การทำอิฐสำหรับก่อสร้างของไทยได้ทำกันมานานแล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมครอบครัวในแถบชนบท ซึ่งมีขนาดเล็ก และอิฐที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นอิฐมอญ ต่อมาได้มีการตั้งโรงงานใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยมากขึ้น โดยอิฐที่ทำการผลิตมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ อิฐบล็อก อิฐเบาหรืออิฐมวลเบา อิฐโฟม อิฐแก้ว และกระจก โดยเฉพาะการผลิตอิฐเบาหรืออิฐมวลเบาในปัจจุบันนับได้ว่าเป็นนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างแบบใหม่สำหรับวงการก่อสร้างของไทย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง และเป็นทางเลือกใหม่แก่วงการก่อสร้าง เนื่องจากอิฐมวลเบามีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากอิฐชนิดอื่นๆ คือ สามารถนำไปใช้สร้างบ้านได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ประหยัดแรงงาน และลดต้นทุนในการดำเนินการก่อสร้าง รวมทั้งสามารถช่วยประหยัดพลังงาน ป้องกันความร้อนได้ดี มีความคงทน และมีอายุการใช้งานนานกว่า 50 ปี และทั้งนี้ยังนิยมใช้ในงานก่อสร้างตึกสูงประเภทอื่นๆ เช่น อาคารสำนักงาน โรงแรม และโรงพยาบาลเป็นต้น
นอกจากนี้อิฐมวลเบายังมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่น่าสนใจ คือ การมีฟองอากาศมากประมาณ 75% ทำให้เบา(ลอยน้ำได้) ฟองอากาศเป็น closed cell ไม่ดูดซึมน้ำ (ดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐมอญ 4 เท่า) ความเบาก็จะทำให้ประหยัดโครงสร้าง เป็นฉนวนความร้อน ค่าการต้านทานความร้อนดีกว่าคอนกรีตบล็อก 4 เท่า ดีกว่าอิฐมอญ 6-8 เท่า ไม่สะสมความร้อน ไม่ติดไฟ ทนไฟ 1,100 องศาได้นาน 4 ชม. กันเสียงได้ดี เมื่อฉาบจะแตกร้าวน้อยกว่าก่ออิฐฉาบปูน เนื่องจากตัวบล็อกกับปูนฉาบมีส่วนผสมที่ใกล้เคียงกัน และก่อเป็นผนังรับแรงได้น้ำหนักประมาณ 80 กก./ตรม. ซึ่งอิฐมวลเบา 1 ก้อนเท่ากับอิฐมอญ 18 ก้อน
การผลิตอิฐมวลเบาของไทย มีวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตดังนี้คือ ทราย (สัดส่วน 50%) ยิปซั่ม (สัดส่วน 9%) ปูนขาว (สัดส่วน 9%) ซีเมนต์ (สัดส่วน 30%) และผงอลูมิเนียม (สัดส่วน 2%) ส่วนการลงทุนในเครื่องจักรสำหรับการผลิตอิฐมวลเบามีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงคือมีค่าใช้จ่ายประมาณ 100-500 ล้านบาท โดยเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ ระบบสายพานลำเลียง เครื่องโม่/บด/หั่น/ตัด เครื่องกวน/ผสม เครื่องตัด/เลื่อย เครื่องอบแห้ง เครื่องกำเนิดไอน้ำ เครื่องบรรจุกล่อง/ลัง เครื่องทำโครงตาข่าย เครื่องบดทรายเครื่องกวน/ผสม แม่พิมพ์ เครื่องตัด/เลื่อย และเครื่องอบไอน้ำ ขนาดทั่วไปของอิฐมวลเบาที่ผลิตจะมีขนาดความหนา 7.5, 8, 9, 20-30 ซม. สูง 20,30 ซม. และยาว 60 ซม. สามารถเลื่อยตัดได้เหมือนไม้ ทนแรงกดได้ 30-80 กก. สำหรับขั้นตอนการผลิตอิฐมวลเบามีขั้นตอนการผลิตดังนี้ 1)นำวัตถุดิบหลักคือทรายมาบดด้วยเครื่องบด CRUSHING TRINNING MACHINES (M102) บดผสมกับน้ำ 2) นำวัตถุดิบที่ใช้ในกรรมวิธีทำอิฐมวลรวมเบา (ปูนขาว, ผงอลูมิเนียม, ทราย, ซีเมนต์, ยิบซั่ม) ผสมเข้ากันตามอัตราส่วน โดยส่วนผสมหลักคือทราย และซีเมนต์ ตามลำดับ ด้วยเครื่องผสม MIXING MACHINES (M101) การผสม (Mixing) โดยนำทรายและยิบซั่มมาผสมกันก่อนในขณะเดียวกันปูนขาวผสมกับซีเมนต์จากนั้นจึงนำทั้งหมดมาผสมกัน และจึงผสมกับอลูมิเนียม 3) เทเข้าแม่พิมพ์ 4) นำเข้าห้องบ่มเพื่อให้เกิดปฏิกริยา เป็นฟองอากาศและฟูขึ้นมา 5) นำเข้าเครื่องตัด CUTTING MACHINES (M203) และเครื่องทำโครงตาข่าย 6) นำผ่านเข้าเครื่องอบ Over Dryer (M 114) โดยสายพานลำเลียง CONVEYOR SYSTEM (M122) 7) ตรวจสอบ QC และ 8) บรรจุ Packing โดยทุกขั้นตอนการผลิตมีการใช้คอมพิวเตอร์ทั้งกระบวนการผลิต
ตลาดอิฐมวลเบาของไทยส่วนใหญ่เป็นการจำหน่ายภายในประเทศเกือบทั้งหมด โดยผ่านช่องทางการจำหน่ายขายตรงให้กับลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปใช้ในงานโครงการของตนเอง และผ่านตัวแทนจำหน่าย ได้แก่ ร้านวัสดุก่อสร้าง และโมเดิร์นเทรด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีกอุปกรณ์ก่อสร้าง โดยผู้ผลิตอิฐมวลเบาที่คนไทยรู้จักกันดีคือ คิวคอน (Q-CON) และ Superblock ซึ่ง Q-CON นั้นถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตอิฐมวลเบารายแรกของไทย และเป็นผู้พยายามที่จะสร้างนวัตกรรมอิฐมวลเบาให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั่วทั้งประเทศให้ได้ ส่วนด้านตลาดส่งออกอิฐมวลเบาของไทยมีการส่งออกค่อนข้างน้อยประมาณไม่เกิน 10% ของกำลังการผลิตทั้งหมด โดยส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และเขมร เป็นต้น ซึ่งในอนาคตอาจจะมีการขยายการส่งออกมากขึ้น
แนวโน้มในภาพรวมของตลาดอิฐมวลเบาในปี 2548 จะมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้น เนื่องจากกำลังการผลิตอิฐมวลเบาของไทยไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดที่มีมากกว่า 10 ล้านตารางเมตรประกอบกับยังมีความต้องการจากโครงการอาคารสูง และงานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ผลิตที่อยู่ในอุตสาหกรรมอิฐมวลเบาที่จะขยายการผลิต และขยายฐานลูกค้าออกไปได้กว้างขวางขึ้น ให้รองรับกับความต้องการที่มีมากขึ้น ตลอดจนมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่างเพื่อสร้างจุดขายให้มากขึ้น เช่น สามารถเก็บเสียงได้ หรือประหยัดพลังงานได้มากขึ้น ดูดกลืนหรือสะท้อนความร้อนได้ดี เป็นต้น
ส่วนทางภาครัฐ โดยธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมแห่งประเทศไทย (SMEs Bank) ได้อนุมัติร่วมลงทุนธุรกิจและจำหน่ายอิฐมวลเบา กับภาคเอกชน คือ บริษัท เอฟเอ็มโอ จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายอิฐมวลเบา ซึ่งเป็นนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ที่คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ และร่วมสนองตอบนโยบายของรัฐบาลในการประหยัดพลังงาน โดยธนาคารร่วมลงทุน 40% เพื่อสร้างอาคารโรงงานและสิ่งปลูกสร้าง บนที่ดิน 6 ไร่ บริเวณ อ.เสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสร้างโรงงานขนาด 1,500 ตารางเมตรในการผลิตอิฐมวลเบา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารและติดตั้งเครื่องจักร คาดว่าจะเริ่มการผลิตประมาณไตรมาส 3 ของปี 2547 และขณะนี้อยู่ระหว่างการขอมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) หลังจากนั้น ธนาคารจะเข้าไปสนับสนุนเงินลงทุนดังกล่าว เพราะมองเห็นโอกาสในการช่วยส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เติบโตต่อไปได้ ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท คือ บล็อกก่อผนังมวลเบา คานทับหลังมวลเบาสำเร็จรูปภายใต้แบรนด์ "Kool Block" ทั้งนี้ ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมถึงสูตรในการผลิตอิฐมวลเบาจากสหรัฐที่แตกต่างจากคู่แข่ง ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากคู่แข่ง
อย่างไรก็ตามการผลิตอิฐมวลเบา ถึงแม้ว่าแนวโน้มจะมีการขยายการเติบโตของตลาดมากขึ้น แต่ยังคงจำกัดอยู่ในวงผู้ผลิตที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้นซึ่งมีเงินลงทุนสูง ดังนั้นผู้ผลิตเอสเอ็มอีที่สนใจเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตอิฐมวลเบา สามารถขอรับการสนับสนุนทางด้านเงินทุนจากเอสเอ็มอีแบงก์ได้ เพื่อที่ไทยจะได้มีวัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพช่วยประหยัดพลังงานได้ตามนโยบายของรัฐบาล
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
นอกจากนี้อิฐมวลเบายังมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่น่าสนใจ คือ การมีฟองอากาศมากประมาณ 75% ทำให้เบา(ลอยน้ำได้) ฟองอากาศเป็น closed cell ไม่ดูดซึมน้ำ (ดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐมอญ 4 เท่า) ความเบาก็จะทำให้ประหยัดโครงสร้าง เป็นฉนวนความร้อน ค่าการต้านทานความร้อนดีกว่าคอนกรีตบล็อก 4 เท่า ดีกว่าอิฐมอญ 6-8 เท่า ไม่สะสมความร้อน ไม่ติดไฟ ทนไฟ 1,100 องศาได้นาน 4 ชม. กันเสียงได้ดี เมื่อฉาบจะแตกร้าวน้อยกว่าก่ออิฐฉาบปูน เนื่องจากตัวบล็อกกับปูนฉาบมีส่วนผสมที่ใกล้เคียงกัน และก่อเป็นผนังรับแรงได้น้ำหนักประมาณ 80 กก./ตรม. ซึ่งอิฐมวลเบา 1 ก้อนเท่ากับอิฐมอญ 18 ก้อน
การผลิตอิฐมวลเบาของไทย มีวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตดังนี้คือ ทราย (สัดส่วน 50%) ยิปซั่ม (สัดส่วน 9%) ปูนขาว (สัดส่วน 9%) ซีเมนต์ (สัดส่วน 30%) และผงอลูมิเนียม (สัดส่วน 2%) ส่วนการลงทุนในเครื่องจักรสำหรับการผลิตอิฐมวลเบามีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงคือมีค่าใช้จ่ายประมาณ 100-500 ล้านบาท โดยเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ ระบบสายพานลำเลียง เครื่องโม่/บด/หั่น/ตัด เครื่องกวน/ผสม เครื่องตัด/เลื่อย เครื่องอบแห้ง เครื่องกำเนิดไอน้ำ เครื่องบรรจุกล่อง/ลัง เครื่องทำโครงตาข่าย เครื่องบดทรายเครื่องกวน/ผสม แม่พิมพ์ เครื่องตัด/เลื่อย และเครื่องอบไอน้ำ ขนาดทั่วไปของอิฐมวลเบาที่ผลิตจะมีขนาดความหนา 7.5, 8, 9, 20-30 ซม. สูง 20,30 ซม. และยาว 60 ซม. สามารถเลื่อยตัดได้เหมือนไม้ ทนแรงกดได้ 30-80 กก. สำหรับขั้นตอนการผลิตอิฐมวลเบามีขั้นตอนการผลิตดังนี้ 1)นำวัตถุดิบหลักคือทรายมาบดด้วยเครื่องบด CRUSHING TRINNING MACHINES (M102) บดผสมกับน้ำ 2) นำวัตถุดิบที่ใช้ในกรรมวิธีทำอิฐมวลรวมเบา (ปูนขาว, ผงอลูมิเนียม, ทราย, ซีเมนต์, ยิบซั่ม) ผสมเข้ากันตามอัตราส่วน โดยส่วนผสมหลักคือทราย และซีเมนต์ ตามลำดับ ด้วยเครื่องผสม MIXING MACHINES (M101) การผสม (Mixing) โดยนำทรายและยิบซั่มมาผสมกันก่อนในขณะเดียวกันปูนขาวผสมกับซีเมนต์จากนั้นจึงนำทั้งหมดมาผสมกัน และจึงผสมกับอลูมิเนียม 3) เทเข้าแม่พิมพ์ 4) นำเข้าห้องบ่มเพื่อให้เกิดปฏิกริยา เป็นฟองอากาศและฟูขึ้นมา 5) นำเข้าเครื่องตัด CUTTING MACHINES (M203) และเครื่องทำโครงตาข่าย 6) นำผ่านเข้าเครื่องอบ Over Dryer (M 114) โดยสายพานลำเลียง CONVEYOR SYSTEM (M122) 7) ตรวจสอบ QC และ 8) บรรจุ Packing โดยทุกขั้นตอนการผลิตมีการใช้คอมพิวเตอร์ทั้งกระบวนการผลิต
ตลาดอิฐมวลเบาของไทยส่วนใหญ่เป็นการจำหน่ายภายในประเทศเกือบทั้งหมด โดยผ่านช่องทางการจำหน่ายขายตรงให้กับลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปใช้ในงานโครงการของตนเอง และผ่านตัวแทนจำหน่าย ได้แก่ ร้านวัสดุก่อสร้าง และโมเดิร์นเทรด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีกอุปกรณ์ก่อสร้าง โดยผู้ผลิตอิฐมวลเบาที่คนไทยรู้จักกันดีคือ คิวคอน (Q-CON) และ Superblock ซึ่ง Q-CON นั้นถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตอิฐมวลเบารายแรกของไทย และเป็นผู้พยายามที่จะสร้างนวัตกรรมอิฐมวลเบาให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั่วทั้งประเทศให้ได้ ส่วนด้านตลาดส่งออกอิฐมวลเบาของไทยมีการส่งออกค่อนข้างน้อยประมาณไม่เกิน 10% ของกำลังการผลิตทั้งหมด โดยส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และเขมร เป็นต้น ซึ่งในอนาคตอาจจะมีการขยายการส่งออกมากขึ้น
แนวโน้มในภาพรวมของตลาดอิฐมวลเบาในปี 2548 จะมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้น เนื่องจากกำลังการผลิตอิฐมวลเบาของไทยไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดที่มีมากกว่า 10 ล้านตารางเมตรประกอบกับยังมีความต้องการจากโครงการอาคารสูง และงานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ผลิตที่อยู่ในอุตสาหกรรมอิฐมวลเบาที่จะขยายการผลิต และขยายฐานลูกค้าออกไปได้กว้างขวางขึ้น ให้รองรับกับความต้องการที่มีมากขึ้น ตลอดจนมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่างเพื่อสร้างจุดขายให้มากขึ้น เช่น สามารถเก็บเสียงได้ หรือประหยัดพลังงานได้มากขึ้น ดูดกลืนหรือสะท้อนความร้อนได้ดี เป็นต้น
ส่วนทางภาครัฐ โดยธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมแห่งประเทศไทย (SMEs Bank) ได้อนุมัติร่วมลงทุนธุรกิจและจำหน่ายอิฐมวลเบา กับภาคเอกชน คือ บริษัท เอฟเอ็มโอ จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายอิฐมวลเบา ซึ่งเป็นนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ที่คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ และร่วมสนองตอบนโยบายของรัฐบาลในการประหยัดพลังงาน โดยธนาคารร่วมลงทุน 40% เพื่อสร้างอาคารโรงงานและสิ่งปลูกสร้าง บนที่ดิน 6 ไร่ บริเวณ อ.เสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสร้างโรงงานขนาด 1,500 ตารางเมตรในการผลิตอิฐมวลเบา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารและติดตั้งเครื่องจักร คาดว่าจะเริ่มการผลิตประมาณไตรมาส 3 ของปี 2547 และขณะนี้อยู่ระหว่างการขอมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) หลังจากนั้น ธนาคารจะเข้าไปสนับสนุนเงินลงทุนดังกล่าว เพราะมองเห็นโอกาสในการช่วยส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เติบโตต่อไปได้ ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท คือ บล็อกก่อผนังมวลเบา คานทับหลังมวลเบาสำเร็จรูปภายใต้แบรนด์ "Kool Block" ทั้งนี้ ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมถึงสูตรในการผลิตอิฐมวลเบาจากสหรัฐที่แตกต่างจากคู่แข่ง ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากคู่แข่ง
อย่างไรก็ตามการผลิตอิฐมวลเบา ถึงแม้ว่าแนวโน้มจะมีการขยายการเติบโตของตลาดมากขึ้น แต่ยังคงจำกัดอยู่ในวงผู้ผลิตที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้นซึ่งมีเงินลงทุนสูง ดังนั้นผู้ผลิตเอสเอ็มอีที่สนใจเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตอิฐมวลเบา สามารถขอรับการสนับสนุนทางด้านเงินทุนจากเอสเอ็มอีแบงก์ได้ เพื่อที่ไทยจะได้มีวัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพช่วยประหยัดพลังงานได้ตามนโยบายของรัฐบาล
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-