นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรีถึง ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนว่า นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อการดำเนินการและผลกระทบของนโยบายของรัฐบาลที่เกิดขึ้น
ผมตั้งกระทู้ถามเรื่องนี้ทั้งในฐานะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากจังหวัดภาคใต้ ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดน และในฐานะของศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะมนุษยศาสตร์ ซึ่งมีรุ่นน้องที่เป็นนักศึกษาต้องเสียชีวิตสังเวยความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล
กรณีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์นั้น เป็นตัวสะท้อนที่ดี ที่เกิดขึ้น ที่ชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้น ต้องยอมรับครับว่า ภายหลังจากที่ไฟใต้ได้ครุโชนขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2544 ภายหลังการวางระเบิดรถไฟ ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และการวางระเบิดที่โรงแรมศรียะลา จังหวัดยะลา จนถึงวันนี้นั้นแทบไม่มีใครจะนับสถิติคนตาย แทบไม่มีใครจะนับสถิติความรุนแรงที่เกิดขึ้นอีกแล้ว เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น มันเกิดขึ้นเป็นเหตุร้ายรายวัน
เรื่องนี้ต้องนับว่าเป็นสถานการณ์ที่มีความรุนแรงแป็นพิเศษ ผมติดตามเรื่องนี้ด้วยความสนใจและติดตามบรรดานักวิชาการทั้งหลาย ได้ติดตามการวิเคราะห์การทำงานของรัฐบาลชุดนี้ นักวิชาการท่านหนึ่งท่านเขียนไว้ชัดมากครับ ท่านบอกว่าสถานการณ์ความรุนแรงเป็นพิเศษที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เป็นสถานการณ์รัฐ ในฐานะที่เป็นรัฐของไทยไม่เคยเผชิญสถานการณ์เช่นนี้มาก่อน
ถ้าย้อนหลังกลับไปดูประวัติศาสตร์ในเรื่องของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ดี ปัญหาการก่อความสงบในภูมิภาคก็ดี ที่ผ่านมาในอดีตนับเป็นร้อยปีนั้น สถานการณ์เป็นสถานการณ์ชั่วคราวที่ถูกจัดการลงในระยะเวลาที่ไม่นานนัก แต่สถานการณ์นี้กินเวลายืดเยื้อยาวนานถึง 3 ปีครึ่ง และพัฒนาความรุนแรงให้เกิดขึ้นมาโดยลำดับ นักวิชาการท่านนั้นบอกว่า หากรัฐไทย ไม่มีประสบการณ์ในการจัดการปัญหาดังกล่าวแล้ว ถ้าใช้การจัดการที่ไม่เหมาะสม ใช้การจัดการที่ผิดพลาดและไม่ฉลาดแล้วผลกระทบจะเกิดขึ้นกับสังคมไทยอย่างลึกซึ้งและยาวนาน เขาบอกว่าหากจะจัดการปัญหาซึ่งรัฐไทยไม่มีประสบการณ์นั้นจำเป็นจะต้องมี 2 อย่างที่สำคัญครับ นั่นคือ
1.จะต้องมีนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนและยึดถือเป็นนโยบายที่ทุกฝ่ายต้องนำไปปฎิบัติ
2.จะต้องมีเอกภาพทางการปฎิบัติในหน่วยงานใต้บังคับบัญชาที่ชัดเจน
คำถามผม 2 คำถามแรก ต่อสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยืดเยื้อมา 3 ปีครึ่ง ผมจะไม่ถามว่าเกิดอะไรขึ้นครับ แต่ผมจะถามว่า ท่ามกลางสถานการณ์ความสับสนและความกลัวของพี่น้องใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้น อะไร ? คือ นโยบายเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาลชุดนี้ เมื่อวานนี้มีรองประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยไปพบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการท่านใหม่ นำเสนอแนวคิดเรื่องให้ใช้การเมืองนำการทหาร ผมคิดว่านี่เป็นคำถามและข้อเสนอแนะที่แหลมคม เพราะตั้งแต่เกิดเรื่อง เมื่อเดือนเมษายนปี 2544 ท่านนายกฯในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งผมตั้งคำถามๆในวันนี้ ท่านเป็นคนพูดเองบอกว่า เมษายน ปี 2544 ท่านบอกว่า หากจับได้จะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดและในการจับกุมอาจจะใช้ความรุนแรงบ้าง ซึ่งขอเตือนไว้ก่อนว่า เราจะไม่ไว้หน้าอินทร์หน้าพรหมนี่คือ เมษายน 2544 ครับ
หลังจากนั้นมีการแต่งตั้งคนรับผิดชอบหลายคน แต่นโยบายเปลี่ยนทุกครั้งที่เปลี่ยนตัวผู้รับผิดชอบ บางคนไม่ได้ใช้ความรุนแรงอย่างที่นายกฯพูดครับ ผมจำได้หลังจากเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมาเป็นท่านโภคิน พลกุล ท่านเป็นคนเสนอเรื่องเข้าครม.ยกเลิกกรณีเรื่องอุ้มทิ้ง ฆ่าทิ้ง แปลว่า ยอมรับว่า ก่อนหน้านั้นมีการใช้ความรุนแรงก็ปรับเปลี่ยนนโยบายมาเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง วันนี้ยิ่งยุ่งครับ 3 ปีครึ่งที่สับสนมาจนกระทั่งเมื่อวานนี้ข่าวจากโฆษกรัฐบาลออกมาแถลงบอกว่า ท่านนายกฯพูดในที่ประชุมครม.เมื่อ 2 — 3 วันก่อนว่า มีข้อมูลมากพอที่จะใช้มาตรการอย่างเฉียบขาดภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงคน เปลี่ยนแปลงมาตรการ ในเวลาเดียวกันกับที่ผู้รับผิดชอบปัญหาภาคใต้ ซึ่งรัฐบาลแต่งตั้งเข้าไปใหม่ คือ พล.อ.ศิริชัย ธัญสิริ ให้สัมภาษณ์ในวันเดียวกันว่า จะใช้วิธีการแบบสันติ คือ ให้ความสำคัญกับมวลชนในพื้นที่
คำถามผมคือ อะไร ? คือ นโยบายยุทธศาสตร์ การทหารนำการเมือง หรือ การเมืองนำการทหาร จะใช้นโยบายเชิงสันติ หรือ ใช้ความรุนแรงในการปราบปรามนี่เป็นคำถาม ที่ขอถามเป็นคำถามเบื้องต้นประการที่ 1 คำถามที่ 2 ก็คือว่า หากจะแก้ไขปัญหาต้องการความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา 3 ปีครึ่งที่รัฐบาลมะงุมมะงาหลา ในการแก้ไขปัญหานั้น ท่านนายกฯพูดตลอดเวลาว่า มีปัญหาเอกภาพในการบังคับบัญชา 3 ปีครึ่งภายหลังสังเวยชีวิตคนไปมากมายทั้งเจ้าหน้าที่ ทั้งทหาร-ตำรวจ ประชาชนผู้บริสุทธิ์
ท่านนายกฯให้สัมภาษณ์ครับ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม บอกว่า ยอมรับว่ายังมีปัญหาเรื่องเอกภาพในการบังคับบัญชา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ก็ให้สัมภาษณ์ในวันเดียวกันว่า ยังมีปัญหาเอกภาพในการบังคับบัญชาและเอกภาพทางความคิด อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร ก็เคยพูดเอาไว้ก่อนพ้นตำแหน่งว่า ต้องมีเอกภาพในการสั่งการ และด้านการข่าว ผมถามว่า 3 ปีครึ่งกับชีวิตคนอีก มากมายและผลกระทบทางเศรษฐกิจวันนี้ เอกภาพในการบังคับบัญชาที่เป็นรูปธรรมเกิดขึ้นแล้วหรือยัง ผมเป็นห่วงครับ ผมเห็นท่านที่มาตอบคำถามในวันนี้ ท่านพึ่งรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยกระทรวงมหาดไทย ผมถามท่านนายกฯ เพราะท่านต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ตังแต่ต้น และเป็นปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ผมไม่แน่ใจว่าคำตอบของท่านจะเป็นอย่างไรนะครับ แต่ต้องผูกพันรัฐบาลนะครับนี่เป็น 2 คำถามแรกครับ
ท่านประธานครับ ผมสาทิตย์ วงศ์หนองเตยครับ ผมฟังท่านรัฐมนตรีตอบคำถามต่อสภาแล้ว นี่เหละครับปัญหาครับ คำตอบของท่าน ในเชิงยุทธการ ในเชิงยุทธศาสตร์นั้น มีความสับสนแน่นอนครับ ในเวลาที่ท่านยืนยันแนวทางสันติ ว่ารัฐบาลตั้งกองกำลังเรื่องสันตินั้น ท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลให้สัญญาณใช้ความรุนแรงอยู่ตลอดเวลา
การให้สัมภาษณ์ของโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีชัดเจนครับ แน่นอนเราสนับสนุนความเด็ดขาดที่อยู่ภายใต้กฎหมาย แต่มันแตกต่างกับการให้สัญญาณเรื่องความรุนแรงครับ นั่นเป็นที่มาของการร้องเรียนเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่ยังเป็นประเด็นลงในหน้าหนังสือพิมพ์ จนกระทั่งถึงเมื่อเช้าวันนี้ สิ่งที่ท่านเรียนกับสภาเรื่องสันติ กับแนวทางความรุนแรงนั้น มันเป็นความขัดแย้งที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะความไม่ชัดเจนอย่างนี้เหละครับ นี่คือ ปัญหา 3 ปีครึ่ง
กรณีของมอ.นั้น เป็นกรณีที่ชัดเจนที่สุดครับ ความสับสนของแนวทางนโยบายและความไม่เป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา ซึ่งท่านก็ยอมรับต่อสภานี้เองครับว่า มีปัญหาเรื่องเอกภาพจริงๆและยังเป็นปัญหาจนถึงทุกวันนี้ แต่ผลกระทบที่มอ.นั้นมันเกิดอะไรขึ้นครับ กรณีที่มอ.ปัตตานี มันสะท้อนถึงเมื่อรัฐบาลสับสนไม่มีเอกภาพในการบังคับบัญชาและไม่มีนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน มันนำไปสู่ความไม่มั่นใจในนโยบายและมาตรการของรัฐ
กรณีที่มอ.นั้น ผมได้โทรศัพท์ไปสอบถามหลายท่านที่นั่นครับ รุ่นน้องที่จบจากที่นั่นแล้วก็ไปทำมาหากินอยู่ในปัตตานี เขาตอบอย่างนี้ครับว่า เหตุการณ์รอบๆมอ.ปัตตานีนั้น เกิดขึ้นเป็นลำดับครับ ตั้งแต่มีการทำร้ายนักศึกษามีการชิงทรัพย์ ล่าสุดที่มีการปกปิดข่าวก่อนเกิดเหตุการณ์จริงนักศึกษาเสียชิวิตก็คือ มีการใช้มีดทำร้ายครับ มีใบปลิวที่โปรยเกลื่อนไปทั่วมหาวิทยาลัยอยู่ตลอดเวลา ก่อนเกิดเหตุสังหารนักศึกษานั้น ได้มีใบปลิวครับ แล้วก็บอกว่า จะมีการสังหารฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัย ไม่มีใครคาดคิดครับ ว่าในที่สุดคนต้องรับผลสังเวยในเรื่องนี้กลับกลายเป็นนักศึกษา แต่ประเด็นมันคืออะไรครับ เมื่อเกิดกรณีใบปลิวทุกครั้งก็มีการแจ้งไปยังฝ่ายเจ้าหน้าที่ของบ้านเมือง ก็มีการดำเนินการเพียงชั่วครั้ง ชั่วคราว แล้วพอข่าวเงียบไปก็จบไปครับ
เอกภาพที่ไม่มีการประสานกันอย่างนี้ ไม่มีการความเป็นเอกภาพครับ ในที่สุดครับความหละหลวมในเรื่องของการดูแลรอบมหาวิทยาลัย ก็นำมาสู่การสังหารชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และการสังหารแล้วการตั้งข้อสังเกตคำถาม วิเคราะห์เรื่องที่เกิดการสังหารก็ไปอีกคนละทิศละทาง นี่ก็สะท้อนปัญหาอีกอย่างหนึ่งครับ แต่ผมไม่ถามประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อวานนี้ชมรมศิษย์เก่านักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็ยื่นหนังสือให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไปแล้ว มีสิ่งที่เขายื่นเรียกร้อง 3 ข้อชัดเจนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ผมจะถามคือ ในเมื่อทุกอย่างมันเป็นความสะท้อนความไร้เอกภาพก็ดี การไร้ยุทธศาสตร์ก็ดี แต่หน้าที่รัฐต้องดูแลคน วันนี้เขาไม่เชื่อใจจะทำอย่างไร หนังสือของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ ศธ 05212/81083 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2547 ที่ส่งไปยังนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ข้อความส่วนใหญ่ลงหนังสือพิมพ์ไปแล้ว แต่มีประเด็นน่าสนใจ 2 ประเด็นซึ่งผมจะถามท่านครับ
เขาทำเรื่องขอความมั่นใจเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยในชีวิตของนักเรียน-นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เขาขอความมั่นใจ ในหนังสือนี้เขาบอกเลยครับ ประเด็นที่น่าสนใจมากก็คือ เขาบอกว่า ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นเขาอ้างอิงเหตุการณ์ 4 มกราคม 47 ผมเข้าใจว่า เป็นเหตุการณ์เดียวกับที่จังหวัดนราธิวาส เขาใช้คำนี้ครับว่า ประชาคมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มองว่าเหตุการณ์คงจะสงบลงในเวลาไม่นานนัก โดยอาศัยข้อมูลในอดีตว่าเหตุการณ์ความรุนแรงคล้ายๆกันนี้เกิดขึ้นเป็นระยะๆและราชการก็ใช้ยุทธวิธีทำให้เหตุการณ์สงบในเวลาไม่นานนัก แต่เหตุการณ์นี้กลับไม่สงบและยืดเยื้อมาจนกระทั้งถึงปัจจุบันกระทบลุกลามมาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และก็ยกเหตุการณ์ฆ่านักศึกษาขึ้นมา
คำถามผมก็คือว่า หากเขาไม่มั่นใจอย่างนี้ท่านในฐานะผู้รับผิดชอบนโยบายของรัฐจะให้ความมั่นใจอย่างไรต่อประชาคมมหาวิทยาลัยที่นี่ได้อย่างไร คำตอบของท่านที่เป็นรูปธรรมจะสะท้อนถึงสถาบันการศึกษาอื่นและอาชีพอื่นๆมน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยครับ แต่ถ้าตอบแต่เพียงแต่ว่าต้องอดทนเหมือนที่ท่านนายกฯตอบ ไปไหนมาไหนต้องดูลัวนเองบ้าง เป็นคำตอบของความไม่รับผิดชอบ นั่นคือต้นตอของปัญหานะครับ
ที่สำคัญก็คือว่า ในท้ายหนังสือ เขาตอบอย่างนี้ครับว่า มาถึงขนาดนี้ปัญหาการก่อการร้ายได้เข้ามาถึงมหาวิทยาลัยแล้ว ปัญหาการก่อการร้ายได้เข้ามาถึงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แล้ว นี่เป็นการสะท้อนความรุนแรงถึงที่สุดของปัญหาครับ แล้วเป็นประเด็นที่ท่านตอบปฎิเสธมาตลอดว่า สามารถดูแลเขาได้เขาจึงบอกว่า เขาต้องขอให้รัฐบาลพิจารณากำหนดมาตรการ เพื่อให้ประชาคมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้มีความมั่นใจที่จะอยู่ปฎิบัติหน้าที่ต่อไปตามที่ได้มุ่งมั่นตั้งใจมาตั้งแต่เริ่มต้นเข้ารับราชการ ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้
ท่านจะให้ความมั่นใจที่เป็นรูปธรรมได้อย่างไร เพราะมันจะมีปัญหาอื่นๆที่ติดตามต่อเนื่องกันมา นักศึกษากว่า 300 คน ที่ลงชื่อกัน แล้วมหาวิทยาลัยขอให้สอบไล่ไปก่อน แล้วหลังจากนี้เปิดเทอม 2 เดือนพฤศิกายน ขอโอนย้ายไปอยู่ที่อื่นกว่า 300 คน แล้วคนที่กลับบ้านปิดเทอมไปหาพ่อแม่ และท่านก็ขอร้องว่า ไม่ให้กลับไปเรียนต่อ นี่ก็เป็นปัญหาอีกประการหนึ่งที่ติดตามมา เอาความมั่นใจ เอามาตรการเฉพาะหน้าก่อนครับ วันนี้คนในมหาวิทยาลัยไม่กล้ากระทั่งอาจารย์บางคน ไม่กล้าออกนอกมหาวิทยาลัยครับ จะซื้อของจะซื้อน้ำมันรถฝากคนในมหาวิทยาลัยออกไปซื้อข้างนอกและกลับมาใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย เหตุการณ์อย่างนี้มันไม่ควรจะเกิดขึ้นหลอกครับ แต่ให้ความมั่นใจเขาหน่อยครับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผมว่าท่านรัฐมนตรีท่านยิ่งตอบ ท่านยิ่งไม่สามารถที่จะให้ความมั่นใจกับฝ่ายของประชาชนและผู้ซึ่งรับผลกระทบอยู่ใน 3 จังหวัดภาคใต้ได้ กรณีของมอ.ที่ผมหยิบยกขึ้นมาถามนั้น เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้นครับ ไม่มีอะไรที่เป็นรูปธรรมเลยแม้ต่นิดเดียว มีแต่บอกว่า ท่านก็พยายามประสานทุกฝ่าย แต่ในความประสานของทุกฝ่ายของท่านนั้นก็ยอมรับว่า จำเป็นจะต้องมีการประสานงานกันมากกว่านี้กรณีไปค้นหอพักนักศึกาก็ดี อะไรก้ดีแล้วเกิดการออกแถลงการณ์ บรรยากาศที่เกิดขึ้นอย่างนี้ไงครับ ความไม่เป็นเอกภาพทั้งในทางความคิด ทั้งๆหลายมันเกิดบรรยากาศความหวาดระแวง นี่คือสิ่งที่น่ากลัวที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ขณะนี้นะครับ ผมรอที่จะให้ท่านตอบเหตุการณ์ที่เป็นรูปธรรม แล้วแนวคิดที่เป็นรูปธรรม ซึ่งยืนยันว่ามันไม่มี วันนี้หวาดระแวงไปหมดครับ
กระทั่งคนในมหาวิทยาลัยด้วยกันเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างฝ่ายต่างระแวงกันเอง ชาวบ้านระแวงรัฐ ชาวบ้านระแวงกันเอง เรายิ่งแก้ปัญหามันถึงยิ่งซับซ้อนมันถึงยิ่งรุนแรง ผมจะไม่ถามต่อครับ แต่ว่าผมจะสรุปประเด็นให้ท่านประธานฟังว่านี่คือปัญหา ตั้งแต่เริ่มต้นแนวคิดกันมาแล้วครับท่านรัฐมนตรีเป็นคนตอบว่า ยอมรับว่าปัญหาภาคใต้มีลักษณะพิเศษขัดแย้งโดยสิ้นเชิงเลยกับสิ่งที่ท่านนายกฯในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเคยพูดไว้ว่าตอนท่านยุบ ศ.อบต. ท่านบอกว่า ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นเป็นจังหวัดชายแดนที่ไม่มีลักษณะแตกต่างจากจังหวัดชายแดนอื่นๆ จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีหน่วยงานพิเศษ อันนี้ไงครับการทำงานรัฐบาลทุกอย่างมันสะท้อนวิธีการคิดไปทำไป แก้ปัญหาไป แล้วตอบกระทู้ให้พ้นการตอบกระทู้ในสภาเท่านั้น ผมจึงไม่ถามต่อครับ แต่จากนี้ไปรัฐต้องทบทวนอย่างยิ่งใหญ่แล้วครับ
สถานการณ์วันนี้มันยืดเยื้อมาก มันน่ากลัวมากครับ ความน่ากลัวมันลุกลามถึงขนาดว่า ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของที่อื่นนั้นก็เกิดผลกระทบไปหมด อาวุธสงครามปลิวว่อนไปหมดครับ นี่ไงครับข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 47 มีการไปข่มขู่ใช้อาวุธปืนเอ็ม 16 ยิงบ้านคนในกรุงเทพฯครับ ยิงไปกว่า 20 นัด วันนี้ตัวเจ้าของบ้านร้องท่านส.ส.ธานินทร์ ใจสมุทร กระทั่งตำรวจไปทำงานปลอกกระสุนเอ็ม 16 ยังเก็บไม่หมด วันนี้เขาร้องเรียนสภาแล้วเดี๋ยวผมมอบให้ท่านประธานครับ เพื่อเป็นวัตถุพยานให้กับฝ่ายของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองต่อไป
แต่ทั้งหมดนี้ครับ ท่านประธานครับมันสะท้อนแนวคิดที่สับสนมากของรัฐบาล บรรยากาศความกลัวความหวาดระแวง ความไม่มั่นใจในมาตรการของรัฐบาลมั่นยิ่งทวีมากยิ่งขึ้นทุกวัน ใกล้เลือกตั้งอย่าคิดแต่เรื่องหาเสียงครับ คน 3 จังหวัดวันนี้ครับตกค่ำปิดประตูแล้วไม่มีใครกล้าออกจากบ้านนะครับ รัฐบาลจะต้องแยกให้ออกนะครับ วันนี้ 3 จังหวัดท่านต้องลงไปแก้ปัญหาให้กับเขา ให้ความมั่นใจกับเขาแล้วต้องมีมาตรการที่เป็นรูปธรรม ต้องไม่มีความสับสนในเชิงเอกภาพและไม่มีความสับสนในเชิงของนโยบายแนวคิดด้วย ไม่ใช่ท่านนายกฯคิดไปทางหนึ่ง รัฐมนตรีตอบอีกแบบหนึ่ง แล้วสุดท้ายท่านนายกฯนั่นเหละครับ เป็นคนใช้นโยบายตามใจของท่าน แต่คนมาตอบในสภานี้คือรัฐมนตรีทุกที แล้วไม่เคยได้ความจริงแล้วถ้ารัฐบาลยืนยันว่า ถูกทางแล้วนะครับ ถ้าทางนี้โรยด้วยศพของผู้บริสุทธิ์ ตำรวจ — ทหาร — เจ้าหน้าที่ คนที่เป็นคนของทั้งฝ่ายบ้านเมืองและประชาชนนั้น ทางนี้รัฐบาลอย่าเลือกเดินเลยครับ มันไม่ถูกต้องครับ...
ทางด้านนายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีตอบกระทู้สดในครั้งนี้ โดยย้ำว่ารัฐบาลย้ำหลักเด็ดขาดกับบุคคลที่ทำผิดกฎหมายและรุนแรงกับประชาชน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ต.ค. 2547--จบ--
-ดท-
ผมตั้งกระทู้ถามเรื่องนี้ทั้งในฐานะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากจังหวัดภาคใต้ ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดน และในฐานะของศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะมนุษยศาสตร์ ซึ่งมีรุ่นน้องที่เป็นนักศึกษาต้องเสียชีวิตสังเวยความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล
กรณีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์นั้น เป็นตัวสะท้อนที่ดี ที่เกิดขึ้น ที่ชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้น ต้องยอมรับครับว่า ภายหลังจากที่ไฟใต้ได้ครุโชนขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2544 ภายหลังการวางระเบิดรถไฟ ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และการวางระเบิดที่โรงแรมศรียะลา จังหวัดยะลา จนถึงวันนี้นั้นแทบไม่มีใครจะนับสถิติคนตาย แทบไม่มีใครจะนับสถิติความรุนแรงที่เกิดขึ้นอีกแล้ว เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น มันเกิดขึ้นเป็นเหตุร้ายรายวัน
เรื่องนี้ต้องนับว่าเป็นสถานการณ์ที่มีความรุนแรงแป็นพิเศษ ผมติดตามเรื่องนี้ด้วยความสนใจและติดตามบรรดานักวิชาการทั้งหลาย ได้ติดตามการวิเคราะห์การทำงานของรัฐบาลชุดนี้ นักวิชาการท่านหนึ่งท่านเขียนไว้ชัดมากครับ ท่านบอกว่าสถานการณ์ความรุนแรงเป็นพิเศษที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เป็นสถานการณ์รัฐ ในฐานะที่เป็นรัฐของไทยไม่เคยเผชิญสถานการณ์เช่นนี้มาก่อน
ถ้าย้อนหลังกลับไปดูประวัติศาสตร์ในเรื่องของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ดี ปัญหาการก่อความสงบในภูมิภาคก็ดี ที่ผ่านมาในอดีตนับเป็นร้อยปีนั้น สถานการณ์เป็นสถานการณ์ชั่วคราวที่ถูกจัดการลงในระยะเวลาที่ไม่นานนัก แต่สถานการณ์นี้กินเวลายืดเยื้อยาวนานถึง 3 ปีครึ่ง และพัฒนาความรุนแรงให้เกิดขึ้นมาโดยลำดับ นักวิชาการท่านนั้นบอกว่า หากรัฐไทย ไม่มีประสบการณ์ในการจัดการปัญหาดังกล่าวแล้ว ถ้าใช้การจัดการที่ไม่เหมาะสม ใช้การจัดการที่ผิดพลาดและไม่ฉลาดแล้วผลกระทบจะเกิดขึ้นกับสังคมไทยอย่างลึกซึ้งและยาวนาน เขาบอกว่าหากจะจัดการปัญหาซึ่งรัฐไทยไม่มีประสบการณ์นั้นจำเป็นจะต้องมี 2 อย่างที่สำคัญครับ นั่นคือ
1.จะต้องมีนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนและยึดถือเป็นนโยบายที่ทุกฝ่ายต้องนำไปปฎิบัติ
2.จะต้องมีเอกภาพทางการปฎิบัติในหน่วยงานใต้บังคับบัญชาที่ชัดเจน
คำถามผม 2 คำถามแรก ต่อสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยืดเยื้อมา 3 ปีครึ่ง ผมจะไม่ถามว่าเกิดอะไรขึ้นครับ แต่ผมจะถามว่า ท่ามกลางสถานการณ์ความสับสนและความกลัวของพี่น้องใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้น อะไร ? คือ นโยบายเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาลชุดนี้ เมื่อวานนี้มีรองประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยไปพบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการท่านใหม่ นำเสนอแนวคิดเรื่องให้ใช้การเมืองนำการทหาร ผมคิดว่านี่เป็นคำถามและข้อเสนอแนะที่แหลมคม เพราะตั้งแต่เกิดเรื่อง เมื่อเดือนเมษายนปี 2544 ท่านนายกฯในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งผมตั้งคำถามๆในวันนี้ ท่านเป็นคนพูดเองบอกว่า เมษายน ปี 2544 ท่านบอกว่า หากจับได้จะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดและในการจับกุมอาจจะใช้ความรุนแรงบ้าง ซึ่งขอเตือนไว้ก่อนว่า เราจะไม่ไว้หน้าอินทร์หน้าพรหมนี่คือ เมษายน 2544 ครับ
หลังจากนั้นมีการแต่งตั้งคนรับผิดชอบหลายคน แต่นโยบายเปลี่ยนทุกครั้งที่เปลี่ยนตัวผู้รับผิดชอบ บางคนไม่ได้ใช้ความรุนแรงอย่างที่นายกฯพูดครับ ผมจำได้หลังจากเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมาเป็นท่านโภคิน พลกุล ท่านเป็นคนเสนอเรื่องเข้าครม.ยกเลิกกรณีเรื่องอุ้มทิ้ง ฆ่าทิ้ง แปลว่า ยอมรับว่า ก่อนหน้านั้นมีการใช้ความรุนแรงก็ปรับเปลี่ยนนโยบายมาเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง วันนี้ยิ่งยุ่งครับ 3 ปีครึ่งที่สับสนมาจนกระทั่งเมื่อวานนี้ข่าวจากโฆษกรัฐบาลออกมาแถลงบอกว่า ท่านนายกฯพูดในที่ประชุมครม.เมื่อ 2 — 3 วันก่อนว่า มีข้อมูลมากพอที่จะใช้มาตรการอย่างเฉียบขาดภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงคน เปลี่ยนแปลงมาตรการ ในเวลาเดียวกันกับที่ผู้รับผิดชอบปัญหาภาคใต้ ซึ่งรัฐบาลแต่งตั้งเข้าไปใหม่ คือ พล.อ.ศิริชัย ธัญสิริ ให้สัมภาษณ์ในวันเดียวกันว่า จะใช้วิธีการแบบสันติ คือ ให้ความสำคัญกับมวลชนในพื้นที่
คำถามผมคือ อะไร ? คือ นโยบายยุทธศาสตร์ การทหารนำการเมือง หรือ การเมืองนำการทหาร จะใช้นโยบายเชิงสันติ หรือ ใช้ความรุนแรงในการปราบปรามนี่เป็นคำถาม ที่ขอถามเป็นคำถามเบื้องต้นประการที่ 1 คำถามที่ 2 ก็คือว่า หากจะแก้ไขปัญหาต้องการความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา 3 ปีครึ่งที่รัฐบาลมะงุมมะงาหลา ในการแก้ไขปัญหานั้น ท่านนายกฯพูดตลอดเวลาว่า มีปัญหาเอกภาพในการบังคับบัญชา 3 ปีครึ่งภายหลังสังเวยชีวิตคนไปมากมายทั้งเจ้าหน้าที่ ทั้งทหาร-ตำรวจ ประชาชนผู้บริสุทธิ์
ท่านนายกฯให้สัมภาษณ์ครับ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม บอกว่า ยอมรับว่ายังมีปัญหาเรื่องเอกภาพในการบังคับบัญชา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ก็ให้สัมภาษณ์ในวันเดียวกันว่า ยังมีปัญหาเอกภาพในการบังคับบัญชาและเอกภาพทางความคิด อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร ก็เคยพูดเอาไว้ก่อนพ้นตำแหน่งว่า ต้องมีเอกภาพในการสั่งการ และด้านการข่าว ผมถามว่า 3 ปีครึ่งกับชีวิตคนอีก มากมายและผลกระทบทางเศรษฐกิจวันนี้ เอกภาพในการบังคับบัญชาที่เป็นรูปธรรมเกิดขึ้นแล้วหรือยัง ผมเป็นห่วงครับ ผมเห็นท่านที่มาตอบคำถามในวันนี้ ท่านพึ่งรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยกระทรวงมหาดไทย ผมถามท่านนายกฯ เพราะท่านต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ตังแต่ต้น และเป็นปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ผมไม่แน่ใจว่าคำตอบของท่านจะเป็นอย่างไรนะครับ แต่ต้องผูกพันรัฐบาลนะครับนี่เป็น 2 คำถามแรกครับ
ท่านประธานครับ ผมสาทิตย์ วงศ์หนองเตยครับ ผมฟังท่านรัฐมนตรีตอบคำถามต่อสภาแล้ว นี่เหละครับปัญหาครับ คำตอบของท่าน ในเชิงยุทธการ ในเชิงยุทธศาสตร์นั้น มีความสับสนแน่นอนครับ ในเวลาที่ท่านยืนยันแนวทางสันติ ว่ารัฐบาลตั้งกองกำลังเรื่องสันตินั้น ท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลให้สัญญาณใช้ความรุนแรงอยู่ตลอดเวลา
การให้สัมภาษณ์ของโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีชัดเจนครับ แน่นอนเราสนับสนุนความเด็ดขาดที่อยู่ภายใต้กฎหมาย แต่มันแตกต่างกับการให้สัญญาณเรื่องความรุนแรงครับ นั่นเป็นที่มาของการร้องเรียนเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่ยังเป็นประเด็นลงในหน้าหนังสือพิมพ์ จนกระทั่งถึงเมื่อเช้าวันนี้ สิ่งที่ท่านเรียนกับสภาเรื่องสันติ กับแนวทางความรุนแรงนั้น มันเป็นความขัดแย้งที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะความไม่ชัดเจนอย่างนี้เหละครับ นี่คือ ปัญหา 3 ปีครึ่ง
กรณีของมอ.นั้น เป็นกรณีที่ชัดเจนที่สุดครับ ความสับสนของแนวทางนโยบายและความไม่เป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา ซึ่งท่านก็ยอมรับต่อสภานี้เองครับว่า มีปัญหาเรื่องเอกภาพจริงๆและยังเป็นปัญหาจนถึงทุกวันนี้ แต่ผลกระทบที่มอ.นั้นมันเกิดอะไรขึ้นครับ กรณีที่มอ.ปัตตานี มันสะท้อนถึงเมื่อรัฐบาลสับสนไม่มีเอกภาพในการบังคับบัญชาและไม่มีนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน มันนำไปสู่ความไม่มั่นใจในนโยบายและมาตรการของรัฐ
กรณีที่มอ.นั้น ผมได้โทรศัพท์ไปสอบถามหลายท่านที่นั่นครับ รุ่นน้องที่จบจากที่นั่นแล้วก็ไปทำมาหากินอยู่ในปัตตานี เขาตอบอย่างนี้ครับว่า เหตุการณ์รอบๆมอ.ปัตตานีนั้น เกิดขึ้นเป็นลำดับครับ ตั้งแต่มีการทำร้ายนักศึกษามีการชิงทรัพย์ ล่าสุดที่มีการปกปิดข่าวก่อนเกิดเหตุการณ์จริงนักศึกษาเสียชิวิตก็คือ มีการใช้มีดทำร้ายครับ มีใบปลิวที่โปรยเกลื่อนไปทั่วมหาวิทยาลัยอยู่ตลอดเวลา ก่อนเกิดเหตุสังหารนักศึกษานั้น ได้มีใบปลิวครับ แล้วก็บอกว่า จะมีการสังหารฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัย ไม่มีใครคาดคิดครับ ว่าในที่สุดคนต้องรับผลสังเวยในเรื่องนี้กลับกลายเป็นนักศึกษา แต่ประเด็นมันคืออะไรครับ เมื่อเกิดกรณีใบปลิวทุกครั้งก็มีการแจ้งไปยังฝ่ายเจ้าหน้าที่ของบ้านเมือง ก็มีการดำเนินการเพียงชั่วครั้ง ชั่วคราว แล้วพอข่าวเงียบไปก็จบไปครับ
เอกภาพที่ไม่มีการประสานกันอย่างนี้ ไม่มีการความเป็นเอกภาพครับ ในที่สุดครับความหละหลวมในเรื่องของการดูแลรอบมหาวิทยาลัย ก็นำมาสู่การสังหารชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และการสังหารแล้วการตั้งข้อสังเกตคำถาม วิเคราะห์เรื่องที่เกิดการสังหารก็ไปอีกคนละทิศละทาง นี่ก็สะท้อนปัญหาอีกอย่างหนึ่งครับ แต่ผมไม่ถามประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อวานนี้ชมรมศิษย์เก่านักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็ยื่นหนังสือให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไปแล้ว มีสิ่งที่เขายื่นเรียกร้อง 3 ข้อชัดเจนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ผมจะถามคือ ในเมื่อทุกอย่างมันเป็นความสะท้อนความไร้เอกภาพก็ดี การไร้ยุทธศาสตร์ก็ดี แต่หน้าที่รัฐต้องดูแลคน วันนี้เขาไม่เชื่อใจจะทำอย่างไร หนังสือของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ ศธ 05212/81083 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2547 ที่ส่งไปยังนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ข้อความส่วนใหญ่ลงหนังสือพิมพ์ไปแล้ว แต่มีประเด็นน่าสนใจ 2 ประเด็นซึ่งผมจะถามท่านครับ
เขาทำเรื่องขอความมั่นใจเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยในชีวิตของนักเรียน-นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เขาขอความมั่นใจ ในหนังสือนี้เขาบอกเลยครับ ประเด็นที่น่าสนใจมากก็คือ เขาบอกว่า ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นเขาอ้างอิงเหตุการณ์ 4 มกราคม 47 ผมเข้าใจว่า เป็นเหตุการณ์เดียวกับที่จังหวัดนราธิวาส เขาใช้คำนี้ครับว่า ประชาคมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มองว่าเหตุการณ์คงจะสงบลงในเวลาไม่นานนัก โดยอาศัยข้อมูลในอดีตว่าเหตุการณ์ความรุนแรงคล้ายๆกันนี้เกิดขึ้นเป็นระยะๆและราชการก็ใช้ยุทธวิธีทำให้เหตุการณ์สงบในเวลาไม่นานนัก แต่เหตุการณ์นี้กลับไม่สงบและยืดเยื้อมาจนกระทั้งถึงปัจจุบันกระทบลุกลามมาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และก็ยกเหตุการณ์ฆ่านักศึกษาขึ้นมา
คำถามผมก็คือว่า หากเขาไม่มั่นใจอย่างนี้ท่านในฐานะผู้รับผิดชอบนโยบายของรัฐจะให้ความมั่นใจอย่างไรต่อประชาคมมหาวิทยาลัยที่นี่ได้อย่างไร คำตอบของท่านที่เป็นรูปธรรมจะสะท้อนถึงสถาบันการศึกษาอื่นและอาชีพอื่นๆมน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยครับ แต่ถ้าตอบแต่เพียงแต่ว่าต้องอดทนเหมือนที่ท่านนายกฯตอบ ไปไหนมาไหนต้องดูลัวนเองบ้าง เป็นคำตอบของความไม่รับผิดชอบ นั่นคือต้นตอของปัญหานะครับ
ที่สำคัญก็คือว่า ในท้ายหนังสือ เขาตอบอย่างนี้ครับว่า มาถึงขนาดนี้ปัญหาการก่อการร้ายได้เข้ามาถึงมหาวิทยาลัยแล้ว ปัญหาการก่อการร้ายได้เข้ามาถึงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แล้ว นี่เป็นการสะท้อนความรุนแรงถึงที่สุดของปัญหาครับ แล้วเป็นประเด็นที่ท่านตอบปฎิเสธมาตลอดว่า สามารถดูแลเขาได้เขาจึงบอกว่า เขาต้องขอให้รัฐบาลพิจารณากำหนดมาตรการ เพื่อให้ประชาคมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้มีความมั่นใจที่จะอยู่ปฎิบัติหน้าที่ต่อไปตามที่ได้มุ่งมั่นตั้งใจมาตั้งแต่เริ่มต้นเข้ารับราชการ ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้
ท่านจะให้ความมั่นใจที่เป็นรูปธรรมได้อย่างไร เพราะมันจะมีปัญหาอื่นๆที่ติดตามต่อเนื่องกันมา นักศึกษากว่า 300 คน ที่ลงชื่อกัน แล้วมหาวิทยาลัยขอให้สอบไล่ไปก่อน แล้วหลังจากนี้เปิดเทอม 2 เดือนพฤศิกายน ขอโอนย้ายไปอยู่ที่อื่นกว่า 300 คน แล้วคนที่กลับบ้านปิดเทอมไปหาพ่อแม่ และท่านก็ขอร้องว่า ไม่ให้กลับไปเรียนต่อ นี่ก็เป็นปัญหาอีกประการหนึ่งที่ติดตามมา เอาความมั่นใจ เอามาตรการเฉพาะหน้าก่อนครับ วันนี้คนในมหาวิทยาลัยไม่กล้ากระทั่งอาจารย์บางคน ไม่กล้าออกนอกมหาวิทยาลัยครับ จะซื้อของจะซื้อน้ำมันรถฝากคนในมหาวิทยาลัยออกไปซื้อข้างนอกและกลับมาใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย เหตุการณ์อย่างนี้มันไม่ควรจะเกิดขึ้นหลอกครับ แต่ให้ความมั่นใจเขาหน่อยครับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผมว่าท่านรัฐมนตรีท่านยิ่งตอบ ท่านยิ่งไม่สามารถที่จะให้ความมั่นใจกับฝ่ายของประชาชนและผู้ซึ่งรับผลกระทบอยู่ใน 3 จังหวัดภาคใต้ได้ กรณีของมอ.ที่ผมหยิบยกขึ้นมาถามนั้น เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้นครับ ไม่มีอะไรที่เป็นรูปธรรมเลยแม้ต่นิดเดียว มีแต่บอกว่า ท่านก็พยายามประสานทุกฝ่าย แต่ในความประสานของทุกฝ่ายของท่านนั้นก็ยอมรับว่า จำเป็นจะต้องมีการประสานงานกันมากกว่านี้กรณีไปค้นหอพักนักศึกาก็ดี อะไรก้ดีแล้วเกิดการออกแถลงการณ์ บรรยากาศที่เกิดขึ้นอย่างนี้ไงครับ ความไม่เป็นเอกภาพทั้งในทางความคิด ทั้งๆหลายมันเกิดบรรยากาศความหวาดระแวง นี่คือสิ่งที่น่ากลัวที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ขณะนี้นะครับ ผมรอที่จะให้ท่านตอบเหตุการณ์ที่เป็นรูปธรรม แล้วแนวคิดที่เป็นรูปธรรม ซึ่งยืนยันว่ามันไม่มี วันนี้หวาดระแวงไปหมดครับ
กระทั่งคนในมหาวิทยาลัยด้วยกันเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างฝ่ายต่างระแวงกันเอง ชาวบ้านระแวงรัฐ ชาวบ้านระแวงกันเอง เรายิ่งแก้ปัญหามันถึงยิ่งซับซ้อนมันถึงยิ่งรุนแรง ผมจะไม่ถามต่อครับ แต่ว่าผมจะสรุปประเด็นให้ท่านประธานฟังว่านี่คือปัญหา ตั้งแต่เริ่มต้นแนวคิดกันมาแล้วครับท่านรัฐมนตรีเป็นคนตอบว่า ยอมรับว่าปัญหาภาคใต้มีลักษณะพิเศษขัดแย้งโดยสิ้นเชิงเลยกับสิ่งที่ท่านนายกฯในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเคยพูดไว้ว่าตอนท่านยุบ ศ.อบต. ท่านบอกว่า ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นเป็นจังหวัดชายแดนที่ไม่มีลักษณะแตกต่างจากจังหวัดชายแดนอื่นๆ จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีหน่วยงานพิเศษ อันนี้ไงครับการทำงานรัฐบาลทุกอย่างมันสะท้อนวิธีการคิดไปทำไป แก้ปัญหาไป แล้วตอบกระทู้ให้พ้นการตอบกระทู้ในสภาเท่านั้น ผมจึงไม่ถามต่อครับ แต่จากนี้ไปรัฐต้องทบทวนอย่างยิ่งใหญ่แล้วครับ
สถานการณ์วันนี้มันยืดเยื้อมาก มันน่ากลัวมากครับ ความน่ากลัวมันลุกลามถึงขนาดว่า ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของที่อื่นนั้นก็เกิดผลกระทบไปหมด อาวุธสงครามปลิวว่อนไปหมดครับ นี่ไงครับข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 47 มีการไปข่มขู่ใช้อาวุธปืนเอ็ม 16 ยิงบ้านคนในกรุงเทพฯครับ ยิงไปกว่า 20 นัด วันนี้ตัวเจ้าของบ้านร้องท่านส.ส.ธานินทร์ ใจสมุทร กระทั่งตำรวจไปทำงานปลอกกระสุนเอ็ม 16 ยังเก็บไม่หมด วันนี้เขาร้องเรียนสภาแล้วเดี๋ยวผมมอบให้ท่านประธานครับ เพื่อเป็นวัตถุพยานให้กับฝ่ายของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองต่อไป
แต่ทั้งหมดนี้ครับ ท่านประธานครับมันสะท้อนแนวคิดที่สับสนมากของรัฐบาล บรรยากาศความกลัวความหวาดระแวง ความไม่มั่นใจในมาตรการของรัฐบาลมั่นยิ่งทวีมากยิ่งขึ้นทุกวัน ใกล้เลือกตั้งอย่าคิดแต่เรื่องหาเสียงครับ คน 3 จังหวัดวันนี้ครับตกค่ำปิดประตูแล้วไม่มีใครกล้าออกจากบ้านนะครับ รัฐบาลจะต้องแยกให้ออกนะครับ วันนี้ 3 จังหวัดท่านต้องลงไปแก้ปัญหาให้กับเขา ให้ความมั่นใจกับเขาแล้วต้องมีมาตรการที่เป็นรูปธรรม ต้องไม่มีความสับสนในเชิงเอกภาพและไม่มีความสับสนในเชิงของนโยบายแนวคิดด้วย ไม่ใช่ท่านนายกฯคิดไปทางหนึ่ง รัฐมนตรีตอบอีกแบบหนึ่ง แล้วสุดท้ายท่านนายกฯนั่นเหละครับ เป็นคนใช้นโยบายตามใจของท่าน แต่คนมาตอบในสภานี้คือรัฐมนตรีทุกที แล้วไม่เคยได้ความจริงแล้วถ้ารัฐบาลยืนยันว่า ถูกทางแล้วนะครับ ถ้าทางนี้โรยด้วยศพของผู้บริสุทธิ์ ตำรวจ — ทหาร — เจ้าหน้าที่ คนที่เป็นคนของทั้งฝ่ายบ้านเมืองและประชาชนนั้น ทางนี้รัฐบาลอย่าเลือกเดินเลยครับ มันไม่ถูกต้องครับ...
ทางด้านนายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีตอบกระทู้สดในครั้งนี้ โดยย้ำว่ารัฐบาลย้ำหลักเด็ดขาดกับบุคคลที่ทำผิดกฎหมายและรุนแรงกับประชาชน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ต.ค. 2547--จบ--
-ดท-