กรุงเทพ--15 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
การหารือ FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 2 ที่ East-West Center ในวันที่ 12 ตุลาคม 2547 คณะผู้เจรจา ของทั้งสองฝ่ายยังคงมีการพบหารือเป็นรายกลุ่ม โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและซักถามข้อสงสัยระหว่างกัน ในเรื่องสื่อสารและโทรคมนาคม การจัดซื้อภาครัฐ การลงทุน บริการทางการเงินและนโยบายการแข่งขันเพื่อให้ทราบระเบียบปฏิบัติในประเด็นเหล่านี้ของกันและกัน โดยยังไม่มีการตกลงในเรื่องใดๆ ในชั้นนี้แต่อย่างใดในสาขาการจัดซื้อภาครัฐ ฝ่ายไทยได้สอบถามข้อมูลจากคณะเจรจาสหรัฐฯ ในเรื่องการเข้าถึงตลาด เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสและได้รับประโยชน์มากที่สุด ซึ่งตามข้อมูลล่าสุดสหรัฐฯ มีงบประมาณสำหรับการจัดซื้อภาครัฐโดยผ่านหน่วยงานต่างๆ เป็นจำนวนหลายแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ฝ่ายไทยจึงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์หากจะมีความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ในสาขาบริการทางการเงิน ฝ่ายไทยได้แจ้งท่าทีเบื้องต้นในเรื่องนี้ให้คณะเจรจาสหรัฐฯ นำไปพิจารณา ทั้งนี้ ไทยถือว่าเรื่องบริการทางการเงินเป็นประเด็นละเอียดอ่อน เนื่องจากเกี่ยวข้องและครอบคลุมถึงกฎระเบียบเกี่ยวกับสถานบันการเงิน นักลงทุน และเงินลงทุน ตลอดจนการให้บริการทางการเงินข้ามพรมแดน ซึ่งไทยมี ความกังวลในเรื่องขั้นตอนการดำเนินการตามร่างข้อบทที่สหรัฐฯ เสนอ โดยเฉพาะการเจรจาในรูปแบบ negative list ซึ่งไทยเห็นว่าการเปิดเสรีด้านการเงินต้องทำอย่างเป็นขั้นตอนและควรอิงกับแผนแม่บททางการเงิน
ในด้านนโยบายการแข่งขัน คณะเจรจาของทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเบื้องต้นในเรื่องกฎหมาย การแข่งขันทางธุรกิจ การเปรียบเทียบความตกลง FTA ในประเด็นการเลือกประติบัติและความโปร่งใสที่ไทย และสหรัฐฯ เคยทำกับประเทศอื่นๆ และการประสานงานระหว่างกัน ซึ่งสหรัฐฯ ได้เสนอที่จะมีให้ความร่วมมือ ด้านวิชาการต่อไทยด้วย
อนึ่ง เมื่อค่ำวันที่ 11 ตุลาคม 2547 คณะผู้เจรจาฝ่ายไทยได้มีการประชุมภายในภายหลังการเจรจาฯ เป็นประจำทุกวัน เพื่อให้ผู้เจรจาหลักในแต่ละกลุ่มสาขาแจ้งผลสรุปการหารือต่อนายนิตย์ พิบูลสงคราม หัวหน้าคณะเจรจา ตลอดจนเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างผู้แทนไทย ทั้งคณะ รวมทั้งผู้แทนภาคเอกชนและนักวิชาการเพื่อร่วมกันถกแถลงผลการหารือที่เกิดขึ้นในระหว่างวันและเพื่อเตรียมการสำหรับ การเจรจาฯ ในวันถัดไป ซึ่งทีมเจรจาไทยในกลุ่มสาขาพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์รายงานว่าการหารือมีความคืบหน้า โดยฝ่ายสหรัฐฯ ได้ยอมที่จะหารือในบางเรื่องที่ไทยเสนอ อาทิ ข้อยกเว้นด้านวัฒนธรรม ขณะที่ในสาขาการแก้ไขอุปสรรคทางการค้าทีมเจรจาไทยได้เสนอเอกสารข้อเสนอที่จะให้มีช่องทางการติดต่อระหว่างไทย-สหรัฐฯ เกี่ยวกับภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) ซึ่งจะเป็นมาตรการที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ ผู้ประกอบการไทยจากการ เปิดตลาดสินค้าภายในประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายตกลงจะหารือในรายละเอียดต่อไป นอกจากนี้ฝ่ายสหรัฐฯ ยังได้เสนอที่จะให้การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องของไทยด้วย ส่วนในสาขาแรงงาน ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับกฎระเบียบของกันและกัน โดยสหรัฐฯ ได้เสนอร่างข้อบทด้านแรงงานที่เน้นการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานของแต่ละประเทศคู่ภาคี ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้พิจารณา ที่จะมีความร่วมมือระหว่างกันในด้านนี้
นายนิตย์ฯ หัวหน้าคณะผู้เจรจาของไทยย้ำว่าในการเจรจา FTA กับสหรัฐฯ นั้น ฝ่ายไทยให้ความสำคัญ เรื่องการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศในระยะยาว และหวังที่จะเห็นความคืบหน้าของการเจรจา ในด้านการส่งเสริมความสามารถทางการค้า (trade capacity building) ซึ่งจะมีการเจรจาครั้งแรกในวันที่ 13 ตุลาคม ศกนี้ ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้เสนอที่จะให้ความร่วมมือในด้าน การเสริมสร้างศักยภาพทางการค้าให้แก่ไทยในด้านต่างๆ เพื่อเอื้ออำนวยให้เศรษฐกิจและธุรกิจของไทยสามารถได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ
ในวันที่ 13 ตุลาคม 2547 จะมีการหารือเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งในรอบนี้ยังไม่มีการหารือเรื่องสิทธิบัตร ยา แต่จะมีการหารือในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า ตลอดจนการส่งเสริมขีดความ สามารถทางการค้า และการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สิ่งทอ และการค้าบริการ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
การหารือ FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 2 ที่ East-West Center ในวันที่ 12 ตุลาคม 2547 คณะผู้เจรจา ของทั้งสองฝ่ายยังคงมีการพบหารือเป็นรายกลุ่ม โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและซักถามข้อสงสัยระหว่างกัน ในเรื่องสื่อสารและโทรคมนาคม การจัดซื้อภาครัฐ การลงทุน บริการทางการเงินและนโยบายการแข่งขันเพื่อให้ทราบระเบียบปฏิบัติในประเด็นเหล่านี้ของกันและกัน โดยยังไม่มีการตกลงในเรื่องใดๆ ในชั้นนี้แต่อย่างใดในสาขาการจัดซื้อภาครัฐ ฝ่ายไทยได้สอบถามข้อมูลจากคณะเจรจาสหรัฐฯ ในเรื่องการเข้าถึงตลาด เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสและได้รับประโยชน์มากที่สุด ซึ่งตามข้อมูลล่าสุดสหรัฐฯ มีงบประมาณสำหรับการจัดซื้อภาครัฐโดยผ่านหน่วยงานต่างๆ เป็นจำนวนหลายแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ฝ่ายไทยจึงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์หากจะมีความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ในสาขาบริการทางการเงิน ฝ่ายไทยได้แจ้งท่าทีเบื้องต้นในเรื่องนี้ให้คณะเจรจาสหรัฐฯ นำไปพิจารณา ทั้งนี้ ไทยถือว่าเรื่องบริการทางการเงินเป็นประเด็นละเอียดอ่อน เนื่องจากเกี่ยวข้องและครอบคลุมถึงกฎระเบียบเกี่ยวกับสถานบันการเงิน นักลงทุน และเงินลงทุน ตลอดจนการให้บริการทางการเงินข้ามพรมแดน ซึ่งไทยมี ความกังวลในเรื่องขั้นตอนการดำเนินการตามร่างข้อบทที่สหรัฐฯ เสนอ โดยเฉพาะการเจรจาในรูปแบบ negative list ซึ่งไทยเห็นว่าการเปิดเสรีด้านการเงินต้องทำอย่างเป็นขั้นตอนและควรอิงกับแผนแม่บททางการเงิน
ในด้านนโยบายการแข่งขัน คณะเจรจาของทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเบื้องต้นในเรื่องกฎหมาย การแข่งขันทางธุรกิจ การเปรียบเทียบความตกลง FTA ในประเด็นการเลือกประติบัติและความโปร่งใสที่ไทย และสหรัฐฯ เคยทำกับประเทศอื่นๆ และการประสานงานระหว่างกัน ซึ่งสหรัฐฯ ได้เสนอที่จะมีให้ความร่วมมือ ด้านวิชาการต่อไทยด้วย
อนึ่ง เมื่อค่ำวันที่ 11 ตุลาคม 2547 คณะผู้เจรจาฝ่ายไทยได้มีการประชุมภายในภายหลังการเจรจาฯ เป็นประจำทุกวัน เพื่อให้ผู้เจรจาหลักในแต่ละกลุ่มสาขาแจ้งผลสรุปการหารือต่อนายนิตย์ พิบูลสงคราม หัวหน้าคณะเจรจา ตลอดจนเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างผู้แทนไทย ทั้งคณะ รวมทั้งผู้แทนภาคเอกชนและนักวิชาการเพื่อร่วมกันถกแถลงผลการหารือที่เกิดขึ้นในระหว่างวันและเพื่อเตรียมการสำหรับ การเจรจาฯ ในวันถัดไป ซึ่งทีมเจรจาไทยในกลุ่มสาขาพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์รายงานว่าการหารือมีความคืบหน้า โดยฝ่ายสหรัฐฯ ได้ยอมที่จะหารือในบางเรื่องที่ไทยเสนอ อาทิ ข้อยกเว้นด้านวัฒนธรรม ขณะที่ในสาขาการแก้ไขอุปสรรคทางการค้าทีมเจรจาไทยได้เสนอเอกสารข้อเสนอที่จะให้มีช่องทางการติดต่อระหว่างไทย-สหรัฐฯ เกี่ยวกับภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) ซึ่งจะเป็นมาตรการที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ ผู้ประกอบการไทยจากการ เปิดตลาดสินค้าภายในประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายตกลงจะหารือในรายละเอียดต่อไป นอกจากนี้ฝ่ายสหรัฐฯ ยังได้เสนอที่จะให้การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องของไทยด้วย ส่วนในสาขาแรงงาน ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับกฎระเบียบของกันและกัน โดยสหรัฐฯ ได้เสนอร่างข้อบทด้านแรงงานที่เน้นการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานของแต่ละประเทศคู่ภาคี ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้พิจารณา ที่จะมีความร่วมมือระหว่างกันในด้านนี้
นายนิตย์ฯ หัวหน้าคณะผู้เจรจาของไทยย้ำว่าในการเจรจา FTA กับสหรัฐฯ นั้น ฝ่ายไทยให้ความสำคัญ เรื่องการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศในระยะยาว และหวังที่จะเห็นความคืบหน้าของการเจรจา ในด้านการส่งเสริมความสามารถทางการค้า (trade capacity building) ซึ่งจะมีการเจรจาครั้งแรกในวันที่ 13 ตุลาคม ศกนี้ ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้เสนอที่จะให้ความร่วมมือในด้าน การเสริมสร้างศักยภาพทางการค้าให้แก่ไทยในด้านต่างๆ เพื่อเอื้ออำนวยให้เศรษฐกิจและธุรกิจของไทยสามารถได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ
ในวันที่ 13 ตุลาคม 2547 จะมีการหารือเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งในรอบนี้ยังไม่มีการหารือเรื่องสิทธิบัตร ยา แต่จะมีการหารือในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า ตลอดจนการส่งเสริมขีดความ สามารถทางการค้า และการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สิ่งทอ และการค้าบริการ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-