ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ชี้แจงมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลของ ธพ.และนอนแบงก์จะไม่กำหนดอัตรา
เงินเดือนขั้นต่ำของลูกค้า นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลัก
เกณฑ์ที่ ธปท.จะประกาศควบคุมการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลของ ธพ.และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ ธพ. (นอนแบงก์)
นั้น จะไม่กำหนดอัตราเงินเดือนขั้นต่ำของลูกค้าที่จะมาขอกู้ เพราะ ธปท.จะกำหนดเป็นแพ็กเกจดูแลในทุกด้าน ซึ่ง
เกณฑ์ดังกล่าวคาดว่าจะนำมาบังคับใช้ได้ในเร็วๆ นี้ เพียงแต่มั่นใจว่าจะทันภายในสิ้นเดือน เม.ย.นี้หรือไม่ เนื่อง
จากเป็นช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ โดย ธปท.ได้มีการศึกษาผลกระทบต่างๆ แล้ว สำหรับกรณีที่ ก.คลังจัดทำผล
การวิจัยหรือศึกษาผลกระทบในกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องปรกติ เพราะ ก.คลังมีหน้าที่ต้องศึกษาข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งหาก
เห็นเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่ ธปท.ส่งไปให้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว คาดว่า ก.คลังจะเข้าใจ (โลกวันนี้, กรุงเทพ
ธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ก.คลังเลื่อนการเปิดเสรีการเงินในข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคีออกไปอีก 3 ปี แหล่งข่าว
จาก ก.คลัง เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เห็นชอบที่จะให้มีการเลื่อนการเปิดเสรีการเงิน ในข้อตกลง
เขตการค้าเสรีทวิภาคี หรือเอฟทีเอ ออกไปอีก 3 ปี หรือเป็นปี 2550 เนื่องจากภาคเอกชนไทย ได้แก่ สถาบัน
การเงิน ธนาคาร บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต บริษัทเงินทุน และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เป็นต้น ยังไม่มี
ความพร้อมในเรื่องนี้ การเปิดให้สถาบันการเงินจาก สรอ.เข้ามาย่อมกระทบต่อสถานะของบริษัทไทยแน่นอน ทั้งนี้
การเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาล สรอ.มีการดำเนินการมาถึง 3 ครั้งแล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจาก
เงื่อนไขที่ สรอ.ยื่นมานั้นค่อนข้างปฏิบัติจริงได้ยาก เช่น การบังคับให้เปิดเสรีธุรกิจธนาคารและประกันภัย การเปิด
ให้มีการโอนเงินระหว่างประเทศได้เสรี เป็นต้น นอกจากนี้ การเลื่อนการเปิดเสรีออกไป ยังสอดคล้องกับแผนแม่
บททางการเงินฉบับใหม่ของ ธปท. ที่จะทบทวนการเพิ่มจำนวน ธพ.ใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้นักลงทุน สรอ.มีโอกาส
เข้ามาลงทุนด้านบริการทางการเงินในประเทศไทยมากขึ้น (โพสต์ทูเดย์)
3. ก.พลังงานยืนยันไม่ปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลภายในเดือนหน้านี้ รมว.พลังงาน เปิดเผยถึงความ
ชัดเจนในเรื่องการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลว่า ขณะนี้ ก.พลังงานได้ติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด โดย
ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและดีเซลในตลาดโลกได้ปรับตัวลง โดยราคาน้ำมันดิบในตลาดดูไบได้อ่อน
ตัวลงมาอยู่ที่ 48 ดอลลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล จาก 50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ทำให้กองทุนน้ำมันชดเชยราคา
ดีเซลน้อยลง ดังนั้น จึงยังไม่ได้มีการพิจารณาที่จะปรับขึ้นราคาดีเซลภายในเดือนหน้านี้ โดยมั่นใจว่าจะตรึงราคา
ดีเซลต่อไปได้อีก 6 เดือนข้างหน้า เนื่องจากคาดว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะอ่อนตัวลง (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
4. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยปี 48 บริษัทศูนย์วิจัย
กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับลดเป้าหมายคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจปี 48 ลงจากเดิมที่คาด
ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 5.2% เหลือเป็นการเติบโตต่ำกว่า 5% สืบเนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นมาก
และผลกระทบจากธรณีพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ พร้อมกันนี้มองว่าจะมีผลกระทบต่อการเติบโตของสินเชื่อของ ธพ. ที่จะ
ต้องชะลอตัวลงตามการเติบโตของเศรษฐกิจด้วย สำหรับปัญหาของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ คือการส่งออกที่ชะลอตัวลง
มากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่การท่องเที่ยวของไทยประสบปัญหาการชะลอตัวลงจากการก่อการร้ายและคลื่นยักษ์สึ
นามิ ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวของไทยปรับลดลงตามไปด้วย ซึ่งจากปัญหาต่างๆ คาดว่าในครึ่งปีแรกไทยอาจมี
ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลการค้า ดังนั้น การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะต้องมาจากการ
ลงทุนของภาครัฐบาล และการนำเข้าเพื่อขยายกำลังการผลิตของภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการลงทุน (ผู้จัดการรายวัน,
โพสต์ทูเดย์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เงินช่วยเหลือทางการของโลกในปี 47 เพิ่มขึ้นแต่ยังต่ำกว่าเป้าหมายขององค์การสหประชา
ชาติ รายงานจากปารีส เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 48 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
(OECD) เปิดเผยว่า เมื่อปีที่แล้วประเทศร่ำรวยใช้จ่ายเงินเพื่อการช่วยเหลือประเทศยากจนมากขึ้น โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการช่วยเหลือประเทศอิรัก และปากีสถานเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตามรายได้จากเงินช่วยเหลือดังกล่าว
ยังคงน้อยนิดเป็นจำนวนเพียงร้อยละ 0.25 ของรายได้ของประเทศเท่านั้น ซึ่งห่างจากเป้าหมายขององค์การสห
ประชาชาติที่กำหนดไว้ร้อยละ 0.7 ทั้งนี้เงินช่วยเหลือทางการเมื่อปี 47 อยู่ที่ระดับ 78.6 พัน ล. ดอลลาร์
สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 จากปี 46 อย่างไรก็ตาม OECD กล่าวว่าเมื่อหักผลกระทบเงินเฟ้อและการอ่อนค่าของ
เงินดอลลาร์ สรอ. ออกแล้ว ส่งผลให้เงินช่วยเหลือทางการเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.6 นาย Brian Hammond หัว
หน้าสำนักงานสถิติและการตรวจติดตามใน OECD เห็นว่ายังคงมีการส่งเงินเพื่อการช่วยเหลือดังกล่าวแต่ยังไม่รวด
เร็วพอ ทั้งนี้เงินช่วยเหลือที่สมาชิก OECD 22 ประเทศซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละของรายได้ประชาชาติรวม
(Gross National Income — GNI) ได้รับเพียงร้อยละ 0.25 เท่านั้น (รอยเตอร์)
2. จีนจัดเก็บรายได้จากภาษีในไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 เทียบปีต่อปี รายงานจากกรุง
ปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 เม.ย.48 China Securities Journal เปิดเผยข้อมูลจากหน่วยงานด้าน
การบริหารภาษีของรัฐ ว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 48 รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้สูงถึง 756 พันล้านหยวน
หรือ 91 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 จากปีก่อน โดยรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเพื่อการบริ
โภค และภาษีธุรกิจ มียอดรวมทั้งสิ้น 418.2 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 จากปีก่อน ส่วนภาษีเงินได้ส่วน
บุคคลและภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งรวมถึงภาษีจากธุรกิจที่มีเงินลงทุนจากชาวต่างประเทศ มียอดรวมทั้งสิ้น 190.7
พันล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 จากปีก่อน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคมากมายในการ
กระตุ้นให้มีการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในปีนี้ รวมถึงการนำเข้าที่ชะลอตัวลง ตลาดหลักทรัพย์ที่อยู่ในภาวะซบเซา และ
ส่วนต่างของกำไรที่ผู้ผลิตจะได้รับลดลงเนื่องจากต้นทุนของวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่การจ่ายชดเชยเงินภาษีให้กับ
ผู้ส่งออกในไตรมาสแรกรัฐบาลได้จ่ายคืนไป จำนวนทั้งสิ้น 67.2 พันล้านหยวน ทั้งนี้ รายได้จากการจัดเก็บภาษี
ของจีนในปี 47 เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 25.7 มูลค่ารวม 2.572 ล้านล้านหยวน ซึ่งเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจขยาย
ตัวถึงร้อยละ 9.5 อนึ่ง สนง.สถิติแห่งชาติจะแถลงข้อมูลเศรษฐกิจของไตรมาสแรกปีนี้ รวมถึงจีดีพีและอัตราเงิน
เฟ้อ ในวันที่ 22 เม.ย.48 (รอยเตอร์)
3. ในเดือน มี.ค.48 จีนนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 23 เมื่อเทียบต่อปี รายงานจากปักกิ่ง
เมื่อ 11 เม.ย.48 รัฐบาลจีนเปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค.48 จีนนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นระดับสูงเป็นอันดับ 2 ตั้งแต่
บันทึกข้อมูลมา ที่จำนวน 11.47 ล้านตัน หรือ 2.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เทียบต่อปี โดยใน
ไตรมาสแรกปี 48 จีนนำเข้าน้ำมันลดลงร้อยละ 1.7 มีจำนวน 29.64 ล้านตัน หรือ 2.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้ง
นี้ การที่จีนนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นในเดือน มี.ค.ส่งผลให้ฟื้นฟูความเชื่อมั่นในประเทศบ้าง แต่ก็ยังมีความกังวลว่า
การบริโภคของจีนอาจไม่แข็งแกร่งตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ เนื่องจากเศรษฐกิจจีนเริ่มลดความร้อนแรงลง โดยการ
เติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในไตรมาสแรกที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 8.9 ทั้งนี้ เมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา จีนส่ง
สัญญาณว่าความต้องการน้ำมันในประเทศจะลดลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ แม้ว่าการส่งออกน้ำมันดีเซลและแก๊สโซลีนจะ
เพิ่มขึ้น แต่การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงชะลอตัวลง โดยตลาดคาดการณ์ว่าความต้องการน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาส
ที่ 2 แต่อาจต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยปี 47 ที่อยู่ที่ร้อยละ 16 ขณะเดียวกัน The Energy Information
Administration เปิดเผยเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า คาดว่าความต้องการน้ำมันในประเทศในไตรมาส 2 จะอยู่ที่
จำนวน 100,000 บาร์เรลต่อวัน ส่วนทั้งปี 48 คาดว่าจะอยู่ที่จำนวน 7.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือร้อยละ 12 ซึ่ง
ไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ประเทศจีนยังคงปกป้องผู้บริโภคในประเทศจากผลกระทบราคาน้ำมัน
โลกที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเคยอยู่ในระดับสูงกว่า 58 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลเมื่อสัปดาห์ก่อน (รอยเตอร์)
4. ผลสำรวจคาดว่า ธ.กลางสิงคโปร์จะคงนโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อไปแม้ว่าเศรษฐกิจในไตร
มาสแรกปีนี้จะหดตัวถึงร้อยละ 5.8 ต่อปีก็ตาม รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 11 เม.ย.48 ผลสำรวจความเห็นของ
นักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่า The Monetary Authority of Singapore หรือ MAS ซึ่งเป็น ธ.
กลางของสิงคโปร์จะคงนโยบายการเงินแบบเข้มงวดที่ใช้มาเป็นปีแล้วต่อไป แม้ว่า GDP ในไตรมาสแรกปีนี้จะหดตัว
ถึงร้อยละ 5.8 ต่อปี หดตัวมากเป็น 7 เท่าของที่คาดไว้หลังจาก GDP ในไตรมาสสุดท้ายปี 47 ขยายตัวร้อยละ
7.9 ต่อปี MAS กำหนดนโยบายการเงินโดยการควบคุมให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์มีค่าเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงที่กำหนด
เมื่อเทียบกับเงินสกุลต่าง ๆ ในตระกร้าเงินซึ่งกำหนดตามปริมาณการค้าที่ใช้เงินสกุลนั้น ๆ เป็นสื่อกลางในการค้า
ขายตามสูตรการคำนวณซึ่งเก็บเป็นความลับ ซึ่งต่างจาก ธ.กลางประเทศอื่นที่ใช้อัตราดอกเบี้ยในการกำหนด
นโยบายการเงิน โดยในช่วงปีที่ผ่านมา MAS ใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดโดยควบคุมให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์
มีค่าสูงขึ้นเล็กน้อยไม่เกินร้อยละ 2.0 แต่จากการที่ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน
เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นสัญญาณว่า MAS เตรียมที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินซึ่งนัก
วิเคราะห์คาดว่าจะเป็นการควบคุมค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ให้คงที่หรือเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 1.0 โดย MAS มี
กำหนดจะประกาศนโยบายการเงินอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 เม.ย.48 เวลา 8.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 เม.ย. 48 11 เม.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.635 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.4754/39.7643 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.2200 - 2.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 694.34/12.46 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,000/8,100 8,000/8,100 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 48.04 47.39 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.89*/18.19** 22.49*/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 12 เม.ย. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ชี้แจงมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลของ ธพ.และนอนแบงก์จะไม่กำหนดอัตรา
เงินเดือนขั้นต่ำของลูกค้า นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลัก
เกณฑ์ที่ ธปท.จะประกาศควบคุมการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลของ ธพ.และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ ธพ. (นอนแบงก์)
นั้น จะไม่กำหนดอัตราเงินเดือนขั้นต่ำของลูกค้าที่จะมาขอกู้ เพราะ ธปท.จะกำหนดเป็นแพ็กเกจดูแลในทุกด้าน ซึ่ง
เกณฑ์ดังกล่าวคาดว่าจะนำมาบังคับใช้ได้ในเร็วๆ นี้ เพียงแต่มั่นใจว่าจะทันภายในสิ้นเดือน เม.ย.นี้หรือไม่ เนื่อง
จากเป็นช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ โดย ธปท.ได้มีการศึกษาผลกระทบต่างๆ แล้ว สำหรับกรณีที่ ก.คลังจัดทำผล
การวิจัยหรือศึกษาผลกระทบในกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องปรกติ เพราะ ก.คลังมีหน้าที่ต้องศึกษาข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งหาก
เห็นเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่ ธปท.ส่งไปให้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว คาดว่า ก.คลังจะเข้าใจ (โลกวันนี้, กรุงเทพ
ธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ก.คลังเลื่อนการเปิดเสรีการเงินในข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคีออกไปอีก 3 ปี แหล่งข่าว
จาก ก.คลัง เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เห็นชอบที่จะให้มีการเลื่อนการเปิดเสรีการเงิน ในข้อตกลง
เขตการค้าเสรีทวิภาคี หรือเอฟทีเอ ออกไปอีก 3 ปี หรือเป็นปี 2550 เนื่องจากภาคเอกชนไทย ได้แก่ สถาบัน
การเงิน ธนาคาร บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต บริษัทเงินทุน และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เป็นต้น ยังไม่มี
ความพร้อมในเรื่องนี้ การเปิดให้สถาบันการเงินจาก สรอ.เข้ามาย่อมกระทบต่อสถานะของบริษัทไทยแน่นอน ทั้งนี้
การเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาล สรอ.มีการดำเนินการมาถึง 3 ครั้งแล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจาก
เงื่อนไขที่ สรอ.ยื่นมานั้นค่อนข้างปฏิบัติจริงได้ยาก เช่น การบังคับให้เปิดเสรีธุรกิจธนาคารและประกันภัย การเปิด
ให้มีการโอนเงินระหว่างประเทศได้เสรี เป็นต้น นอกจากนี้ การเลื่อนการเปิดเสรีออกไป ยังสอดคล้องกับแผนแม่
บททางการเงินฉบับใหม่ของ ธปท. ที่จะทบทวนการเพิ่มจำนวน ธพ.ใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้นักลงทุน สรอ.มีโอกาส
เข้ามาลงทุนด้านบริการทางการเงินในประเทศไทยมากขึ้น (โพสต์ทูเดย์)
3. ก.พลังงานยืนยันไม่ปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลภายในเดือนหน้านี้ รมว.พลังงาน เปิดเผยถึงความ
ชัดเจนในเรื่องการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลว่า ขณะนี้ ก.พลังงานได้ติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด โดย
ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและดีเซลในตลาดโลกได้ปรับตัวลง โดยราคาน้ำมันดิบในตลาดดูไบได้อ่อน
ตัวลงมาอยู่ที่ 48 ดอลลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล จาก 50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ทำให้กองทุนน้ำมันชดเชยราคา
ดีเซลน้อยลง ดังนั้น จึงยังไม่ได้มีการพิจารณาที่จะปรับขึ้นราคาดีเซลภายในเดือนหน้านี้ โดยมั่นใจว่าจะตรึงราคา
ดีเซลต่อไปได้อีก 6 เดือนข้างหน้า เนื่องจากคาดว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะอ่อนตัวลง (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
4. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยปี 48 บริษัทศูนย์วิจัย
กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับลดเป้าหมายคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจปี 48 ลงจากเดิมที่คาด
ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 5.2% เหลือเป็นการเติบโตต่ำกว่า 5% สืบเนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นมาก
และผลกระทบจากธรณีพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ พร้อมกันนี้มองว่าจะมีผลกระทบต่อการเติบโตของสินเชื่อของ ธพ. ที่จะ
ต้องชะลอตัวลงตามการเติบโตของเศรษฐกิจด้วย สำหรับปัญหาของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ คือการส่งออกที่ชะลอตัวลง
มากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่การท่องเที่ยวของไทยประสบปัญหาการชะลอตัวลงจากการก่อการร้ายและคลื่นยักษ์สึ
นามิ ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวของไทยปรับลดลงตามไปด้วย ซึ่งจากปัญหาต่างๆ คาดว่าในครึ่งปีแรกไทยอาจมี
ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลการค้า ดังนั้น การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะต้องมาจากการ
ลงทุนของภาครัฐบาล และการนำเข้าเพื่อขยายกำลังการผลิตของภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการลงทุน (ผู้จัดการรายวัน,
โพสต์ทูเดย์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เงินช่วยเหลือทางการของโลกในปี 47 เพิ่มขึ้นแต่ยังต่ำกว่าเป้าหมายขององค์การสหประชา
ชาติ รายงานจากปารีส เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 48 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
(OECD) เปิดเผยว่า เมื่อปีที่แล้วประเทศร่ำรวยใช้จ่ายเงินเพื่อการช่วยเหลือประเทศยากจนมากขึ้น โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการช่วยเหลือประเทศอิรัก และปากีสถานเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตามรายได้จากเงินช่วยเหลือดังกล่าว
ยังคงน้อยนิดเป็นจำนวนเพียงร้อยละ 0.25 ของรายได้ของประเทศเท่านั้น ซึ่งห่างจากเป้าหมายขององค์การสห
ประชาชาติที่กำหนดไว้ร้อยละ 0.7 ทั้งนี้เงินช่วยเหลือทางการเมื่อปี 47 อยู่ที่ระดับ 78.6 พัน ล. ดอลลาร์
สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 จากปี 46 อย่างไรก็ตาม OECD กล่าวว่าเมื่อหักผลกระทบเงินเฟ้อและการอ่อนค่าของ
เงินดอลลาร์ สรอ. ออกแล้ว ส่งผลให้เงินช่วยเหลือทางการเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.6 นาย Brian Hammond หัว
หน้าสำนักงานสถิติและการตรวจติดตามใน OECD เห็นว่ายังคงมีการส่งเงินเพื่อการช่วยเหลือดังกล่าวแต่ยังไม่รวด
เร็วพอ ทั้งนี้เงินช่วยเหลือที่สมาชิก OECD 22 ประเทศซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละของรายได้ประชาชาติรวม
(Gross National Income — GNI) ได้รับเพียงร้อยละ 0.25 เท่านั้น (รอยเตอร์)
2. จีนจัดเก็บรายได้จากภาษีในไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 เทียบปีต่อปี รายงานจากกรุง
ปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 เม.ย.48 China Securities Journal เปิดเผยข้อมูลจากหน่วยงานด้าน
การบริหารภาษีของรัฐ ว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 48 รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้สูงถึง 756 พันล้านหยวน
หรือ 91 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 จากปีก่อน โดยรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเพื่อการบริ
โภค และภาษีธุรกิจ มียอดรวมทั้งสิ้น 418.2 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 จากปีก่อน ส่วนภาษีเงินได้ส่วน
บุคคลและภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งรวมถึงภาษีจากธุรกิจที่มีเงินลงทุนจากชาวต่างประเทศ มียอดรวมทั้งสิ้น 190.7
พันล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 จากปีก่อน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคมากมายในการ
กระตุ้นให้มีการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในปีนี้ รวมถึงการนำเข้าที่ชะลอตัวลง ตลาดหลักทรัพย์ที่อยู่ในภาวะซบเซา และ
ส่วนต่างของกำไรที่ผู้ผลิตจะได้รับลดลงเนื่องจากต้นทุนของวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่การจ่ายชดเชยเงินภาษีให้กับ
ผู้ส่งออกในไตรมาสแรกรัฐบาลได้จ่ายคืนไป จำนวนทั้งสิ้น 67.2 พันล้านหยวน ทั้งนี้ รายได้จากการจัดเก็บภาษี
ของจีนในปี 47 เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 25.7 มูลค่ารวม 2.572 ล้านล้านหยวน ซึ่งเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจขยาย
ตัวถึงร้อยละ 9.5 อนึ่ง สนง.สถิติแห่งชาติจะแถลงข้อมูลเศรษฐกิจของไตรมาสแรกปีนี้ รวมถึงจีดีพีและอัตราเงิน
เฟ้อ ในวันที่ 22 เม.ย.48 (รอยเตอร์)
3. ในเดือน มี.ค.48 จีนนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 23 เมื่อเทียบต่อปี รายงานจากปักกิ่ง
เมื่อ 11 เม.ย.48 รัฐบาลจีนเปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค.48 จีนนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นระดับสูงเป็นอันดับ 2 ตั้งแต่
บันทึกข้อมูลมา ที่จำนวน 11.47 ล้านตัน หรือ 2.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เทียบต่อปี โดยใน
ไตรมาสแรกปี 48 จีนนำเข้าน้ำมันลดลงร้อยละ 1.7 มีจำนวน 29.64 ล้านตัน หรือ 2.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้ง
นี้ การที่จีนนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นในเดือน มี.ค.ส่งผลให้ฟื้นฟูความเชื่อมั่นในประเทศบ้าง แต่ก็ยังมีความกังวลว่า
การบริโภคของจีนอาจไม่แข็งแกร่งตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ เนื่องจากเศรษฐกิจจีนเริ่มลดความร้อนแรงลง โดยการ
เติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในไตรมาสแรกที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 8.9 ทั้งนี้ เมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา จีนส่ง
สัญญาณว่าความต้องการน้ำมันในประเทศจะลดลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ แม้ว่าการส่งออกน้ำมันดีเซลและแก๊สโซลีนจะ
เพิ่มขึ้น แต่การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงชะลอตัวลง โดยตลาดคาดการณ์ว่าความต้องการน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาส
ที่ 2 แต่อาจต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยปี 47 ที่อยู่ที่ร้อยละ 16 ขณะเดียวกัน The Energy Information
Administration เปิดเผยเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า คาดว่าความต้องการน้ำมันในประเทศในไตรมาส 2 จะอยู่ที่
จำนวน 100,000 บาร์เรลต่อวัน ส่วนทั้งปี 48 คาดว่าจะอยู่ที่จำนวน 7.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือร้อยละ 12 ซึ่ง
ไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ประเทศจีนยังคงปกป้องผู้บริโภคในประเทศจากผลกระทบราคาน้ำมัน
โลกที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเคยอยู่ในระดับสูงกว่า 58 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลเมื่อสัปดาห์ก่อน (รอยเตอร์)
4. ผลสำรวจคาดว่า ธ.กลางสิงคโปร์จะคงนโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อไปแม้ว่าเศรษฐกิจในไตร
มาสแรกปีนี้จะหดตัวถึงร้อยละ 5.8 ต่อปีก็ตาม รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 11 เม.ย.48 ผลสำรวจความเห็นของ
นักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่า The Monetary Authority of Singapore หรือ MAS ซึ่งเป็น ธ.
กลางของสิงคโปร์จะคงนโยบายการเงินแบบเข้มงวดที่ใช้มาเป็นปีแล้วต่อไป แม้ว่า GDP ในไตรมาสแรกปีนี้จะหดตัว
ถึงร้อยละ 5.8 ต่อปี หดตัวมากเป็น 7 เท่าของที่คาดไว้หลังจาก GDP ในไตรมาสสุดท้ายปี 47 ขยายตัวร้อยละ
7.9 ต่อปี MAS กำหนดนโยบายการเงินโดยการควบคุมให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์มีค่าเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงที่กำหนด
เมื่อเทียบกับเงินสกุลต่าง ๆ ในตระกร้าเงินซึ่งกำหนดตามปริมาณการค้าที่ใช้เงินสกุลนั้น ๆ เป็นสื่อกลางในการค้า
ขายตามสูตรการคำนวณซึ่งเก็บเป็นความลับ ซึ่งต่างจาก ธ.กลางประเทศอื่นที่ใช้อัตราดอกเบี้ยในการกำหนด
นโยบายการเงิน โดยในช่วงปีที่ผ่านมา MAS ใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดโดยควบคุมให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์
มีค่าสูงขึ้นเล็กน้อยไม่เกินร้อยละ 2.0 แต่จากการที่ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน
เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นสัญญาณว่า MAS เตรียมที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินซึ่งนัก
วิเคราะห์คาดว่าจะเป็นการควบคุมค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ให้คงที่หรือเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 1.0 โดย MAS มี
กำหนดจะประกาศนโยบายการเงินอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 เม.ย.48 เวลา 8.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 เม.ย. 48 11 เม.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.635 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.4754/39.7643 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.2200 - 2.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 694.34/12.46 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,000/8,100 8,000/8,100 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 48.04 47.39 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.89*/18.19** 22.49*/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 12 เม.ย. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--