมีรูปแบบการผลิตเป็น Aluminium high pressure die casting สำหรับชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ( Car & Motorcycle Maker) รวมถึงชิ้นส่วนเครื่องยนต์เพื่อการเกษตร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และล้อรถกอล์ฟ
ในปี 2542 บริษัทฯ ประสบปัญหาอย่างหนักถึงขั้นเกือบปิดกิจการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน แต่ด้วยวิสัยทัศน์และความสามารถในการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาวของผู้บริหารจึงทำให้ผ่านพ้นวิกฤติช่วงนั้นไปได้ในที่สุด โดยปัจจุบันบริษัทฯ สามารถคว้ารางวัลบริหารอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่นประจำปี 2547 จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รวมถึงได้รับ ISO9002/1994, ISO9001/2000, TS 16949/2000, ISO 14000 และ ISO 18000 มาการันตีคุณภาพของผลิตภัณฑ์และคุณภาพขององค์กรได้เป็นผลสำเร็จ
ส่วนวัตถุดิบที่เลือกมาใช้ในการผลิต เช่น อะลูมิเนียม ซิลิกอน เหล็ก แมงกานีส แมกนีเซีมม นั้น มีการสั่งซื้อภายในประเทศทั้งหมด เพื่อเป็นการสนับสนุนดุลการค้าภายในประเทศ ถึงแม้จะสามารถเลือกซื้อวัตถุดิบโดยตรงจากต่างประเทศได้ก็ตาม อีกทั้งบริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยได้เข้าร่วมเป็นบริษัทนำร่องภายใต้โครงการธรรมชาติสู่ธรรมชาติ ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของในหลวง ดำเนินงานโดยกรมควบคุมมลพิษ เพื่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียวงจรปิด กล่าวคือ องค์กรจะสามารถนำน้ำเสียที่ได้จากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ได้
บริษัท ไทยชนาธร อุตสาหกรรม จำกัด มีการวางเป้าหมายคุณภาพขององค์กรและปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การรับรายการสั่งซื้อจากลูกค้า โดยแผนกการตลาดจะประสานงานกับแผนกโกดังสินค้าเพื่อร่วมกันวางแผนการผลิต จากนั้นจึงทำการสั่งซื้อวัตถุดิบ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการผลิต และจะต้องตรวจเช็ควัตถุดิบ อุปกรณ์ก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิตหรือก่อนการจัดเก็บเข้าโกดังอย่างเข้มงวด (IQA : Incoming Quality Assurance) ซึ่งระบบการจัดเก็บวัตถุดิบ อุปกรณ์ทางบริษัทฯ เลือกใช้วิธีการนำเอาวัตถุดิบที่ซื้อมาก่อนมาใช้ก่อน (FIFO : First in First out) เนื่องจากวัตถุดิบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสินค้ามีอายุการใช้งานตามเวลาที่กำหนด โดยเป้าหมายในขั้นตอนการผลิตจะต้องมีของเสียน้อยกว่า 1% ทั้งนี้จะต้องตรวจเช็คสินค้าครั้งสุดท้ายทุกครั้งก่อนถึงขั้นตอนการขนส่งสินค้าไปถึงมือลูกค้า และตั้งเป้าหมายการรับสินค้าคืนจากลูกค้าต้องไม่เกิน 35 ชิ้นต่อการผลิตหนึ่งล้านชิ้น
บริษัทฯ มีการทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มาโดยตลอด เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญว่าหากองค์กรมีรากฐานการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แข็งแรงแล้วนั้น จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทฯ ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันในขั้นตอนการออกแบบและการผลิตผู้รับจ้างผลิตต้องทำตามแบบที่ลูกค้ากำหนด แต่ในอนาคตลูกค้าอาจจะร่างแบบ (Drawing) มาให้ จากนั้นผู้รับจ้างผลิตจึงนำแบบที่ร่างไว้มาออกแบบให้เป็นรูปร่างอีกที และอนาคตต่อไปข้างหน้าลูกค้าอาจจะพูดคุยถึงแบบที่ต้องการด้วยปากเปล่ากับผู้รับจ้างผลิต
จากนั้นผู้รับจ้างผลิตก็ทำการออกแบบสินค้าเองทั้งหมด ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขันได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้บริษัทฯ ได้นำเทคโนโลยี CAD/CAM/CAE ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการออกแบบ วิเคราะห์และผลิตมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสินค้าที่ผลิต
การแข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์ขณะนี้ถือว่าอยู่ในยุคทุนนิยม มีการแข่งขันรุนแรง ดังนั้นสินค้าที่ผลิตจะต้องมีคุณภาพดี ราคาถูก และสามารถแข่งขันได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับการแข่งขันในประเทศมีทั้งคู่แข่งขันที่เป็นบริษัทของคนไทยและบริษัทต่างชาติที่ย้ายฐานการผลิตมาจากต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลี และสำหรับการแข่งขันในต่างประเทศ นับว่าประเทศจีนเป็นคู่แข่งขันสำคัญที่สุด เนื่องจากสินค้าของจีนมีต้นทุนต่ำ ดังนั้นบริษัทฯ จะต้องผลิตสินค้าให้มีต้นทุนต่ำเช่นเดียวกัน นอกจากนี้บริษัทต้องการสร้างภาพลักษณ์ให้โรงงานเป็นเหมือนโชว์รูมเพื่อเป็นการแสดงความโปร่งใสให้ลูกค้าได้เห็นศักยภาพของกระบวนการผลิตว่ามีของเสียหรือมีสินค้าที่สต็อกไว้มากเกินไปหรือไม่ คาดว่าวิธีนี้จะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้ลูกค้าได้เป็นอย่างดีแต่สิ่งสำคัญที่สุดที่จะเป็นการบ่งบอกถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ นั่นคือศักยภาพของทรัพยากรบุคคล ซึ่งหมายถึงบุคลากรต้องสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเองได้ ดังนั้นบริษัทฯ จึงนำเครื่องมือมาใช้ในการสร้างคน ได้แก่ 5ส ใช้สำหรับสร้างวินัย, QCC (Quality Control Circle) ใช้เพื่อให้คนทันกับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลง สามารถวิเคราะห์เหตุและผลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ และ TPM (Total Productivity Management) ใช้เพื่อขจัดการสูญเปล่าของโรงงานให้เป็นศูนย์ ให้พนักงานรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ จงรักภักดี และมีความภาคภูมิใจในองค์กร ภายใต้สโลแกน "ทำงานให้สนุก เป็นสุขกับการทำงาน" โดยสรุปเป็นปัจจัย 4 ได้ดังนี้ 1) พนักงานต้องมีแผนในการปฏิบัติงาน และต้องปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน 2) พนักงานต้องสามารถตรวจสอบและควบคุมคุณภาพสินค้าได้ด้วยตนเอง 3) พนักงานต้องมีจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของเครื่องจักร 4) พนักงานต้องทราบค่าใช้จ่ายและสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายภายในหน่วยงานของตนเองได้ ทั้งนี้ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ จะเข้ามาตรวจสอบศักยภาพของบริษัททุกๆ 3 - 6 เดือนต่อครั้ง
คุณสุชาติ หิรัญชัย กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ ให้ข้อคิดว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องมีการวางแผนธุรกิจทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อให้สามารถรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงได้ แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐในการให้ข้อมูล เช่น ข้อมูลด้านการตลาดที่ทันต่อเหตุการณ์ของอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ข้อมูลด้านการใช้เครื่องมือในการสร้างคนที่เหมาะสมกับเอสเอ็มอีไทย และควรติดตามผลจากการส่งเสริมสนับสนุนโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการวิเคราะห์ผลสำเร็จและเพื่อนำข้อผิดพลาดมาแก้ไขในการสนับสนุนส่งเสริมครั้งต่อไป
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
บริษัท ไทยชนาธร อุตสาหกรรม จำกัด เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มากว่า 20 ปี โดยมีรูปแบบการผลิตเป็น Aluminium high pressure die casting สำหรับชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ( Car & Motorcycle Maker) รวมถึงชิ้นส่วนเครื่องยนต์เพื่อการเกษตร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และล้อรถกอล์ฟ
ในปี 2542 บริษัทฯ ประสบปัญหาอย่างหนักถึงขั้นเกือบปิดกิจการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน แต่ด้วยวิสัยทัศน์และความสามารถในการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาวของผู้บริหารจึงทำให้ผ่านพ้นวิกฤติช่วงนั้นไปได้ในที่สุด โดยปัจจุบันบริษัทฯ สามารถคว้ารางวัลบริหารอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่นประจำปี 2547 จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รวมถึงได้รับ ISO9002/1994, ISO9001/2000, TS 16949/2000, ISO 14000 และ ISO 18000 มาการันตีคุณภาพของผลิตภัณฑ์และคุณภาพขององค์กรได้เป็นผลสำเร็จ
ส่วนวัตถุดิบที่เลือกมาใช้ในการผลิต เช่น อะลูมิเนียม ซิลิกอน เหล็ก แมงกานีส แมกนีเซีมม นั้น มีการสั่งซื้อภายในประเทศทั้งหมด เพื่อเป็นการสนับสนุนดุลการค้าภายในประเทศ ถึงแม้จะสามารถเลือกซื้อวัตถุดิบโดยตรงจากต่างประเทศได้ก็ตาม อีกทั้งบริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยได้เข้าร่วมเป็นบริษัทนำร่องภายใต้โครงการธรรมชาติสู่ธรรมชาติ ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของในหลวง ดำเนินงานโดยกรมควบคุมมลพิษ เพื่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียวงจรปิด กล่าวคือ องค์กรจะสามารถนำน้ำเสียที่ได้จากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ได้
บริษัท ไทยชนาธร อุตสาหกรรม จำกัด มีการวางเป้าหมายคุณภาพขององค์กรและปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การรับรายการสั่งซื้อจากลูกค้า โดยแผนกการตลาดจะประสานงานกับแผนกโกดังสินค้าเพื่อร่วมกันวางแผนการผลิต จากนั้นจึงทำการสั่งซื้อวัตถุดิบ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการผลิต และจะต้องตรวจเช็ควัตถุดิบ อุปกรณ์ก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิตหรือก่อนการจัดเก็บเข้าโกดังอย่างเข้มงวด (IQA : Incoming Quality Assurance) ซึ่งระบบการจัดเก็บวัตถุดิบ อุปกรณ์ทางบริษัทฯ เลือกใช้วิธีการนำเอาวัตถุดิบที่ซื้อมาก่อนมาใช้ก่อน (FIFO : First in First out) เนื่องจากวัตถุดิบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสินค้ามีอายุการใช้งานตามเวลาที่กำหนด โดยเป้าหมายในขั้นตอนการผลิตจะต้องมีของเสียน้อยกว่า 1% ทั้งนี้จะต้องตรวจเช็คสินค้าครั้งสุดท้ายทุกครั้งก่อนถึงขั้นตอนการขนส่งสินค้าไปถึงมือลูกค้า และตั้งเป้าหมายการรับสินค้าคืนจากลูกค้าต้องไม่เกิน 35 ชิ้นต่อการผลิตหนึ่งล้านชิ้น
บริษัทฯ มีการทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มาโดยตลอด เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญว่าหากองค์กรมีรากฐานการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แข็งแรงแล้วนั้น จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทฯ ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันในขั้นตอนการออกแบบและการผลิตผู้รับจ้างผลิตต้องทำตามแบบที่ลูกค้ากำหนด แต่ในอนาคตลูกค้าอาจจะร่างแบบ (Drawing) มาให้ จากนั้นผู้รับจ้างผลิตจึงนำแบบที่ร่างไว้มาออกแบบให้เป็นรูปร่างอีกที และอนาคตต่อไปข้างหน้าลูกค้าอาจจะพูดคุยถึงแบบที่ต้องการด้วยปากเปล่ากับผู้รับจ้างผลิต
จากนั้นผู้รับจ้างผลิตก็ทำการออกแบบสินค้าเองทั้งหมด ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขันได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้บริษัทฯ ได้นำเทคโนโลยี CAD/CAM/CAE ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการออกแบบ วิเคราะห์และผลิตมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสินค้าที่ผลิต
การแข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์ขณะนี้ถือว่าอยู่ในยุคทุนนิยม มีการแข่งขันรุนแรง ดังนั้นสินค้าที่ผลิตจะต้องมีคุณภาพดี ราคาถูก และสามารถแข่งขันได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับการแข่งขันในประเทศมีทั้งคู่แข่งขันที่เป็นบริษัทของคนไทยและบริษัทต่างชาติที่ย้ายฐานการผลิตมาจากต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลี และสำหรับการแข่งขันในต่างประเทศ นับว่าประเทศจีนเป็นคู่แข่งขันสำคัญที่สุด เนื่องจากสินค้าของจีนมีต้นทุนต่ำ ดังนั้นบริษัทฯ จะต้องผลิตสินค้าให้มีต้นทุนต่ำเช่นเดียวกัน นอกจากนี้บริษัทต้องการสร้างภาพลักษณ์ให้โรงงานเป็นเหมือนโชว์รูมเพื่อเป็นการแสดงความโปร่งใสให้ลูกค้าได้เห็นศักยภาพของกระบวนการผลิตว่ามีของเสียหรือมีสินค้าที่สต็อกไว้มากเกินไปหรือไม่ คาดว่าวิธีนี้จะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้ลูกค้าได้เป็นอย่างดีแต่สิ่งสำคัญที่สุดที่จะเป็นการบ่งบอกถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ นั่นคือศักยภาพของทรัพยากรบุคคล ซึ่งหมายถึงบุคลากรต้องสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเองได้ ดังนั้นบริษัทฯ จึงนำเครื่องมือมาใช้ในการสร้างคน ได้แก่ 5ส ใช้สำหรับสร้างวินัย, QCC (Quality Control Circle) ใช้เพื่อให้คนทันกับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลง สามารถวิเคราะห์เหตุและผลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ และ TPM (Total Productivity Management) ใช้เพื่อขจัดการสูญเปล่าของโรงงานให้เป็นศูนย์ ให้พนักงานรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ จงรักภักดี และมีความภาคภูมิใจในองค์กร ภายใต้สโลแกน "ทำงานให้สนุก เป็นสุขกับการทำงาน" โดยสรุปเป็นปัจจัย 4 ได้ดังนี้ 1) พนักงานต้องมีแผนในการปฏิบัติงาน และต้องปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน 2) พนักงานต้องสามารถตรวจสอบและควบคุมคุณภาพสินค้าได้ด้วยตนเอง 3) พนักงานต้องมีจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของเครื่องจักร 4) พนักงานต้องทราบค่าใช้จ่ายและสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายภายในหน่วยงานของตนเองได้ ทั้งนี้ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ จะเข้ามาตรวจสอบศักยภาพของบริษัททุกๆ 3 - 6 เดือนต่อครั้ง
คุณสุชาติ หิรัญชัย กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ ให้ข้อคิดว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องมีการวางแผนธุรกิจทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อให้สามารถรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงได้ แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐในการให้ข้อมูล เช่น ข้อมูลด้านการตลาดที่ทันต่อเหตุการณ์ของอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ข้อมูลด้านการใช้เครื่องมือในการสร้างคนที่เหมาะสมกับเอสเอ็มอีไทย และควรติดตามผลจากการส่งเสริมสนับสนุนโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการวิเคราะห์ผลสำเร็จและเพื่อนำข้อผิดพลาดมาแก้ไขในการสนับสนุนส่งเสริมครั้งต่อไป
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-