นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้ถามสด นายกฯ เรื่องบริษัทไทยแลนด์พามิเรสการ์ด จำกัดซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2546 โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นผู้ถือหุ้นทั้ง 100 % ปรากฏว่าผ่านมา 1 ปี อิลิคการ์ดที่นายกฯตั้งชื่อให้นั้น เกิดปัญหาขึ้น จึงอยากทราบว่าสิทธิ และวัตถุประสงค์เดิมที่ตั้งว่า เมื่อมีอิลิคการ์ดแล้ว สิทธิที่สมาชิกบุคคลธรรมดาพึงได้รับแล้วเมื่อเสียเงิน 1 ล้านบาท จะได้รับอนุมัติวีซ่า หมดอายุ ต่อได้ทันที ไม่ต้องเดินทางออกต่างประเทศ หรือการให้สิทธิในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ มีบริการคอมเซ็นเตอร์ ตลอด 24 ชั่วโมง มีเจ้าหน้าที่พูดได้ 7 ภาษาให้บริการ ในส่วนของการตรวจคนเข้าเมืองก็จะได้รับความสะดวกด้วย และสมาชิกสมารถขอรถตำรวจท่องเที่ยวนำขบวน การท่าอากาศยานจะให้ให้ห้อง วีไอพี มีที่จอดรถพิเศษ ปัญหาก็คือที่ผ่านมาความคิดดี ตรงที่ตั้งเป้าไว้ว่าจะนำเงินเข้าประเทศ 1 ล้านล้านบาท ก็คือจะหาสมาชิกให้ได้ 1 ล้านคน ภายใน 5 ปี ปีแรกจะให้ 1 แสนใบ ก็เท่ากับว่าจะมีเงินเข้าประเทศ 1 แสนล้านบาท
มาวันนี้ครบ 1ปี ต้องถามว่าเป้าที่ปรับจาก 1 แสนใบ มาเป็น 1 หมื่นใบ มาเหลือ3 พันใบ และมาเหลือ 1 พันใบ วันนี้ทราบว่าขายได้เพียง 660 ใบ ตนจึงขอตั้งคำถามว่าเมื่อเป้าแสนใบฝ่ายขาย ขายได้เพียง 660 ใบ ไม่ถึง 1 % ของยอดขาย ยังจะมีการดำเนินการต่อหรือไม่ แล้วใครเป็นผู้รับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
ต่อมานายสนทยา คุณปลื้ม รมว.การท่องเที่ยวและการกีฬา กล่าวตอบกระทู้ว่า ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ ตั้งเป้าหมายเป็นแผนระยะยาว 5 ปี โดยไทยจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว
นายจุติ กล่าวต่อว่าตามความจริงแล้วการเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพราะมาท่องเที่ยวไม่ใช่เพราะการมาซื้อบัตร และคนที่เป็นสมาชิกบัตร เดิมทีนายกฯบอกว่าจะขายให้กับชาวต่างประเทศที่อยู่ต่างประเทศ แต่วันนี้มาขายให้ชาวต่างชาติในประเทศไทย ตนจึงขอตั้งคำถามว่าปัญหาอุปสรรคของบริษัทนี้ ยอมรับหรือไม่ว่าทำได้ ไม่1%ของเป้าขาย ถามว่าใครคือผู้รับผิด และจะรับผิดชอบอย่างไร และที่สำคัญสินค้าแบนด์เนมนี้มีความมัวหมองแล้ว จะไปรีแบนใหม่ก็ยาก เพราะทั่วที่ทราบสิทธิประโยชน์ 11 ข้อ สมาชิกได้จริงๆกี่ข้อ เป็นการโฆษณาเกินจริง ตนไม่อยากเป็นโครงการหลอกชาวต่างชาติ และสิ่งที่สำคัญคือมีการทุจริตเกิดขึ้นในบริษัทนี้ กล่าวคือการทุจริตประมูลงาน เท่าที่ทราบมี ซีเอ็นเอ็น มาทวงค่าโฆษณา โดยไม่มีสัญญาว่าจ้าง 199 ล้านบาท ไม่มีการประมูล และประชาชนจะทราบได้อย่างไรว่าเงินที่กำลังจ่ายไป ไม่มีการทุจริตแบวัดครึ่งกรรมการครึ่ง และอยากทราบว่าจะหาคนรับผิดชอบอย่างไร ตนจึงขอตั้งคำถามว่า ให้ปิดบริษัทได้หรือไม่ ซึ่งตนขอตั้งคำถามในประเด็นทุจริตดังกล่าวเป็นข้อๆ คือ1.จะปราบทุจริตได้อย่างไร 2. ใครคือผู้จัดซื้อจัดจ้าง ที่ไม่มีสัญญาว่าจ้าง 3.จะมีการจ่ายตามที่มีการทวงหรือไม่
นายสนทยา คุณปลื้ม กล่าวตอบว่า ในการดำเนินการของบริษัทฯ ในการตรวจสอบ และสอบสวนการเรียกเก็บค่าโฆษณา เป็นการเรียกเก็บค่าโฆษณา ต้องทราบว่าการโฆษณาเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งได้ดำเนินการด้วยความรีบเร่งจึงมีการข้ามขั้นตอนในการดำเนินการ ส่วนการตรวจสอบต้องดูที่เนื้องานโฆษณา
ส.ส.พิษณุโลก กล่าวต่อว่ารัฐมนตรีไม่ได้ตอบคำถามของตนทั้ง 3 ข้อ ประเด็นคือ บริษัทอยู่ในสภาพที่ยอดขายเจ๊งไปแล้ว คำถามคือบริษัทจะดำเนินการต่อไปหรือไม่ และการทุจริตจะมีการปราบปรามอย่างไร คำถามคือเป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าคณะกรรมการของบริษัทนี้ที่บอกว่าได้กระทำการโดยเร่งรีบ ตนเห็นว่าเป็นเพียงคำอ้างในการประมูลวิธีพิเศษ โดยอ้างว่าต้องเร่งด่วน เพราะอาจเกิดความเสียหาย แต่โครงการนี้ไม่มีการประมูลจริง สามารถตอบได้หรือไม่ว่ามีหน่วยงานไหนบ้างที่สามารถทำได้อย่างนี้ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รัฐถือหุ้น 100% ไม่มีการดำเนินการให้ถูกต้อง นำเงินภาษีประชาชนมาใช้โดยความทุจริต และวันนี้คนที่เคยเกี่ยวข้องก็ได้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี เป็นปลัดกระทรวงไปแล้วหลายคน ซึ่งคนเหล่านี้ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ต.ค. 2547--จบ--
-ดท-
มาวันนี้ครบ 1ปี ต้องถามว่าเป้าที่ปรับจาก 1 แสนใบ มาเป็น 1 หมื่นใบ มาเหลือ3 พันใบ และมาเหลือ 1 พันใบ วันนี้ทราบว่าขายได้เพียง 660 ใบ ตนจึงขอตั้งคำถามว่าเมื่อเป้าแสนใบฝ่ายขาย ขายได้เพียง 660 ใบ ไม่ถึง 1 % ของยอดขาย ยังจะมีการดำเนินการต่อหรือไม่ แล้วใครเป็นผู้รับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
ต่อมานายสนทยา คุณปลื้ม รมว.การท่องเที่ยวและการกีฬา กล่าวตอบกระทู้ว่า ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ ตั้งเป้าหมายเป็นแผนระยะยาว 5 ปี โดยไทยจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว
นายจุติ กล่าวต่อว่าตามความจริงแล้วการเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพราะมาท่องเที่ยวไม่ใช่เพราะการมาซื้อบัตร และคนที่เป็นสมาชิกบัตร เดิมทีนายกฯบอกว่าจะขายให้กับชาวต่างประเทศที่อยู่ต่างประเทศ แต่วันนี้มาขายให้ชาวต่างชาติในประเทศไทย ตนจึงขอตั้งคำถามว่าปัญหาอุปสรรคของบริษัทนี้ ยอมรับหรือไม่ว่าทำได้ ไม่1%ของเป้าขาย ถามว่าใครคือผู้รับผิด และจะรับผิดชอบอย่างไร และที่สำคัญสินค้าแบนด์เนมนี้มีความมัวหมองแล้ว จะไปรีแบนใหม่ก็ยาก เพราะทั่วที่ทราบสิทธิประโยชน์ 11 ข้อ สมาชิกได้จริงๆกี่ข้อ เป็นการโฆษณาเกินจริง ตนไม่อยากเป็นโครงการหลอกชาวต่างชาติ และสิ่งที่สำคัญคือมีการทุจริตเกิดขึ้นในบริษัทนี้ กล่าวคือการทุจริตประมูลงาน เท่าที่ทราบมี ซีเอ็นเอ็น มาทวงค่าโฆษณา โดยไม่มีสัญญาว่าจ้าง 199 ล้านบาท ไม่มีการประมูล และประชาชนจะทราบได้อย่างไรว่าเงินที่กำลังจ่ายไป ไม่มีการทุจริตแบวัดครึ่งกรรมการครึ่ง และอยากทราบว่าจะหาคนรับผิดชอบอย่างไร ตนจึงขอตั้งคำถามว่า ให้ปิดบริษัทได้หรือไม่ ซึ่งตนขอตั้งคำถามในประเด็นทุจริตดังกล่าวเป็นข้อๆ คือ1.จะปราบทุจริตได้อย่างไร 2. ใครคือผู้จัดซื้อจัดจ้าง ที่ไม่มีสัญญาว่าจ้าง 3.จะมีการจ่ายตามที่มีการทวงหรือไม่
นายสนทยา คุณปลื้ม กล่าวตอบว่า ในการดำเนินการของบริษัทฯ ในการตรวจสอบ และสอบสวนการเรียกเก็บค่าโฆษณา เป็นการเรียกเก็บค่าโฆษณา ต้องทราบว่าการโฆษณาเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งได้ดำเนินการด้วยความรีบเร่งจึงมีการข้ามขั้นตอนในการดำเนินการ ส่วนการตรวจสอบต้องดูที่เนื้องานโฆษณา
ส.ส.พิษณุโลก กล่าวต่อว่ารัฐมนตรีไม่ได้ตอบคำถามของตนทั้ง 3 ข้อ ประเด็นคือ บริษัทอยู่ในสภาพที่ยอดขายเจ๊งไปแล้ว คำถามคือบริษัทจะดำเนินการต่อไปหรือไม่ และการทุจริตจะมีการปราบปรามอย่างไร คำถามคือเป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าคณะกรรมการของบริษัทนี้ที่บอกว่าได้กระทำการโดยเร่งรีบ ตนเห็นว่าเป็นเพียงคำอ้างในการประมูลวิธีพิเศษ โดยอ้างว่าต้องเร่งด่วน เพราะอาจเกิดความเสียหาย แต่โครงการนี้ไม่มีการประมูลจริง สามารถตอบได้หรือไม่ว่ามีหน่วยงานไหนบ้างที่สามารถทำได้อย่างนี้ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รัฐถือหุ้น 100% ไม่มีการดำเนินการให้ถูกต้อง นำเงินภาษีประชาชนมาใช้โดยความทุจริต และวันนี้คนที่เคยเกี่ยวข้องก็ได้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี เป็นปลัดกระทรวงไปแล้วหลายคน ซึ่งคนเหล่านี้ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ต.ค. 2547--จบ--
-ดท-